ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,665 รายการ

ชื่อเรื่อง           เด็กเขียนให้เด็ก นิทานสำหรับเด็ก ชื่อผู้แต่ง         นราธิวาสราชนครินทร์,สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวง พิมพ์ครั้งที่       - สถานที่พิมพ์     กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์       วัฒนาพานิช ปีที่พิมพ์          2539 จำนวนหน้า      ๕๐  หน้า รายละเอียด เด็กเขียนให้เด็ก นิทานสำหรับเด็ก  จัดพิมพ์ในการพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ  สมเด็จพระศรนครินทร์ทราบรมราชชนนี  วันที่ 10 มีนาคม 2539 บทพระนิพนธ์ในสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ที่ทรงแปลและเรียบเรียงจากนิทานฝรั่ง เมื่อครั้งยังทรงพระเยาว์ จำนวน 13 เรื่อง เป็นหนังสือที่เหมาะแก่เด็กปฐมวัย เพราะมีสำนวนภาษาเรียบง่ายและเป็นเรื่องสั้นๆ กระชับ เหมาะแก่เด็กในวัยหัดอ่าน 


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 142/6 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 177/1ฌ เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


          อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ขอเชิญชวนร่วมกิจกรรมเวียนเทียนในวันสำคัญทางพุทธศาสนา "วันมาฆาบูชา" วันจันทร์ที่ ๖ มีนาคม ๒๕๖๖ เวลา ๑๘.๓๐ น. ณ โบราณสถานวัดพระธาตุ ภายในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร นอกจากนี้ยังสามารถชมความงดงามของอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชรในยามค่ำคืนได้อีกด้วย ทั้งนี้ การติดตั้งระบบไฟส่องสว่างโบราณสถานช่วงกลางคืน เปิดให้เที่ยวชมได้ตั้งแต่บัดนี้จนถึงวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๖ เวลา ๑๖.๓๐ - ๒๐.๐๐ น. 


เลขทะเบียน : นพ.บ.377/10ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 40 หน้า ; 5 x 54.5 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา มีฉลากไม้ชื่อชุด : มัดที่ 142  (7-25) ผูก 10 (2566)หัวเรื่อง : เวสฺสนฺตรชาตก --เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


เลขทะเบียน : นพ.บ.513/8ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 46 หน้า ; 4 x 48.5 ซ.ม. : ล่องชาด ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 172  (248-253) ผูก 8 (2566)หัวเรื่อง : ฉลองอาราม--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


ข้อมูลการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการกลุ่มบริหารทรัพยากรบุคคล  ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 รอบไตรมาสที่ 1 - 2 (ต.ค. 65 - มี.ค. 66)



ชื่อเรื่อง                     นิติสารสาธกผู้แต่ง                       พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร)ประเภทวัสดุ/มีเดีย       หนังสือหายากหมวดหมู่                   ภาษาเลขหมู่                      495.918 ศ817นมสถานที่พิมพ์               พระนครสำนักพิมพ์                 โรงพิมพ์รุ่งนครปีที่พิมพ์                    2503ลักษณะวัสดุ               70 หน้า หัวเรื่อง                     ภาษาไทย – แบบเรียนภาษา                       ไทยบทคัดย่อ/บันทึกหนังสือเรื่อง “นิติสารสาธก” นี้ มี 2 เล่มต่อกัน เล่มที่ 1 เป็นหนังสืออ่านเทียบแบบสอนตั้งแต่มูลบทไป พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) ได้แต่งทูลเกล้าฯ ถวายไว้ให้ใช้ในโรงเรียนหลวง ส่วนเล่ม 2 นั้นปรากฏในโคลงต้นเล่มว่า หม่อมราชวงศ์หนูเป็นผู้แต่งทูลเกล้าฯ ถวาย เป็นหนังสือที่นับว่าต่อเนื่องกับชุดมูลบทบรรพกิจ ฯลฯ ซึ่งเป็นแบบเรียนยุคแรก  


         ประติมากรรมปูนปั้นรูปศีรษะบุคคล พบบริเวณศาลเจ้าพ่อพระยาจักร อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี ปัจจุบันจัดแสดง ณ อาคารจัดแสดง ๒ ชั้นที่ ๒ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง          ประติมากรรมปูนปั้นรูปศีรษะบุคคล กว้าง ๒๓ เซนติเมตร สูง ๓๑ เซนติเมตร เป็นประติมากรรมลอยตัว พบเพียงส่วนศีรษะ ลักษณะใบหน้าค่อนข้างเหลี่ยม หน้าผากกว้าง คิ้วเป็นสันนูน ยาวต่อกันเป็นทรงปีกกา ดวงตาโปนกลมโต คล้ายกำลังถลึงตา จมูกใหญ่ ปากหยักกว้าง ริมฝีปากหนา มีเส้นขอบปาก และเหนือริมฝีปากบนปรากฏหนวด คางค่อนข้างสั้น ปลายคางหยัก บริเวณศีรษะปรากฏเส้นกรอบกระบังหน้าโค้งแสดงถึงการประดับศิราภรณ์บนศีรษะ          ลักษณะใบหน้าของประติมากรรมรูปศีรษะบุคคลนี้ แสดงถึงสุนทรียภาพและความนิยมแบบพื้นเมืองอันเป็นเอกลักษณ์ของศิลปะทวารวดี ได้แก่ การทำคิ้วต่อเป็นเส้นปีกกา ตาโปน จมูกใหญ่ ปากหนา นอกจากนั้นยังมีอิทธิพลศิลปะเขมรร่วมอยู่ด้วย ได้แก่ มีหนวดเหนือริมฝีปาก ซึ่งเป็นลักษณะที่มักพบในเทวรูป และประติมากรรมรูปยักษ์ ปรากฏในศิลปะเขมรตั้งแต่สมัยไพรกเมง-กำพงพระ (พุทธศตวรรษที่ ๑๓ - ๑๔ หรือประมาณ ๑,๒๐๐ - ๑,๓๐๐ ปีมาแล้ว) และปรากฏในประติมากรรม ศิลปะทวารวดี เช่น พระพุทธรูปสำริด พบจากเจดีย์หมายเลข ๑๓ เมืองโบราณอู่ทอง จึงกำหนดอายุประติมากรรมชิ้นนี้ในสมัยทวารวดี ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๕ – ๑๖ หรือประมาณ ๑,๐๐๐ – ๑,๑๐๐ ปีมาแล้ว           สันนิษฐานว่าประติมากรรมรูปศีรษะบุคคลนี้ จัดอยู่ในกลุ่มทวารบาล อาจเป็นยักษ์หรืออสูร ซึ่งมีหน้าที่พิทักษ์ศาสนสถาน เนื่องจากมีใบหน้าที่ถมึงทึงน่าเกรงขาม มีการประดับศิราภรณ์บนศีรษะซึ่งแสดงถึงการเป็นบุคคลสำคัญ อีกทั้งเป็นประติมากรรมลอยตัวสามารถตั้งบริเวณประตูหรือทางเข้าของศาสนาสถานได้ นอกจากประติมากรรมชิ้นนี้แล้ว ในวัฒนธรรมทวารวดียังพบทวารบาลดินเผารูปยักษ์ ที่วัดพระงาม จังหวัดนครปฐม อีกด้วย   เอกสารอ้างอิง กรมศิลปากร. โบราณคดีเมืองอู่ทอง. นนทบุรี : สหมิตรพริ้นติ้ง, ๒๕๔๕. กรมศิลปากร. พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระปฐมเจดีย์. กรุงเทพฯ : บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด, ๒๕๖๔. ศักดิ์ชัย สายสิงห์. ศิลปะทวารวดี : วัฒนธรรมทางศาสนายุคแรงเริ่มในดินแดนไทย. นนทบุรี : เมืองโบราณ,  ๒๕๖๒.



ชื่อเรื่อง: ปาฐกถาเรื่องสงวนของโบราณ ของ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ  ผู้แต่ง: สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ปีที่พิมพ์: พ.ศ. ๒๔๗๓สถานที่พิมพ์: พระนครสำนักพิมพ์: โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากรจำนวนหน้า: ๓๘ หน้า เนื้อหา: "ปาฐกถาเรื่อง สงวนของโบราณ" แสดงโดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ในฐานะนายกราชบัณฑิตยสภา ทรงแสดงแก่เทศาภิบาล และข้าราชการ ณ พิพิธภัณฑสถานสำหรับพระนคร เมื่อวันพุธที่ ๑๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๓ โดยราชบัณฑิตยสภาได้จัดพิมพ์เผยแพร่      ด้วยเกิดเลื่อมใสในการที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงพระดำริให้สมุหเทศาภิบาลมีโอกาสได้เคยศึกษาดูงานพิพิธภัณฑสถานสำหรับพระนคร การจัดเก็บ การตรวจค้นและรักษาของโบราณ ปาฐกถาครั้งนี้แบ่งเป็น ๖ ตอน เป็นการให้ความรู้ประวัติศาสตร์ที่มา การบำรุง ดูแลรักษา ทั้งโบราณสถานและโบราณวัตถุต่างๆ ซึ่งสามารถพบได้ในพื้นที่มณฑลเทศาภิบาลทั่วสยามที่เหล่าเทศาภิบาลและข้าราชการเป็นผู้ดูแลรักษาอยู่ด้วยเช่นกันเลขทะเบียนหนังสือหายาก: ๑๗๓เลขทะเบียนหนังสืออิเล็กทรอนิกส์: E-book ๒๕๖๖_๐๐๐๓หมายเหตุ: โครงการจัดเก็บและอนุรักษ์หนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ์ สื่อโสตทัศนวัสดุ และเอกสารโบราณ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๖




         พระราชพิธีจองเปรียง          เรียบเรียง : นางสาววารุณี วิริยะชูศรี บรรณารักษ์          ข้อมูลอ้างอิง  กรมศิลปากร. สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์. วรรณกรรมสมัยอยุธยา เล่ม ๒. กรุงเทพฯ : กรม, ๒๕๔๕. กรมศิลปากร. จิตรกรรมกรุงรัตนโกสินทร์ = Rattanakosin Paining. กรุงเทพฯ : กรม, ๒๕๒๕. กรมศิลปากร. สมุดภาพจิตรกรรมกรุงรัตนโกสินทร์. กรุงเทพฯ : กรม, ๒๕๒๕. จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ, ๒๓๙๖-๒๔๕๓. พระราชพิธีสิบสองเดือน เล่ม ๑. กรุงเทพฯ : องค์การค้าของคุรุสภา, ๒๕๒๘. ลาลูแบร์, เดอะ,ผู้แต่ง. สันต์ ท.โกมลบุตร, ผู้แปล. จดหมายเหตุ ลา ลูแบร์ ราชอาณาจักรสยาม. นนทบุรี : ศรีปัญญา, ๒๕๕๗.   ช่วยเหลือการค้นคว้าโดย : หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ ตรัง หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่  หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก กาญจนบุรี