ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,403 รายการ


        หนังสือ : ปกีรณำพจนาดถ์ และ อนันตวิภาค         ผู้เขียน : พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร)    ปกีรณำพจนาดถ์ และ อนันตวิภาค เป็นหนังสือที่ให้ความรู้เกี่ยวกับคำศัพท์ในภาษาไทย ทั้งยังเป็นหนังสือเก่าที่หาฉบับได้ยาก โดยผู้แต่งคือพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) ซึ่งเป็นผู้แต่งแบบเรียนแรกของไทย ‘แบบเรียนหลวง’ และแบบเรียนอีกจำนวนมาก แบบเรียนภาษาไทยของพระยาศรีสุนทรโวหารถือเป็นวรรณกรรมแบบเรียนที่ทรงคุณค่า ด้วยบันทึกความรู้เกี่ยวกับภาษาไทยและรูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทยในสมัยรัชกาลที่ 5 ทั้งยังเป็นแบบอย่างแก่การเรียบเรียงแบบเรียนภาษาไทยในชั้นหลัง         ปกีรณำพจนาดถ์ เป็นแบบเรียนแต่งเป็นกลอนอธิบายเกี่ยวกับคำพ้อง คำคล้าย ตลอดจนคำที่กำหนดรูปเขียนและวิธีอ่านออกเสียงเป็นพิเศษ อนันตวิภาค เป็นแบบเรียนที่รวบรวมคำศัพท์และความหมาย เนื้อหาจำแนกตามหมวดหมู่ ได้แก่ คำสยามพากย์(คำภาษาไทย) คำกำพุชพากย์(คำภาษาเขมร) คำชวา คำราชาศัพท์ คำมคธพากย์และสังสกฤษฎพากย์(คำภาษาบาลีและสันสกฤต) อันเป็นแบบเรียนที่มีเนื้อหาต่อเนื่องจากชุดแบบเรียนหลวง   ห้องบริการ 1 หอสมุดแห่งชาติจังหวัดสุพรรณบุรี เฉลิมพระเกียรติ เลขหมู่ : 495.918 ศ427ป


เมื่อวันที่ ๒๗ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๔๓ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จพระราชดำเนินไปยังท่าอากาศยานกองบัญชาการกองทัพอากาศดอนเมือง เพื่อทรงรับสมเด็จพระราชาธิบดี สุลต่าน ซาลาฮุดดิน อับดุล อาซิซ ชาห์ สมเด็จพระราชาธิบดีแห่งมาเลเซีย และสมเด็จพระราชินี ตวนกู ซีตี ไอซาห์ สมเด็จพระราชินีแห่งมาเลเซีย ในโอกาสที่เสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ ระหว่างวันที่ ๒๗ - ๓๐ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๔๓ รหัสเอกสาร ฟ หจภ นร ๕.๑/๘ ผู้สนใจสามารถสืบค้นเอกสารจดหมายเหตุเพิ่มเติมได้ที่ https://archives.nat.go.th/Home/ หรือสนใจสั่งซื้อหนังสือออนไลน์ https://shorturl.asia/nQ5WZ


ชื่อเรื่อง                                สตฺตปฺปรณาภิธมุม (วิภังค์-ปุคคลบบัญญัติ)สพ.บ.                                  476/4ประเภทวัสดุมีเดีย                   คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                              พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                          16 หน้า กว้าง 4.5 ซม. ยาว 57 ซม.หัวเรื่อง                                พุทธศาสนา                                          บทคัดย่อ/บันทึก          เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับชาดทึบ ลานดิบ ไม่มีไม้ประกับ  ได้รับบริจาคมาจากวัดด่านช้าง ต.ด่านช้าง อ.ด่านช้าง จ.สุพรรณบุรี


ชื่อเรื่อง                     สลากริวิชาสูตร (สลากริวิชาสูตร)สพ.บ.                       445/1หมวดหมู่                   พุทธศาสนาภาษา                       บาลี-ไทยอีสานหัวเรื่อง                     พุทธศาสนา                             บทสวดมนต์                              บทสืบชะตาประเภทวัสดุ/มีเดีย       คัมภีร์ใบลานลักษณะวัสดุ               106 หน้า : กว้าง 5.5 ซม. ยาว 39 ซม.บทคัดย่อ/บันทึก        เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน เส้นจาร ฉบับลานดิบ ไม่มีไม้ประกับ ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี





         พัดรองที่ระลึกพระราชพิธีโสกันต์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร          ลักษณะ : พัดรองที่ระลึกพระราชพิธีโสกันต์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร พื้นพัดทำจากผ้ากำมะหยี่สีม่วงเข้ม ตรงกลางปักดิ้นเงินทองและไหมสีเป็นรูปจุลมงกุฎ (พระเกี้ยว) ฉากหลังปักลายขนนกการเวก วางบนหมอน เบื้องล่างเป็นแพรแถบเครื่องราชอิสริยาภรณ์จักรีบรมราชวงศ์ มีอักษรย่อ “ร.จ.บ.ต.ว.ห.จ.” หมายถึง “เราจะบำรุงตระกูลวงศ์ให้เจริญ” อันเป็นเครื่องหมายของผู้สืบตระกูลวงศ์ ด้านหลังบุผ้าไหมสีแดง ปักตัวอักษรด้วยไหมสีเหลืองข้อความว่า “การพระราชพิธีโสกันต์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร รัตนโกสินทร์ศก 109” นมพัด ด้านหน้าปักดิ้นทองกรอบรูปพุ่มข้าวบิณฑ์หรือกลีบบัว ภายในเป็นรูปช่อดอกไม้ นมพัดด้านหลังปักไหมเป็นลายพันธุ์พฤกษา ด้ามทำจากไม้กลึง ปลายเป็นงาช้าง          ความสำคัญ : สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงเป็นพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อเจริญพระชนมพรรษาครบ 13 พรรษา จึงจัดให้มีพระราชพิธีโสกันต์อย่างใหญ่ มีเขาไกรลาส ตามพระราชประเพณี เป็นเวลาทั้งสิ้น 8 วัน ตั้งแต่วันที่ 18 - 25 มกราคม พุทธศักราช 2433          พระราชพิธีโสกันต์ เป็นพิธีการโกนจุกให้กับพระราชโอรส และพระราชธิดา ที่ประสูติแต่พระมเหสีและดำรงพระยศชั้นเจ้าฟ้าและพระองค์เจ้า พิธีการจะเริ่มต้นตั้งโหรหลวงดูฤกษ์ยามกำหนดวันเวลาประกอบพระราชพิธีถวาย เมื่อพระเจ้าอยู่หัวทรงเห็นชอบจึงมีหมายกำหนดการพระราชพิธี ซึ่งพิธีการจะประกอบด้วยพิธีสงฆ์และพิธีพราหมณ์กระทำโดยพร้อมกัน ระยะเวลาในการประกอบพิธีเบ็ดเสร็จ 5 วัน โดย 3 วันแรก เป็นการสดับพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ ส่วนเช้าวันที่ 4 เมื่อได้ฤกษ์ยามตามกำหนด พระราชโอรส หรือพระราชธิดาประทับบนพระแท่น หันพระพักตร์ตามทิศอันเป็นมงคลตามที่โหรกำหนดตามกำลังวัน ถอดพระเกี้ยวแบ่งเกศาพระเมาฬีออกเป็น 3 ปอย ด้วยพายเงิน ทอง และนาค จากนั้นนำลวดเงิน ทอง นาค และสายสิญจน์ผูกปลายพระเกศาแต่ละปอยไว้กับแหวนนพเก้าและใบมะตูม การตัดปอยพระเกศาทั้ง 3 ปอยเรียงลำดับการตัดดังนี้ ประธานในพิธี พระบรมวงศ์ชั้นใหญ่ในราชตระกูล และพระบิดา สำหรับเช้าวันที่ 5 อันเป็นวันสุดท้ายของพระราชพิธีโสกันต์ เจ้าพนักงานอัญเชิญพระเกศาไปลอยในแม่น้ำ เป็นอันจบพิธี          การออกแบบพัดรองที่ระลึกพระราชพิธีโสกันต์ใช้พระลัญจกรจุลมงกุฎขนนกซึ่งพระราชทานเป็นตราตำแหน่งสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร ภายหลังจาการเสด็จสวรรคตของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร และโปรดเกล้าฯการสถาปนาเฉลิมพระอิสริยยศสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ ขึ้นเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร จึงมีการเปลี่ยนจากตราประจำพระองค์ที่เป็นตราพระลัญจกรจุลมงกุฎขนนกแทน          ขนาด : ยาว 102 กว้าง 37          ชนิด : ผ้า ไม้ งาช้าง          อายุ/สมัย : รัตนโกสินทร์ พุทธศักราช 2433   แสดงภาพวัตถุหมุน คลิกที่นี่ https://smartmuseum-v2.finearts.go.th/3d_object/?obj=64873   ที่มา: https://smartmuseum.finearts.go.th


***รายการบรรณานุกรม*** หนังสือหายาก กรมศิลปากร.  ละคอน เรื่อง ราชาธิราช ตอน สมิงพระรามอาสา.  พระนคร : โรงพิมพ์พระจันทร์, ๒๔๙๕.


      สำริด ศิลปะสุโขทัย พุทธศตวรรษที่ ๑๙ – ๒๐ เทวรูปองค์นี้ถูกเคลื่อนย้ายจากเมืองโบราณสุโขทัย ไปประดิษฐานไว้ ณ เทวสถาน กรุงเทพมหานคร และนำกลับมาจัดแสดง ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง ในปี พุทธศักราช ๒๕๐๗ พระหริหระ เทพเจ้าในศาสนาพราหมณ์ที่เป็นการรวมพระวิษณุ (หริ) และพระศิวะ (หระ) ให้อยู่ในองค์เดียวกัน โดยนำลักษณะเด่นของแต่ละองค์มารวมไว้ด้วยกันอย่างเหมาะสม พระองค์มี ๔ กร พระหัตถ์ขวาบนทรงจักร พระหัตถ์ซ้ายบนทรงสังข์ พระหัตถ์ซ้ายล่างทรงดอกบัว สัญลักษณ์ของพระวิษณุ พระหัตถ์ขวาล่างแสดงปางกรัณฑมุทรา เครื่องประดับพระเศียรตกแต่งด้วยลายพันธุ์พฤกษา ยอดเป็นทรงกระบอกคอดเว้า คล้ายมุ่นมวยผม ประดับด้วยรูปพระจันทรืเสี้ยว มีพระเนตรที่ ๓ บริเวณกลางพระนลาฏ ทรงสวมสายธุรำรูปนาค ซึ่งเป็นสัญลักษ์ของพระศิวะ ลักษณะของพระพักตรเป็นรูปไข่ พระเนตรยาวรี พระขนงโก่ง พระนาสิกโด่งงุ้ม พระโอษฐ์บางพระหนุเป็นปมตามรูปแบบพระพุทธรูปศิลปะสุโขทัย พระกรรณสวมกุณฑล ทรงกรองศอ พาหุรัดและทองพระกร พระภูษายาวที่เรียกว่า "โธตี" (ผ้าทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าพันรอบตัว) ด้านหน้าจีบเป็นริ้วแฉก คาดปั้นเหน่งชักชายภูษาโค้งลงมาปิดหัวปั้นเหน่งประทับยืนบนฐานบัวคว่ำ - บัวหงาย      การสร้างเทวรูปซึ่งเป็นรูปเคารพในศาสนาพราหมณ์ เป็นสิ่งสะท้อนให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของศาสนาพราหมณ์ที่มีบทบาทในสังคมพุทธศาสนาในสุโขทัย โดยได้สร้างสรรค์รูปแบบงานศิลปกรรมตามคตินิยมและสุนทรียภาพตามแบบศิลปะไทยที่นิยมในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๙ ถึงต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๐ หรือในสมัยของพระมหาธรรมราชาลิไทซึ่งตามหลักฐานศิลาจารึก วัดป่ามะม่วง พุทธศักราช ๑๙๐๔ ได้ระบุว่าพระมหาธรรมราชาลิไททรงโปรดให้ประดิษฐานเทวรูป พระศิวะและพระวิษณุไว้ที่หอเทวาลัยมหาเกษตรในป่ามะม่วงนอกกำแพงเมืองสุโขทัยทางด้านตะวันตกเพื่อให้พราหมณ์และดาบสได้บูชา โดยเทวรูปพระหริหระนี้อาจเป็นหนึ่งในเทวรูปที่พระองค์ทรงโปรดให้นำไปประดิษฐานในหอเทวาลัยมหาเกษตร



วันจันทร์ ที่ ๑๔ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๕๙ นายวุฒิ สุมิตร รองราชเลขาธิการ เป็นประธานในพิธีบวงสรวงตัดไม้จันทน์หอม เพื่อนำมาจัดสร้างพระบรมโกศจันทน์ เพื่อใช้ในงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ณ อุทยานแห่งชาติกุยบุรี อำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยมีนายฉัตรชัย ปิ่นเงิน หัวหน้างานโหรพราหมณ์  เป็นผู้อ่านโองการบวงสรวง มีข้าราชการและประชาชนร่วมงานเป็นจำนวนมาก  อนึ่ง ไม้จันทน์หอมนี้ อุทยานแห่งชาติกุยบุรี กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธ์พืช ได้คัดเลือกต้นไม้จันทน์หอมที่ยืนต้นตายตามธรรมชาติ จำนวน ๑๒ ต้น โดยจะดำเนินการตัด และแปรรูป พร้อมนำส่งมอบให้แก่สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร เพื่อนำไปจัดสร้างพระบรมโกศจันทน์ เพื่อใช้ในการพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในลำดับต่อไป




Messenger