ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,418 รายการ


บัณฑิต ยาวฮาร์ลาลเนห์รู.  เพื่อ  ทวยประชา แปล.  มองประวัติศาสตร์โลก.  พิมพ์ครั้งที่ ๑.                พระนคร : มปพ, ๒๕๐๗.  ๕๗๕ หน้า      บัณฑิต ยาวฮาร์ลาลเนห์รู เป็นรัฐบุรุษเอกและเป็นนักเขียนที่มีชื่อของเอเชียคนหนึ่ง การต่อสู้เพื่ออิสรภาพของประเทศอินเดียทำให้เขาและภรรยาต้องเข้าไปอยู่ในคุก จึงเขียนจดหมายเล่าเรื่องราวต่าง ๆ ถึงลูกสาวที่ชื่ออินทิรา ซึ่งขณะนั้นอายุเพียง ๑๓ ขวบเท่านั้น ซึ่งต่อมาก็คือนางอินทิรา  คานธี นั้นเอง  กล่าวยกย่อง บาบูจิ หรือมหาตมะคานธี ที่เป็นเยี่ยงอย่างของการต่อสู้เพื่ออิสรภาพให้หลุดพ้นจากความยากจนโดยชักนำคนอินเดียนับล้านออกมาต่อสู้ด้วยกัน สอนให้ลูกรู้จักศึกษาประวัติศาสตร์มีส่วนร่วมในการสร้างประวัติศาสตร์หากต้องการเปลี่ยนแปลง และต้องยอมรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นและเอเชียกำลังจะเปลี่ยนแปลงตามสายตาของชาวโลก เขาเล่าว่าอารยธรรมโบราณได้เกิดขึ้นในอียิปต์เมื่อประมาณ ๓,๐๐๐ ปี ซึ่งจะอยู่ชั่วกาลนาน  กรีกเป็นประเทศที่มีความรุ่งเรืองมาช้านานไม่ชอบความใหญ่โตของจักรวรรดิ์แต่ชอบความเป็นรัฐมากกว่า ในเอเชียมีศูนย์กลางอารยธรรมโบราณอยู่สามแห่ง คือ ศูนย์กลางอารธรรมเมโสโปตาเมีย อินเดีย และจีนซึ่งมีประเพณีวัฒนธรรมในแต่ละราชวงศ์ยาวนานถึง ๕๐๐ – ๘๐๐ ปี เป็นประเทศที่ค่อย ๆ เจริญที่น่าจับตา หากมีแผนที่โลกจงเอามาศึกษาดูจะช่วยเปิดตาให้มองเห็นประวัติศาสตร์ ชีวิตของชาวเกษตรกรรมมีอาหารเพียงพอกิน แต่คนที่รู้จักวางระบบจะเป็นคนที่มีกินมีใช้ อเล็กซานเดอร์เข้ามาโจมตีอินเดียและสถาปนาจักรวรรดิเมารยะ และทำลายจักรวรรดิ์เปอร์เซีย พระเจ้าอโศกกล่าวไว้ว่าชัยชนะที่แท้จริงคือชัยชนะหัวใจมนุษย์ จีนรุ่งเรือในราชวงศ์ถัง มีจดหมายที่เล่าถึงนครอังกอร์ของกัมพูชาที่เคยเจรอญแล้วถูกน้ำท่วมใหญ่จึงล่มสลายและศรีวิชัยที่ยิ่งใหญ่ในเทือกเขาสุมาตรา ที่รวมเอาบอร์เนียว ฟิลิปปินส์ เกาะชวา ยุคนี้พุทธศาสนามีความรุ่งเรืองสูงสุด


กรมศิลปากร.  นิราศพระแท่นดงรัง.  กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2521.          นิราศพระแท่นดงรัง แต่งโดยสามเณรกลั่นซึ่งเป็นศิษย์และบุตรบุญธรรมของสุนทรภู่  ได้แต่งนิราศพระแท่นดงรังเมื่อคราวได้ติดตามสุนทรภู่ไปนมัสการพระแท่นดงรัง พรรณาถึงเส้นทางการเดินทางเอาไว้  ภายในเล่มยังมีเนื้อหาเกี่ยวกับประวัติของสามเณรกลั่น และประวัติวัดพระแท่นดงรังด้วย


พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พระยาคำนวณคัคณานต์ (ศรี ปายะนันทน์) และงานฌาปนกิจศพ คุณหญิงอุ่น คำนวณคัคณานต์ ณ เมรุวัดธาตุทอง วันที่ ๑๐ ตุลาคม ๒๕๑๑





ชื่อเรื่อง                                ปฐมสมฺโพธิกถา (ปถมสมโพธิ์พุทธปูชา-ธาตุวิภชนปริวตฺต) สพ.บ.                                  352/8ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           38 หน้า กว้าง 5 ซม. ยาว 55 ซม.หัวเรื่อง                                 พุทธศาสนา                                           พระพุทธเจ้า                                           วรรณกรรมพุทธศาสนา บทคัดย่อ/บันทึก          เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม ภาษาบาลี-ไทย เส้นจาร ฉบับล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี                



           พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร ขอเชิญท่านผู้สนใจ รับฟังการเสวนา เรื่อง การอนุรักษ์ภาพร่างจิตรกรรมของ กาลิเลโอ คินี: ความท้าทายใหม่ของนักอนุรักษ์ วิทยากร โดย นายเสน่ห์ มหาผล นักวิทยาศาสตร์เชี่ยวชาญ (วิทยาศาสตร์การอนุรักษ์) นางพูลศรี จีบแก้ว ภัณฑารักษ์เชี่ยวชาญ (วิจัยและพัฒนาพิพิธภัณฑ์) นางสาวโสภิต ปัญญาขันธ์ นักวิทยาศาสตร์ชำนาญการพิเศษ และ นางสาวปัทมา ก่อทอง ภัณฑารักษ์ชำนาญการ ผู้ดำเนินรายการ ในวันเสาร์ที่ 22 มกราคม 2565 ตั้งแต่เวลา 13.30 - 15.30 น.  ถ่ายทอดภาพสดการเสวนาทางระบบออนไลน์ ผ่าน facebook fanpage ของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป ในชื่อ The National Gallery of Thailand หรือตามลิ้งนี้ 1008462660078350


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (ปุคฺคลปญฺญตฺติ-มหาปัฎฐาน)  ชบ.บ.48/1-6ก  เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


สาวกนิพฺพาน (อานนฺท,ควมฺปติ,พิมฺพา,มหากสฺสป,โมคฺคลฺลาน,สารีปุตฺตเถรนิพฺพาน)  ชบ.บ.90/1-3ก  เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


เลขทะเบียน : นพ.บ.239/3ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 58 หน้า ; 4.5 x 56 ซ.ม. : ชาดทึบ-ล่องชาด-ล่องรัก-ลานดิบ ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 114 (194-202) ผูก 3 (2565)หัวเรื่อง : อนาคตวํส(อนาคตวงส์)--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


พระคง พระคง เป็นหนึ่งในพระพิมพ์ที่มีชื่อเสียงของเมืองลำพูน วัสดุเป็นดินเผา รูปทรงมีลักษณะเป็นพระพุทธรูปแสดงปางมารวิชัย พระเศียรโล้น ไม่มีพระเกตุมาลา ครองจีวรห่มคลุมเรียบบางแนบพระวรกาย  ประทับนั่งขัดสมาธิเพชรบนฐานมีกลีบบัวที่คลี่คลายเป็นลายจุดไข่ปลาขนาดเล็ก รองรับด้วยฐานเรียบอีกชั้นหนึ่ง รอบพระวรกายมีประภาวลี หรือรัศมีที่เป็นเส้นรอบพระวรกาย เหนือขึ้นไปเป็นซุ้มปรกโพธิ์ ลักษณะรูปแบบของพระคง เป็นพระพิมพ์ขัดสมาธิเพชรที่อาจได้รับอิทธิพลจากพระพุทธรูปในศิลปะพุกามที่มีอิทธิพลจากพระพุทธรูปในศิลปะอินเดียแบบปาละและคุปตะปรากฏในงานศิลปกรรม เช่น พระพุทธรูป และพระพิมพ์ชนิดอื่นๆในวัฒนธรรมหริภุญไชย กำหนดอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๖-๑๗ พระคง ตามประวัดิที่กล่าวถึงส่วนใหญ่ต่างกล่าวว่า พบที่วัดพระคงฤๅษี อ.เมืองลำพูน จ.ลำพูน นอกกำแพงเมืองลำพูนไปทางทิศเหนือ ตามตำนานที่เขียนขึ้นในสมัยหลัง กล่าวถึงการสร้างอารามของพระนางจามเทวี คือวัดอาพัทธาราม ด้านทิศเหนือของเมืองหริภุญไชย แต่จากสภาพปัจจุบันของวัดได้รับการบูรณะใหม่แล้ว ในบริเวณวัดแห่งนี้เคยมีการขุดพบพระพิมพ์ดินเผาเป็นจำนวนมากในปี พ.ศ.๒๔๘๕ ที่บริเวณฐานเจดีย์ประธาน และปี พ.ศ. ๒๔๙๙ พบเป็นจำนวนมากที่บริเวณหลังวัด นอกจากการพบพระคงในบริเวณวัดนี้แล้ว ยังมีการขุดพบในแหล่งโบราณสถานเวียงกุมกาม วัดกานโถมหรือวัดช้างค้ำ ต.ท่าวังตาล อ.สารภี จ.เชียงใหม่ ราว พ.ศ.๒๕๒๗  ร่วมกับพระพิมพ์ศิลปะหริภุญไชยรูปแบบอื่นๆ อ้างอิง บัณฑิต  เนียมทรัพย์. “พระพิมพ์ที่พบในจังหวัดลำพูน” สารนิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาประวัติศาสตร์ศิลปะ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๔๙.ผาสุข อินทราวุธ. รายงานการวิจัยเรื่องการศึกษาร่องรอยอารยธรรมโบราณจากหลักฐานโบราณคดีในเขต จ.ลำพูน ก่อนพุทธศตวรรษที่ ๑๙. กรุงเทพฯ: ภาควิชาโบราณคดี คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๓๖.                                             สุรพล ดำริห์กุล. ประวัติศาสตร์และศิลปะหริภุญไชย. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, ๒๕๔๗           อัศวี ศรจิตติ. “พระพิมพ์สกุลลำพูน”. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปบัณฑิต (โบราณคดี) คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร,๒๕๕๑.


  ชื่อผู้แต่ง        :   อำไพ  นิยมาคม ชื่อเรื่อง         :   จำเรียงถ้อยร้อยคำอันล้ำหวาน ครั้งที่พิมพ์      :   - สถานที่พิมพ์    :   พระนคร สำนักพิมพ์      :   โรงพิมพ์ส่งเสริมอาชีพ ปีที่พิมพ์         :   ๒๕๐๙ จำนวนหน้า     :   ๔๔ หน้า หมายเหตุ       :   -                          เป็นการรวบรวมคำประพันธ์สดุดีพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ซึ่ง "น้อย" ได้ใช้เวลาว่าง รวบรวมพระบรมฉายาลักษณ์ ตามพระอริยบถต่าง ๆจนหนังสือพิมพ์รายสัปดาห์บ้าง จากรพะบรมฉายลักษณ์อันจะพึงหามาได้บ้าง บรรยายเป็นคำร้อยกรองตามพระอริยบถของพระองค์ ความคิดคำนึงของตนเองเป็นบท ๆ ไป


Messenger