ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,403 รายการ
ชื่อเรื่อง : เชื้อสายเจ้าหลวงเมืองแพร่ 4 สมัย (พ.ศ. 2361 - 2445) ผู้แต่ง : บัวผิว วงศ์พระถาง, เจ้าไข่มุกต์ ประชาศรัยสรเดช และดวงแก้ว รัตนวงศ์ ปีที่พิมพ์ : ม.ป.ป. สถานที่พิมพ์ : แพร่ สำนักพิมพ์ : แพร่ไทยอุตสาหกรรมการพิมพ์ เนื่องจากตระกูลเจ้าเมืองแพร่ ไม่ปรากฏว่ามีผู้ใดจดบันทึกไว้เป็นหลักฐานที่น่าจะค้นคว้าอ้างอิงได้ บรรดาลูกหลานส่วนมากในปัจจุบันต่างไม่ทราบแน่ชัด จึงอยากทราบว่ามีความเป็นมาอย่างไร จึงได้จัดพิมพ์หนังสือเล่มนี้ขึ้นมา ทั้งที่มีความหนักใจและมีปัญหามากมายเป็นอุปสรรค ความรู้เรื่องราวที่มีอยู่และหลักฐานต่างๆ ที่ได้จดบันทึกมาร่วม 50 ปี อาจจะสูญหายโดยเปล่าประโยชน์ ถ้าหากไม่นำมาเผยแพร่ให้ลูกหลานได้ทราบถึงบรรพบุรุษ บุพการีของเมืองแพร่ ข้อมูลเหล่านี้อาจจะสาบสูญไปพร้อมกับบรรพบุรุษ จึงได้จัดทำขึ้นเพื่อให้ลูกหลานรุ่นปัจจุบันและอนาคตได้รู้จักบรรพบุรุษ บุพการีและเครือญาติของตนโดยถูกต้อง ทำให้เกิดความรักใคร่ปองดอง สนิทสนมสามัคคีกัน
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเสมือนจริง พระนคร: www.virtualmuseum.finearts.go.th/bangkoknationalmuseums
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร นับเป็นพิพิธภัณฑสถานสำหรับประชาชนแห่งแรกของประเทศไทยซึ่งตั้งขี้นเมื่อ พ.ศ.2402 แต่เดิมเป็น "พระราชวังบวรสถานมงคล" หรือวังหน้าซึ่งประกอบด้วยพระที่นั่งและพระตำหนักอันนับเป็นสถาปัตยกรรมไทย ที่งดงามอีกแห่งหนึ่ง
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ได้ทรงจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ส่วนพระองค์ขึ้นที่ พระที่นั่งประพาสพิพิธภัณฑ์ ซึ่งทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นในพระบรมมหาราชวัง เพื่อเก็บรักษาโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ซึ่งเป็นเครื่องราชบรรณาการต่างๆ นับว่าเป็นบ่อเกิดของพิพิธภัณฑ์ในสมัยต่อมา
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้ง "มิวเซียม" ณ ศาลาสหทัยสมาคม หรือหอคองคอเดียในพระบรมมหาราชวัง เปิดให้ประชาชนเข้าชมเป็นครั้งแรก เนื่องในวโรกาสเฉลิมพระชนมายุครบ 21 พรรษา เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ.2417 ครั้งต่อมาเมื่อ พ.ศ.2430 กรมพระราชวังบวรวิชัยชาญ ทิวงคต จึงได้มีประกาศยกเลิกตำแหน่งพระอุปราชแล้ว ทำให้สถานที่ในพระราชวังบวรสถานมงคลว่างลง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายพิพิธภัณฑสถานจากหอคองคอเดีย ไปตั้งจัดแสดงที่พระราชวังบวรสถานมงคลเฉพาะด้านหน้า 3 องค์ โดยใช้พระที่นั่งด้านหน้าคือ พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ และพระที่นั่งอิศราวินิจฉัย เรียกว่า "พิพิธภัณฑ์วังหน้า"
ต่อมาในปี พ.ศ.2469 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 โปรดเกล้าฯ พระราชทาน พระราชมณเฑียรในพระราชวังบวรสถานมงคลทั้งหมดให้จัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑสถานสำหรับ พระนครขึ้น และได้จัด พระที่นั่งศิวโมกขพิมานให้เป็นสถานที่จัดแสดง ศิลาจารึก คัมภีร์ ใบลาน สมุดไทย ตำราโบราณ เรียกว่าหอสมุดวชิรญาณ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2469 เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา ต่อมาประเทศไทยได้เปลี่ยนแปลงการปกครองจากสมบูรณาญาสิทธิราช มาเป็นระบอบประชาธิปไตย รัฐบาลได้จัดตั้งกรมศิลปากรขึ้นเมื่อ พ.ศ.2476 พิพิธภัณฑสถานสำหรับพระนคร จึงได้เข้าสังกัดกับกรมศิลปากร และได้ประกาศตั้งเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร เมื่อ พ.ศ.2477
สลักจากหินชนวน ศิลปะสุโขทัย พุทธศตวรรษที่ ๒๐ ย้ายมาจากวัดเขาพระบาทน้อย เมืองเก่าสุโขทัย พระพุทธบาทสี่รอย ลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยม โดยแสดงเส้นขอบพระบาทซ้อนลดหลั่นกันสี่รอย รอยพระบาทบนสุดมีร่องรอยการจารเป้ฯลวดลาย ปรากฎรูปธรรมจักรบริเวณกลางฝ่าพระบาท อันเป็นพุทธลักษณะหรือมหาบุรุษลักษณะของพระพุทธเจ้า ซึ่งรอยพระบาททั้งสี่รอยหมายถึงรอยพระบาทของอดีตพระพุทธเจ้าสี่พระองค์ ได้แก่ พระกกุสันธะ พระโกนาคมนะ พระกัสสปะ และพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบันคือพระโคตมะ หรือ สมณโคดม คติการจำลองรอยพระพุทธบาท ประกอบด้วยเครื่องหมายมงคลสำหรับสักการะบูชาในสุโขทัยเริ่มขึ้นเมื่อปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๙ โดยรับคตินิยมนี้มาจากลังกา ในสมัยพระมหาธรรมราชาลิไท ซึ่งจากหลักฐานศิลาจารึกเขาสุมนกูฏ กล่าวถึงพระมหาธรรมราชาลิไท โปรดฯให้จำลองรอยพระพุทธบาท ตามแบบรอยพระบาทจากลังกามาประดิษฐานไว้บนภูเขาในเมืองสำคัญ ๔ แห่ง ได้แก่ สุโขทัย ศรีสัชนาลัย บางพานและพระบาง
พรปีใหม่ : Phon Pi Mai (New Year Greetings)
เพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่ ๑๓
เพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่ ๑๓ ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นในเดือนธันวาคม พุทธศักราช ๒๔๙๔ เมื่อเสด็จนิวัตพระนครและประทับ ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต มีพระราชประสงค์ที่จะพระราชทานพรปีใหม่แก่บรรดาพสกนิกรไทยด้วยเพลง จึงทรงพระราชนิพนธ์ เพลง “พรปีใหม่” และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ ทรงนิพนธ์คำร้องเป็นคำอวยพรปีใหม่ แล้วพระราชทานแก่วงดนตรี ๒ วง คือ วงดนตรีนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำออกบรรเลง ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และวงดนตรีสุนทราภรณ์นำออกบรรเลง ณ ศาลาเฉลิมไทย ในวันปีใหม่ วันอังคารที่ ๑ มกราคม พุทธศักราช ๒๔๙๕
Royal composition Number 13
The thirteenth royal musical compositions was written in December 1951, when His Majesty returned to the country and took up residence at Chitralada Villa, Dusit Palace. With his desire to make New Year greetings to the Thai people through a song, His Majesty composed “Phon Pi Mai” with lyrics as blessings on the occasion composed by His Royal Highness Prince Chakrabhand Pensiri, He then granted the composition to 2 bands, that of Chulalongkorn University students, performing at Chulalongkorn University, and Suntaraporn Band perfoming at Sala Chaloemthai Theater on New Year’s Day, Tuesday, 1 January 1952.
จัดเมื่อวันที่ ๘ เมษายน ๒๕๕๙ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป โดยมี กิจกรรมการละเล่นพื้นบ้าน และกิจกรรมการประดิษฐ์
ท่านสามารถส่งความคิดเห็นเพิ่มเติม ได้ทาง Facebook กรมศิลปากร
https://www.facebook.com/FineArtsDept/
หรือ ส่ง Email ที่ icts@finearts.go.thดาวน์โหลดเอกสาร
พบเครื่องถ้วยชามลายน้ำทอง มีพระบรมฉายาลักษณ์ ร.5 ที่กาน้ำ และจาน
ไม่ทราบว่ามีจริงหรือไม่ เนื่องจากไม่เคยเห็นในหนังสือ รวมทั้งภาพใน Internet
ขอทราบรายละเอียดด้วยครับ
***บรรณานุกรม***
หนังสือหายาก
กรมหมื่นนราธิปประพันธ์พงศ์. พระราชพงศาวดารพม่า เล่ม ๗ พ.ศ. ๒๔๕๗. ม.ป.พ., ๒๔๕๗.