ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,403 รายการ
13 พฤษภาคม 2565 “วันพืชมงคล และวันเกษตรกร”
วันสำคัญของเกษตรกรวันหนึ่ง คือวันพืชมงคล เพราะจะมีการประกอบพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ มีการเสี่ยงทายผ้านุ่งของพระยาแรกนาขวัญ และพระโคกินเลี้ยง เสี่ยงทายว่าในปีนั้นๆพืชผลจะอุดมสมบูรณ์ไหม น้ำจะเพียงพอไหม เป็นการเสริมสร้างขวัญและกำลังใจแก่เกษตรกร
วันพืชมงคล เป็นวันที่กำหนดพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ เป็นพระราชพิธี 2 พิธีรวมกัน คือ พระราชพิธีพืชมงคล อันเป็นพิธีสงฆ์ และพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ อันเป็นพิธีพราหมณ์ พระราชพิธีพืชมงคลนั้นประกอบ พระราชพิธีวันแรกในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม สำหรับพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญนั้นจะประกอบพระราชพิธีในวันรุ่งขึ้น ณ มณฑลท้องสนามหลวง
ในปี พ.ศ. 2565 นี้ วันพืชมงคล ตรงกับวันศุกร์ที่ 13 พฤษภาคม ตรงกับวันขึ้น 13 ค่ำ เดือน 6 มีการจัดพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ณ มณฑลท้องสนามหลวงตามปกติ หลังจากปี 2564 ต้องว่างเว้นไปเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19)
ในปี พ.ศ. 2565 นี้ นายทองเปลว กองจันทร์ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ทำหน้าที่พระยาแรกนา
ส่วนพระโคที่ใช้ในการประกอบพระราชพิธีฯ นั้น ในปีนี้ กรมปศุสัตว์ได้ทำการคัดเลือกพระโค เพื่อใช้ในพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ 2 คู่ เป็นพระโคแรกนาขวัญ 1 คู่ คือ พระโคพอ มีความสูง 165 เซนติเมตร ความยาวลำตัว 225 เซนติเมตร ความสมบูรณ์รอบอก 214 เซนติเมตร อายุ 10 ปี พระโคเพียง มีความสูง 169 เซนติเมตร ความยาวลำตัว 238 เซนติเมตร ความสมบูรณ์รอบอก 209 เซนติเมตร อายุ 10 ปี
พระโคสำรอง 1 คู่ คือ พระโคเพิ่มและพระโคพูล ซึ่งเป็นโคพันธุ์ขาวลำพูน มีสีผิวขาวอมชมพู ขนสีขาวสะอาด ทั้งลำตัวไม่มีจุดด่างดำหรือสีอื่นบนลำตัว เขามีสีขาว เป็นลำเทียน เขาทั้งสองข้างมีลักษณะโค้งสวยงาม ดวงตาแจ่มใสสีน้ำตาลอ่อน ขนตาสีชมพู บริเวณจมูกขาว กีบสีขาว ขนหางเป็นพวง สีขาวยาว ลำตัวช่วงขาหลังและกีบมีความสมบูรณ์แข็งแรง เวลายืนและเดินสง่า
สำหรับการเสี่ยงทายในพระราชพิธีฯ จะมีการพยากรณ์ถึงความสมบูรณ์ของพืชพันธุ์ธัญญาหารของประเทศ ซึ่งแต่ละปีนั้น ประกอบด้วย 2 ช่วง คือ ช่วงแรก พระยาแรกนาจะตั้งสัตยาธิษฐานเสี่ยงทายผ้านุ่งแต่งกาย ซึ่งแต่ละผืนล้วนมีความหมายแตกต่างกันออกไป เป็นผ้าลายมีด้วยกัน 3 ผืน คือ 6 คืบ 5 คืบ และ 4 คืบ ผ้านุ่งนี้จะวางเรียงบนโตกมีผ้าคลุมเพื่อให้พระยาแรกนาหยิบ ถ้าหยิบได้ผืนใดนั้นจะมีคำทำนาย ไปตามนั้น
ในปีนี้พระยาแรกนาหยิบผ้าได้ 4 คืบ พยากรณ์ว่า น้ำจะมากสักหน่อย นาในที่ดอนจะได้ผลบริบูรณ์ดี นาในที่ลุ่ม อาจจะเสียหายบ้างได้ผลไม่เต็มที่
และอีกหนึ่งพิธีเสี่ยงทาย ที่ต้องลุ้นกันทุกปี คือ การเสี่ยงของกิน 7 สิ่งที่ตั้งเลี้ยงพระโค ได้แก่ ข้าวเปลือก ข้าวโพด ถั่วเขียว งา เหล้า น้ำ และหญ้า เมื่อพระโคกินของสิ่งใดโหรหลวงจะถวายคำพยากรณ์
ผลปรากฏว่าในปีนี้ พระโคกินน้ำกับหญ้า พยากรณ์ว่า น้ำท่าจะบริบูรณ์พอสมควร ธัญญาหาร ผลาหาร ภักษาหาร มังสาหาร จะอุดมสมบูรณ์ดี ,พระโคกินถั่ว ผลาหาร ภักษาหาร จะอุดมสมบูรณ์ดี และ พระโคกิน เหล้า พยากรณ์ว่า การคมนาคมจะสะดวกขึ้น การค้าขายกับต่างประเทศจะดีขึ้น เศรษฐกิจจะรุ่งเรือง
ผู้เรียบเรียง : นายประพนธ์ รอบรู้
นักวิชาการโสตทัศนศึกษาชำนาญการ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี สำนักศิลปากรที่ 5 ปราจีนบุรี
13 กรกฎาคม 2565 วันอาสาฬหบูชา วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8
วันอาสาฬหบูชา หรือวันธรรมจักร เป็นวันที่พุทธศาสนิกชนแสดงความเคารพต่อพระสงฆ์ มีชื่อเต็มว่า “อาสาฬหปูรณมีบูชา” แปลว่า การบูชาพระในวันเพ็ญเดือน 8 เป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงประกาศพระศาสนาเป็นครั้งแรก โดยแสดงปฐมเทศนา คิอ ธรรมจักกัปปวัตนสูตร เป็นผลให้เกิดมีพระสาวกรูปแรกขึ้นในพระพุทธศาสนา จนถือได้ว่า เป็นวันแรกที่มีพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ครบเป็นองค์พระรัตนตรัย ในปี พ.ศ. 2565 วันอาสาฬหบูชา ตรงกับวันพุธที่ 13 กรกฎาคม
พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา (เทศน์กัณฑ์แรก) แก่ปัญจวัคคีย์ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน คือ “ธัมมจักกัปปนวัตนสูตร” ซึ่งมีอริยสัจ 4 หรือความจริงอันประเสริฐ 4 ประการ อันได้แก่ ทุกข์ (ความไม่สบายกายสบายใจ) สมุทัย (เหตุให้เกิดทุกข์) นิโรธ (ความดับทุกข์) และมรรค (หลักปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์) และเนื้อหาเกี่ยวกับ ทางสายกลาง (มัชฌิมาปฏิปทา) ที่นำไปสู่การบรรลุนิพพาน
หลังจากที่พระพุทธองค์ทรงแสดงพระธรรมเทศนาแล้ว ได้บังเกิดพระสงฆ์รูปแรกในพุทธศาสนา คือ พระอัญญาโกณฑัญญะ ซึ่งได้ดวงตาเห็นธรรมเป็นคนแรก จึงได้กราบทูลขอบวชเป็นสาวกในพระพุทธศาสนา โดยพระพุทธองค์ทรงอนุญาตและบวชให้แบบเอหิภิกขุอุปสัมปทา
คณะรัฐมนตรีมีมติให้วันอาสาฬหบูชา เป็นวันสำคัญทางราชการตั้งแต่ พ.ศฯ. 2501 สำนักสังฆนายกได้กำหนดให้มีการประกอบพิธีขึ้นเพื่อเป็นการประกาศเกียรติคุณ ในวันนี้พุทธศาสนิกชนจะมาทำบุญ เวียนเทียน และฟังพระธรรมเทศนาเช่นเดียวกับที่ปฏิบัติในวันวิสาขบูชา
นายสถาพร เที่ยงธรรม รองอธิบดีกรมศิลปากร เปิดเผยว่า หลังจากเจดีย์วัดศรีสุพรรณ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ พังทลายลงเมื่อวันที่ ๒๙ กันยายน ๒๕๖๕ ทำให้พบโบราณวัตถุจำนวนมาก ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ เจดีย์จำลองสำริด ภายในบรรจุพระธาตุ พระพุทธรูปหินควอตซ์ และหลักฐานสำคัญยิ่งอีกชิ้นหนึ่ง คือ จารึกลานเงิน จำนวน ๑ ลาน ซึ่งผู้เชี่ยวชาญด้านอักษรโบราณของกรมศิลปากร ได้อ่านและวิเคราะห์อักขรวิธี พบว่าเป็น จารึกลานเงิน ภาษาบาลี ที่เขียนด้วยอักษรธรรมล้านนาทั้งสองด้านของลานเงิน ด้านที่หนึ่ง จำนวน ๖ บรรทัด และด้านที่สอง จำนวน ๗ บรรทัด ตัวอักษรกำหนดอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๒๑
เมื่อพิจารณาร่วมกับจารึกวัดศรีสุพรรณที่จารึก เมื่อ พ.ศ. ๒๐๕๒ ในรัชสมัยพระเมืองแก้วที่มีข้อความระบุปีที่สร้างพระเจดีย์เมื่อ พ.ศ. ๒๐๔๘ จึงอนุมานได้ว่าจารึกลานเงินนี้น่าจะจารขึ้น ในช่วง พ.ศ. ๒๐๔๘ หรือราว ๕๑๗ ปีมาแล้ว เนื้อหาของจารึก กล่าวถึง ปฏิจจสมุปบาท อันเป็นหลักธรรม ที่กล่าวถึงเหตุและผลของชีวิตที่เกี่ยวเนื่องกันไปไม่ขาดสาย เมื่อสิ่งหนึ่งเกิดขึ้น ก็เป็นเหตุให้อีกสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นสืบต่อกันไปเป็นลูกโซ่ จารึกด้านที่สองส่วนท้ายกล่าวถึง พุทธอุทานคาถา ที่เป็นปฐมพุทธอุทาน อันเกิดจากความเข้าใจอย่าง ถ่องแท้ในปฏิจจสมุปบาท การจารึกหลักธรรมดังกล่าวไว้ในพระเจดีย์จึงมีจุดมุ่งหมายเพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นมรดกอันล้ำค่าของชาวพุทธให้คงอยู่สืบไป
พระมาลัยโปรดนรก
ศิลปะรัตนโกสินทร์ พุทธศตวรรษที่ ๒๕ (๑๐๐ ปีมาแล้ว)
ได้มาจากจังหวัดอุทัยธานี นายเทียนส่าง แซ่เฮง โรงรับจำนำเจี๊ยบหลีฮอง ถนนจักรพงษ์ จังหวัดพระนคร มอบให้เมื่อวันที่ ๑๑ กันยายน ๒๔๗๕
ปัจจุบันจัดแสดง ณ ห้องธนบุรี-รัตนโกสินทร์ อาคารประพาสพิพิธภัณฑ์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
รูปพระมาลัยยืนบนดอกบัว ครองจีวรห่มเฉียง รัดด้วยประคดอก บ่าขวาสะพายบาตร มือซ้ายยกขึ้นถือตาลปัตรใบลาน ฐานล่างทรงสี่เหลี่ยมสูง มีรูปสัตว์นรกและไฟนรก รวมทั้งเปรตรูปร่างพิกลพิการ บางตนทำท่าประนมมือขึ้นเหนือศีรษะแสดงการเคารพต่อพระมาลัย ประติมากรรมชิ้นนี้แสดงถึงเหตุการณ์ที่พระมาลัยไปโปรดสัตว์ในนรกภูมิ บันดาลให้สัตว์นรกพ้นจากเครื่องทัณฑกรรม แล้วนำเรื่องเหล่าสัตว์นรกมาแจ้งแก่ญาติให้ทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้
รูปแบบที่โดดเด่นของประติมากรรมพระมาลัยชิ้นนี้คือ ส่วนฐานรองรับประติมากรรมพระมาลัยเป็นดอกบัวซึ่งน่าจะได้รับแรงบันดาลใจจากวรรณกรรมพระมาลัย เรื่อง นิทานพระมาลัย หรือ อนุฎีกามาลัย มีเนื้อความกล่าวว่า ครั้งพระมาลัยลงไปโปรดสัตว์นรกนั้นมีดอกบัวดอกหนึ่งใหญ่ประมาณเท่ากงจักรผุดขึ้นมารองรับพระมาลัย ส่วนฐานล่างรูปทรงสี่เหลี่ยมมีประติมากรรมรูปอสุรกายและเปรตประดับไว้โดยรอบ เป็นการแสดงรูปลักษณะของ “นรก”
เหตุที่รูปนรกปรากฏเป็นสัณฐานทรงสี่เหลี่ยมนั้นเนื่องมาจากตามคติความเชื่อเรื่องนรกของพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทนั้นเชื่อกันว่า นรกนั้นมี ๘ ขุม ได้แก่ สัญชีพนรก กาลสูตตนรก สังฆาฏนรก โรรุพนรก มหาโรรุพนรก มหาดาปนรก ดาปนรก มหาอวิจี* เป็นพื้นที่สี่เหลี่ยมมีประตูทางเข้าสี่ทาง มีกำแพงหนามาก และไฟลุกโชกโชนตลอดเวลา ดังข้อความในไตรภูมิพระร่วง ของพญาลิไท ว่าด้วย “นรกภูมิ” ระบุว่า
“...ฝูงนรกใหญ่ ๘ อันนี้ย่อมเป็น ๔ มุมและมีประตูอยู่ ๔ ทิศ พื้นหนต่ำก้อนเหล็กแดงและฝาอันปิดเบื้องบนก้อนเหล็กแดง และนรกฝูงนั้นโดยกว้างและสูงเท่ากันเป็นจัตุรัส และด้านละ ๑,๐๐๐ โยชน์ด้วยโยชน์ ๘,๐๐๐ วา โดยหนาทั้ง ๔ ด้านก็ดี พื้นเบื้องต่ำก็ดี ฝาเบื้องบนก็ดี ย่อมหนาได้ละ ๙ โยชน์ และนรกนั้นบ่มีที่เปล่าสักแห่ง เทียร**ย่อมฝูงสัตว์นรกทั้งหลายหากเบียดเสียดกันอยู่เต็มนรกนั้น และไฟนรกนั้นบ่มิดับเลยสักคาบแล ไหม้อยู่รอดชั่วต่อสิ้นกัลปแล...”
นรกแต่ละขุมนั้นล้วนแล้วแต่เป็นพื้นที่ทรมานเปรตและสัตว์นรกทั้งปวงที่ได้กระทำบาปเมื่อครั้งยังเป็นมนุษย์ โดยมีการทรมานต่าง ๆ เช่น การถูกยมบาลแทงด้วยอาวุธ การปีนต้นงิ้ว การถูกต้มในกระทะทองแดง ถูกสุนัขและอีกาจิกกิน การถูกกงจักรปั่นศีรษะ ฯลฯ
การถ่ายทอดรูปแบบนรกในสัณฐานสี่เหลี่ยมนี้ยังปรากฏในหลักฐานประเภทจิตรกรรมตั้งแต่สมัยอยุธยา เช่น สมุดภาพไตรภูมิฉบับกรุงศรีอยุธยาเล่มที่ ๖ และเลขที่ ๘ ภาพเขียนเรื่องนรกสมัยกรุงธนบุรี มีตัวอย่างเช่นในสมุดภาพไตรภูมิฉบับหลวงสมัยกรุงธนบุรีเลขที่ ๑๐ และ ๑๐/ก ส่วนจิตรกรรมสมัยรัตนโกสินทร์มีตัวอย่างเช่น จิตรกรรมฝาผนังพระอุโบสถวัดราชสิทธาราม (วัดพลับ) และจิตรกรรมฝาผนังพระอุโบสถวัดดุสิตาราม (วัดเสาประโคน) กรุงเทพฯ ทั้งสองแห่งนี้เป็นตัวอย่างงานจิตรกรรมสมัยรัชกาลที่ ๑
*ในหนังสือฎีกามาลัยยสูตร์ ฉบับ พ.ศ. ๒๔๗๑ พรรณนาถึงชื่อนรกว่ามี ๘ ขุมเช่นกันแต่การสะกดชื่อขุมนรกบางแห่งนั้นต่างกันไปบ้าง อาทิ ไตรภูมิพระร่วงระบุนามขุมนรก ว่า “โรรุพนรก” ในข้อความของฎีกามาลัยยสูตร์ระบุว่า “โรรุวนรก” เป็นต้น
**คำว่า เทียร หมายถึง ย่อม ล้วนแล้วไปด้วย.
อ้างอิง
เด่นดาว ศิลปานนท์. “ของชิ้นเอกในพิพิธภัณพสถานแห่งชาติ : ประติมากรรมพระมาลัยปางโปรดนรก.” ศิลปากร ๕๓, ๑ (มกราคม-กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓): ๑๒๓-๑๒๗.
ไตรภูมิ. สมุดภาพไตรภูมิฉบับกรุงศรีอยุธยา – ฉบับกรุงธนบุรี เล่มที่ ๑-๒. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, ๒๕๔๒.
ลิไท, พญา. ไตรภูมิพระร่วง. พิมพ์ครั้งที่ ๓. กรุงเทพฯ: องค์การค้าคุรุสภา, ๒๕๑๘.
ศักดิ์ชัย สายสิงห์. พุทธศิลป์สมัยรัตนโกสินทร์ : พัฒนาการงนช่างและแนวคิดที่ปรับเปลี่ยน. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, ๒๕๕๖.
ศรีเงิน ป. ฎีกามาลัยยสูตร์ หรือมาลัยสูตร์สงเคราะห์ เล่ม ๑. พระนคร: กิมหลีหงวน, ๒๔๗๑.
ชื่อเรื่อง สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ. 45/7ประเภทวัดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 50 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 56 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา
ชื่อเรื่อง ปิดประตูอบาย
ชื่อผู้แต่ง พระเทพสิทธิมุนี (โชดก ป.9)
พิมพ์ครั้งที่ 69
สถานที่พิมพ์ กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ โรงพิมพ์จงเจริญการพิมพ์
ปีที่พิมพ์ ๒๕๒๓
จำนวนหน้า ๕๘ หน้า
รายละเอียด
ปิดประตูอบาย ของ พระเทพสิทธิมุนี (โชดก ป.9) พระอาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนาธุระเจ้าคณะภาค 10 รองเจ้าอาวาสวัดมหาธาตุ หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือแสดงผลของการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน ตั้งแต่ต่ำจนกระทั้งปิดประตูอบายได้ เมื่อผู้ใดอ่านหนังสือเล่มนี้แล้ว สามารถตอบตัวเองได้ว่าวิปัสสนาดีและมีประโยชน์ต่อชาวพุทธอย่างไร
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 143/1เอกสารโบราณ(คัมภีร์ใบลาน)
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 177/1ฏ เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
ชื่อเรื่อง 90 ปี ยมราช โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช จังหวัดสุพรรณบุรีผู้แต่ง รพ.เจ้าพระยายมราชประเภทวัสดุ/มีเดีย หนังสือท้องถิ่นISBN/ISSN -หมวดหมู่ รัฐศาสตร์ การเมือง การปกครองเลขหมู่ 362.18 ก831สถานที่พิมพ์ สุพรรณบุรี สำนักพิมพ์ โรงพยาบาลศูนย์เจ้าพระยายมราชปีที่พิมพ์ 2559ลักษณะวัสดุ 220 หน้า : ภาพประกอบ ; 29 ซม.หัวเรื่อง โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช
สุพรรณบุรี – ชีวประวัติ
ประวัติ ภาษา ไทย
บทคัดย่อ/บันทึก
หนังสือครบรอบ 90 ปี ของโรงพยาบาลเจ้าพระยายมราชที่มีประวัติความเป็นมายาวนานในการให้บริการ
ชื่อเรื่อง สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ. 13/7ประเภทวัดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 36 หน้า : กว้าง 4.6 ซม. ยาว 54.8 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา
เลขทะเบียน : นพ.บ.377/12ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 30 หน้า ; 5 x 54.5 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา มีฉลากไม้ชื่อชุด : มัดที่ 142 (7-25) ผูก 12 (2566)หัวเรื่อง : เวสฺสนฺตรชาตก --เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
เลขทะเบียน : นพ.บ.514/6ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 46 หน้า ; 4 x 49 ซ.ม. : ล่องชาด ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 172 (248-253) ผูก 6 (2566)หัวเรื่อง : ฉลองสร้างหนทาง--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
ประติมากรรมปูนปั้นรูปครุฑ สมัยทวารวดี
ประติมากรรมปูนปั้นรูปครุฑ สมัยทวารวดี จัดแสดง ณ ห้องนิทรรศการชั่วคราว พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง
ประติมากรรมปูนปั้นนูนสูงรูปครุฑ กว้าง ๑๗ เซนติเมตร สูง ๑๔ เซนติเมตร อยู่ในสภาพชำรุด มีเพียงส่วนศีรษะและลำตัวท่อนบน ส่วนลำตัวท่อนล่าง ปีก และแขนขาหักหายไป ด้านหลังแบนเรียบมีอิฐติดอยู่ เนื้ออิฐมีรูพรุนที่เกิดจากการผสมแกลบข้าว ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของอิฐในสมัยทวารวดี ประติมากรรมมีลำตัวอวบอ้วน หน้าท้องใหญ่ ใบหน้ากลมแบน คิ้วเป็นสันนูนต่อกันเป็นปีกกา ตาโปนเหลือบต่ำ จมูกและปากแหลมยื่นยาวออกมาด้านหน้าคล้ายจะงอยปากนก ผมเรียบ สวมตุ้มหูที่มีลักษณะเป็นห่วงกลม มีส่วนบนเรียวเล็ก ส่วนล่างใหญ่และหนาซึ่งเป็นลักษณะตุ้มหูที่พบเป็นจำนวนมากตามเมืองโบราณสมัยทวารวดี โดยพบเป็นตุ้มหูหล่อด้วยโลหะ และยังปรากฏในประติมากรรมดินเผาและปูนปั้นรูปบุคคลในสมัยทวารวดีด้วย กำหนดอายุสมัยทวารวดี ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ - ๑๖ หรือประมาณ ๑,๐๐๐ - ๑,๔๐๐ ปีมาแล้ว
สันนิษฐานว่าประติมากรรมชิ้นนี้เป็นส่วนประกอบสำหรับตกแต่งสถาปัตยกรรม เนื่องจากเป็นประติมากรรมนูนสูงมีด้านหลังแบนเรียบ และมีอิฐติดอยู่ สอดคล้องกับเทคนิคการก่อสร้างสถาปัตยกรรมของช่างพื้นเมืองสมัยทวารวดีที่มักสร้างสถาปัตยกรรมด้วยอิฐ และนำประติมากรรมปูนปั้นหรือดินเผาที่เป็นภาพนูนสูงตกมาแต่งพื้นผิวภายนอก โดยประติมากรรมชิ้นนี้อาจประกอบเป็นภาพเล่าเรื่องของสถาปัตยกรรม หรืออาจประดับในช่องสี่เหลี่ยมบริเวณส่วนฐานของสถาปัตยกรรม ตามคติผู้พิทักษ์และค้ำจุนศาสนา ในลักษณะเดียวกับประติมากรรมรูปคนแคระแบกที่มีศีรษะเป็นสัตว์ ซึ่งพบที่โบราณสถานเขาคลังใน เมืองโบราณศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ ก็เป็นได้
นอกจากประติมากรรมชิ้นนี้ ยังพบประติมากรรมรูปครุฑสำหรับประดับสถาปัตยกรรมตามแหล่งโบราณคดีสมัยทวารวดีแห่งอื่น เช่น ประติมากรรมดินเผารูปครุฑจากเมืองโบราณคูบัว จังหวัดราชบุรี และประติมากรรรมปูนปั้นรูปครุฑ พบที่เจดีย์จุลประโทน จังหวัดนครปฐม เป็นต้น
เอกสารอ้างอิง
ศักดิ์ชัย สายสิงห์. ศิลปะทวารวดี : วัฒนธรรมทางศาสนายุคแรกเริ่มในดินแดนไทย. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ, ๒๕๖๒.
วรพงศ์ อภินันทเวช. “ประติมากรรมคนแคระในวัฒนธรรมทวารวดี: รูปแบบและความหมาย”. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๕๕.