ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,341 รายการ
1. ตำรายาเกร็ด เช่น ยาต้มแก้ไข้เนื้อ, แก้สาริบาดทั้งปวง, ยาแก้สารพัดไข้, ไข้อีดำอีแดง, ไข้ลากสาด, ยาต้มแก้ไข้, ยาแก้ไข้จับ, ยาต้มกินตัดรากไข้เนื้อสาริบาด ฯลฯ 2. ว่าด้วยประวัติเกี่ยวกับพระภูมิ 3. ตำราการปลูกเรือน 4. รูปยันต์ อักษรขอม ภาษาบาลี
สมเดจพระพุทธโฆษาจารย์. สาธุกถาและนาวาอุปมากถา ว่าด้วยดีนอกดีใน. พระนคร : โรงพิมพ์พระจันทร์, 2477. กล่าวถึงการรักษาความดีของคน ที่จะต้องมีทั้งดีนอก คือดีด้วยของข้างนอก เช่น ทรัพย์สมบัติ ทรัพย์สินต่างๆ และดีใน คือดีด้วยส่วนข้างในคือการมีวิชาความรู้ การประพฤติตัวดีทั้งกาย วาจา สุภาพเรียบร้อย อันจะทำให้คนเป็นคนที่สมบูรณ์
วันอังคารที่ ๑๔ กรกฎาคม ๒๕๖๓ เวลา ๐๙.๓๙ น. นายประทีป เพ็งตะโก อธิบดีกรมศิลปากร เป็นประธานประกอบพิธีถวายสักการะ องค์พระมหาธาตุเจ้าภูเพียงแช่แห้ง เนื่องในวาระมีอายุกาล ครบ ๖๖๗ ปี ในปี ๒๕๖๓ นี้ โดยมีนายไกรสินธุ์ อุ่นใจจินต์ ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่ นายเทอดศักดิ์ เย็นจุระ ผู้อำนวยการกลุ่มอนุรักษ์โบราณสถาน สำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่ ข้าราชการ เจ้าหน้าที่สำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่ และประชาชนทั่วไป ร่วมงานจำนวนมาก วัดพระธาตุแช่แห้ง พระอารามหลวง เป็นที่ประดิษฐาน องค์พระมหาธาตุเจ้าภูเพียงแช่แห้ง ปูชนียสถานที่สำคัญ อันเก่าแก่ของจังหวัดน่าน ตั้งอยู่ที่บ้านหนองเต่า ตำบลม่วงตึ๊ด อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน อยู่ห่างจากตัวเมืองออกไปประมาณ ๓ กิโลเมตร จากพงศาวดารเมืองน่านกล่าวว่า พระยาการเมือง เจ้านครน่าน ได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุจาก กรุงสุโขทัย (กระดูกข้อมือข้างซ้าย) มาประดิษฐานไว้ที่ดอยภูเพียงแช่แห้ง และตามตำนานกล่าวว่า พระพุทธเจ้าได้เสด็จมาประทับสรงน้ำที่ริมฝั่ง แม่น้ำน่านทางทิศตะวันออก ที่บ้านห้วยไค้ และเสวยผลสมอแห้ง ซึ่งพระยามลราชนำมาถวาย แต่ผลสมอนั้นแห้งมาก พระพุทธเจ้าจึงทรงนำผลสมอนั้นไปแช่น้ำก่อนเสวย และทรงพยากรณ์ว่า ต่อไปที่นี่จะมีผู้นำพระบรมสารีริกธาตุมาประดิษฐาน จึงเรียกพระสถูปที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุแห่งนี้ว่า พระธาตุแช่แห้ง พระธาตุแช่แห้ง เป็นโบราณสถานที่สำคัญแห่งหนึ่งของชาติ มีความสำคัญทั้งในด้านแบบแผนทางศิลปกรรม เป็นหลักฐานทางโบราณคดีและพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของจังหวัดน่าน มีความยาวฐานล่าง ซึ่งเป็นฐานเขียงรูปแท่งสี่เหลี่ยม ด้านละ ๑๙.๒๕ เมตร และมีความสูงจากฐานล่างระดับพื้นดินจนถึงปลายสุดของดอกไม้ทิพย์ มีความสูง ๔๓.๔๙ เมตร นับเป็นพระธาตุเจดีย์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของแผ่นดินล้านนา ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถาน ปี พ.ศ.๒๔๘๗
ชื่อเรื่อง : วัดช้างล้อม
ผู้แต่ง : กองโบราณ กรมศิลปากร
ปีที่พิมพ์ : ม.ป.ป.
สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพ
สำนักพิมพ์ : วิคตอรี่เพาเวอร์พอยท์
ผู้แต่ง : -
ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 6
สถานที่พิมพ์ : พระนคร
สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร
ปีที่พิมพ์ : 2511
หมายเหตุ : บริษัท ตั้งท่งฮวด จำกัด บริษัท สยามกลการ จำกัด และลูก หลานเหลน ในตระกูลพรประภา พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานบรรจุศพ คุณพ่อไต้ล้ง พรประภา 4 กันยายน พ.ศ. 2511
หนังสือพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขานี้ ได้รวบรวมรวบเนื้อหาของตำนานหนังสือพงศาวดาร และพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา สำหรับในตอนต้นได้กล่าวถึงตำนานหนังสือพงศาวดาร มีเนื้อหากล่าวถึงเรื่องการสร้างกรุงศรีอยุธยา อธิบายเหตุการณ์เมื่อก่อนสร้างกรุงศรีอยุธยา ประวัติไทย ประวัติขอม ประวัติพม่า พงศาวดารของพระเจ้าอู่ทอง ประวัติของราชอาณาจักรสุโขทัย และประวัติอาณาจักรลานนาไทย สำหรับพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขากล่าวความไว้ในสมัยแผ่นดินสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 กระทั่งถึงสมัยแผ่นดินสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 4 (เจ้าฟ้าศรีเสาวภาคย์) พร้อมอธิบายเรื่องในรัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 รัชกาลสมเด็จพระบรมบรมราชาธิราชที่ 1 รัชกาลสมเด็จพระราเมศวร รัชกาลสมเด็จพระอินทราชาธิราชที่ 1 รัชกาลสมเด็จพระราชาธิราชที่ 2 รัชกาลสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ รัชกาลสมเด็จพระอินทราชาธิราชที่ 2 รัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 รัชกาลสมเด็จพระบรมราชาหน่อพุทธางกูรและพระรัฏฐาธิราช รัชกาลสมเด็จพระไชยราชาธิราช รัชกาลสมเด็จพระมหาจักรพรรดิและสมเด็จพระมหินทราธิราช รัชกาลสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช รัชกาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช และในรัชกาลสมเด็จพระเอกาทศรถ
ผู้แต่ง : สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชีนีนาถ
ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1
สถานที่พิมพ์ : พระนคร
สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์คุรุสภา
ปีที่พิมพ์ : 2506
หมายเหตุ : พิมพ์เนื่องในโอกาสจัดงานฉลองวันพระราชสมภพครบรอบร้อยปี ของ สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ เมื่อวันที่ 1 มกราคม พุทธศักราช 2507
พระราชหัตถเลขา สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี ในรัชกาลที่ 6 และรัชกาลที่ 7 พระราชทาน เจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี เป็นการนำเอาจดหมายของสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี ซึ่งได้ทรงมีถึงเจ้าพระยาพระเสดจสุเรนทราธิบดีมาพิมพ์ เนื้อหาส่วนใหญ่เกี่ยวกับการศึกษาของพระราชโอรส และในตอนท้ายจะมีเนื้อหาเกี่ยวกับการศึกษาของสตรีไทยด้วย
การผลิตสังคโลกในอดีตนั้น ความเชี่ยวชาญของช่างปั้นและประสบการณ์ที่ได้จากการลองผิดลองถูกถือเป็นสิ่งสำคัญเนื่องจากในสมัยก่อนยังไม่มีเครื่องมือต่าง ๆ ที่ช่วยให้การผลิตเครื่องสังคโลกมีประสิทธิภาพ ในบางครั้งการผลิตเครื่องสังคโลกจึงเกิดความผิดพลาดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ความผิดพลาดที่เกิดจากการผลิตสังคโลกมีหลายกรณี เช่น การแตกราน เกิดจากตัวเคลือบและเนื้อดินปั้นขยายหรือหดตัวไม่เท่ากัน ทำให้ผิวเคลือบมีรอยแตกเหมือนร่างแห น้ำเคลือบแยกตัว มีสาเหตุการเกิดหลายประการ เช่น เนื้อดินปั้นเปียกชื้น มีฝุ่นละอองจับอยู่ที่ผิวดินก่อนเคลือบ หรือน้ำเคลือบข้นเกินไป ทำให้สังคโลกที่ได้มีช่องว่างที่เห็นผิวดินเพราะไม่มีเคลือบติดอยู่ น้ำเคลือบไหลตัว เป็นผลมาจากการเผาด้วยอุณหภูมิสูงเกินไป หรือชุบน้ำเคลือบหนาเกินไป ส่งผลให้น้ำเคลือบไหลตัวเป็นหยด การแตกร้าว มีสาเหตุมาจากการชุบเคลือบหนาเกินไป หรือนำภาชนะออกจากเตาในขณะที่ยังร้อนอยู่ และเมื่อพบกับอุณหภูมิภายนอกที่ต่ำกว่ามาก ภาชนะจึงแตกร้าว การบิดเบี้ยว เกิดจากการเผาภาชนะด้วยความร้อนสูงเกินไป หรือตั้งภาชนะอยู่ใกล้เปลวไฟมากเกินไป ทำให้สังคโลกเกิดการบิดเบี้ยวเสียรูปทรง
แม้ว่าสังคโลกกลุ่มนี้จะไม่ใช่ผลงานที่สมบูรณ์แต่ก็ถือเป็นโบราณวัตถุสำคัญที่แสดงถึงความพยายามของช่างในการผลิตเครื่องสังคโลก และเป็นตัวอย่างของบทเรียนจากความผิดพลาดที่ทำให้เราได้เรียนรู้วิธีการผลิตเครื่องปั้นดินเผาของคนในอดีตเพื่อนำไปใช้พัฒนาต่อยอดต่อไปได้
ชื่อเรื่อง เรื่องพระราชานุกิจผู้แต่ง กรมศิลปากรประเภทวัสดุ/มีเดีย หนังสือหายากหมวดหมู่ บุคคลในสาขาสังคมศาสตร์เลขหมู่ 923.1593 ศ528รสถานที่พิมพ์ พระนครสำนักพิมพ์ โรงพิมพ์พระจันทร์ ปีที่พิมพ์ 2489ลักษณะวัสดุ 92 หน้า หัวเรื่อง กษัตริย์และผู้ครองนคร--ไทย--ชีวประวัติ ภาษา ไทยบทคัดย่อ/บันทึก พิมพ์พระราชทานในการพระราชกุศล 100 วัน พระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรเมทรมหาอนันทมหิดล ณ วันที่ 20 กันยายน พ.ศ.2479 เรื่องพระราชานุกิจกรุงรัตนโกสินทร์ เดิมสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงแต่งคำอธิบาย และทรงรวบรวมและเรียบเรียงพระราชานุกิจรัชชกาลต่างๆ ตั้งแต่รัชชกาลที่ 1 มาโดยลำดับจนถึงรัชชกาลที่ 5
ชื่อเรื่อง เทศนาสังคิณี-มหาปัฎฐานสพ.บ. 194/3ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 32 หน้า กว้าง 5.2 ซ.ม. ยาว 56 ซ.ม. หัวเรื่อง พุทธศาสนา บทสวดมนต์บทคัดย่อ/บันทึก
เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากวัดพยัคฆาราม ต.ศรีประจันต์ อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี