ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,418 รายการ


           พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี จัดโครงการเนื่องในวันพิพิธภัณฑ์ไทย ประจำปี 2567 ในวันศุกร์ที่ 6 กันยายน 2567 ตั้งแต่เวลา 08.00 น. - 12.00 น. ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี พบกับนิทรรศการ “ตัวตน คนมอญ สุพรรณบุรี" สัมผัสอัตลักษณ์ชาวมอญบ้านทุ่งเข็น สุพรรณบุรี ชิมอาหารสำรับมอญ ชมสีสันการแต่งกายของชาวมอญ และทดลองประดิษฐ์ธงตะขาบธงที่ใช้ในงานประเพณี รับฟังการเสวนา เรื่อง “เหลียวหลัง แลหน้า ไทยรามัญสุพรรณบุรี” โดยวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ นางสาวสุกัญญา เบาเนิด ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ ๓ พระนครศรีอยุธยา นางสาวนิษฐกานต์ คุณวัชระกิจ วัฒนธรรมจังหวัดสุพรรณบุรี และผู้แทนชาวมอญชุมชนทุ่งเข็น สุพรรณบุรี สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร.0 3553 5330


ตอนนี้ ถนนจอมพล กำลังเป็นกระแสของชาวโคราชอีกครั้ง เพราะกำลังมีกิจกรรม “#GRAFFITTI X #ChompolFest.” โดย GRAFFITTI ทั้ง 4 จุดที่กระจายตัวอยู่บนถนนจอมพลนี้ ช่วยเพิ่มความน่าสนใจของถนนเส้นนี้ได้ดีมากขึ้น พี่นักโบจึงหยิบยก บทความ “สืบร่องรอย “ถนนจอมพล” ผ่านหลักฐานทางโบราณคดี” มาเล่าให้ทุกท่านได้ฟัง ก่อนจะไปชมงานศิลปะ ดื่มด่ำวิถีชีวิตด้วยวิธีเดินเมืองกันครับ . หากเรามอง “#ถนนจอมพล” ในมิติทางประวัติศาสตร์ และโบราณคดีแล้ว ถนนเส้นนี้คือกระดูกสันหลังของเมืองนครราชสีมา มาช้านาน เป็นเส้นแกงกลาง เมืองนครราชสีมา ตามแนวแกนทิศตะวันออก-ทิศตะวันตก มีความยาวเท่ากับความกว้างของเมืองคือ 1,700 เมตร จุดสังเกตง่ายๆของถนนจอมพลคือตั้งอยู่ด้านหลังประตูชุมพล ซึ่งเป็นจุดหมายตาสำคัญ ทอดยาวไปทางด้านทิศตะวันออกจรดประตูพลล้าน ด้วยเป็นถนนแกนกลางของเมือง จึงมีโบราณสถานและศาสนสถานสำคัญตั้งอยู่ 2 ฝั่งถนน หลายแห่ง อาทิ ประตูชุมพลวัดบึง ศาลเจ้าบุญไพศาล ศาลหลักเมือง วัดกลางนคร (วัดพระนารายณ์มหาราชวรวิหาร) สถานพระนารายณ์ บ้านท่านท้าวสุรนารี และวัดบูรพ์ . ในอดีตถนนเส้นนี้เป็นรู้จักกันในชื่อถนน “#เจริญพานิชย์” คงเพราะเป็นถนนที่มีการทำธุรกิจการค้ามาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 ภายหลังได้เปลี่ยนชื่อ เป็นถนน “จอมพล” เพื่อเป็นเกียรติให้กับ จอมพลแปลก พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น คราวเดินทางมาตรวจราชการจังหวัดนครราชสีมา และยังเป็นถนนเส้นแรกของเมืองที่ลาดยางเนื่องจากเป็นถนนสายเศรษฐกิจ มีธุรกิจ ห้าง ร้าน หลายแห่ง  . “#ถนนจอมพลจากหลักฐานทางโบราณคดี"    ผลการขุดค้นทางโบราณคดีที่ผ่านมา ภายใต้โครงการพัฒนาระบบไฟฟ้าในเมืองใหญ่ พบโบราณวัตถุหลายประเภท ซึ่งแสดงถึงร่องรอยกิจกรรมของมนุษย์ในอดีตบริเวณถนนจอมพล ดังนี้ . 1. เครื่องถ้วยจีน โดยภาชนะทั้งหมดสามารถกำหนดอายุอยู่ในช่วง ปลายพุทธศตวรรษที่ 24-25 จากการวิเคราะห์ลวดลายและเทคนิคที่พบ ได้จัดจำแนกเครื่องถ้วยจีน ที่พบจากแหล่งเตาชิงจี แหล่งเตาจิ่งเต๋อเจิ้น และแหล่งเตาเฉาอันและเหยาผิง รวมทั้งสิ้น 3 กลุ่ม  . 2. เครื่องถ้วยญี่ปุ่น พิมพ์ลายสีน้ำเงินลายดอกไม้ และก้านขด บนพื้นสีขาวด้านใน พิมพ์ลายเส้นบริเวณปากและก้น ผลิตจากแหล่งเตาในประเทศญี่ปุ่น โดยเทคนิคการพิมพ์ลายนี้ สามารถกำหนดอายุสมัยอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 25 . 3. เครื่องถ้วยฝรั่งเศส เคลือบน้ำเคลือบสีขาว ผลิตจากแหล่งเตาในประเทศฝรั่งเศส บริเวณก้นมีข้อความ “OPAQUE DE SARREGUEMINES” พร้อมสัญลักษณ์ โดย รูปแบบสัญลักษณ์ดังกล่าว เป็นตราผลิตภัณฑ์เครื่องถ้วยเนื้อกระเบื้อง ที่ผลิตจากเมืองแซร์กูมีนส์ (Sarreguemines) ซึ่งใช้เป็นเครื่องหมายการค้าอย่างเป็นทางการ ระหว่าง พ.ศ. 2400-2457 ตรงกับรัชกาลที่ 5-6 . 4. ภาชนะดินเผาเนื้อดินธรรมดา และเนื้อแกร่ง ผิวเรียบ ไม่ตกแต่ง สันนิษฐานว่าผลิตจากแหล่งเตาพื้นถิ่น ไม่สามารถกำหนดอายุสมัยและแหล่งที่มาได้ชัดเจน . 5. หอยเบี้ย จำนวน 2 สำหรับหอยเบี้ยมีการใช้เป็นเงินตราแลกเปลี่ยนมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย อยุธยา ธนบุรี ถึง สมัยรัตนโกสินทร์ จนกระทั่งใน พ.ศ. 2405 มีประกาศยกเลิกใช้หอยเบี้ย แล้วประกาศใช้เงินตราประเภท อัฐ โสฬส ซึ่งล้นเกล้ารัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ ให้จัดทำระบบแลกเปลี่ยนเงินตราขึ้นใหม่ ซึ่งใน พ.ศ. 2405 นั้นโรงกษาปณ์ได้ผลิตเหรียญดีบุกขึ้นเป็นครั้งแรก โดยหอยเบี้ยทั้ง 2 ชิ้น พบร่วมกับเครื่องถ้วยจีน จากแหล่งเตาจิ่งเต๋อเจิ้น ผู้เขียนจึงกำหนดอายุอยู่ในช่วงครึ่งแรกพุทธศตวรรษที่ 25 . 6. แผ่นไม้ ซึ่งสันนิษฐานว่า แผ่นไม้ดังกล่าวเป็นแผ่นไม้ปูพื้นถนนจอมพล โดยอ้างอิงจากภาพถ่ายเก่าถนนโพธิ์กลาง ซึ่งต่อเนื่องจากถนนจอมพลไปทางด้านทิศตะวันตก นอกเมืองเก่านครราชสีมา ซึ่งสันนิษฐานว่าถ่ายขึ้นในช่วงปลายรัชกาลที่ 5-6 ครึ่งหลังพุทธศตวรรษที่ 25 เนื่องจากพื้นถนนเป็นเนินสูงสลับกับที่ลาดต่ำ จึงมีการปรับพื้นที่ถนน โดยใช้ไม้หมอนวางเรียงกันเป็นแนว แล้วปูทับด้วยไม้กระดาน เรียงเป็นลูกระนาด ในอดีตชาวโคราชจึงเรียกถนนลักษณะนี้ว่า “ถนนกระดาน” . #สรุป พุทธศตวรรษที่ 25 เป็นช่วงเวลาที่เมืองนครราชสีมา มีความเจริญเติบโตมากขึ้นกว่าสมัยก่อนหน้า ในฐานะศูนย์กลางการปกครองเทศาภิบาลมณฑลลาวกลาง ตั้งแต่ พ.ศ. 2436 และศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ เพราะถือกำเนิดรถไฟสายกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ตั้งแต่ พ.ศ. 2443 ด้วยทั้ง 2 ปัจจัย ส่งผลให้เมืองนครราชสีมาเติบโตขึ้น มีการปลูกสร้างอาคาร ห้างร้าน บ้านเรือน ต่าง ๆ ที่ขยายตัวมากขึ้นตามลำดับ . ถนนจอมพล ในฐานะถนนเส้นแกนกลางของเมือง ช่วงเวลานั้น ถูกยกให้เป็นถนนเส้นสำคัญ เพราะเป็นทั้งศูนย์กลางความเชื่อของคนนครราชสีมา ด้วยปรากฏ ศาสนสถานหลากหลายความเชื่อบนถนนเส้นเดียวกันนี้ และเป็นถนนสายเศรษฐกิจ จนมีชื่อว่า “เจริญพานิชย์” โดยเฉพาะชาวจีนจากมณฑลกว่างตงที่อพยพโยกย้ายเข้ามาตั้งถิ่นฐานทำการค้าตั้งแต่ พ.ศ. 2400 บริเวณนี้ จนกลายเป็นย่านธุรกิจการค้าสำคัญของเมืองนครราชสีมาจวบจนถึงปัจจุบัน  . จากหลักฐานทางโบราณคดีที่พบกำหนดอายุร่องรอยกิจกรรมของมนุษย์ในอดีตบนถนนจอมพล มีอายุอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 25 เช่นเดียวกัน โดยอ้างอิงอายุสมัยจากรูปแบบเครื่องถ้วยต่างประเทศที่พบจากการขุดค้น เป็นหลัก โดยเครื่องถ้วยต่างประเทศและโบราณวัตถุต่าง ๆ ที่พบแสดงให้เห็นการอยู่อาศัยและการติดต่อสัมพันธ์ระหว่างชาวนครราชสีมากับชุมชนต่างภูมิภาค ได้เป็นอย่างดี ด้วยเพราะนครราชสีมาในตอนนั้น เป็นทั้งศูนย์กลางการปกครองและศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย . พี่นักโบชวนอ่านบทความฉบับเต็ม เรื่อง สืบร่องรอย “ถนนจอมพล” ผ่านหลักฐานทางโบราณคดี” #นิตยสารศิลปากร ปีที่ 65 ฉบับที่ 5 (กันยายน-ตุลาคม 2565) หน้า 38-53 ได้ที่ website : https://digitalcenter.finearts.go.th/ หรือ คลังข้อมูลดิจิทัล – กรมศิลปากร ได้เลยครับ . เรียบเรียงนำเสนอโดย นายวรรณพงษ์ ปาละกะวงษ์ ณ อยุธยา นักโบราณคดีปฏิบัติการ  . #ย่านจอมพล #ถนนจอมพล


ปราสาทบ้านปราสาท           ตั้งอยู่ที่บ้านปราสาท ตำบลหาดนางแก้ว อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี ประกอบด้วย ปราสาทประธานสร้างด้วยศิลาแลง ๑ หลัง หันหน้าไปทางตะวันออก บรรณาลัย ล้อมรอบด้วยกำแพงแก้วก่อด้วยศิลาแลง และมีสระน้ำรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าอยู่ด้านตะวันออกเฉียงเหนือ            สันนิษฐานว่าเป็นศาสนสถานประจำสถานพยาบาล หรือที่เรียกว่า “อโรคยศาล” กำหนดอายุอยู่ในช่วงประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๘ หรือประมาณ ๘๐๐ ปีมาแล้ว สร้างขึ้นในรัชสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗  แห่งอาณาจักรเขมรโบราณ และยังพบศาสนสถานที่สร้างขึ้นในช่วงเวลาเดียวกันอีกหลายแห่งระหว่างเส้นทางติดต่อจากเมืองพระนครหลวงของอาณาจักรเขมรโบราณ ผ่านพื้นที่ทางภาคตะวันออกไปยังดินแดนภาคกลางและภาคตะวันตกของประเทศไทย ดังที่ได้พบหลักฐานศาสนสถานในลักษณะเดียวกันนี้ ได้แก่ ปราสาทบ้านน้อย อำเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว และโบราณสถานสระมรกต อำเภอศรีมโหสถ จังหวัดปราจีนบุรี ปรางค์สามยอด จังหวัดลพบุรี  และปราสาทเมืองสิงห์ จังหวัดกาญจนบุรี           กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนและกำหนดเขตที่ดินโบราณสถานปราสาทบ้านปราสาท   ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๔ ตอนที่ ๒๔๖ วันที่ ๑ ธันวาคม ๒๕๓๐ มีพื้นที่โบราณสถานประมาณ ๖ ไร่ - งาน ๒๘ ตารางวา Prasat Ban Prasat           Prasat Ban Prasat is in Ban Prasat, Hat Nang Kaeo Subdistrict, Kabin Buri District, Prachin Buri Province. This laterite monument consists of a main tower as the center of the sanctuary, a Bannaraya, and an enclosed wall.            The ancient site is presumed to have been an Image House of a Buddhist Hospital or ‘Arogyasala’ that King ‘Jayavarman VII’ ordered to establish all over the ancient Khmer Empire in the late 12th century (800 years ago). Another Image Houses have been found in Eastern Thailand, such as Prasat Ban Noi (Watthana Nakhon District, Sa Kaeo Province) and Sa Morakot (Si Mahosot District, Prachin Buri Province). These Image Houses reveal the land routes from Angkor Thom to Central and Western Thailand through the Eastern area.           The Fine Arts Department announced the registration of Prasat Ban Prasat as an ancient monument in the Royal Gazette, Volume 104, Part 246, dated 1st December 1987. The total area is around 9,772 square meters.   


***รายการบรรณานุกรม*** หนังสือหายาก กรมศิลปากร.  ละตอนนอก เรื่อง แก้วหน้าม้า ตอน ถวายลูก.  พระนคร : ศิวพร, ๒๕๐๕.



ชื่อเรื่อง : ซอพื้นบ้าน ศิลปะการขับขานล้านนา ผู้แต่ง : ชมรมสืบสารตำนานปี่ซอ ปีที่พิมพ์ : 2548 สถานที่พิมพ์ : เชียงใหม่ สำนักพิมพ์ : นพบุรีการพิมพ์      ซอเป็นศิลปะการขับขานของล้านนาที่มีมานานเป็นสื่อพื้นบ้านแขนงหนึ่งในบรรดาสื่อพื้นบ้านต่างๆ ที่มีในล้านนา ซอถูกนำไปใช้ในแง่ของสื่อที่สร้างความบันเทิงในงานต่างๆ พร้อมกันนั้นก็สอดแทรกสาระความรู้ต่างๆ ให้กับผู้ฟังด้วนเช่นกัน โดยเนื้อหาสาระที่ช่างซอนำมาสื่อนั้นมีอย่างหลากหลาย ทั้งเรื่องราวในท้องถิ่นประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต เหตุการณ์สำคัญ ในช่วงเวลาต่างๆ รวมไปถึงบทซอที่แต่งขึ้นใช้เฉพาะในประเพณีต่างๆ นอกจากนี้ยังเป็นพื้นฐานของผู้ที่สนใจเรื่องซอผู้หัดเรียนซอและแต่งซอเบื้องต้นให้เกิดความรู้และความเข้าใจในหลักการของซอเบื้องต้น จึงเป็นประโยชน์สำหรับการหัดซอในระดับสูงต่อไป



     เทพนพเคราะห์ คือ เทพทั้ง ๙ องค์ ผู้ครองเรือนชะตาของมนุษย์ มีต้นกำเนิดมาจากโหราศาสตร์ฮินดูที่นับถือพระสุริยเทพ (พระอาทิตย์) ซึ่งมีเทพบริวารอีก ๘ องค์ รวมเป็น ๙ องค์ ซึ่งให้โทษหรือสร้างอุปสรรคให้กับมนุษย์มากกว่าจะให้คุณ ต่อมาจึงต้องมีผู้ควบคุมเทพนพเคราะห์อีกชั้นหนึ่ง นั่นคือ พระคเณศ เทพผู้เป็นใหญ่เหนืออุปสรรคทั้งมวล เทพนพเคราะห์ทั้ง ๙ องค์ ประกอบด้วย พระอาทิตย์   เป็นเทพนพเคราะห์ที่มีอำนาจเหนือกว่าเทพ   นพเคราะห์ทั้งปวง พระอิศวรทรงใช้ราชสีห์ ๖ ตัว ป่นเป็นผง  ห่อด้วยผ้าสีแดง พรมด้วยน้ำอมฤต  ลักษณะเป็นบุรุษมีผิวกาย  สีแดง ทรงราชสีห์เป็นพาหนะ ประจำอยู่ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นเทพนพเคราะห์ประเภทบาปเคราะห์ มักมีอารมณ์รุนแรง ตัดสินใจไว เฉียบขาด รักอิสระ แต่ซื่อสัตย์ เป็นมิตรกับพระพฤหัสบดี และเป็นศัตรูกับพระอังคาร สัญลักษณ์เลข ๑ มีกำลังพระเคราะห์เป็น ๖พระจันทร์  พระอิศวรทรงสร้างจากเทพธิดา ๑๕ นาง บดป่นเป็นผง ห่อผ้าสีขาวนวล พรมด้วยน้ำอมฤตได้บุรุษรูปงาม มีสีผิวกายขาวนวล ทรงอาชา (ม้า) เป็นพาหนะ ประจำอยู่ทิศตะวันออก เป็นเทพนพเคราะห์ประเภทศุภเคราะห์ มีอารมณ์อ่อนโยน เพ้อฝัน รวนเร และอาจมีเล่ห์เหลี่ยมมาก พระจันทร์เป็นมิตรกับพระพุธ และเป็นศัตรูกับพระพฤหัสบดี สัญลักษณ์เลข ๒ มีกำลังพระเคราะห์เป็น ๑๕พระอังคาร   พระอิศวรทรงสร้างจากกระบือ ๘ ตัว บดป่นเป็นผง ห่อด้วยผ้าสีชมพูหม่น พรมด้วยน้ำอมฤตได้บุรุษผิวสีทองแดง ทรงกระบือเป็นพาหนะ ประจำอยู่ทิศตะวันออกเฉียงใต้ เป็นเทพนพเคราะห์ประเภทบาปเคราะห์ มีอารมณ์มุทะลุ ตึงตัง ชอบใช้กำลัง ใจร้อน เป็นมิตรกับพระศุกร์ และเป็นศัตรูกับพระอาทิตย์ สัญลักษณ์เลข ๓ มีกำลังพระเคราะห์เป็น ๘พระพุธ   พระอิศวรทรงใช้ช้าง ๑๗ เชือก บดป่นเป็นผง ห่อผ้าสีเขียวใบไม้ พรมด้วยน้ำอมฤตได้บุรุษมีผิวกายสีเขียว ทรงช้างเป็นพาหนะ ประจำอยู่ทิศใต้ เป็นเทพนพเคราะห์ประเภทศุภเคราะห์ ชอบพูดชอบเจรจา สุขุม รอบคอบ แต่ตื่นกลัวง่าย เป็นมิตรกับพระจันทร์ และเป็นศัตรูกับพระราหู สัญลักษณ์เลข ๔ มีกำลังพระเคราะห์เป็น ๑๗ พระพฤหัสบดี   พระอิศวรสร้างจากฤษี ๑๙ ตน บดป่นเป็นผง ห่อผ้าสีส้มแดง พรมน้ำอมฤตได้เป็นพระพฤหัสบดี มีผิวกายสีส้มแดง ทรงกวางเป็นพาหนะ ประจำอยู่ทิศตะวันตก เป็นเทพนพเคราะห์ประเภทศุภเคราะห์ มักทำอะไรด้วยความระมัดระวัง สุขุม รอบคอบ เมตตาปรานีต่อผู้อื่น เป็นมิตรกับพระอาทิตย์ และเป็นศัตรูกับพระจันทร์ สัญลักษณ์เลข ๕ มีกำลังพระเคราะห์เป็น ๑๙ เป็นครูของเทพทั้งหลาย จึงนิยมทำพิธีไหว้ครูในวันพฤหัสบดี  พระศุกร์   พระอิศวรทรงสร้างจากโค ๒๑ ตัว บดป่นเป็นผง ห่อด้วยผ้าสีฟ้าอ่อน พรมด้วยน้ำอมฤตเป็นพระศุกร์ มีผิวกายสีฟ้า ทรงโคเป็นพาหนะ ประจำอยู่ทิศเหนือ เป็นเทพนพเคราะห์ประเภทศุภเคราะห์ กิริยาน่ารัก อ่อนหวาน ชอบงานศิลปะทุกประเภท เป็นมิตรกับพระอังคารและเป็นศัตรูกับพระเสาร์ สัญลักษณ์เลข ๖ มีกำลังพระเคราะห์เป็น ๒๑ พระศุกร์เป็นครูของเหล่ายักษ์พระเสาร์   พระอิศวรทรงสร้างจากเสือ ๑๐ ตัว บดป่นเป็นผง ห่อผ้าสีดำ พรมด้วยน้ำอมฤตได้พระเสาร์มีสีกายดำคล้ำ ทรงเสือเป็นพาหนะ ประจำอยู่ทิศตะวันตกเฉียงใต้ เป็นเทพนพเคราะห์ประเภทบาปเคราะห์ มีกิริยาดุดัน แข็งแรง กล้าได้กล้าเสีย บุคลิกเคร่งขรึม เป็นมิตรกับพระราหูและเป็นศัตรูกับพระศุกร์ สัญลักษณ์เลข ๗ มีกำลังพระเคราะห์เป็น ๑๐พระราหู   พระอิศวรทรงสร้างจากหัวกะโหลก ๑๒ หัว (บางตำราว่าผีโขมด ๑๒ ตัว) บดป่นเป็นผง ห่อผ้าสีทอง พรมน้ำอมฤตได้เป็นพระราหู มีกายสีนิลออกไปทางทองแดง ทรงครุฑเป็นพาหนะ มีวิมาน สีนิลอยู่ในอากาศ ประจำอยู่ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ เป็นเทพนพเคราะห์ประเภทบาปเคราะห์ ให้ผลในทาง  ลุ่มหลงมัวเมา เป็นมิตรกับพระเสาร์และเป็นศัตรูกับ พระพุธ สัญลักษณ์เลข ๘ มีกำลังพระเคราะห์เป็น ๑๒พระเกตุพระอิศวรทรงสร้างจากพญานาค ๙ ตัว กายสีทองคำ ทรงนาคเป็นพาหนะ มีวิมานสีดอกบุษบา (เปลวไฟ) ประจำอยู่ในทิศท่ามกลาง  บ้างว่า  พระเกตุเกิดจากหางของพระราหู ซึ่งขโมยดื่มน้ำอมฤต พระอินทร์โกรธจึงขว้างจักรตัดเอวขาด ด้วยอำนาจแห่งน้ำอมฤตทำให้พระราหูไม่ตาย หางที่ขาดนั้นกลายเป็นพระเกตุ ซึ่งจะไม่เสวยอายุโดยตรง แต่จะเข้าแทรกเพื่อบรรเทาเรื่องร้ายและส่งเสริมในเรื่องดี สัญลักษณ์คือเลข  ๙   การบูชาเทวดาเสวยอายุ       หากต้องการทราบว่าเทพนพเคราะห์องค์ใดเสวยอายุให้นับอายุเต็มเป็นตัวตั้ง เริ่มต้นนับกำลังของเทพนพเคราะห์ประจำวันเกิดเวียนขวาไปตามผังทักษา  แต่ละองค์จะเสวยอายุตามกำลังแห่งตน ยกเว้นพระเกตุจะไม่เข้าเสวยอายุ แต่จะเข้าแทรกเพื่อบรรเทาเคราะห์กรรมหรือเพิ่มความเจริญรุ่งเรือง  คนไทยโบราณได้ผนวกความเชื่อจากศาสนาฮินดูเข้ากับศาสนาพุทธ  โดยให้จัดเครื่องบูชาถวาย ดังนี้  ข้าวปั้นจำนวนเท่ากำลังพระเคราะห์ใส่กระทง พร้อมข้าวตอก ดอกไม้ หมากพลู แล้วเขียนเลขประจำตัวพระเคราะห์(บัตร)ใส่กระทงนั้นไปบูชาพระพุทธรูป จากนั้นจุดธูปตามจำนวนกำลังพระเคราะห์  หรือหล่อพระพุทธรูปประจำเทพนพเคราะห์ถวายวัด


  กรมศิลปากรจัดโครงการวัฒนธรรมสัญจรสู่สถานศึกษา ประจำปี ๒๕๕๙ ณ โรงเรียนเบญจมราชูทิศ จ.ราชบุรี ในวันที่ ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๕๙ กิจกรรมประกอบด้วย การแสดงนาฏศิลป์ จากสำนักการสังคีต , รถพิพิธภัณฑ์สัญจร จากสำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ,  กิจกรรมส่งเสริมความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรม นิทรรศการ การออกร้านจำหน่ายหนังสือ โดยกลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ โดยมีคณะครูและนักเรียนให้ความสนใจ เข้าร่วมกิจกรรม กว่า ๓,๐๐๐ คน


1. ที่ตั้ง     อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย ตั้งอยู่ในเขตตำบลศรีสัชนาลัย ตำบลสารจิตร ตำบลหนองอ้อ และตำบลท่าชัย อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย ตัวเมืองโบราณศรีสัชนาลัย อยู่ในเขตหมู่บ้านพระปรางค์ ตำบลศรีสัชนาลัย โดยอยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครไปทางทิศเหนือ ประมาณ 550 กิโลเมตร     เมืองโบราณศรีสัชนาลัยมีสภาพภูมิประเทศที่ตั้งของเมืองเป็นที่ราบเชิงเขาพระศรี และ เขาใหญ่ ทางด้านทิศตะวันตก และมีลำน้ำยมอยู่ทางด้านทิศตะวันออก      กรมศิลปากรได้กำหนดเขตที่ดินโบราณสถานอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย ประมาณ 28,217 ไร่2. ความสำคัญทางประวัติศาสตร์     เนื่องจากสภาพภูมิประเทศที่ตั้งของเมืองศรีสัชนาลัย มีความเหมาะสมต่อการตั้งถิ่นฐาน คือมีทั้งที่ราบลุ่มริมแม่น้ำยมและที่ลาดเชิงเขาพระศรี และเขาใหญ่ ทำให้มีทั้งความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่และสิ่งป้องกันทางธรรมชาติที่ใช้ในการป้องกันข้าศึกศัตรูได้อย่างดีด้วย      จากหลักฐานที่สำรวจพบ พวกขวานหินขัด (เครื่องมือ เครื่องใช้ ของคนสมัยโบราณ) ที่พบที่ตำบลท่าชัย อำเภอศรีสัชนาลัยรวมทั้งจาก หลักฐานการขุดค้นทางโบราณคดีที่วัดชมชื่น แสดงว่ามีชุมชน เข้ามาอยู่อาศัยตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 9 (พ.ศ.800)เป็นต้นมาเป็นชุมชนร่วมสมัย ทวารวดีในภาคกลางถัด ขึ้นมาเป็นหลักฐานของวัฒนธรรมร่วมสมัยลพบุรี (พุทธศตวรรษที่ 18,พ.ศ. 1700) ปรากฏหลักฐานที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุเชลียง ในระยะนั้นเมืองศรีสัชนาลัยมีชื่อว่าเมืองเชลียง ตามหลักฐานที่ปรากฏในศิลาจารึก ตำนานและพงศาวดารที่ยืนยันว่ามีเมืองโบราณ 2 เมือง อยู่ในลุ่มน้ำยมก่อนแล้ว คือ เมืองสุโขทัย และเมืองเชลียงต่อมาได้มีการก่อสร้างเมืองศรีสัชนาลัยขึ้นทางด้านทิศเหนือของเมืองเชลียงห่างออกไปประมาณ 1.5 กิโลเมตร เมืองศรีสัชนาลัยมีความสำคัญควบคู่กันมากับเมือง สุโขทัย โดยจากหลักฐานได้กล่าวถึงพ่อขุนศรีนาวนำถม ว่าเป็นกษัตริย์ครอง 2 นคร คือ เสวยราชย์ทั้งเมืองสุโขทัยและเมืองศรีสัชนาลัย (ก่อน พ.ศ. 1781)      ต่อมาจนถึงพ่อขุนศรีอินทราทิตย์เป็นกษัตริย์ปกครองอาณาจักรสุโขทัย (พ.ศ.1781 - 1822) ทรงโปรดให้พ่อขุนบาลเมืองไปครองเมืองศรีสัชนาลัย ส่วนพ่อขุนรามคำแหง พระยาลิไทก็เคยครองเมืองศรีสัชนาลัย ก่อนขึ้นเสวยราชย์เป็นกษัตริย์ปกครองอาณาจักรสุโขทัย      เมืองศรีสัชนาลัยมีฐานะเป็นเมืองลูกหลวงของสุโขทัย ต่อมาจนแม้กระทั่งสุโขทัยตกอยู่ภายใต้อำนาจของกรุงศรีอยุธยา และได้เปลี่ยนชื่อเรียกว่า เมืองสวรรคโลก      เมืองศรีสัชนาลัยหรือเมืองสวรรคโลกในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น เป็นเมืองสำคัญที่ผลิตภาชนะเครื่องเคลือบสังคโลกให้แก่กรุงศรีอยุธยา ในสมัยต่อมาเมื่อมีการจัดระบบการปกครองปรับปรุงเรื่องเชื้อสายราชวงศ์ให้เข้าอยู่ในระบบราชการเรียบร้อยแล้ว กรุงศรีอยุธยา ได้เป็นผู้แต่งตั้งเจ้าเมืองเข้ามา ปกครองเมืองสวรรคโลกมีฐานะเป็นหัวเมืองชั้นนอกระดับเมืองโท     หลังเสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่า ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2310 เมืองศรีสัชนาลัยหรือ สวรรคโลกถูก ทิ้งร้าง ต่อมาเมืองสวรรคโลกได้จัดตั้งขึ้นใหม่ ที่บ้านท่าชัยอยู่ด้านทิศใต้ของเมืองเดิม และในสมัยรัตนโกสินทร์ได้ย้ายไปอยู่ที่บ้านวังไม้ขอน ซึ่งคือที่ตั้งของอำเภอสวรรคโลกในปัจจุบัน ส่วนชื่อเมืองศรีสัชนาลัยถูกนำไปตั้งเป็นชื่อของอำเภอศรีสัชนาลัย ซึ่งได้รวมเอาเขตพื้นที่เมืองศรีสัชนาลัยโบราณไว้ด้วย     อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย ได้รับการยกย่องให้เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของโลก ร่วมกับอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย และอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชรใน พ.ศ.2534 เนื่องจากหลักฐานที่ปรากฏแสดงให้เห็นถึงผลงานทางสถาปัตยกรรมที่โดดเด่น นับเป็นตัวแทนของศิลปกรรมไทยยุคแรกและเป็นต้นกำเนิดของการสร้างประเทศ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานในพิธีเปิดอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัยอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ.25333. โบราณสถานที่สำคัญ     เมืองโบราณศรีสัชนาลัย มีขอบเขตของผังเมืองที่ก่อสร้างทับซ้อนอยู่บนบริเวณ เมืองเชลียงเดิม กล่าวคือ แนวกำแพงเมืองเชลียงเดิม ทำเป็นคันดินยาวขนานไปตามลำน้ำยมโดยเริ่มจาก บริเวณวัดมหาธาตุเชลียงขนานลำน้ำยมเลยผ่านเขาพนมเพลิงออกไปซึ่งยังคงปรากฎหลักฐานคันดินให้เห็นอยู่เป็นระยะ ๆ      ต่อมาเมื่อมีการก่อสร้างเมืองศรีสัชนาลัยขึ้น จึงได้พิจารณาเลือกบริเวณที่มีสภาพ ภูมิประเทศเป็นที่ราบเชิงเขา กำหนดขอบเขตการก่อสร้างกำแพงเมืองจากศิลาแลง ลักษณะผังเมืองเป็น รูปหลายเหลี่ยมไม่สม่ำเสมอตามทิศทางของแม่น้ำยม ในช่วงนี้ลักษณะของกำแพงเมืองศรีสัชนาลัยมี หลายแนวเพราะคงมีการผสมผสานเอาแนวกำแพงคันดินในสมัยที่เป็นเมืองเชลียงเข้ามาใช้ประโยชน์ด้วย โบราณสถานในอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย มีทั้งภายในและภายนอกกำแพงเมือง ซึ่งรวมทั้งหมดมีไม่น้อยกว่า 215 แห่งโบราณสถานที่สำคัญมีดังนี้3.1 โบราณสถานภายในกำแพงเมือง     สำรวจพบแล้วมีทั้งสิ้น 28 แห่ง ที่สำคัญคือ วัดช้างล้อม วัดเจดีย์เจ็ดแถว วัดนางพญา วัดสวนแก้วอุทยานใหญ่ วัดสวนแก้ว เป็นต้น3.2 โบราณสถานนอกกำแพงเมืองด้านทิศเหนือ     สำรวจพบแล้วมีจำนวนทั้งสิ้น 35 แห่ง ที่สำคัญคือ วัดกุฎีราย เตาทุเรียงบ้านป่ายาง เตา ทุเรียงบ้านเกาะน้อย ซึ่งเป็น แหล่งผลิตภาชนะดินเผา “เครื่องสังคโลก” ที่สำคัญของเมืองศรีสัชนาลัย3.3 โบราณสถานนอกกำแพงเมืองด้านทิศตะวันออก     สำรวจพบแล้วมีจำนวนทั้งสิ้น 10 แห่ง ที่สำคัญคือ วัดสวนสัก วัดป่าแก้ว เป็นต้น3.4 โบราณสถานนอกกำแพงเมืองด้านทิศใต้     สำรวจพบแล้วมีจำนวนทั้งสิ้น 24 แห่ง ที่สำคัญคือ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ วัดชมชื่น วัดเจ้าจันทร์ และวัดโคกสิงคาราม เป็นต้น3.5 โบราณสถานนอกกำแพงเมืองด้านทิศตะวันตก     สำรวจพบแล้วมีจำนวนทั้งสิ้น 19 แห่ง ที่สำคัญ คือ วัดพญาดำ วัดราหู วัดสระประทุม วัดพรหมสี่หน้า วัดยายตา เป็นต้น3.6 โบราณสถานนอกกำแพงเมืองบนภูเขา     สำรวจพบแล้วมีจำนวนทั้งสิ้น 15 แห่ง ที่สำคัญคือ วัดเขาใหญ่บน วัดเจดีย์เจ็ดยอด วัดเจดีย์รอบ และวัดเขาใหญ่ล่าง เป็นต้น     อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัยได้รับการยกย่องให้เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของโลก ร่วมกันกับ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยและอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ในปี พ.ศ. 2534 เนื่องจากหลักฐานที่ปรากฎแสดงให้เห็นถึงผลงานทางสถาปัตยกรรมที่โดดเด่น นับเป็นตัวแทนของศิลปกรรมไทย ยุคแรก และเป็นต้นกำเนิดของการสร้างประเทศ4. การบริการและเเหล่งท่องเที่ยว     รถยนต์ ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 1 ผ่านจังหวัดนครสวรรค์ กำแพงเพชร เข้าสู่เส้นทาง หลวงหมายเลข 101 ผ่านอำเภอพรานกระต่าย อำเภอคีรีมาศ เข้าสู่จังหวัดสุโขทัย จากนั้นเมื่อถึงสี่แยกบ้านสวน เข้าอำเภอศรีสำโรง ผ่านอำเภอสวรรคโลก ไปตามทางหลวงหมายเลข 1201 ระยะทาง 18 กิโลเมตร ถึงทางเข้าอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย     รถโดยสารประจำทาง จากสถานีขนส่งสายเหนือ เส้นทางกรุงเทพฯ – สุโขทัย – ศรีสัชนาลัย เปิดบริการทุกวัน การเที่ยวชม     เปิดบริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 8.00 – 17.00 น.   อัตราค่าเข้าชม ผู้มีสัญชาติไทย 10 บาทผู้มีสัญชาติอื่น 30 บาท การท่องเที่ยว สำนักงานอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย 055 679211สำนักงาน ททท. 055 252743 หรือ 1672 โรงแรมที่พัก ไพลินสุโขทัย 055 613310ศุภาลัยเพลซ 055 641627ราชธานี 055 611031สุโขทัย 055 611133โลตัส วิลเลจ 055 612081 ร้านอาหารแนะนำ ร้านเก่งศักดิ์ วังยมรีสอร์ทตำรวจท่องเที่ยว 1155ตำรวจทางหลวง 055 259503 หรือ 1193สินค้าพื้นเมือง ผ้าหาดเสี้ยว ผ้าซิ่นตีนจก เครื่องทองและเงินโบราณ





วันพุธที่ ๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๖๓ เวลา ๑๔.๐๐ น. นักชั้นมัธยมศึกษาที่ ๑ - ๓ โรงเรียนบ้านหนองแวง ตำบลหนองแวง อำเภอศรีณรงค์ จังหวัดสุรินทร์ นักเรียนจำนวน ๗๒ คน คุณครูจำนวน ๘ คน เข้าเยี่ยมชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ โดยมี นางสาวอาภาภรณ์ เปล่งปลั่งศรี นักวิชาการวัฒนธรรม ให้การต้อนรับและบรรยายนำชม


Messenger