ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,403 รายการ

ชื่อเรื่อง                                ปญฺญาบารมี (ปัญญาบารมี)สพ.บ.                                  227/1ขประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           18 หน้า กว้าง 6 ซ.ม. ยาว 59 ซ.ม. หัวเรื่อง                                 พุทธศาสนา                                           ธรรมเทศนา บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน เส้นจาร ฉบับลานดิบ ภาษาบาลี-ไทยอีสาน ได้รับบริจาคมาจากวัดทุ่งอุทุมพร ต.บางปลาม้า อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี


***รายงานการขุดค้นทางโบราณคดีวัดศรีสวาย พ.ศ.๒๕๕๓***  อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยขอเผยแพร่รายงานทางโบราณคดี "รายงานการขุดค้นทางโบราณคดีวัดศรีสวาย อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ปีพุทธศักราช ๒๕๕๓" สามารถดาวน์โหลดเพื่ออ่านหรือใช้ในการศึกษาตามลิ้งค์ที่แนบนี้ >>> https://drive.google.com/.../1uVVaNhkkLCslnEN0SRV.../view... .  รายงานฉบับนี้ประกอบด้วยข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับวัดศรีสวาย การปฏิบัติงานขุดค้นทางโบราณคดี ชั้นดินทางโบราณคดี การจำแนกและวิเคราะห์หลักฐานทางโบราณคดี และผลจากการขุดค้นทางโบราณคดี ซึ่งการขุดค้นทางโบราณคดีในครั้งนี้ดำเนินการโดยนายภานุวัฒน์ เอื้อสามาลย์ นักโบราณคดีของอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยในขณะนั้น (พ.ศ.๒๕๕๓) จากร่องรอยหลักฐานที่พบทำให้สามารถวิเคราะห์ แปลความหมายและสรุปการใช้งานพื้นที่วัดศรีสวาย โดยแบ่งตามลำดับชั้นทับถมทางวัฒนธรรมได้ดังนี้ .  ๑.) สมัยก่อนสุโขทัย อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘ พบหลักฐานทางโบราณคดีอย่างเบาบาง ได้แก่ เศษภาชนะดินเผาเนื้อดินธรรมดา ปริมาณน้อยมาก และมีชิ้นหนึ่งที่สามารถระบุรูปทรงได้ เป็นภาชนะเนื้อดินธรรมดาขึ้นรูปด้วยมือ ลักษณะก้นกลมที่ไม่มีคอตกแต่งด้วยลายเชือกทาบทั้งใบ ซึ่งเป็นรูปแบบเดียวกันกับที่เคยพบจากการขุดค้นทางโบราณคดีระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๒๐ – ๒๕๒๕ และในสมัยนี้น่าจะยังไม่มีการก่อสร้างอาคารใด ๆ เนื่องจากไม่พบหลักฐานประเภทอิฐดินเผา กระเบื้องมุงหลังคาดินเผา วัตถุปูนปั้น และสะเก็ดหินชนวน ซึ่งเป็นวัสดุก่อสร้างเลย  แต่กลับพบในสมัยถัดมาคือราวต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๙ ข้อมูลดังกล่าวจึงมีความขัดแย้งกับการกำหนดอายุสมัยการสร้างปราสาท ๓ หลัง ที่กล่าวว่าควรสร้างขึ้นในราวครึ่งหลังพุทธศตวรรษที่ ๑๘ อย่างไรก็ตามช่วงระยะเวลาดังกล่าวก็จัดว่ามีความใกล้เคียงกันมาก หรืออาจจะอธิบายได้ว่าวัสดุก่อสร้างดังกล่าวนั้นเป็นวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างสมัยหลัง เพราะในสมัยแรกสร้างนั้นได้ใช้ศิลาแลงเป็นวัสดุหลัก .  ๒.) สมัยสุโขทัย อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๙ – ๒๐ ในสมัยนี้พบโบราณวัตถุที่มีความหลากหลาย ได้แก่ เศษภาชนะดินเผาจากแหล่งเตาเมืองศรีสัชนาลัย เศษเครื่องถ้วยสมัยล้านนา เศษเครื่องถ้วยจีนสมัยราชวงศ์สุ้งใต้ และสมัยราชวงศ์หยวน อันแสดงให้เห็นถึงการติดต่อสัมพันธ์กับต่างถิ่นทั้งที่ห่างไกลและใกล้เคียง แต่ก็เป็นที่น่าสังเกตว่าไม่พบเศษภาชนะดินเผาประเภทชามหรือจานเขียนลายสีดำใต้เคลือบจากแหล่งเตาเมืองสุโขทัยและเมืองศรีสัชนาลัยเลย  จึงสันนิษฐานว่าภาชนะดินเผาประเภทดังกล่าวอาจมีความนิยมแพร่หลายในสมัยหลัง หรือเนื่องจากพื้นที่แห่งนี้เป็นเขตศาสนสถานที่ใช้ในการประกอบพิธีกรรมทางศาสนาจึงไม่ค่อยพบภาชนะประเภทที่ใช้สอยกันในครัวเรือนมากนัก แต่ที่พบและมีสภาพค่อนข้างสมบูรณ์ด้วยนั้น ได้แก่ ผางประทีปที่ใช้จุดไฟเพื่อบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์  ไหดินเผาเนื้อแกร่งทั้งแบบขนาดเล็กและขนาดใหญ่ ที่อาจใช้เป็นภาชนะบรรจุอัฐิ อ่างดินเผาขนาดใหญ่ ที่สันนิษฐานว่าอาจเป็นอ่างน้ำมนต์ (?) ภาชนะประเภทคนทีและคนโท ที่ควรเป็นภาชนะแบบพิเศษสำหรับการประกอบพิธีกรรมโดยเฉพาะ และหม้อดินเผาก้นกลมรูปทรงค่อนข้างแป้น ผิวภายนอกมีร่องรอยปูนขาวฉาบอยู่ ซึ่งก็คงจะเกี่ยวข้องกับการประกอบพิธีกรรมเช่นเดียวกัน และสันนิษฐานว่าวิหารน้อยที่ก่อด้วยศิลาแลงก็ควรสร้างขึ้นในสมัยนี้ .  ๓.) สมัยหลังสุโขทัยที่ร่วมสมัยอยุธยาตอนกลาง อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๒๑ – ๒๒ เป็นชั้นที่พบโบราณวัตถุหนาแน่นและมีความหลากหลาย ทั้งประเภทที่มีอายุเก่าที่สุด คือ เศษเครื่องถ้วยสมัยลพบุรีและเศษเครื่องถ้วยจีนสมัยราชวงศ์สุ้งใต้ และที่มีอายุในสมัยถัดมาคือ เศษเครื่องถ้วยจีนสมัยราชวงศ์หยวน เศษเครื่องถ้วยสมัยล้านนา เศษภาชนะดินเผาจากแหล่งเตาเมืองสุโขทัยและเมืองศรีสัชนาลัย และเศษเครื่องถ้วยจีนสมัยราชวงศ์หมิง อันแสดงให้เห็นถึงการติดต่อสัมพันธ์กับต่างถิ่นทั้งที่ห่างไกลและใกล้เคียง สำหรับเครื่องใช้ในพิธีกรรมทางศาสนาก็ยังคงพบต่อเนื่องมาในสมัยนี้ด้วย ที่สำคัญคือ ตะคันดินเผาสภาพค่อนข้างสมบูรณ์จำนวนหลายใบ ชิ้นส่วนฐานประติมากรรมศิลาทรายขนาดเล็ก ที่สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นฐานพระพุทธรูป (?) ชิ้นส่วนดอกไม้และใบไม้ทองคำ ที่สันนิษฐานว่าเป็นต้นไม้จำลองทองคำ รวมทั้งผลึกแร่ควอตซ์ ที่สันนิษฐานว่าเป็นวัตถุศิลาฤกษ์ ซึ่งชิ้นหลังนี้ควรมีมาตั้งแต่แรกสร้างศาสนสถานแต่อาจถูกขุดรื้อจนมาปะปนอยู่ในชั้นวัฒนธรรมสมัยนี้  และสันนิษฐานว่ากำแพงแก้วที่มีส่วนฐานและผนังเป็นหินชนวน ก็ควรทำขึ้นในสมัยนี้ด้วยเช่นกัน  .  และจากการขุดค้นที่ระดับชั้นดินบนยังพบหลักฐานที่มีอายุสมัยหลังต่อมาอีก คือ เศษเครื่องถ้วยจีนสมัยราชวงศ์ชิง ราวปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๒ – ๒๓ ด้วย อันแสดงให้เห็นถึงกิจกรรมที่ยังคงมีต่อมาอีกระยะเวลาหนึ่ง .  สุดท้ายนี้ ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาและวิเคราะห์ดังกล่าว เป็นสิ่งที่ได้จากการขุดค้นทางโบราณคดีในพื้นที่เพียงส่วนหนึ่งของวัดศรีสวาย ในอนาคตหากมีการศึกษาและขุดค้นทางโบราณคดีเพิ่มเติมก็น่าจะทำให้สามารถสรุปเรื่องราวได้ชัดเจนยิ่งขึ้น โดยเฉพาะประเด็นที่สำคัญคือการตรวจสอบอายุสมัยแรกสุดของการสร้างปราสาท ๓ หลัง ที่ได้ข้อสรุปจากการขุดค้นครั้งนี้ว่า “น่าจะสร้างขึ้นในราวต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๙ หรือปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๘ (ไม่ควรเก่าไปกว่านั้น)”


ชื่อเรื่อง                                โพธิปกฺขิยธมฺมกถา (พระโพธิปักขิยธรรม)สพ.บ.                                  165/2ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           40 หน้า กว้าง 5 ซ.ม. ยาว 56 ซ.ม. หัวเรื่อง                                 พุทธศาสนา--หัวข้อธรรม                                           โพธิปักขิยธรรม--พระธรรมเทศนา                                           พุทธศาสนา บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากวัดพยัคฆาราม ต.ศรีประจันต์ อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี 


เลขทะเบียน : นพ.บ.125/2ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  52 หน้า ; 4.5 x 51.5 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา  มีฉลากไม้  ชื่อชุด : มัดที่ 72 (248-256) ผูก 2 (2564)หัวเรื่อง : เอกนิปาต (นิไสเอกนิปาต)--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม



      วิถีชาวนากับภาษาไทย ตอนที่ ๑ "ควายจมปลัก"       จมปลัก ประกอบด้วยคำว่า "จม" กับ "ปลัก"       "จม" หมายถึง หายลงไปในดินหรือน้ำ หรือหมายถึงทำให้อยู่ใต้น้ำ        นอกจากนี้ คำว่า จม ยังมีความหมายโดยปริยายว่า อยู่กับที่ เช่น       - เขาจมอยู่กับความทุกข์       - เก็บเงินไว้เฉย ๆ  เงินจมอยู่เปล่า ๆ ไม่ได้ประโยชน์อะไร      - เขาจมอยู่กับกองหนังสือทั้งวัน      "ปลัก" หมายถึง แอ่งที่เป็นโคลนเลน เช่น       - ควายนอนแช่ปลัก      - ม้าวิ่งเตลิดตกลงไปในปลัก (เตลิด ภาษาโคราช แปลว่า เลยไป)      เมื่อใช้ จมปลัก เป็นสำนวน จะหมายความว่า      "ติดอยู่ที่เดิม ติดอยู่กับที่ ทำให้ไม่เจริญก้าวหน้า" เช่น       - พี่สาวจมปลักอยู่แต่ในบ้าน ความคิดอ่านจึงสู้น้องสาวที่ออกไปทำงานนอกบ้านไม่ได้       - คนมีความสามารถอย่างคุณไม่ควรจมปลักอยู่ในบริษัทนี้ ควรจะหาบริษัทที่คุณมีโอกาสก้าวหน้ากว่านี้ ภาพของชาวนากับควายนั้น ในอดีตมีความผูกพันกันมาก เมื่อเห็นควายก็สื่อได้ถึงภาพของชาวนา คันไถ ทุ่งนา รวงข้าว หรือแม้แต่ประเพณีพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับการทำนาคือพิธีสู่ขวัญควาย ประเพณีเฉพาะของท้องถิ่น ประเพณีวิ่งควายจังหวัดชลบุรี ประเพณีบวชควายในงานบุญบั้งไฟของภาคอีสาน เป็นต้น ซึ่งพิธีและประเพณีต่าง ๆ นั้นทำเพื่อขอบคุณควายที่ชาวนาได้ใช้แรงงานของควายไถนา เพื่อปลูกข้าวมาเป็นอาหารหล่อเลี้ยงชีวิตของคน จึงกล่าวได้ว่าควายนั้นมีบุญคุณกับคน เนื่องจากได้อาศัยใช้แรงงานควายทำงานต่าง ๆ      นอกจากนั้นแล้วควายยังเป็นพาหนะสำคัญในอดีตใช้ขี่หรือใช้เทียมเกวียน ลากเกวียน หรือแม้แต่การใช้ควายเป็นพาหนะเพื่อใช้ในการสู้รบของชาวบ้านบางระจันกับกองทัพพม่าก่อนการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ ๒    นางสาวภัทรา เชาว์ปรัชญากุล ภัณฑารักษ์ชำนาญการ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชาวนาไทย สุพรรณบุรี เรียบเรียง/เผยแพร่ ภาพได้รับความอนุเคราะห์และการสนับสนุนจาก page facebook : แค่อยากออกไป โดยคุณวราภรณ์ ไทยานันท์ Warabhorn Taiyanun   ที่มาข้อมูล - สืบค้นระบบออนไลน์จาก www.royin.go.th (วันที่ ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๖๓) - วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญาจังหวัดสุพรรณบุรี - วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญาจังหวัดชลบุรี - วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญาจังหวัดแพร่ - วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญาจังหวัดมหาสารคาม - วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญาจังหวัดร้อยเอ็ด - วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญาจังหวัดยโสธร - วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญาจังหวัดสกลนคร


อภิธัมมัตถสังคหะ ชบ.ส. ๔๕ เจ้าอาวาสวัดบุญญฤทธยาราม ต.บ้านบึง อ.บ้านบึง จ.ชลบุรี มอบให้หอสมุด ๒๒ ก.ค. ๒๕๓๕เอกสารโบราณ (สมุดไทย)


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน) เลขที่ ชบ.บ.24/1-1 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


ไทยน้อย.  พระยาพหล.  พิมพ์ครั้งที่ ๑.  พระนคร : แพร่พิทยา, ๒๔๙๗.  ๔๔๓ หน้า.       พระยาพหลพลพยุหเสนา ได้รับยกย่องเป็น “เชษฐบุรุษ”ผู้นำการปฏิวัติจากระบอบ สมบูรณาญาสิทธิราชย์มาสู่ระบอบประชาธิปไตย มีบุคลิกที่เป็นกันเองคุยสนุก



ลำดวน สุขพันธ์.  ประวัติพระบรมธาตุไชยาราชวรวิหาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี และบทความเรื่องอาณาจักรศรีวิชัย.  กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2520.          นำเสนอเกี่ยวกับประวัติความเป็นมา และความสำคัญของวัดพระบรมธาตุไชยาราชวรวิหาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี  นอกจากนี้ท้ายเล่มยังนำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับเรื่องอาณาจักรศรีวิชัยด้วย


องค์ความรู้วิชาการ เรื่อง อาหารมงคลในพิธีแต่งงานของชาวบาบ๋าภูเก็ต องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้อง "เสี่ยหนา" หรือ ปิ่นโตจีน ของใช้ในงานมงคง องค์ความรู้วิชาการ เรื่อง อาหารมงคลในพิธีแต่งงานของชาวบาบ๋าภูเก็ต องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้อง "เสี่ยหนา" หรือ ปิ่นโตจีน ของใช้ในงานมงคง https://www.facebook.com/ThalangNationalMuseum/posts/3201720979914096


          เขื่อนอุบลรัตน์ ตั้งอยู่ตำบลเขื่อนอุบลรัตน์ อำเภออุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น เป็นเขื่อนหินทิ้งแกนดินเหนียว และเป็นเขื่อนอเนกประสงค์แห่งที่สองของประเทศไทย สร้างขึ้นเพื่อผลิตไฟฟ้าพลังน้ำแห่งแรกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สร้างปิดกั้นแม่น้ำพอง ตรงบริเวณที่เรียกว่า "พองหนีบ" ตำบลโคกสูง อำเภอน้ำพอง (ปัจจุบันเป็นอำเภออุบลรัตน์) จังหวัดขอนแก่น อยู่ห่างจากตัวจังหวัดขอนแก่น ประมาณ 50 กิโลเมตร           ความเป็นมาของเขื่อนอุบลรัตน์ ระหว่างวันที่ 20 – 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2500 ผู้เชี่ยวชาญจาก 4 ประเทศ คือ ไทย ลาว กัมพูชา และเวียดนามใต้ โดยความสนับสนุนของคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจแห่งเอเซียและตะวันออกไกล (ECAFE) ได้ประชุมหารือกันเกี่ยวกับการพัฒนาลุ่มน้ำโขงตอนล่างเพื่อประโยชน์ในด้านการชลประทาน การผลิตกระแสไฟฟ้า การประมง และการป้องกันอุทกภัย ที่ประชุมได้ให้ผู้แทนทุกฝ่ายเสนอให้รัฐบาลทั้ง 4 ประเทศ ภายใต้ความอุปถัมภ์ของสหประชาชาติ (United Nations) คณะกรรมการฯได้ลงมติว่าใน 4 ประเทศ ที่ร่วมงานกันนี้ จะดำเนินงานพัฒนาแหล่งน้ำประเทศละ 2 สาขา ซึ่งสำหรับประเทศไทยเราได้เสนอโครงการน้ำพอง (ปัจจุบันคือ เขื่อนอุบลรัตน์) และโครงการน้ำพุง (ปัจจุบันคือเขื่อนน้ำพุง) เป็นสาขาของโครงการพัฒนาลุ่มน้ำโขงตอนล่าง           ปี พ.ศ. 2502 คณะกรรมการประสานงานการสำรวจลุ่มน้ำโขงตอนล่าง ได้ดำเนินการสำรวจลำน้ำสาขาของแม่น้ำโขง อีกหนึ่งปีต่อมาคณะกรรมการประสานงานการสำรวจลุ่มน้ำโขงตอนล่าง ได้เสนอให้มีการพิจารณาโครงการน้ำพองเป็นอันดับแรก เพราะโครงการนี้จะให้ประโยชน์แก่การพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือนานัปการ           ปี พ.ศ. 2503 องค์การสหประชาชาติ ได้ทำการว่าจ้างบริษัท Rogers International Corporation จากสหรัฐอเมริกาให้มาดำเนินการสำรวจเบื้องต้นให้กับโครงการน้ำพอง โดยใช้เงินจากกองทุนพิเศษสหประชาชาติ (UN Special Fund) ต่อมาในปี พ.ศ. 2505 รัฐบาลได้นำรายงานการสำรวจเบื้องต้นเสนอต่อรัฐบาลสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน เพื่อขอกู้ยืมเงินมาเป็นค่าก่อสร้างโครงการ รัฐบาลสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันได้ลงมติให้ความสนับสนุนโดยผ่านสถาบันเครดิตเพื่อการบูรณะแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน (K.F.W. หรือ Kreditanstall fur Wiederaufbau)           ปี พ.ศ. 2506 การไฟฟ้าตะวันออกเฉียงเหนือได้ลงนามในสัญญาว่าจ้างบริษัท Salzgitter Industriebau GmbH. แห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน เป็นบริษัทวิศวกรที่ปรึกษา เพื่อสำรวจรายละเอียดออกแบบและควบคุมงานก่อสร้าง โครงการพัฒนาแม่น้ำพอง           ปี พ.ศ. 2507 ได้เริ่มก่อสร้างโครงการโดยการกู้เงินจาก สถาบันเครดิตเพื่อการบูรณะแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน (K.F.W.) การก่อสร้างได้แล้วเสร็จเมื่อปลายปี พ.ศ. 2508 และเริ่มดำเนินการผลิตกระแสไฟฟ้าตั้งแต่วันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2509 โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถและสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี (ฐานันดรศักดิ์ในขณะนั้น) ไปทรงประกอบพิธีเปิดเขื่อน เมื่อวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2509 ทรงพระราชทานชื่อเขื่อนนี้ว่า “เขื่อนอุบลรัตน์”           พระธรรมไตรโลกาจารย์ (รักษ์ เรวโต) อดีตเจ้าอาวาสวัดศรีเมือง พร้อมญาติโยมจากจังหวัดหนองคาย เดินทางไปทอดผ้าป่าที่จังหวัดขอนแก่น เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2507 ระหว่างทางได้แวะชมการก่อสร้างเขื่อนอุบลรัตน์ จากภาพถ่ายส่วนบุคคลของพระธรรมไตรโลกาจารย์ชุดนี้ ทำให้เห็นภาพการก่อสร้างเขื่อนอุบลรัตน์ ในปี พ.ศ.2507 ซึ่งเป็นช่วงที่กำลังเริ่มการก่อสร้าง มีการใช้แรงงานคนและเครื่องจักรในการก่อสร้าง แรงงานคนจึงมีความสำคัญในการก่อสร้างเขื่อน--------------------------------------------------------------เรียบเรียงโดย นางสาวอุไรวรรณ แสงทอง นักจดหมายเหตุชำนาญการ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ อุบลราชธานี--------------------------------------------------------------ข้อมูลอ้างอิง หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ อุบลราชธานี ภาพถ่ายส่วนบุคคล พระธรรมไตรโลกาจารย์ (หลวงปู่รักษ์ เรวโต) (2) ภ หจช อบ สบ 8.3/1 เว็บไซต์ http://urdam.egat.co.th/


          ก่อนเทคโนโลยีการติดต่อสื่อสารจะก้าวไกลอย่างปัจจุบัน การเขียนจดหมายส่งถึงกันถือว่าเป็นการสื่อสารในรูปแบบหนึ่งที่สามารถเล่าเรื่องราวต่างๆ เพื่อให้ผู้รับได้ทราบ ซึ่งกิจการไปรษณีย์นั้นได้เริ่มต้นขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) โดยได้มีการจัดตั้งกรมไปรษณีย์ขึ้นในประเทศ และได้มีการผลิต “แสตมป์ชุดโสฬส” เป็นแสตมป์ชุดแรกของประเทศ รวมไปถึงการจัดพิมพ์ไปรษณียบัตรครั้งแรก เพื่อรองรับกิจการไปรษณีย์ที่เกิดขึ้นในขณะนั้น            อีกสิ่งที่มีควบคู่กับการไปรษณีย์ นั่นคือ “ตู้ไปรษณีย์” ซึ่งเป็นเสมือนสัญลักษณ์ของการไปรษณีย์ไทย โดยตู้ไปรษณีย์ที่เก่าแก่ที่สุดของไทยเป็นตู้ที่ได้รับมอบเป็นของขวัญจากประเทศเยอรมนี ในโอกาสที่ประเทศไทยเปิดให้บริการไปรษณีย์ขึ้นเป็นครั้งแรก ในปี พ.ศ. 2426            ในส่วนของจังหวัดยะลานั้น ตู้ไปรษณีย์ที่ใหญ่ที่สุดอยู่ที่อำเภอเบตง ตั้งอยู่หัวมุมถนนสุขยางค์ บริเวณสี่แยกหอนาฬิกา สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2467 ลักษณะของตู้เป็นรูปทรงกลม และคอนกรีตเสริมเหล็ก มีเส้นรอบวงของตัวตู้ประมาณ 140 ซม. มีความสูงถึง 290 ซม. นับจากฐานขึ้นไป รวมความสูงทั้งหมดประมาณ 320 ซม. กล่าวคือ เนื่องจากในอดีตการเดินทางติดต่อสื่อสารระหว่างอำเภอเบตงกับอำเภออื่นๆ มีความยากลำบาก การส่งจดหมายจึงเป็นวิธีที่ดีที่สุด จนกระทั่งนายสงวน จิระจินดา นายกเทศมนตรีเบตงในขณะนั้น ซึ่งเคยเป็นนายไปรษณีย์เบตงมาก่อน มีความคิดที่จะสร้างตู้ไปรษณีย์ไว้เพื่อเป็นสัญลักษณ์เกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารของอำเภอเบตง นอกจากจะเป็นตู้รับจดหมายแล้ว ยังมีการติดตั้งวิทยุกระจายเสียงไว้ส่วนบนของตู้ เพื่อให้ประชาชนได้รับทราบข่าวสารจากทางราชการด้วย ต่อมาทางเทศบาลเบตงจึงได้จำลองตู้ไปรษณีย์ขนาดใหญ่กว่าเดิมถึง 3.5 เท่า บริเวณศาลาประชาคม ถนนสุขยางค์ โดยมีความสูงประมาณ 9 เมตร เป็นจุดเด่นที่นักท่องเที่ยวนิยมแวะมาถ่ายรูปเป็นที่ระลึก และตู้ไปรษณีย์ทั้งสองแห่งยังคงสามารถใช้งานได้เหมือนกับตู้ไปรษณีย์ทั่วไปอีกด้วย-----------------------------------------------------------------ที่มาของข้อมูล : หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ ยะลา https://www.facebook.com/751655098538170/posts/1316230012080673/ -----------------------------------------------------------------เอกสารอ้างอิง : บริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด. ประวัติกิจการไปรษณีย์ไทย (ออนไลน์). แหล่งที่มา http://www.thailandpost.co.th เทศบาลเมืองเบตง จังหวัดยะลา. ตู้ไปรษณีย์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ (ออนไลน์). แหล่งที่มา http://betongcity.go.th/?p=5714 ปราณชลี. ไผ่งามนามเบตง 111 ปี เล่าขานตำนานเมืองเบตง. 2560


          พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จันทรเกษม ได้ดำเนินงานในปีงบประมาณ 2564 นั่นก็คือ "โครงการปรับปรุงห้องนิทรรศการพระยาโบราณราชธานินทร์ (พร เดชะคุปต์)" ซึ่งขณะนี้อยู่ในระหว่างการดำเนินงาน คาดว่าจะสามารถเปิดให้เข้าชมได้ในเร็วๆนี้           นิทรรศการห้องที่ระลึกพระยาโบราณราชธานินทร์ ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ในอาคารมหาดไทย เป็นนิทรรศการที่เผยแพร่ชีวประวัติและผลงานอันทรงคุณค่าของพระยาโบราณราชธานินทร์ สมุหเทศาภิบาลมณฑลกรุงเก่า ภายในห้องเป็นการจำลองการจัดแสดงห้องทำงานของพระยาโบราณราชธานินทร์ รวมไปถึงจัดแสดงเครื่องใช้ส่วนตัวและโบราณวัตถุบางส่วนที่มาจากการเก็บสะสมของท่าน โดยวัตถุประสงค์ของนิทรรศการนี้คือเพื่อเป็นการระลึกถึงและเชิดชูเกียรติพระยาโบราณราชธานินทร์ ผู้มีคุณูปการต่อวงการประวัติศาสตร์ โบราณคดี และชาวพระนครศรีอยุธยา           การปรับปรุงนิทรรศการในครั้งนี้ ประกอบด้วย งานปรับปรุงป้ายนิทรรศการ ป้ายคำบรรยายวัตถุ ปรับปรุงแท่นจัดแสดงบางส่วน รวมไปถึงการปรับเปลี่ยนแผนผังการจัดแสดง เพื่อให้การนำเสนอข้อมูลมีความถูกต้องและเป็นปัจจุบัน อีกทั้งยังเพื่อให้นิทรรศการมีความหลากหลายและน่าสนใจมากยิ่งขึ้น


Messenger