ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,413 รายการ




***บรรณานุกรม***  พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทวีปัญญา เล่ม 4  มูลนิธิมหามกุฎราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูถัมภ์ จัดพิมพ์โดยเสด็จพระกุศล ซึ่ง สมเด็จพะเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ทรงบำเพ็ญ คล้ายวันสวรรคต พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ พระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร วันที่ 26 พฤศจิกายน  พุทธศักราช 2525 ครบ 57 ปี กรุงเทพฯ  โรงพิมพ์มหามกุฎราชวิทยาลัย 2525


อยากทราบว่ารับนักศึกษาฝึกงานหรือเปล่าครับ ผมเรียน วัฒนธรรม สาขา ประวัติศาสตร์ศิลปะและโบราณดคี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ครับ 


โครงการหอสมุดแห่งชาติสู่สถานศึกษาและชุมชน   วันพฤหัสบดีที่ ๑๖ มิถุนายน ๒๕๕๔   ณ โรงเรียนบ้านโคกยาง ตำบลโคกยาง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง


พระพุทธรูปทรงเครื่องปางป่าเลไลยก์ เลขทะเบียน   ๐๙/๓/๒๕๒๕ ศิลปะอยุธยา อายุประมาณพุทธศตวรรษที่ ๒๒ –๒๓ ไม้ ขนาด สูง ๑๓๙ เซนติเมตร ฐานกว้าง ๔๓.๘ เซนติเมตร             พระครูสิริธรรมาทร เจ้าอาวาสวัดสะแก เจ้าคณะอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา มอบให้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ มหาวีรวงศ์ เมื่อ พ.ศ.๒๕๒๕             พระพุทธรูปทรงเครื่องใหญ่ประทับนั่งบนฐานบัวหงาย ห้อยพระบาททั้งสองข้างบนฐานสี่เหลี่ยมยกสูง  พระพักตร์รูปไข่ พระขนงเป็นวงโค้ง พระเนตรเหลือบมองต่ำ ปลายพระเนตรชี้ขึ้น พระนาสิกโด่ง พระโอษฐ์เล็ก พระหัตถ์ขวาวางคว่ำ ส่วนพระหัตถ์ซ้ายวางหงายบนพระชานุ สันนิษฐานว่า สร้างรูปช้างและวานรประกอบที่ฐานด้านหน้า แต่หลุดหายไป             พระพุทธรูปทรงเครื่อง เป็นพระพุทธรูปที่ฉลองพระองค์ทรงเครื่องขัตติยราชแบบกษัตริย์ เช่น สวมมงกุฎ กรองศอ ทับทรวง ฉลองพระบาท ฯลฯ โดยเป็นที่นิยมสร้างกันมากในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย และแบ่งออกได้เป็น ๒ แบบ คือ แบบทรงเครื่องใหญ่ และแบบทรงเครื่องน้อย               สำหรับพระพุทธรูปปางป่าเลไลยก์นี้เป็นตอนหนึ่งในพุทธประวัติของพระพุทธเจ้า โดยกล่าวถึงเหตุการณ์ในพรรษาที่ ๑๐ เมื่อพระพุทธองค์ประทับ ณ โฆสิตาราม เมืองโกสัมพี ในครั้งนั้น พระสงฆ์สาวก ไม่สามัคคีปรองดองกัน ประพฤตินอกพระโอวาท ด้วยอำนาจมานะทิฏฐิ พระพุทธองค์จึงเสด็จจาริกแต่พระองค์เดียวไปยังป่าปาลิไลยกะ ทรงอาศัยพระยาช้างปาลิไลยก์ทำวัตรปฏิบัติ ต่อมาพระยาวานรออกเที่ยวตามยอดไม้โดยลำพัง ได้พบพระยาช้างปาลิไลยก์ทำวัตรปฏิบัติถวายพระพุทธองค์อยู่ด้วยความเคารพจึงบังเกิดกุศลจิต ครั้นพบรวงผึ้งจึงนำมาถวายพระพุทธองค์เช่นกัน   Buddha Receiving Offerings from an Elephant and a Monkey (Parileyyaka) Registration No. 09/3/2525 Ayutthaya Art, ca. 14th-16th century Wood, Height 139 cm. Width 43.8 cm.           Donated by Phra Kru Siri Dhammathorn, the abbot of Wat Sakae, Nakhon Ratchasima province to Maha Viravong National Museum in 1982.            The bejeweled Buddha image is decorated with many ornaments that befitting a King. This style was very popular during the late Ayutthaya period. It is assumed that the sculpture used to have an elephant and a monkey statue positioned at the base.             This sculpture represents the events in the life of the Buddha when a quarrel broke out between his followers. The Buddha decided to leave the monks to themselves and retreated to Parileyyaka Forest where he sheltered under a tree. While there, he was served by an elephant and a monkey. The elephant brought water and the monkey offered honey to the Buddha.     



บทเรียนนอกสถาที่             เมื่อวันที่ 26 - 27 สิงหาคม 2557  ทางโรงเรียนแย้มสอาด ได้จัดกิจกรรมทัศนศึกษา บทเรียนนอกสถานที่โดยได้ให้นักเรียนนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี 5  จำนวน  220 คน   เข้าชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก  ซึ่งเจ้าหน้าที่ฝ่ายทะเบียนได้ให้ความรู้ ความเข้าใจ ประวัติความเป็นมา  โดยกิจกรรมนี้ได้รับความสนใจจากน้องๆ เป็นอย่างยิ่ง  





***บรรณานุกรม*** หนังสือหายาก กรมหมื่นนราธิปประพันธ์พงศ์.  พระราชพงศาวดารพม่า เล่ม ๘ พ.ศ. ๒๔๕๗.  ม.ป.พ., ๒๔๕๗.


หมวดหมู่                        พุทธศาสนาภาษา                            บาลีหัวเรื่อง                          พุทธศาสนา                                    พระไตรปิฏกประเภทวัสดุ/มีเดีย            คัมภีร์ใบลานลักษณะวัสดุ                    กว้าง 5 ซม. ยาว 56.5 ซม.; 20 หน้า บทคัดย่อ                      เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับลานดิบ ได้รับบริจาคมาจากพระอธิการเด่น ปญฺญาทีโป วัดคิรีรัตนาราม  ต.ดอนคา อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี ดำเนินการอนุรักษ์เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2534    




Messenger