ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,665 รายการ
เรือนไทยภาคกลาง องค์ประกอบของเรือนเครื่องสับ
เรือนเครื่องสับ คือ เรือนที่สร้างด้วยไม้จริง โดยการประกอบเครื่องไม้เป็นส่วน ๆ เช่น ทำฝา ทำหน้าจั่วให้เสร็จก่อน แล้วจึงเตรียมโครงสร้างส่วนอื่น ๆ เช่น เสา รอด พื้น โครงหลังคา เสร็จแล้วจึงนำส่วนประกอบทั้งหมดเหล่านั้นมาประกอบกันเป็นเรือน
เรือนเครื่องสับ หรือเรือนหลังคาจั่ว เป็นเรือนใต้ถุนสูง พื้นยกสูงจนเดินรอดได้ ใช้เป็นที่พักผ่อน หรือเลี้ยงสัตว์ เก็บเครื่องมือเครื่องใช้ทางการเกษตร ฝาเรือนเป็นไม้จริง ส่วนมากเป็นไม้สัก ทำเป็นแผง มีหลายแบบ เช่น ฝาปะกน หรือฝาปะกนลูกฟัก ฝาสำหรวด ฝามักสอบเข้าเล็กน้อย หน้าต่างเปิดเข้าด้านใน หลังคาจั่วลาดชัน มุงด้วยจาก กระเบื้อง หรือสังกะสี มีไม้ปิดเครื่องมุงด้านสกัดเป็นรูปสามเหลี่ยม เรียก “ป้านลม” (ปั้นลม)
เรือนเครื่องสับมีทั้งแบบที่สร้างเป็นเรือนเดี่ยว ประกอบด้วยเรือนนอน ครัว ระเบียง และชาน หรือสร้างเป็นเรือนหมู่ มีเรือนนอนมากกว่าหนึ่งหลัง มีชานเชื่อมถึงกัน มีเรือนครัว หอนั่ง หรือหอนก เรือนหมู่ เป็นเรือนสำหรับครอบครัวขยาย หรือเรือนคหบดี หรือผู้มีฐานะทางสังคมสูง
ปัจจุบัน เรือนไทยภาคกลางแบบดั้งเดิมเหลือน้อย แม้มีการสร้างเรือนไทยสำหรับผู้ต้องการสร้างบ้านใหม่ในสมัยปัจจุบัน แต่รูปแบบนั้นเปลี่ยนไปจากแบบแผนเดิม
ภาพจาก รูปตัด เรือนทับขวัญ ที่มา ศาสตราจารย์ น.อ. สมภพ ภิรมย์ ร.น.,ราชบัณฑิต, ๒๕๓๘
*หมายเหตุ ภาพจากการ scan จากหนังสือตัวอักษรจึงไม่ชัด ผู้เรียบเรียงจึงได้เขียนด้วยลายมือทับเพื่อความชัดเจนของตัวอักษร
สรุป เรียบเรียงและถ่ายภาพ : นางสาวภัทรา เชาว์ปรัชญากุล ภัณฑารักษ์ชำนาญการ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชาวนาไทย สุพรรณบุรี สำนักศิลปากรที่ ๒ สุพรรณบุรี
ที่มาข้อมูล รวบรวม เรียบเรียง และสรุปจาก
- โครงการจัดทำองค์ความรู้ด้านการสำรวจสถาปัตยกรรมเพื่อการอนุรักษ์โบราณสถาน (อาคารเรือนทรงไทย) โดยกลุ่มอนุรักษ์โบราณสถาน สำนักศิลปากรที่ ๓ พระนครศรีอยุธยา กรมศิลปากร
- บ้านไทยภาคกลาง ศาสตราจารย์ พลเรือตรี สมภพ ภิรมย์
- สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ ๑๓ เรื่องที่ ๑ เรือนไทย/เรือนไทยภาคกลาง
- สืบค้น online www.royin.go.th (สำนักงานราชบัณฑิตยสภา) “เรือน”
กฏหมายลักษณะต่าง ๆ ชบ.ส. ๔๓
เจ้าอาวาสวัดบุญญฤทธยาราม ต.บ้านบึง อ.บ้านบึง จ.ชลบุรี
มอบให้หอสมุด ๒๒ ก.ค. ๒๕๓๕เอกสารโบราณ (สมุดไทย)
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน)
เลขที่ ชบ.บ.23/1-6
เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชเป็นพระมหากษัตริย์สมัยธนบุรี ทรงได้รับการยกย่องเป็น “มหาราช” ในประวัติศาสตร์ไทย ด้วยพระวีรกรรมอันกล้าหาญเด็ดเดี่ยว ที่ทรงกอบกู้เอกราช รักษาชาติบ้านเมืองให้เป็นปึกแผ่นมั่นคง โดยสถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานี และสืบทอดความรุ่งเรืองสู่กรุงรัตนโกสินทร์ในเวลาต่อมา
อย่างไรก็ตาม ประเด็นปัญหาสำคัญในประวัติศาสตร์ไทยสมัยธนบุรีประการหนึ่งคือ ปัญหาศักราชปีครองราชย์ของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชที่ปรากฏข้อมูลประวัติศาสตร์แตกต่างกัน ทั้งในหนังสือสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ ของราชการและเอกชน ตลอดจนบทความทางอินเทอร์เน็ต ซึ่งบางแห่งระบุว่าเสด็จขึ้นครองราชย์ในวันที่ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๓๑๐ แต่บางแห่งระบุว่าเป็นวันที่ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๓๑๑ กรอบเวลาต่างกัน ๑ ปี สร้างความสับสนแก่ผู้ศึกษาค้นคว้าทางวิชาการ
โคลงภาพพระราชพงศาวดาร ตอนสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงชนะทัพพม่าที่ค่ายโพธิ์สามต้น
สาเหตุที่เป็นเช่นนี้เกิดจากความเข้าใจพื้นฐานทางประวัติศาสตร์ว่าหลังการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สองเมื่อวันที่ ๗ เมษายน พ.ศ. ๒๓๑๐ แล้ว สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงใช้เวลา ๗ เดือนในการกอบกู้เอกราชได้สำเร็จในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๓๑๐ จากนั้นทรงย้ายไปตั้งราชธานีที่กรุงธนบุรี จึงเป็นเรื่องสมเหตุสมผลที่พระองค์จะเสด็จขึ้นครองราชย์ในเดือนถัดมา ทำให้คนจำนวนมากเข้าใจว่าวันที่ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๓๑๐ เป็นวันเสด็จขึ้นครองราชย์ แต่ในความเป็นจริงแล้ว หลักฐานทางประวัติศาสตร์ฉบับต่าง ๆ ทั้งจดหมายเหตุโหรและพระราชพงศาวดารฉบับพันจันทนุมาศ ระบุตรงกันว่าสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชเสด็จขึ้นครองราชสมบัติ (ในพระราชพงศาวดารฯ ใช้คำว่าเสด็จออกขุนนาง) ในวันอังคาร เดือนอ้าย แรม ๔ ค่ำ จุลศักราช ๑๑๓๐ ซึ่งตรงกับวันที่ ๒๘ ธันวาคม ๒๓๑๑ พร้อมทั้งเกิดแผ่นดินไหวเป็นที่อัศจรรย์ถึงพระบารมี สาเหตุที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงรอเป็นเวลา ๑ ปีเศษถึงจะเสด็จขึ้นครองราชย์ เพราะหลังจากชนะทัพพม่าที่ค่ายโพธิ์สามต้นและย้ายมาตั้งราชธานีที่กรุงธนบุรีแล้ว พระองค์ทรงให้ความสำคัญกับการสถาปนาความมั่นคงในพระราชอาณาจักรก่อน ด้วยการยกทัพไปปราบพม่าที่บางกุ้ง การยกทัพไปปราบชุมนุมเจ้าพระยาพิษณุโลก (แต่ต้องยกทัพกลับเพราะทรงต้องกระสุนปืนได้รับบาดเจ็บ) การยกทัพไปปราบชุมนุมเจ้าพิมายและกรมหมื่นเทพพิพิธ ตลอดจนการทำสารบัญชีพระสงฆ์เพื่อฟื้นฟูพระพุทธศาสนา เมื่อพระราชอาณาจักรมีความมั่นคงขึ้นแล้ว จึงเสด็จขึ้นครองราชย์ในวันที่ ๒๘ ธันวาคม ๒๓๑๑ ดังปรากฏในพระราชพงศาวดารฯ
เรียบเรียงโดยนายธันวา วงศ์เสงี่ยมนักอักษรศาสตร์ชำนาญการกลุ่มประวัติศาสตร์สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์
สแปโรว์, เจอรัลด์. ฝรั่งเล่าเรื่องเมืองสยาม. แปลโดย ลาวัณย์ โชตามระ. พิมพ์ครั้งที่ ๑.
พระนคร : อักษรสาสน์, ๒๕๑๑. ๔๑๖ หน้า
ผู้แปลได้แปลจากผลงานของการเล่าเรื่องเมืองสยามจากผลงานการเขียนของ มร.เจอรัลด์ สแปโรว์รวมทั้งสิ้น ๒๔ บทด้วยกัน ซึ่งเริ่มต้นบทที่ ๑ เรื่อง สู่ตะวันออกโดย “ดาวหาง” เดินทางตอนหนุ่ม สวนสวรรค์แห่งสุดท้าย ความยุติธรรม พระเจ้าแผ่นดินสยาม สมภาพ ทองดำ บันไซ! กำแพง ๔ ด้าน การปลดปล่อย บ้านของเรา ความผิดพลาด บินสู่แดนเสน่ห์ สุนี ร็อกซ์กับอีฟ-ลีน งานแปลที่สมใจ กรณีเรือ เอส.เอส สแตนเลย์ เสือดำมาอีก ทั้งดีทั้งชั่ว ไม่เคยเข้ากันได้ ชีวิตบางกอก เทศกาลคอมพิวนิสต์ ความตายของเสือ เหินกลับลอนดอน
กรมศิลปากร. พระราชบัญญัติ ระเบียบ กฎกระทรวง ประกาศ และมติคณะรัฐมนตรี. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2524.
รวบรวมพระราชบัญญัติ ระเบียบ กฏกระทรวง ประกาศ มติคณะรัฐมนตรี ที่เกี่ยวข้องกับกรมศิลปากร ซึ่งเป็นประโยชน์ในการนำมาใช้ในการปฎิบัติงานหรือใช้เป็นหลักฐานอ้างอิงในการปฏิบัติงานหรือใช้เป็นหลักฐานอ้างอิงในการปฏิบัติงานของส่วนราชการในสังกัดกรมศิลปากร
กรมศิลปากร. การอนุรักษ์พระเจดีย์วัดใหญ่ชัยมงคล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พ.ศ. 2522. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2522. พระเจดีย์ชัยมงคล เป็นพระเจดีย์ใหญ่กว่าพระเจดีย์ ใด ๆ ในกรุงศรีอยุธยา ทั้งยังมีความสำคัญในด้านประวัติศาสตร์ โบราณคดี สถาปัตยกรรม วิศวกรรม และศิลปกรรม หนังสือเล่มนี้ได้รวบรวมเนื้อหาของพระเจดีย์ชัยมงคล ประวัติวัดใหญ่ชัยมงคล การอนุรักษ์องค์พระเจดีย์วัดใหญ่ชัยมงคล ใน พ.ศ. 2518 และ พ.ศ. 2521 โดยกองโบราณคดี และกองสถาปัตยกรรม กรมศิลปากร
องค์ความรู้จากหอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ตรัง
เรื่อง สำนวนตรัง ภาษาใต้ สไตล์ “ฅนตรัง”
ขอนำเสนอคำว่า "คดเหมือนเขาพับผ้า" หมายถึง "คดมาก"
เป็นสำนวนเปรียบเทียบว่า "คดมาก" โดยมีที่มาจากการตัดถนนสายตรัง-พัทลุงที่ตัดผ่านเทือกเขาบรรทัด ในสมัยรัชกาลที่ ๕ โดยพระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี เจ้าเมืองตรังในขณะนั้น เป็นผู้อำนวยการสร้างและบุกเบิก แต่การสร้างถนนมีความยากลำบากมาก จำเป็นต้องตัดไปตามแนวร่องของเทือกเขา จึงทำให้ถนนคดไปคดมาเหมือนกับพับผ้า ชาวตรังเรียกถนนสายนี้ว่า “ถนนสายเขาพับผ้า” และมักเปรียบเทียบสิ่งที่คดมากว่า “คดเหมือนเขาพับผ้า” นั่นเอง
อ้างอิง :
คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุฯ. วัฒนธรรมพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดตรัง. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, ๒๕๔๔.
ที่มาของภาพ :
เขาพับผ้า จากเว็บไซต์ https://mgronline.com/travel/detail/9620000014342
เขาพับผ้าในอดีต จากเว็บไซต์ https://talung.gimyong.com/index.php?topic=208130.0
นายประทีป เพ็งตะโก อธิบดีกรมศิลปากร เปิดเผยว่า ตามที่กรมศิลปากรได้ดำเนินโครงการพัฒนาและเพิ่มศักยภาพพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเก่า ตำบลบ้านเก่า อำเภอเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี โดยได้มอบหมายให้สำนักศิลปากรที่ ๒ สุพรรณบุรี ดำเนินการทางโบราณคดีเพิ่มเติมบริเวณแหล่งโบราณคดีโรงเรียนวัดท่าโป๊ะ ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่พบแหล่งโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ช่วงสมัยหินใหม่จนถึงสมัยโลหะ เช่น แหล่งถ้ำเขาทะลุ ถ้ำเม่น ถ้ำหีบ รวมถึงแหล่งโบราณคดีบ้านเก่า (แหล่งนายบาง) ที่มีอายุกว่า ๓,๐๐๐ - ๔,๐๐๐ ปี และมีชื่อเสียงไปทั่วโลกในฐานะตัวแทนของสังคมเกษตรกรรมระยะแรกเริ่มของไทย จากการขุดค้นศึกษาโดยคณะวิจัยร่วมทางโบราณคดีไทย – เดนมาร์ก เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๓-๒๕๐๔ สำนักศิลปากรที่ ๒ สุพรรณบุรี ได้ดำเนินการขุดค้นทางโบราณคดี แหล่งโบราณคดีโรงเรียนวัดท่าโป๊ะ ระหว่าง พ.ศ. ๒๕๕๙ – ๒๕๖๔ พบว่าเป็นแหล่งฝังศพสมัยสำริด โดยปัจจุบันขุดพบหลุมฝังศพแล้ว จำนวน ๒๔ หลุม ฝังร่วมกับภาชนะดินเผา เครื่องประดับจากเปลือกหอย ขวานสำริดมีบ้อง ซึ่งการค้นพบสำคัญในครั้งนี้ ได้แก่ การขุดพบพื้นที่ผลิตโลหะสำริด กำหนดอายุทางวิทยาศาสตร์ได้ระหว่าง ๒,๔๙๑ - ๓,๐๘๓ ปีมาแล้ว โดยเมื่อนำมาวิเคราะห์ร่วมกับข้อมูลจากแหล่งโบราณคดีบ้านเก่า จึงสามารถเชื่อมโยงการใช้พื้นที่ได้ว่า มีการตั้งถิ่นฐานมาตั้งแต่สมัยหินใหม่ ซึ่งปรากฏแหล่งฝังศพขนาดใหญ่อยู่บริเวณแหล่งโบราณคดีบ้านเก่า (แหล่งนายบางและนายลือ) ริมห้วยแมงลักซึ่งเป็นสาขาของแม่น้ำแควน้อย ต่อมาในสมัยสำริดได้เปลี่ยนสถานที่ฝังศพมายังริมแม่น้ำแควน้อย คือบริเวณแหล่งโรงเรียนวัดท่าโป๊ะแห่งนี้ จนกระทั่งในสมัยเหล็กได้ขยายการใช้พื้นที่ลงใต้ไปตามแม่น้ำ จึงกล่าวได้ว่าแหล่งโบราณคดีโรงเรียนวัดท่าโป๊ะ เป็นตัวแทนของสมัยสำริด ที่ทำให้นักโบราณคดีทราบถึงพัฒนาการทางสังคมของชุมชนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ในพื้นที่ตำบลบ้านเก่า ไล่เรียงตั้งแต่สมัยหินใหม่ สมัยสำริด และสมัยเหล็ก ได้อย่างต่อเนื่อง ถือเป็นการเติมเต็มช่องว่างของหลักฐานทางโบราณคดีในช่วงเวลาที่ขาดหายไปให้สมบูรณ์ อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวอีกว่า แหล่งโบราณคดีโรงเรียนวัดท่าโป๊ะ มีศักยภาพที่แสดงให้เห็นถึงความสำคัญในทางวิชาการโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ของพื้นที่ ซึ่งตั้งอยู่ในที่ราชพัสดุแปลงติดกับพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเก่า จึงมีความพร้อมสำหรับการพัฒนาเป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ทางด้านโบราณคดีและประวัติศาสตร์ ในลักษณะของหลุมขุดค้นเปิด (site museum) โดยเป็นส่วนหนึ่งของแผนการพัฒนาพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเก่า ให้เป็นศูนย์กลางแหล่งเรียนรู้ด้านโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ประจำภาคตะวันตกของประเทศ ตามนโยบายการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ของกรมศิลปากร ทั้งนี้ กรมศิลปากรกำลังดำเนินการขอใช้พื้นที่ดังกล่าวจากกรมธนารักษ์ตามระเบียบขั้นตอนต่อไป
เลขทะเบียน: กจ.บ.193/1: 1ก-1ขชื่อเรื่อง: ตำรายาข้อมูลลักษณะ: อักษรมอญ ภาษามอญ เส้นจาร ฉบับลานดิบ ประวัติ : ได้มาจากวัดท่าขนุน ต.ท่าขนุน อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2533 จำนวน 1คัมภีร์ 3 ผูกจำนวนหน้า: 78 หน้า