ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,403 รายการ




"....กู่แดงบ้านกุดยาง : ร่องรอยวัฒนธรรมเขมรโบราณบนเส้นธารวัฒนธรรมต้นลำน้ำชี..." #แม่น้ำชี... มีต้นกำเนิดจากชีผุด-ชีดั้น อยู่ในพื้นที่เขตอำเภอหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ ไหลผ่าน 9 จังหวัดในภาคอีสาน เเละไหลไปรวมกับแม่น้ำมูลที่จังหวัดอุบลราชธานี โดยมีความยาวกว่า 760 กิโลเมตร แม่น้ำชี จึงถูกยกให้เป็นแม่น้ำที่ยาวที่สุดในประเทศไทย #ในมิติทางโบราณคดี และประวัติศาสตร์ แม่น้ำชี เป็นทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญของมนุษย์โบราณ จนทำให้กลายเป็น เส้นธารแห่งวัฒนธรรม ตั้งแต่ต้นน้ำ ถึง ปลายน้ำ เนื่องจากการศึกษาทางโบราณคดี พบร่องรอยกิจกรรมมนุษย์โบราณมาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน . #กู่แดงบ้านกุดยาง เป็นอีกหลักฐานทางโบราณคดีที่สำคัญ ของการเกิดขึ้นเเละมีอยู่ของวัฒนธรรมเขมรโบราณ บริเวณต้นลำน้ำชี ในพื้นที่อำเภอบ้านเขว้า จังหวัดชัยภูมิ ในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 16 – ต้นพุทธศตวรรษที่ 17 โดยในวันนี้พี่นักโบจึงขอพาทุก ๆ ท่าน ไปรู้จัก “กู่แดงบ้านกุดยาง” เเละแหล่งโบราณคดีสำคัญ ใกล้เคียง กันครับ เรียบเรียงนำเสนอโดย นายวรรณพงษ์ ปาละกะวงษ์ ณ อยุธยา นักโบราณคดีปฏิบัติการ กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ 10 นครราชสีมา


น้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาราชเจ้า เนื่องในวันคล้ายวันพระราชสมภพ ๓๑ มีนาคม (วันมหาเจษฎาบดินทร์) ---------------------------------------------- คณะรัฐมนตรีได้มีมติ เมื่อวันที่ ๑๖ มิถุนายน ๒๕๕๘ ถวายพระราชสมัญญาแด่พระองค์ว่า "พระบิดาแห่งการแพทย์แผนไทย" โดยอนุสรณ์ถึงคราวที่ทรงมีพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สอบชำระตำรายาและตำราวิชาแพทย์แขนงต่าง ๆ แต่โบราณ แล้วจารึกลงแผ่นศิลาติดไว้ในวัดราชโอรสาราม และวัดพระเชตุพนฯ เพื่อให้สาธารณชนได้ดูและนำไปใช้รักษาตัว สำหรับศิลาจารึกที่วัดพระเชตุพนฯ นั้น องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรม (UNESCO) ได้ประกาศรับรองให้เป็นมรดกความทรงจำแห่งโลก เมื่อวันที่ ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๕๔ ---------------------------------------------- อนึ่ง นิทรรศการพิเศษเนื่องวันอนุรักษ์มรดกไทย ประจำปี ๒๕๖๕ นี้ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติได้จัดทำนิทรรศการในหัวข้อเกี่ยวกับการแพทย์และการสาธารณสุขไทยโดยมีเรื่องราวของจารึกตำรายาดังกล่าวด้วย ---------------------------------------------- ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒ ตอนพิเศษ ๑๕๐ ง ลงวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2558/E/150/4.PDF




องค์ความรู้ส่งเสริมการอ่านผ่านออนไลน์ เรื่อง ของขลังนางกวัก นางกวักเป็นเครื่องรางของขลัง ที่นิยมในหมู่พ่อค้าแม่ค้า ด้วยนางกวักมีพุทธคุณเด่น ในด้านกวักโชคกวักลาภ กวักเงิน กวักทอง เรียกเงินเรียกทองให้ไหลมาเทมา เป็นมหาเสน่ห์ใครเห็นใครรัก เมตตามหานิยม ทำให้ค้าขายดี มีความเจริญรุ่งเรืองในด้านการค้าขาย วิธีการทำนางกวัก สมัยโบราณนิยมทำนางกวักด้วยงาช้าง ไม้จันทร์หอม หรือแก่นว่านตระกูลเสน่ห์ทั้งหลายเช่น เสน่ห์จันทร์ขาว เสน่ห์จันทร์แดง เสน่ห์จันทร์เขียว เสน่ห์จันทร์หอม หรือไม้มงคลต่างๆ จากนั้นำมาแกะสลัก แล้วลงอักขระขอมหัวใจพระสีวลีผู้เป็นเอตทัคคะทางด้านโชคลาภ คือ “นา ชา ลี ติ” หรือคาถาอื่นๆจากนั้น บริกรรมปลุกเสกอธิษฐานจิตเสร็จแล้วนำไปบูชาที่ร้านค้าได้ ของบูชาแม่นางกวักส่วนมากนิยมบูชาด้วยน้ำแดงน้ำเขียว ดอกไม้หอมหรือพวงมาลัยสด ขึ้นหิ้งทุกวันและน้ำเปล่าอย่าให้ขาด และเครื่องประดับ ตามแบบที่นางกวักใช้หลายๆ แบบถวายให้ด้วยจะดียิ่งขึ้น จากชื่อนางกวักนี้ได้ไปพ้องกับว่านชนิดหนึ่งที่ชื่อว่า “ว่านนางกวัก” มีลักษณะเป็นไม้ล้มลุกมีดอกสีขาว มีหัวใต้ดิน นิยมปลูกไว้ในบ้านโดยมีความเชื่อว่าว่านชนิดนี้จะนำโชคลาภมาให้แก่เจ้าของบ้านหากปลูกไว้ แต่ยังไม่มีใครบอกได้ว่าชื่อพันธุ์ว่านนางกวักนี้กับของขลังนางกวักนั้น อันไหนเรียกก่อนกันอย่างไรก็ตาม ทั้งของขลังนางกวักในรูปลักษณ์หญิงนั่งกวักมือ กับว่านนางกวัก ก็ยังเป็นของขลังที่พ่อค้าแม่ค้านิยมนับถือมากเช่นเดียวกันและเห็นตามร้านค้าทั่วไปมีรูปนางกวักอยู่ในร้านด้วยให้คุณในด้านเสน่ห์เมตตา ทำให้กิจการการค้าขายดี เงินทองไหลมาเทมา มีเสน่ห์เป็นที่นิยมแก่คนทั่วไปเช่นเดียวกัน และขึ้นอยู่ที่แต่ละบุคคลที่มีความเชื่อ ในเรื่องของนางกวัก อ้างอิง : แก้วกล้า อาคม. อาคมของขลังพลังจิตที่มองไม่เห็น. กรุงเทพฯ: อักษรเงินดี, 2556. ผู้เรียบเรียง : นางกรองแก้ว เปเหล่าดา บรรณารักษ์ชำนาญการ หอสมุด แห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี สำนักศิลปากรที่ 5 ปราจีนบุรี


วันนี้ในอดีต 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2231 สมเด็จพระนารายณ์มหาราช เสด็จสวรรคต (วันสมเด็จพระนารายณ์มหาราช) 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2231 สมเด็จพระนารายณ์มหาราช กษัตริย์องค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์ปราสาททอง กรุงศรีอยุธยา พระมหากษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่พระองค์หนึ่งในประวัติศาสตร์ไทย เสด็จสวรรคต ณ พระที่นั่งสุทธาสวรรย์ พระราชวังนารายณ์ราชนิเวศ เมืองลพบุรี หลังจากประชวรหนักในช่วงที่ พระเพทราชา กระทำการชิงราชสมบัติ สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงเป็นกษัตริย์รัชกาลที่ 4 ของราชวงศ์ปราสาททอง ทรงเป็นพระโอรสของพระเจ้าปราสาททองและพระนางเจ้าสิริกัลยานี พระราชสมภพในปี 2175 เสด็จขึ้นครองราชสมบัติเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2199 มีพระนามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า “สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 3� เป็นพระมหากษัตริย์ลำดับที่ 27 แห่งกรุงศรีอยุธยา ขณะทรงมีพระชนมายุ 25 พรรษา หลังจากประทับที่กรุงศรีอยุธยาได้ 10 ปี พระองค์ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเมืองลพบุรีขึ้นเป็นราชธานีแห่งที่ 2 ในปี 2209 และเสด็จไปประทับทุก ๆ ปี ครั้งละเป็นเวลานานหลายเดือน กระทั่งเสด็จสวรรคตในปี 2231 ขณะพระชนมายุได้ 56 พรรษา รวมเวลาที่ทรงครองราชสมบัติ 32 ปี พระองค์ได้ทรงสร้างความเจริญรุ่งเรืองให้แก่กรุงศรีอยุธยาเป็นอย่างมาก ด้วยพระปรีชาสามารถหลายด้านของพระองค์ ทั้งด้านการปกครอง การทหาร ทรงชำนาญด้านการศึก ทรงปราบปรามหัวเมืองต่าง ๆ ให้มาสวามิภักดิ์ต่อกรุงศรีอยุธยาเป็นจำนวนมาก สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ครั้งเสด็จออกรับคณะฑูต ฝีมือวาดช่างฝรั่งเศส จากหนังสือนวนิยายเรื่อง รุกสยาม ในนามของพระเจ้า โดย มอร์กาน สปอร์แตช ด้านการทูต ทรงสร้างความสัมพันธ์กับต่างประเทศอย่างกว้างขวาง ทั้ง อังกฤษ ฝรั่งเศส ฮอลันดา จีน ญี่ปุ่น อิหร่าน เช่น พระองค์ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ส่งคณะราชทูตไปเชื่อมสัมพันธไมตรีกับฝรั่งเศส การค้ากับต่างประเทศจึงเจริญมาก มีชาวต่างชาติเข้ามารับติดต่อค้าขาย และบางส่วนเข้ารับราชการในพระราชอาณาจักรด้วย อีกทั้งยังทรงรับวิทยาการสมัยใหม่ เช่น กล้องดูดาว และยุทโธปกรณ์บางประการ การวางระบบท่อประปาภายในพระราชวังอีกด้วย นอกจากนี้ในรัชสมัยของพระองค์เป็นยุคที่วรรณคดีและศิลปะเจริญถึงขีดสุด มีงานวรรณคดีชิ้นสำคัญเกิดขึ้นหลายชิ้น อาทิ สมุทรโฆษคำฉันท์, คำฉันท์กล่อมช้าง, อนิรุทธคำฉันท์ และ จินดามณี ของพระโหราธิบดี ซึ่งจัดเป็นตำราเรียนเล่มแรกของไทย ขอบคุณข้อมูล อ้างอิงจากเว็บไซด์ sanook.


       ภาชนะรูปลิง         ภาชนะจากแหล่งเตาพนมดงเร็ก จังหวัดบุรีรัมย์ พุทธศตวรรษที่ ๑๗-๑๘        กรมศิลปากร ซื้อมาจาก หม่อมเจ้าปิยะภักดีนาถ เมื่อ พ.ศ.๒๔๗๙        ปัจจุบันจัดแสดง ณ ห้องลพบุรี อาคารมหาสุรสิงหนาท พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร        ภาชนะทรงโถ รูปลิงยืนมองตรง ด้านบนภาชนะเจาะรูเป็นวงกลม ใต้ส่วนใบหน้าลิงซึ่งเป็นคอคอดประดับด้วยแถบลูกประคำสองเส้น ตัวภาชนะผายและสอบลงด้านล่าง มีแขนยื่นออกและทำเป็นรูปมือกุมวัตถุซึ่งเจาะรูด้านบนสำหรับเป็นพวย ส่วนเชิงภาชนะมีแถบลูกประคำหนึ่งเส้น ใต้แถบลูกประคำประดับเป็นรูปเท้าลิง        ภาชนะใบนี้สันนิษฐานว่า แต่เดิมอาจเป็นคนโทสำหรับใส่ของเหลว ทั้งนี้ภาชนะจากแหล่งเตาพนมดงเร็กที่ทำเป็นรูปสัตว์นานาชนิด มักเป็นภาชนะใส่ปูนทาใบพลูเพื่อการเคี้ยวหมาก จากการขุดแต่งบูรณะโบราณสถานปราสาทหินในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มักพบภาชนะทรงกลมหรือทรงโถมีร่องรอยของปูนอยู่ด้านใน เช่น ปราสาทบ้านปราสาท และปราสาทพลสงคราม จังหวัดนครราชสีมา เป็นต้น        ในวัฒนธรรมเขมรการสร้างรูปลิง อาจสร้างขึ้นตามคุ้นเคยของช่าง ที่พบเห็นลิงป่าอาศัยอยู่ทั่วไป หรือสร้างขึ้นตามเรื่องราวในวรรณคดี ดังเช่น รามยณะ และจากการขุดแต่งบูรณะประตูหิน (ประตูทางทิศตะวันตกของเมืองพิมาย) จังหวัดนครราชสีมา ได้พบประติมากรรมรูปลิงที่มีสภาพชำรุดสูญหายไปบางส่วน เหลือเพียงท่อนลำตัว รูปลิงอยู่ในอิริยาบถนั่งชันเข่าขวา มือประสานกันที่หน้าอกโดยมีมือขวาทับมือซ้าย สวมสร้อยคอเป็นลายลูกประคำ ๓ ชั้น นุ่งผ้าสั้นเป็นลายตาราง มีลายลูกประคำเล็กๆ ที่ขอบผ้า มีหางด้านหลัง และยังมีตัวอย่างประติมากรรมลิงที่สมบูรณ์เก็บรักษาอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ มหาวีรวงศ์ จังหวัดนครราชสีมา ลักษณะเป็นประติมากรรมหินทรายรูปลิงนั่งชันเข่าขวา มือขวาแตะหัวเข่า มือซ้ายทาบอก ที่คอสวมสร้อยลูกประคำหนึ่งเส้น นุ่งผ้าสั้นที่อัดจีบเป็นริ้ว หางตวัดชี้ขึ้นติดกับกลางหลัง กำหนดอายุประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๖-๑๗     อ้างอิง ปริวรรต ธรรมาปรีชากร. พัฒนาการของเครื่องถ้วยเขมรสมัยเมืองพระนคร. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (โบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๕๒. วัชรินทร์ ฐิติอดิศัย. การศึกษาโบราณวัตถุในศิลปะเขมรแบบบายนที่ได้จากการขุดค้นที่เมืองพิมาย. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (โบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๓๑.   หมายเหตุ อ่านประเด็นการทำภาชนะรูปสัตว์ (zoomorphic pot) และเทคนิคการเคลือบสีดำได้ใน >> https://www.facebook.com/.../pb.../5668477903204389/...


ชือ่ผู้แต่ง       พวงพร ศรีสมบูรณ์ ชื่อเรื่อง         การศึกษาคัมภีร์อัลกุรอานและเอกสารโบราณครั้งที่พิมพ์     -สถานที่พิมพ์   กรุงเทพ ฯสำนักพิมพ์      บริษัทพูลพอยท์ จำกัดปีที่พิมพ์          2563จำนวนหน้า      268 หน้า รายละเอียด        เป็นการศึกษารายละเอียดต่อคัมภีร์อัลกุรอานและเอกสารโบราณด้วยกระบวนการทางวิทยาศาตร์จากโครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์มรดกวัฒนธรรมและศูนย์การเรียนรู้ คัมภีร์อัลกุรอาน ในพื้นที่โรงเรียนสมานมิตรวิทยา อำเภอยิ่งอ จังหวัดนราธิวาส เนื้อหาสาระประกอบด้วย การผลิตกระดาษในอดีต ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ของน้ำหมึกและเส้นใยจากพืชที่นำมาเป็นวัตถุดิบ ในการผลิตกระดาษ ปัจจัยที่ทำให้กระดาษ ปัจจัยที่ทำให้กระดาษเกิดการเสือมสภาพและการอนุรักษ์ด้วยวิธีการทางวิทยาสตร์


ชื่อเรื่อง                                        สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม  (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ.                                           46/1ประเภทวัดุ/มีเดีย                       คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                                     พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                              74 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 56 ซม.หัวเรื่อง                                        พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก               เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 143/2 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 177/2 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


ชื่อเรื่อง                                        สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม  (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ.                                           14/1ประเภทวัดุ/มีเดีย                       คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                                     พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                              80 หน้า : กว้าง 5.2 ซม. ยาว 54.5 ซม.หัวเรื่อง                                        พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก               เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา



                                                                                                                                               ประเพณีไหว้ตายายผีหลาง     ประเพณีไหว้ตายายผีหลางเป็นประเพณีเก่าแก่ของคนอำเภอถลางที่สืบทอดกันมาเป็นเวลานาน เพื่อเป็นการแสดงความกตัญญูกตเวที และความสำนึกในบุญคุณของบรรพบุรุษ รวมทั้งยังเป็นการพบปะระหว่างเครือญาติ  แต่เดิมนั้นจัดกันที่บริเวณบ้านเจ้าเมืองถลาง หรือบ้านลูกหลานเจ้าเมืองถลาง เช่น บ้านลิพอน บ้านดอน บ้านสาคู บ้านเหรียง ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ตั้งอยู่ใน อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต      พิธีกรรมจะเริ่มขึ้นหลังจากดวงอาทิตย์เริ่มจะลับขอบฟ้า จนถึงรุ่งเช้า ของวันอังคาร วันพฤหัสบดี หรือวันเสาร์ ในช่วงเดือน ๔ หรือเดือน ๖  ข้างขึ้น ตามปฏิทินจันทรคติ      ในปัจจุบัน ลูกหลานชาวถลาง ได้ประกอบพิธีนี้ขึ้นในชื่อ “งานบวงสรวงปู่ย่า ตายาย และบรรพชนผู้กล้าเมืองถลาง” ณ. สวนพระพุทธศาสนา วัดม่วงโกมารภัจจ์ ตำบลเทพกระษัตรี อำเภอถลาง ในวันที่ ๑๒ มีนาคม ของทุกปี เพื่อรำลึกถึงบรรพบุรุษ และรำลึกถึงท้าวเทพกระษัตรี (คุณหญิงจัน) ท้าวศรีสุนทร (คุณมุก) รวมถึงบรรพชนผู้กล้า ที่ร่วมกันสู้ในศึกสงครามเก้าทัพจนชนะพม่า ในวันที่ ๑๓ มีนาคม พ.ศ.๒๓๒๘ ซึ่งชาวถลาง ถือกันว่าวันนี้เป็น "วันถลางชนะศึก" การเตรียมงาน จะเริ่มขึ้นตั้งวันที่ ๑๐ มีนาคม ก่อนหน้ามีการบวงสรวง ๒ วัน       วันที่ ๑๐ มีนาคม “วันกวนขนมกาละแม” วัตถุดิบที่ใช้ มีแป้งข้าวเหนียว หัวกะทิ น้ำตาล และแบะแซ กวนส่วนผสมทั้งหมดในกระทะทองเหลือง โดยใช้ไฟปานกลาง-อ่อน เป็นเวลาประมาณ ๔ ชั่วโมง การกวนกาละแม นอกจากมีความยุ่งยากในการเตรียมวัตถุดิบในปริมาณมากแล้ว ยังต้องอาศัยแรงผู้ชายหลายคนสลับกันกวน แบบไม่มีหยุดพัก การกวนกาละแมจึงเป็นการทำขนมที่ทำได้ยาก จะมีขึ้นเฉพาะในงานมงคลต่าง ๆ เช่น งานทำบุญใหญ่ของชุมชน งานแต่งงาน เป็นต้น เสร็จแล้วก็จะแบ่งใส่ถาดเก็บไว้สำหรับใช้ในพิธีบวงสรวง ที่เหลือก็แจกจ่ายให้กับคนที่มาช่วยกวนกาละแม      วันที่ ๑๑ มีนาคม “วันห่อขนม” วันนี้ชาวบ้านจะมาช่วยกันทำขนมห่อต่าง ๆ ที่จะใช้ในพิธีบวงสรวง และแต่งจาดในพิธีแห่ ประกอบด้วยขนมท่อนใต้ ขนมเทียน ขนมต้ม(ข้าวต้มลูกโยน) ขนมเหนียวกล้วย(ข้าวต้มมัด) ขนมห่อ(ขนมใส่ไส้) เพื่อให้การห่อขนมเสร็จเร็วขึ้น ส่วนประกอบบางอย่าง เช่น ไส้ขนม ชาวบ้านจะเตรียมไว้หลังจากกวนกาละแมเสร็จ เมื่อนึ่งขนมสุกแล้ว ก็จะแบ่งเก็บไว้สำหรับใช้ในพิธีบวงสรวง และบางส่วนก็จะนำมาร่วมกันแต่งจาดในพิธีแห่       วันที่ ๑๒ มีนาคม “วันงานบวงสรวงปู่ย่า ตายาย และบรรพชนผู้กล้าเมืองถลาง” ช่วงเช้า เวลา ๐๘.๓๐ น.จะมีพิธีทำบุญตักบาตร และถวายภัตตาหารเพล แด่พระภิกษุสงฆ์  ตอนเย็น เวลา ๑๗.๓๐ น. จะมีขบวนแห่จาดจากศาลเจ้าบ้านเคียน(หง่อเฮี้ยนไต่เต่) มายัง สวนพระพุทธศาสนา วัดม่วงโกมารภัจจ์ ในเวลา ๑๘.๓๐ น. ประธานในพิธี จุดธูปเทียน เริ่มพิธีบวงสรวง


Messenger