ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,347 รายการ
ชื่อเรื่อง: พระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๑๗ ถึง พ.ศ. ๒๔๕๓)ผู้แต่ง: - ปีที่พิมพ์: ๒๔๕๗สถานที่พิมพ์: พระนครสำนักพิมพ์: โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากรจำนวนหน้า: ๓๐๐ หน้า เนื้อหา: พระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๑๗ ถึง พ.ศ. ๒๔๕๓ ซึ่งได้พระราชทานไว้ในโอกาสต่างๆ เริ่มต้นตั้งแต่พระราชดำรัสพระราชทานพระบรมราโชวาทในการที่องค์มนตรีรับพระราชทานน้ำพระพิพัฒสัตยาณพระที่นั่งสถิตย์มโหฬาร ถึงพระราชดำรัสตอบราชฑูต ผู้แทนรัฐบาลต่างประเทศในการเฉลิมพระชนมพรรษาพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท รวมระยะเวลา ๒๖ ปี ๑๑๗ คราว อาทิ พระราชดำรัสตอบในการเปิดรถไฟในระหว่างกรุงเทพฯ กับกรุงเก่าที่สถานีรถไฟกรุงเทพฯ เมื่อวันที่ ๒๖ มีนาคม ร.ศ. ๑๑๕ พระราชดำรัสตอบพวกพ่อค้าฝรั่ง ที่พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท เมื่อวันที่ ๒๗ ธันวาคม ร.ศ. ๑๑๖ พระราชดำรัสตอบในการเปิดโรงพยาบาลจีน ที่ถนนเยาวราช เมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน ร.ศ. ๑๒๔ และพระราชดำรัสตอบพระบรมวงษานุวงษ์ ข้าทูลลอองธุลีพระบาทฝ่ายน่า ในการเฉลิมพระชนมพรรษาที่พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท เมื่อวันที่ ๒๓ กันยายน ร.ศ. ๑๒๙ เป็นต้น นับว่าเป็นหนังสือที่มีสำนวนโวหารอันไพเราะน่าจับใจยิ่งนัก ควรแก่การศึกษาสำหรับผู้ที่สนใจในการแต่งหนังสือภาษาไทยซึ่งจำเป็นต้องมีไว้อ่าน และเป็นเอกสารที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ของชาติไทยควรแก่การรักษาให้คงอยู่สืบไป เลขทะเบียนหนังสือหายาก: ๗๙๐เลขทะเบียนหนังสืออิเล็กทรอนิกส์: E-book ๒๕๖๖_๐๐๑๖หมายเหตุ: โครงการจัดเก็บและอนุรักษ์หนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ์ สื่อโสตทัศนวัสดุ และเอกสารโบราณ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๖ (ไฟล์ดิจิทัลเพื่อการอนุรักษ์เท่านั้น)
วันจันทร์ที่ ๒๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๖ เวลา ๐๘.๕๒ น. สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดอาคารคลังกลางพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ตำบลคลองห้า อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี โดยมี นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม นางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร. ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ผู้บริหารและข้าราชการกระทรวงวัฒนธรรม ผู้แทนหน่วยงานและประชาชนในจังหวัดปทุมธานี เฝ้าฯ รับเสด็จ
กรมศิลปากรได้น้อมนำแนวพระราชดำริในสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ที่ได้พระราชทานไว้ในหลายโอกาสเกี่ยวกับการจัดสร้างคลังพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ให้มีพื้นที่เพียงพอต่อปริมาณโบราณวัตถุที่เพิ่มมากขึ้นทุกปี ปรับปรุงพัฒนาให้เป็นสถานที่เก็บรวบรวมโบราณวัตถุอย่างเป็นระบบตามมาตรฐานพิพิธภัณฑ์วิทยา เพื่อการอนุรักษ์โบราณวัตถุของชาติ และใช้ประโยชน์ได้มากขึ้นด้วยการเปิดให้บริการศึกษา ค้นคว้า วิจัย พุทธศักราช ๒๕๔๕ กรมศิลปากรจึงได้ย้ายโบราณวัตถุจากคลังพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ซึ่งเดิมใช้พื้นที่อาคารจัดแสดงภายในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร มาจัดเก็บ ณ อาคารพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก จังหวัดปทุมธานี โดยจัดวางตามหมวดหมู่ประเภทวัสดุตามหลักการอนุรักษ์โบราณวัตถุ ออกแบบห้องคลังต่างๆ ให้เป็นคลังเปิดเพื่อการศึกษา หรือ Visible Storage ที่เปิดให้ผู้เข้าเยี่ยมชมมองเห็นได้จากภายนอกผ่านผนังกระจก ต่อมาเมื่อ พุทธศักราช ๒๕๕๙ รัฐบาลได้มอบหมายให้กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมศิลปากรก่อสร้างอาคารคลังกลางพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติหลังใหม่ในพื้นที่ว่างของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก ออกแบบให้เป็นอาคารคลังโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุโดยเฉพาะ ตั้งแต่รูปแบบอาคารที่คำนึงถึงการควบคุมความร้อน ความชื้นจากภายนอกอาคาร ติดตั้งระบบควบคุมสภาพแวดล้อมภายในอาคารเพื่อปกป้องและรักษาโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ให้มีความยั่งยืนและปลอดภัยตามมาตรฐานคลังพิพิธภัณฑ์สากล ได้แก่ ระบบจัดเก็บตามประเภทวัสดุของโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ระบบตรวจสอบและควบคุมอุณหภูมิความชื้น ระบบปรับอากาศ ระบบป้องกันอัคคีภัย ป้องกันภัยธรรมชาติ และการโจรกรรม โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงวางศิลาฤกษ์อาคารคลังกลางพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๕๙
คลังกลางพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติได้ถูกออกแบบและวางระบบการบริหารจัดการให้เป็นคลังเปิด (Visible Storage) เพื่อให้บริการในรูปแบบของคลังเพื่อการศึกษา (Study Collection) ตามแนวพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ให้บริการใน ๒ รูปแบบ คือการเข้าศึกษาตามอัธยาศัยในพื้นที่บริการทั่วไป ได้แก่ ห้องสมุด ห้องสอบค้นฐานข้อมูลโบราณวัตถุ และใช้บริการสำเนาไฟล์ภาพถ่ายโบราณวัตถุ การบริการอีกรูปแบบหนึ่งคือ การศึกษาชิ้นงานโบราณวัตถุ ซึ่งต้องยื่นคำร้องขออนุญาต เมื่อได้รับอนุญาต เจ้าหน้าที่จะอำนวยความสะดวกนำเข้าศึกษาโบราณวัตถุในพื้นที่ควบคุมชั้นใน โดยจะเปิดให้บริการแก่นักศึกษา นักวิจัย และประชาชน เข้าศึกษาโบราณวัตถุในคลังพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จังหวัดปทุมธานี ได้ตั้งแต่วันที่ ๑๙ กันยายน ศกนี้ ซึ่งตรงกับวันพิพิธภัณฑ์ไทย
นอกจากนี้ กรมศิลปากรยังมีบริการบนแพลตฟอร์มออนไลน์ ให้สามารถชมบรรยากาศห้องคลังโบราณวัตถุ และโบราณวัตถุชิ้นสำคัญในมุมมอง ๓๖๐ องศา ผ่านทางแอพพลิเคชั่น Virtual Smart Museum และ FA Discovery เพื่อให้โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ที่เก็บรักษาในคลังพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ยังประโยชน์แก่ประชาชนทุกคนให้สามารถเรียนรู้และมีส่วนร่วมในการปกป้องคุ้มครองมรดกทางวัฒนธรรมของชาติให้คงคุณค่าต่อไป
ชื่อเรื่อง ท้องถิ่นเมืองโบราณอู่ทอง รายวิชาประวัติศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ผู้แต่ง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2ประเภทวัสดุ/มีเดีย หนังสือท้องถิ่นISBN/ISSN -หมวดหมู่ ประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์เลขหมู่ 959.373 ส691ทสถานที่พิมพ์ สุพรรณบุรีสำนักพิมพ์ ม.ป.พ.ปีที่พิมพ์ 2551ลักษณะวัสดุ 54 หน้า : ภาพประกอบ ; 29 ซม.หัวเรื่อง สุพรรณบุรี – ประวัติศาสตร์ แบบเรียน อู่ทอง(สุพรรณบุรี) -- ประวัติศาสตร์ภาษา ไทยบทคัดย่อ/บันทึก จัดทำโครงการ “พัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นเมืองโบราณอู่ทอง” มีเป้าหมายจัดทำหลักสูตรระดับท้องถิ่น กำหนดเป็นระยะๆ ตามแนวการพัฒนาหลักสูตร กำหนดกรอบแนวการพัฒนา จัดทำลักษณะหน่วยการเรียนรู้สอดแทรกไว้ในรายวิชา ประวัติศาสตร์ ในระดับชันประถมศึกษาปีที่ 1 - 6
ติ้วงานับพระ
รัตนโกสินทร์ พุทธศตวรรษที่ ๒๕ (รัชกาลที่ ๔-๕)
ได้มาจากวัดหงส์รัตนาราม เมื่อวันที่ ๑๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๒
“ติ้ว” หมายถึง ไม้ซี่เล็กๆ ใช้สำหรับเป็นคะแนน มักทำรูปทรงอย่างเรียบง่าย เน้นความมั่นคงแข็งแรง อาจประดับตกแต่งด้วยฝีมืออย่างประณีต สร้างขึ้นเพื่ออุทิศถวายเป็นเครื่องใช้สำหรับนับจำนวนพระสงฆ์ เมื่อลงอุโบสถสวดมนต์เช้า-เย็นตามธรรมเนียมสงฆ์ในประเทศไทย ซึ่งเป็นกิจวัตรที่จะต้องลงอุโบสถไหว้พระสวดมนต์เป็นประจำทุกวัน
“ติ้วนับพระ” จากวัดหงส์รัตนาราม ทำเป็นชุดเรือนไม้ ประกอบด้วย ตัวเรือนไม้ ติ้วงา กระจกครอบ และหีบไม้ คือ
หีบไม้รองรับตัวเรือน ทำจากไม้เป็นทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้ารูปแบบฐานบัวคว่ำ-บัวหงาย ฐานล่างทำเป็นแข้งสิงห์และนมสิงห์ บริเวณท้องไม้ยืดสูงสลักเป็นช่องสี่เหลี่ยม ด้านกว้างด้านละ ๑ ช่อง และด้านยาว ด้านละ ๓ ช่อง ลงสีประดับตราโลหะรูปเทพเจ้ากรีกเป็นบุรุษมีปีกถือหม้อน้ำ เทลงมาบนถาดรอบรับด้วยก้านขดออกช่อดอก
ตัวเรือนทำจากไม้ มีฐานทำจากไม้ขัดกันรูปกากบาทสองด้านสลักลายแข้งสิงห์และลายพันธุ์พฤกษาแบบตะวันตก รองรับเป็นเสาสี่เหลี่ยมเซาะร่องประดับหัวเม็ดรูปไข่ และคานเป็นซุ้มโค้ง ตรงกลางมีลายเครือเถาดอกพุดตาน
ตัวติ้ว ทำจากงาแกะสลักป็นแผ่นบาง เกลารูปทรงเรียวยาวปลายแหลมมนคล้ายแผ่นฉลากสมุดไทย (บัญชักธรรม) เจาะรูแล้วร้อยด้วยเส้นลวดขึงเป็นราวไว้กับตัวเรือนไม้ มี ๒๕๐ ชิ้น ส่วนจำนวนติ้วที่ร้อยติดกับหลักขึ้นอยู่กับจำนวนพระสงฆ์ภายในพระอาราม ทุกจำนวนนับที่ ๑๐ จะทำแผ่นติ้วงาเป็นยอดแบบเสาหัวเม็ด ส่วนคอคอดเรียวลง ให้แตกต่างจากแผ่นอื่นๆ บางพื้นที่จะคั่นด้วยเม็ดลูกปัดแก้วหรืองา เป็นภูมิปัญญาประดิษฐ์เพื่อให้สังเกตได้สะดวก
ส่วนกระจกครอบเป็นโครงไม้ติดกระจกรอบด้าน มีบานประตูสำหรับเปิดด้านข้าง สันนิษฐานว่าทำขึ้นภายหลังที่มีการเลิกใช้งานแล้ว
การใช้ติ้วนับพระควบคุมระเบียบสงฆ์ในการประกอบสมณกิจเป็นธรรมเนียมที่เกิดขึ้นในชั้นหลัง เนื่องจากพระอุโบสถมีการใช้งานเฉพาะสำหรับประกอบสังฆกรรม อาทิ การอุปสมบท การสวดปาฎิโมกข์ ส่วนการทำวัตรสวดมนต์ประจำวัน จะรวมกันที่หอสวดมนต์ ซึ่งสร้างขึ้นอยู่ในบริเวณหมู่กุฎิแต่ละคณะสงฆ์
โดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงสันนิษฐานว่าพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดฯกำหนดขึ้นด้วยถือว่าการสวดมนต์นั้นสำคัญอย่างมาก มีหลักฐานตั้งแต่ปฐมสังคายนา นับเป็นประเพณีให้พระสงฆ์ท่องจำและสวดสาธยายพร้อมกันเพื่อรักษาพระธรรมวินัย ต่อมามีการจดจารพระธรรมวินัยเป็ยลายลักษณ์อักษรแทนการท่องจำ แต่ยังคงถือธรรมเนียมพระสงฆ์สาธยายมนต์เป็นสำคัญอยู่ โดยมีข้อบังคับให้พระภิกษุบวชใหม่จะต้องจำบททำวัตรแต่ละบทให้ได้ตามกำหนดในแต่ละพรรษา
และในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดฯให้มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงทางด้านพระพุทธศาสนาหลายประการ ทำให้มีการกำหนดธรรมเนียมสงฆ์เคร่งครัดกว่าแต่ก่อน จึงเป็นธรรมเนียมการลงอุโบสถสวดมนต์เช้า-เย็นร่วมกันสำหรับพระสงฆ์ภายในพระอาราม และเริ่มมีการใช้เครื่องมือนับจำนวนสำหรับการควบคุมระเบียบ
ปัจจุบันการใช้ติ้วนับพระตามพระอารามส่วนใหญ่เลิกร้างไปแล้ว เพราะกำหนดให้มีพนักงานจดบัญชีตรวจสอบจำนวนพระสงฆ์แทน แต่ยังคงมีการเก็บรักษาไว้ประจำอยู่ในพระอุโบสถของวัดต่างๆ
อ้างอิง
เด่นดาว ศิลปานนท์. “ติ้วนับพระ”. ศิลปากร ๕๐, ๔ (กรกฎาคม-สิงหาคม). ๒๕๕๐
นริศรานุวัดติวงศ์. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยา และดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระบรมวงศ์เธอ กรมพระยา. “สาสน์สมเด็จ เล่ม ๑๗”. พิมพ์ครั้งที่ ๒. องค์การค้าคุรุสภา. ๒๕๑๕
ราชบัณฑิตยสถาน. “พจนานุกรรมฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ.๒๕๕๔” . กรุงเทพฯ : นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์, ๒๕๕๖.
ประกาศสำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา เรื่อง รับสมัครพนักงานจ้างเหมาบริการรายบุคคล จำนวน ๔ อัตรา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖
กรมศิลปากร ส่งมอบความสุขและของขวัญให้แก่ประชาชนทั่วไปในช่วงเทศกาลปีใหม่ พุทธศักราช ๒๕๖๗ เปิดให้เข้าชมและงดเก็บค่าเข้าชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุทยานประวัติศาสตร์ และโบราณสถานที่อยู่ในความดูแลของกรมศิลปากร ในระหว่างวันที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๖๖ - วันที่ ๕ มกราคม ๒๕๖๗พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธีพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลปพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ราชบุรีพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนครคีรี จังหวัดเพชรบุรีพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเก่า จังหวัดกาญจนบุรีอุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์ จังหวัดกาญจนบุรีพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชาวนาไทย จังหวัดสุพรรณบุรีอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จันทรเกษม จังหวัดพระนครศรีอยุธยาพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยาพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์ จังหวัดลพบุรีสำนักศิลปากรที่ ๔ ลพบุรีอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ปราจีนบุรีพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พาณิชย์นาวี จังหวัดจันทบุรีอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง จังหวัดสุโขทัยพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สวรรควรนายก จังหวัดสุโขทัยอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัยพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชรพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย จังหวัดลำพูนพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่านพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่านสำนักศิลปากรที่ ๙ อุบลราชธานีพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิมาย จังหวัดนครราชสีมาอุทยานประวัติศาสตร์พิมาย จังหวัดนครราชสีมาอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง และปราสาทเมืองต่ำ จังหวัดบุรีรัมย์พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ มหาวีรวงศ์ จังหวัดนครราชสีมาอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท จังหวัดอุดรธานีพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชุมพรพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลาพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง จังหวัดภูเก็ต
จันทบุรีมีชื่อเสียงในการผลิตเครื่องประดับอัญมณีที่งดงามหลากหลายรูปแบบ มีเครื่องประดับอย่างหนึ่งที่นับว่าเป็นเอกลักษณ์และเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นของจันทบุรีที่ต้องอาศัยทักษะชั้นสูงซึ่งสืบทอดมาจากครูช่างโบราณ นั่นก็คือ “แหวนกล” บ้างเรียก แหวนปู แหวนปลา เนื่องจากตัวเรือนมักทำเป็นรูปปูทะเล รูปปลา หรือปีนักษัตรต่าง ๆ โดยออกแบบรวมวงแหวนจำนวน 4, 8 หรือ 12 ก้าน ให้เกาะเกี่ยวเป็นแหวนหนึ่งวง มีท้องวงเป็นวงเรียงกัน และเมื่อถอดก้านออกวงจะคล้องกันอยู่ไม่แยกจากกัน เมื่อประกอบเข้าด้วยกันอย่างถูกวิธี แหวนก็จะมีก้านเรียงชิดกันเช่นเดิม นับเป็นเครื่องประดับที่ซ่อนปริศนากลไกไว้บนนิ้วของผู้สวมใส่ นอกจากจะมีความสวยงามแปลกตาแล้ว ยังได้ชื่อว่าเป็นเครื่องประดับแห่งปัญญา ด้วยเพราะความพิเศษของกลไกอันซับซ้อนในการประกอบนั่นเอง
ความเป็นมาของแหวนกลนั้นกล่าวกันว่ามีที่มาจากแถบตะวันออกกลาง บางคนเรียกแหวนกลนี้ว่า Puzzle Ring หรือ Turkish Wedding Ring โดยแหวนกลของจันทบุรีนี้มีจุดเด่นและแตกต่างจากที่อื่น ๆ คือ ตัวเรือนจะทำเป็นรูปสัตว์ต่าง ๆ ผู้ที่คิดประดิษฐ์เป็นคนแรก คือ นายหยี เจียระไน ชาวบ้านบางกะจะ เดิมเคยเป็นช่างทองที่กรุงเทพฯ และได้เห็นแหวนกลของฝรั่งที่ทำเป็นห่วงวงคล้องไขว้กันไปมา แม้จะแยกออกได้ก็ยังติดกันเป็นพวง และสามารถประกอบเข้าใหม่ได้ จึงได้นำมาคิดประดิษฐ์เป็นแหวนปูเมื่อกลับมาอยู่ที่จันทบุรี ต่อมามีผู้สืบทอดวิชานี้ คือ นายสายัณห์ ภูมิภักดิ์ ซึ่งเรียนวิชาช่างทองจากปู่ชื่อ นายพิณ ภูมิภักดิ์ ได้คิดประดิษฐ์แหวนกลในรูปแบบต่าง ๆ เพิ่มขึ้นหลายอย่าง เช่น การทำแหวนปลาชนิดต่าง ๆ การนำอัญมณีมาประดับเพื่อเพิ่มความสวยงาม และการทำกลไกให้บางชิ้นส่วนของแหวนสามารถกระดุกกระดิกได้
ต่อมาได้มีการสร้างสรรค์และพัฒนาแหวนกลแบบใหม่ที่ร่วมสมัยมากยิ่งขึ้น โดยช่างหรีด ชูเกียรติ เนียมทองผู้ได้รับรางวัลทายาทศิลปหัตถกรรมเครื่องเงิน-เครื่องทอง (แหวนกล) ประจำปี 2561 จากศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (SACICT) ช่างหรีดได้สืบทอดการทำแหวนกลจากนายสายัณห์ ภูมิภักดิ์ ได้ทำแหวนกลที่เป็นลายชื่อหรือนามสกุลของผู้สวมใส่ แหวนกลนี้แต่ละวงจะบรรจุตัวอักษรต่าง ๆ ของชื่อ เมื่อทำการพลิกหมุนประกบและประกอบกลับมาเป็นแหวนเต็มวง จะได้เห็นชื่อหรือนามสกุลปรากฏอยู่บนแหวน สามารถทำได้ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
แหวนกลเมืองจันท์ถือเป็นมรดกภูมิปัญญาอันล้ำค่าและควรค่าแก่การอนุรักษ์ไว้ให้คนรุ่นหลังได้สัมผัสถึงความงดงามของหัตถศิลป์ที่เต็มไปด้วยจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ ปัจจุบันเครื่องประดับแห่งปัญญานี้ กำลังมีแนวโน้มใกล้สูญหาย เนื่องจากขาดผู้สืบทอด ซึ่งช่างหรีด หรือ นายชูเกียรติ เนียมทอง ได้มีความพยายามอนุรักษ์ภูมิปัญญานี้ไว้โดยการเปิดบ้านแหวนกลให้เป็นพื้นที่เพื่อการเรียนรู้ให้กับนักเรียนที่ศึกษาด้านอัญมณี หรือผู้ที่สนใจเข้ามาศึกษาวิจัย เพื่อให้ภูมิปัญญาการทำแหวนกลนี้ยังคงสืบทอดอยู่คู่กับเมืองจันท์และไม่สูญหายไปจากประเทศไทย
แหล่งข้อมูลอ้างอิง
ธีรพันธ์ ลีลาวรรณสุข. แหวนของเราแต่เพียงผู้เดียว [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 13 ธันวาคม 2566, จาก: https://readthecloud.co/master-9/
วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญาจังหวัดจันทบุรี. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ, 2544.
แหวนกล เครื่องประดับแห่งปัญญา. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 13 ธันวาคม 2566, จาก: https://www.matichon.co.th/lifestyle/news_876705#google_vignette
Kanokorn Na Ranong. ทายาทรุ่น 3 แห่งบ้านแหวนกล เมืองจันท์ ผู้ผลิตแหวนกลไก เครื่องประดับแห่งภูมิปัญญาโบราณ. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 13 ธันวาคม 2566, จาก: https://www.bltbangkok.com/people/28562/
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก “เพจบ้านแหวนกล เมืองจันท์” https://www.facebook.com/9me99 และ “The Cloud” https://readthecloud.co/master-9/
เรียบเรียง: นางสาวปริศนา ตุ้มชัยพร บรรณารักษ์ชำนาญการ
หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี สำนักศิลปากรที่ 5 ปราจีนบุรี
ชื่อเรื่อง คำกลอนบรรยายธรรมเทียบด้วยตัว ก ข และมฤตยูวรรณนาหรือมรณานุสรผู้แต่ง ถม จ๋วนสุวัฒน์ประเภทวัสดุ/มีเดีย หนังสือหายากหมวดหมู่ ศาสนาเลขหมู่ 294.31881 ค352ถสถานที่พิมพ์ พระนครสำนักพิมพ์ โรงพิมพ์ธรรมบรรณาการปีที่พิมพ์ 2505ลักษณะวัสดุ 92 หน้า หัวเรื่อง วรรณคดีพุทธศาสนา ความตาย – งาศาสนา – พุทธศาสนาภาษา ไทยบทคัดย่อ/บันทึก“คำกลอนบรรยายธรรม” เรื่องนี้ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่งเป็นสำนวนหนังสือว่าเป็นพระภิกษุ และแต่งเมื่อปลายรัชกาลที่ 3 หรือตันรัชกาลที่ 4 ผู้แต่งประสงค์จะให้เป็นหนังสือสำหรับอ่านเนื่องกับหนังสือปถม ก กา เป็นแบบเรียนอักขรวิธีแต่โบราณ “มฤตยูวรรณนา” กล่าวแสดงเรื่องมรณธรรมและปรโลก ตามที่ได้รู้เห็นและได้ยินได้ฟังมาจากที่ต่างๆ
สำนักหอสมุดแห่งชาติ โดยหอสมุดแห่งชาติเขตลาดกระบัง เฉลิมพระเกียรติ จัดกิจกรรมจิตรกรน้อย ประจำปี ๒๕๖๗ ภายใต้โครงการพัฒนาและส่งเสริมหอสมุดแห่งชาติเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิต ประจำปี ๒๕๖๗ ในหัวข้อ “ประติมากรรมนูนสูง” วันพุธที่ ๑๙ มิถุนายน ๒๕๖๗ เวลา ๐๙.๐๐ - ๑๖.๐๐ น. ณ หอสมุดแห่งชาติเขตลาดกระบัง เฉลิมพระเกียรติ กรุงเทพมหานคร
กิจกรรมจิตรกรน้อยเป็นกิจกรรมที่สร้างแรงบันดาลใจให้เด็กและเยาวชนสนใจการอ่านทั้งทางตรงและทางอ้อม ให้ความรู้พื้นฐานด้านศิลปะควบคู่ไปกับการสร้างความสุขและความเพลิดเพลินอย่างสร้างสรรค์ โดยจัดเป็นรูปแบบอบรมเชิงปฏิบัติการให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมฝึกปฏิบัติ ซึ่งได้เชิญอาจารย์จากวิทยาลัยช่างศิลป สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม มาบรรยายให้ความรู้และฝึกปฏิบัติงานศิลปะเกี่ยวกับประติมากรรม สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. ๐๘ ๗๐๔๖ ๑๕๘๕ (คุณยุวเรศ)
ชื่อเรื่อง : ที่ระลึกพิธียกฉัตรทองคำและเปิดป้ายศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
หัวเรื่อง :1. สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช--พระราชประวัติ 2.สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
คำค้น : พระราชประวัติสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช, ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
แหล่งที่มา : ต้นฉบับหอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี
ลิขสิทธิ์ : หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี
รูปแบบ : PDF
ภาษา : ภาษาไทย
ประเภททรัพยากร : หนังสือท้องถิ่น (ห้องจันทบุรี)
รายละเอียดเนื้อหา : จัดพิมพ์เป็นที่ระลึกในพิธียกฉัตรทองคำและเปิดป้ายศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ณ หน้าค่ายตากสิน เนื้อหาเกี่ยวกับประวัติสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช การสร้างศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ท้ายเล่มเป็นรายชื่อคณะกรรมการศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช จังหวัดจันทบุรี
เลขทะเบียน : น 43 บ. 21234 จบ. (ร)
เลขหมู่ : ท 294.3135 ท535
เจดีย์และมณฑปเขาพลอยแหวน
ตั้งอยู่บนยอดเขาพลอยแหวน ตำบลพลอยแหวน อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี ลักษณะเป็นเจดีย์ทรงระฆัง ก่ออิฐถือปูน ประกอบด้วยฐานยกสูงรองรับองค์ระฆังที่แสดงถึงฝีมือช่างท้องถิ่นในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๔ และมณฑป ตั้งอยู่ด้านตะวันออกเฉียงใต้ของเจดีย์ คงเหลือเพียงส่วนฐาน ภายในประดิษฐานรอยพระพุทธบาทสลักจากหินทราย
เมื่อพ.ศ. ๒๔๑๙ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์) เสด็จพระราชดำเนินทางชลมารคโดยเรืออรรคราชวรเดช จากปากแม่น้ำจันทบุรีบริเวณป้อมไพรีพินาศ อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี เข้าสู่คลองบางกะจะ จากนั้นทรงม้าพิรุณรัศมีจนถึงเขาพลอยแหวน
กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนและกำหนดเขตที่ดินเจดีย์และมณฑปเขาพลอยแหวน ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๔ ตอนที่ ๑๔๓ วันที่ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๓๐ มีพื้นที่โบราณสถานประมาณ ๒ ไร่ ๙๐ ตารางวา
Chedi and Mondop Khao Phloi Waen
The Chedi (pagoda)and the Mondop (Mandapa, Thai Buddhist traditional square building) are atop of a hill named ‘Phloi Waen’ in Phloi Waen Subdistrict, Tha Mai District, Chanthaburi Province. This bell-shaped pagoda, made of brick and lime mortar, is on a high base and shows the craftsmanship of local artisans around the middle 19th century (200 years ago). The Mondop is on the southeast side of the pagoda, only the base remains. It was built to enshrine a sandstone Buddha footprint.
In 1876, King Rama V proceeded on an irrigation route to Khao Phloi Waen. He took a boat called ‘Akarat Woradet’ from an estuary of the Chanthaburi River near Phairi Phinat Fort, Laem Sing District, sailed into Bang Kacha Canal and mounted a horse named ‘Phirun Ratsami’ to a hill.
The Fine Arts Department announced the registration of Chedi and Mondop Khao Phloi Waen as an ancient monument in the Royal Gazette, Volume 104, Part 143, dated 28th July 1987. The total area is around 3,560 square meters.