ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,403 รายการ



          กรมศิลปากร โดยสำนักหอสมุดแห่งชาติ ขอเชิญชมนิทรรศการออนไลน์ เรื่อง “ลายพระราชหัตถ์ พระฉัฐราช” เผยแพร่พระราชนิพนธ์ฉบับลายพระราชหัตถ์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จำนวน ๗๘ เรื่อง ในรูปแบบ e-Book ที่เว็บไซต์ หอสมุดแห่งชาติ          นายพนมบุตร จันทรโชติ รองอธิบดีกรมศิลปากร เปิดเผยว่า กรมศิลปากร โดยกลุ่มบริการทรัพยากรสารสนเทศ สำนักหอสมุดแห่งชาติ ได้รวบรวมพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มาจัดแสดงเป็นนิทรรศการออนไลน์ เรื่อง “ลายพระราชหัตถ์ พระฉัฐราช” เนื้อหานิทรรศการแบ่งเป็น ๒ ส่วน ประกอบด้วย ข้อความที่โดดเด่นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย พร้อมเรื่องย่อของหนังสือลายพระราชหัตถ์ ซึ่งส่วนใหญ่อ้างอิงมาจากหนังสือ งานละครของพระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าแผ่นดินสยาม Introduction to the dramatic activities of His Majesty King Vajiravudh หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ค้นคว้าและเรียบเรียง และเนื้อหาต้นฉบับลายพระราชหัตถ์ในรูปแบบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-Book) จำนวน ๗๘ เรื่อง เช่น วิธีใหม่สำหรับใช้สระและเขียนหนังสือไทย, พระร่วง, บทละครร้อง มัทนะพาธา หรือตำนานแห่งดอกกุหลาบ ลครพูดคำฉันท์ ๕ องก์, ลครนอกเรื่องท้าวแสนปม (ต้นฝีพระหัดถ์), หัวใจนักรบ, บทลครพูดสลับลำเรื่อง “วิวาหพระสมุท” ฯลฯ          พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ มีพระอัจฉริยภาพในด้านอักษรศาสตร์ ทรง พระราชนิพนธ์วรรณกรรมไว้เป็นจำนวนมาก รวมถึงทรงพระราชนิพนธ์บทความสำคัญ ๆ ลงในหนังสือพิมพ์ นับเป็นพระมหากษัตริย์ไทยพระองค์แรกที่ทรงใช้หนังสือพิมพ์เป็นสื่อในด้านการให้ข่าวสาร แสดงความคิดเห็น และปลุกใจให้ประชาราษฎรรักชาติบ้านเมือง โดยทรงใช้พระนามแฝงหลายพระนาม เช่น ศรีอยุธยา รามจิตติ พันแหลม ทั้งนี้ ในวาระวันพระบรมราชสมภพครบ ๑๐๐ ปี พุทธศักราช ๒๕๒๓ คณะกรรมการรวบรวมและค้นคว้าเกี่ยวกับพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (ก.ร.ว.) ได้รวบรวมพระราชนิพนธ์ที่ได้ทรงไว้ตลอดพระชนม์ชีพพบว่ามีจำนวนมากกว่า ๑,๒๐๐ เรื่อง ซึ่งนอกจากจะเปี่ยมไปด้วยคุณค่าทางวรรณศิลป์แล้ว ยังเป็นสื่อในการพระราชทานความรู้เรื่องต่าง ๆ แก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอด          กรมศิลปากรมุ่งหวังให้นิทรรศการนี้เกิดประโยชน์แก่ผู้เข้าชมในแง่ของการส่งเสริมการอ่าน และ ส่งเสริมคุณค่าวรรณกรรมไทย อีกทั้งเป็นการเผยแพร่พระราชนิพนธ์สู่สาธารณชนในวงกว้าง ผู้สนใจสามารถเข้าชมนิทรรศการออนไลน์ได้ที่ https://www.nlt.go.th/service/1008--ลายพระราชหัตถ์-พระฉัฐราช


ชื่อเรื่อง                     นำชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง และเรื่องสุวรรณภูมิผู้แต่ง                       พนมบุตร จันทรโชติผู้แต่งเพิ่ม                   ภัทราวรรณ ภาครส, วรางคณา เพ็ชร์อุดม.ประเภทวัสดุ/มีเดีย        หนังสือท้องถิ่นISBN/ISSN                 978-974-417-870-1หมวดหมู่                   พิพิธภัณฑวิทยาเลขหมู่                      069.09593 พ187นสถานที่พิมพ์               กรุงเทพฯสำนักพิมพ์                 ศรีเมืองการพิมพ์ปีที่พิมพ์                    2550ลักษณะวัสดุ               146 หน้า : ภาพประกอบ ; 29 ซม.หัวเรื่อง                     พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทองภาษา                       ไทยบทคัดย่อ/บันทึก          เรื่องราวประวัติความเป็นมาในการก่อตั้งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง การนำชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง ภายในแบ่งออกเป็นห้องจัดแสดง ๑ บรรพชนคนอู่ทอง แสดงถึงพัฒนาการของเมืองโบราณอู่ทอง ห้องจัดแสดง ๒ อู่ทอง ศรีทวารวดี จัดแสดงเรื่องราวและความสำคัญของเมืองโบราณ อู่ทอง ซึ่งเป็นศูนย์กลางการค้าและศูนย์กลางพระพุทธศาสนา เรือนจำลองของลาวโซ่ง โบราณวัตถุชิ้นเยี่ยม พร้อมแผนที่ตั้งเมืองโบราณอู่ทอง และแผนที่โบราณสถานสำคัญในเมืองโบราณ อู่ทอง มีภาคภาษาอังกฤษประกอบ


ชื่อเรื่อง                                ชาตกฏฐกถา ขุทฺทกนิกายฏฐกถา (มหาชนก-วิธูรบัณฑิต) สพ.บ.                                  270/ง/10ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           54 หน้า กว้าง 4.6 ซม. ยาว 56 ซม.หัวเรื่อง                                 พุทธศาสนา                                           ชาดก                                           เทศน์มหาชาติ                                           คาถาพัน บทคัดย่อ/บันทึก          เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมล้านนา ภาษาไทยล้านนา เส้นจาร ฉบับล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี                


เนื่องในเทศกาลปีใหม่ ๒๕๖๕ กรมศิลปากร ได้จัดพิมพ์สมุดภาพมรดกศิลปวัฒนธรรม “ปูชนียประติมา เทพ พระ เจ้า” (REVERED IMAGES DEVAS BUDDHA DEITIES) ครั้งแรกของการรวบรวมภาพประติมากรรมพระพุทธรูป เทวรูป และเทพเจ้า จากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติทั่วประเทศ พิมพ์ปกแข็งสี่สี ขนาด ๑๗.๖ x ๒๑.๖ เซนติเมตร ด้านในประกอบด้วยกระดาษถนอมสายตาบันทึกข้อความได้ พร้อมตารางนัดหมายตลอดทั้งปี จำนวน ๒๖๔ หน้า ราคา ๒๕๐ บาท            ผู้สนใจสามารถซื้อหนังสือได้ที่ร้านหนังสือกรมศิลปากร (อาคารเทเวศร์) โทรศัพท์ ๐ ๒๑๖๔ ๒๕๐๑ ต่อ ๑๐๐๔ (ในวันและเวลาราชการ) หรือสั่งซื้อทางออนไลน์ได้ที่ https://bookshop.finearts.go.th สอบถามเพิ่มเติม facebook ศูนย์หนังสือกรมศิลปากร


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (ปุคฺคลปญฺญตฺติ-มหาปัฎฐาน)  ชบ.บ.48/1-6  เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


สาวกนิพฺพาน (อานนฺท,ควมฺปติ,พิมฺพา,มหากสฺสป,โมคฺคลฺลาน,สารีปุตฺตเถรนิพฺพาน)  ชบ.บ.90/1-2  เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


เลขทะเบียน : นพ.บ.239/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 40 หน้า ; 4.5 x 56 ซ.ม. : ชาดทึบ-ล่องชาด-ล่องรัก-ลานดิบ ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 114 (194-202) ผูก 1 (2565)หัวเรื่อง : อนาคตวํส(อนาคตวงส์)--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


         ตู้พระธรรมขาหมู ลายรดน้ำปิดทอง ศิลปะธนบุรี มีจารึกด้านหลังตู้ปรากฏ พ.ศ. ๒๓๒๓ เดิมอยู่ที่วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ กรุงเทพฯ หอพระสมุดวชิรญาณได้มา เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๒ ด้านหน้าและด้านข้างตู้พระธรรมเขียนลายกนกเปลว ด้านล่างเป็นภาพสัตว์หิมพานต์ ด้านหลังตู้เขียนเรื่องพระนางสามาวดี (ตอน กำเนิดท้าวอุเทน) ด้านล่างมีจารึกอักษรไทย ภาษาไทย ๔ บรรทัด มีใจความว่า พุทธศักราช ๒๓๒๓ อุบาสกช่วย สามี และอุบาสีกา อู ภรรยา มีศรัทธาสร้างตู้พระธรรมลายรดน้ำไว้ในพุทธศาสนาปัจจุบันตู้พระธรรมใบนี้จัดแสดงอยู่ที่ห้อง ธนบุรี-รัตนโกสินทร์ อาคารประพาสพิพิธภัณฑ์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร           ภาพที่ปรากฏด้านหลังตู้พระธรรม มีฉากสำคัญ ๒ ฉาก กล่าวคือด้านบนเป็นฉากตอนอัลลกัปปดาบสปีนพะองขึ้นไปช่วยพระเทวีและอุเทนกุมารที่ติดอยู่บนต้นไทร ส่วนด้านล่างเป็นฉากอัลลกัปปดาบสอุ้มอุเทนกุมาร และพระเทวีประทับอยู่หน้าอาศรม            ฉากทั้งสองดังกล่าวมีที่มาจากเรื่องพระนางสามาวดี ตอนกำเนิดท้าวอุเทน เนื้อเรื่องมีว่า พระเจ้าปรันตปะกษัตริย์เมืองโกสัมพี และพระเทวีผู้เป็นพระมเหสีขณะนั้นกำลังทรงครรภ์ วันหนึ่งทั้งสองพระองค์ทรงออกมาประทับผิงแดดอ่อนอยู่กลางแจ้ง โดยที่พระเทวีทรงห่มผ้ากัมพลแดง และทรงธำมรงค์ของกษัตริย์ ขณะนั้นนกหัสดีลิงค์บินผ่านมาเห็นพระเทวี เข้าใจว่าเป็นชิ้นเนื้อขนาดใหญ่ จึงบินโฉบลงมาตะครุบร่างพระเทวีไว้ในกรงเล็บและบินไปยังต้นไทรแห่งหนึ่ง พระนางเทวียอมให้นกหัสดีลิงค์พาตนไปยังที่รังต้นไทร เพราะหากทรงขัดขืนนกหัสดีลิงค์จะปล่อยพระองค์ร่วงลงสู่พื้นดินเป็นอันตรายต่อพระนางเทวีและพระราชบุตร เมื่อถึงต้นไทรนกหัสดีลิงค์ได้วางพระเทวีลง พระองค์ได้ส่งเสียงดังและปรบมือไล่จนนกหัสดีลิงค์บินหนีไป แต่ในคืนนั้นระหว่างที่พระเทวีติดอยู่บนต้นไทร พระนางประชวรพระครรภ์ตลอดทั้งคืนกระทั่งรุ่งสางจึงประสูติกุมารองค์หนึ่ง ทรงให้พระนามว่า “พระอุเทน” ไม่ไกลจากต้นไทรมีดาบสตนหนึ่งนาม “อัลลกัปป” ได้ตั้งอาศรมอาศัยอยู่ ดาบสผู้นี้มีมนต์วิเศษสามารถควบคุมช้างป่าได้ ขณะดาบสออกเดินหาอาหารได้ยินเสียงพระอุเทนกุมารบนต้นไทร เมื่อมองขึ้นไปพบกับพระเทวี จึงไต่ถามจนทราบความว่าพระนางถูกนกหัสดีลิงค์ลักพามาติดอยู่บนต้นไทร อัลลกัปปดาบสจึงปีนขึ้นไปช่วยพระเทวีและพระอุเทนกุมารลงมา และพาไปพักอาศัยที่อาศรม ให้การดูแลพระเทวีกับพระอุเทนกุมารเป็นอย่างดี ซึ่งต่อมาอุเทนกุมารได้ขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์และมีอัครมเหสีคนสำคัญคือ พระนางสามาวดี เรื่องนางสามาวดีนี้ เป็นนิทาน ๑ ใน ๙ เรื่อง ของอัปปมาทวรรค (หมวดว่าด้วยความไม่ประมาท) ที่ปรากฏในคัมภีร์ธัมมปทัฏฐกถา อรรถกถาพระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ธรรมบท           ฉากกำเนิดอุเทนกุมารที่ปรากฏบนตู้พระธรรม ได้ให้ข้อคิดที่สำคัญ เกี่ยวกับการมีไหวพริบและความรอบคอบของพระนางเทวี ในการแก้ไขปัญหาที่ถูกนกหัสดีลิงค์ลักพามาที่รังต้นไทร อีกประการหนึ่งคือภาพสะท้อน ความรักของแม่ที่มีต่อลูกในครรภ์ ซึ่งหากพระนางเทวีตัดสินพระทัยผิดพลาดย่อมเป็นอันตรายต่อพระโอรสของพระองค์เช่นกัน ดังข้อความในพระไตรปิฎกได้กล่าวถึงเหตุการณ์ตอนนี้ไว้ว่า “...แม้พระนางนั้น อันนกนั้นนำไปอยู่ ทรงหวาดต่อมรณภัย จึงทรงดำริว่า “ถ้าว่าเราจักร้อง ธรรมดาเสียงคน เป็นที่หวาดเสียวของสัตว์จำพวกดิรัจฉาน มันฟังเสียงนั้นแล้ว ก็จักทิ้งเราเสีย    เมื่อเป็นเช่นนั้น เราจักถึงความสิ้นชีพ พร้อมกับเด็กในครรภ์ แต่มันจับในที่ใดแล้วเริ่มจะกินเรา ในที่นั้น เราจักร้องขึ้นแล้วไล่ให้มันหนีไป” พระนางยับยั้งไว้ได้ ก็เพราะความที่พระองค์เป็นบัณฑิต...”          ค้นคว้าและเรียบเรียง : นายพนมกร นวเสลา         บรรณานุกรม สำเนียง เลื่อมใส. “ไขความอรรถกถาธรรมบท” ดำรงวิชาการ ๑, ๑ (มกราคา – กรกฎาคม ๒๕๔๕), ๓๓๑ - ๓๔๙. อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท อัปปมาทวรรคที่ ๒ เรื่องพระนางสามาวดี. เข้าถึงเมื่อ ๑๑ สิงหาคม ๒๕๖๔. เข้าถึงได้จาก https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=12&p=1


ชื่อผู้แต่ง        :   ชุมนุมสุภาษิต สุนทรภู่ ชื่อเรื่อง         :   ชุมนุมสุภาษิต สุนทรภู่ ครั้งที่พิมพ์      :   - สถานที่พิมพ์    :   พระนคร สำนักพิมพ์      :   โรงพิมพ์บำรุงนุกูลกิจ ปีที่พิมพ์         :   ๒๕๐๓ จำนวนหน้า     :   ๙๖ หน้า หมายเหตุ       :  พิมพ์แจกเป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นายเล็ก เทียมเพชร                        ชุมนุมสุภาษิต สุนทรภู่ เป็นการรวมหนังสือ ๒ เล่ม เข้าเป็นเล่มเดียวกัน ให้ชื่อว่า ชุมนุมสุภาษิตสุนทรภู่ ๒ เล่ม นั้น เล่มที่ ๑ ชื่อ "ประชุมกลอนสุภาษิต สุนทรภู่" ว่าด้วยกลอน ซึ่งสุนทรภู่ แต่งเป็นเรื่องสุภาษิตโดยเฉพาะมี ๓ เรื่องด้วยกัน คือ สวัสดิรักษา เรื่อง ๑ เพลงยาวถวายโอวาท เรื่อง ๑ และ สุภาษิตสอนสตรีเรื่อง ๑ อีกเล่ม ๑ ชื่อ "ประชุมสุภาษิตสุนทรภู่"


นานา...น่ารู้จากเอกสารจดหมายเหตุ เรื่อง ย้อนความทรงจำ สุวรรณา สุวรรณศร นางเอกละครเลือดสุพรรณ


ชื่อผู้แต่ง                  กองการสังคีต กรมศิลปากร ชื่อเรื่อง                    เกร็ดความรู้เรื่องดนตรีไทย ครั้งที่พิมพ์                - สถานที่พิมพ์              พระนคร สำนักพิมพ์                โรงพิมพ์อำพลวิทยา ปีที่พิมพ์                  2509 จำนวนหน้า               92 หน้า รายละเอียด              หนังสือเกร็ดความรู้เรื่องดนตรีไทยเป็นหนังสือที่เพื่อนข้าราชการ กองสังคีต กรมศิลปากร รวบรวมเรื่องต่างๆเกี่ยวกับดนตรีไทยเพื่อจัดพิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นายพิษณุ แช่มบาง เนื้อหาประกอด้วยเรื่องลักษณะเพลงไทย ลักษณะวงดนตรีไทย เพลงโหมโรง ที่มาของเพลงสาธุการ ปีพาทย์ประกอบเทศมหาชาติ เพลงเรื่องทำขวัญ อธิบายเพลงเขมรไทรโยค 3 ชั้น และรำหน้าพาทย์


พี่นักโบ พาทุกท่านชมความงามของ #ปราสาทโคกงิ้วหรือปราสาทโคกปราสาท ตำบลปะคำ อำเภอปะคำ จังหวัดบุรีรัมย์ ภายหลังที่ดำเนินการบูรณะแล้วเสร็จไปสด ๆ ร้อน ๆ เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา . ปราสาทโคกงิ้วเป็น #ศาสนสถานประจำโรงพยาบาล หรืออาโรคยศาลาในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ผังประกอบไปด้วยปราสาทประธานหันหน้าไปทางทิศตะวันออก มีอาคารที่เรียกกันว่าบรรณาลัยอยู่ทางที่ตะวันออกเฉียงใต้ของปราสาทประธาน โดยหันหน้าไปทางทิศตะวันตก อาคารทั้งสองหลังมีกำแพงแก้วโอบล้อมอาคารไว้ โดยมีโคปุระเป็นซุ้มประตูทางเข้าอยู่ทางทิศตะวันออก ด้านนอกกำแพงแก้วทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือเป็นสระน้ำผังสี่เหลี่ยม ที่กล่าวมานี้เป็นแผนผังโดยทั่วไปของศาสนสถานประจำโรงพยาบาลสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 . นอกจากนี้ ที่ปราสาทโคกงิ้วยังเคยพบจารึกบนแผ่นสำริดรูปวงโค้ง กล่าวถึงการถวายไทยธรรม (ซึ่งน่าจะหมายถึงแผ่นสำริดรูปวงโค้งดังกล่าว) โดยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แก่อาโรคยศาลา ณ วิเรนทรปุระ เมื่อมหาศักราช 1115 (บางท่านอ่านเป็น 1114) ตรงกับ พ.ศ.1736 (หรือ 1735)



Messenger