ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,413 รายการ
ชื่อผู้แต่ง ปริยัติธรรมธาดา,พระยา (แพ ตาละลักษมณ์) ชื่อเรื่อง โบราณศึกษาและรัตนพิมพวงศ์พิมพ์ครั้งที่ -สถานที่พิมพ์ กรุงเทพฯสำนักพิมพ์ ประชุมทองการพิมพ์ปีที่พิมพ์ ๒๕๓o จำนวนหน้า ๖๘ หน้าหมายเหตุ พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ
นางบุญเรือง ตาละลักษมณ์ เนื่องด้วยโบราณศึกษา เป็นเรื่องที่ตีพิมพ์อยู่ในหนังสือวชิรญาณและกล่าวถึงวิธีการสอนและกาศึกษาเล่าเรียนในสมัยโบราณ โดยแบ่งออกเป็นข้อใหญ่ๆ๘ ข้อ เรียกว่ามาติกา มาติกาต่างๆ รัตนพิมพวงศ์เป็นเรื่องว่าด้วยตำนานพระแก้วมรกต ซึ่งพระภิกษุ ชื่อพระพรหมราชปัญญา ได้แต่งไว้เป็นภาษาบาลีนับเป็นหนังสือสำคัญเล่มหนึ่ง ซึ่งแต่งขึ้นในดินแดนล้านนาไทยอันเคยมีความเจริญรุ่งเรืองและสูงส่งด้วยวัฒนธรรมมาในสมัยโบราณ จึงนำจัดพิมพ์เป็นที่ระลึกในงานงานฌาปนกิจศพ นางบุญเรือง ตาละลักษมณ์
ชื่อเรื่อง : ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 80 จดหมายเหตุฟอร์บัง
ชื่อผู้แต่ง : ฟอร์บัง, เชวาลิเอร์ เดอะ
ปีที่พิมพ์ : 2509
สถานที่พิมพ์ : พระนคร
สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์พระจันทร์
จำนวนหน้า : 218 หน้า
สาระสังเขป : ประชุมพงศาวดารภาคที่ 80 จดหมายเหตุฟอร์บัง เป็นเรื่องราวของเชวาลิเอร์ เดอะ ฟอร์บัง ผู้เขียนเรื่องนี้เป็นนายเรือโท เข้ามากับคณะทูตฝรั่งเศส ซึ่งสมเด็จพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ทรงแต่งตั้งเป็นทูตเข้ามาเจริญทางพระราชไมตรีกับสมเด็จพระนารายณ์มหาราชแห่งกรุงศรีอยุธยาเป็นครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ. 2228 โดยเชวาลิเอร์ เดอะ โชมองต์ เป็นราชทูต เมื่อคณะทูตจะกลับออกไปจากกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ตรัสขอฟอร์บังไว้รับราชการ แล้วทรงแต่งตั้งให้เป็นนายทหารชั้นผู้ใหญ่ ต่อมามีบรรดาศักดิ์เป็น ออกพระศักดิสงคราม เนื้อหาในเล่มเป็นบันทึกความทรงจำของออกพระศักดิ์สงครามที่ได้เล่าประวัติของตนเอง สาเหตุที่เดินทางเข้ามากับราชทูตฝรั่งเศส และยอมอยู่ในประเทศไทย ได้เข้ารับราชการใกล้ชิดองค์พระนารายณ์มหาราช เป็นต้น
องค์ความรู้ เรื่อง "พระจิตรลดา" พระพิมพ์ในหลวงรัชกาลที่ ๙ ทรงสร้างเรียบเรียงโดย นางสาวเบญจพร สารพรม ภัณฑารักษ์ชำนาญการ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี
ผู้แต่ง : ชิน อยู่ดี
ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1
สถานที่พิมพ์ : พระนคร
สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร
ปีที่พิมพ์ : 2510
หมายเหตุ : กรมศิลปากรจัดพิมพ์ในงานเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร วันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2510
เนื้อหากล่าวถึงเรื่องราวสมัยก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทยในยุคสมัยหินเก่า สมัยหินหลาง สมัยหินใหม่ และยุคโลหะ กล่าวถึงวัฒนธรรมดองซอน วัฒนธรรมหินใหญ่ ศิลปกรรมในถ้ำ ภาพเขียนสีบนผนังถ้ำ ภาพจำหลักบนผนังถ้ำ และการกำหนดยุคสมัยก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทย
องค์ความรู้ เรื่อง "งานเทศกาลนมัสการองค์พระปฐมเจดีย์" จัดทำโดยพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม
พบที่เจดีย์หมายเลข ๓ เมืองโบราณอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี
จัดแสดง ณ ห้องอู่ทองศรีทวารวดี พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง
ประติมากรรมปูนปั้นรูปบุรุษ ยืนเอียงสะโพก เกล้าผมเป็นมวยสูงที่เรียกว่าทรงชฎามกุฎ ไม่มีรายละเอียดของเครื่องประดับศีรษะ แต่ปรากฏผ้าหรือสายรัดที่โคนมวยผม ใบหน้าค่อนข้างเหลี่ยม คิ้วต่อกันเป็นปีกกา ตาเหลือบมองลงต่ำ จมูกโด่ง ริมฝีปากได้รูป แสดงอาการอมยิ้มเล็กน้อย ใบหน้าแสดงความรู้สึกถึงความมีเมตตา เป็นประติมากรรมที่ถูกปั้นด้วยฝีมือช่างชั้นเยี่ยม ทั้งนี้ไม่ปรากฏรายละเอียดของเครื่องแต่งกายและเครื่องประดับ ลักษณะการยืนแบบเอียงตนของประติมากรรมชิ้นนี้ แสดงถึงอิทธิพลศิลปะอินเดียแบบคุปตะ แต่เนื่องจากใบหน้าแสดงถึงงานฝีมือช่างที่เป็นเอกลักษณ์ของศิลปะทวารวดีแล้ว จึงกำหนดอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๓ – ๑๔ (ประมาณ ๑,๒๐๐ – ๑,๓๐๐ ปีมาแล้ว)
ประติมากรรมปูนปั้นชิ้นนี้ ไม่มีลักษณะทางประติมานวิทยาของรูปเคารพพระโพธิสัตว์ เช่น รูปพระอมิตาภะหรือสถูปจำลองบนมวยผม อาจเกิดจากมวยผมส่วนบนหักหายไปก็เป็นได้ แต่มีลักษณะที่โดดเด่นคือ ช่างได้ถ่ายทอดอารมณ์และความรู้สึกถึงความมีเมตตา ซึ่งเป็นลักษณะสำคัญที่พระโพธิสัตว์ทรงมีต่อมวลมนุษย์ ประกอบกับท่ายืนแบบเอียงตน ชวนให้นึกถึงประติมากรรมรูปพระโพธิสัตว์ ที่พบจากมืองโบราณสมัยทวารวดีอื่น ๆ ในภาคกลางของประเทศไทย เช่น พระโพธิสัตว์ดินเผา พบที่เจดีย์หมายเลข ๔๐ เมืองโบราณคูบัว จังหวัดราชบุรี ปัจจุบันจัดแสดง ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน
งานประติมากรรมปูนปั้นถือเป็นหลักฐานสำคัญในการศึกษาเกี่ยวกับศิลปกรรมสมัยทวารวดี แสดงให้เห็นถึงวิธี และรสนิยมในการตกแต่งศาสนสถาน ที่มีความหลากหลาย ทั้งประติมากรรมรูปเคารพ เช่น พระพุทธรูป พระโพธิสัตว์ เทวดา หรือลวดลายประดับต่าง ๆ ชวนให้จินตนาการว่าเมื่อครั้งที่ศาสนสถานเหล่านี้อยู่ในสภาพสมบูรณ์ จะเปี่ยมไปด้วยความสวยงาม และแสดงถึงความศรัทธาของช่างในสมัยทวารวดีมากเพียงใด
บรรณานุกรม
กรมศิลปากร. ศิลปะทวารวดี ต้นกำเนิดพุทธศิลป์ในประเทศไทย. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด, ๒๕๕๒.
สมศักดิ์ รัตนกุล. โบราณคดีเมืองคูบัว. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, ๒๕๓๕.
ชื่อเรื่อง คิริมานนฺทสุตฺต (พระคิริมานนทสูตร)สพ.บ. 189/1ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 28 หน้า กว้าง 5.3ซ.ม. ยาว 36.1 ซ.ม. หัวเรื่อง พุทธศาสนา บทสวดมนต์บทคัดย่อ/บันทึก
เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากวัดพยัคฆาราม ต.ศรีประจันต์ อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี
ชื่อเรื่อง ปญฺญาบารมี (ปัญญาบารมี)สพ.บ. 227/1กประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 16 หน้า กว้าง 5 ซ.ม. ยาว 59 ซ.ม. หัวเรื่อง พุทธศาสนา ธรรมเทศนา
บทคัดย่อ/บันทึก
เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน เส้นจาร ฉบับลานดิบ ภาษาบาลี-ไทยอีสาน ได้รับบริจาคมาจากวัดทุ่งอุทุมพร ต.บางปลาม้า อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
-โบราณสถานวัดเจดีย์สี่ห้อง-
โบราณสถานวัดเจดียสี่ห้องตั้งอยู่นอกกำแพงเมืองสุโขทัยทางด้านทิศใต้ และอยู่ห่างจากวัดเชตุพนไปทางทิศตะวันออก ประมาณ ๑๐๐ เมตร โบราณสถานวัดเจดีย์สี่ห้องล้อมรอบด้วยคูน้ำ ภายในประกอบไปด้วย เจดีย์ประธานซึ่งได้รับการบูรณะแล้ว เป็นทรงระฆังส่วนยอดของเจดีย์ได้พังทลายลง คงปรากฏส่วนปล้องไฉนตกอยู่ที่ฐานเจดีย์, เจดีย์รายจำนวน ๑๔ องค์ ตั้งอยู่ล้อมรอบฐานเจดีย์ประธานทั้ง ๔ ด้าน ในตำแหน่งที่ได้สัดส่วนสมมาตร และฐานวิหารขนาด ๕ ห้อง ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันออกของเจดีย์ประธาน
.
สิ่งที่สำคัญของวัดคือ ที่ฐานเจดีย์ประธานมีภาพปูนปั้นประดับอยู่โดยรอบ ปั้นเป็นรูปบุคคล รูปบุรุษและสตรี สวมอาภรณ์และเครื่องประดับต่าง ๆ กัน ในมือถือภาชนะมีพันธุ์พฤกษางอกโผล่พ้นออกมาแสดงถึงความเจริญงอกงามและความอุดมสมบูรณ์ ภาชนะนี้เรียกว่า หม้อปูรณฆฏะ หรือหม้อน้ำศักดิ์สิทธิ์ รูปบุคคลที่กล่าวถึงนี้หากพิจารณาบริเวณศีรษะจะสังเกตเห็นร่องรอยนาคหลายเศียรแผ่พังพานอยู่ด้านหลัง จึงแปลความหมายได้ว่า คือ มนุษยนาค ซึ่งถือว่าเป็นเทพอยู่ในโลกบาดาลตามแบบอย่างคติที่นิยมในลังกา นอกจากนี้ยังมีปูนปั้นรูปช้างและสิงห์ประดับอยู่ด้วย
.
ในพระราชนิพนธ์ “เที่ยวเมืองพระร่วง” ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้กล่าวถึงโบราณสถานวัดเจดีย์สี่ห้องว่า “ต่อมาวัดเชตุพนไปทางตะวันออกมีวัดอยู่วัดหนึ่ง ซึ่งราษฎรเรียกว่ากัน วัดเจดีย์สี่ห้อง เพราะในนั้นมีพระเจดีย์อยู่องค์หนึ่ง ที่ฐานรองระฆังทำเป็นคูหาสี่ทิศ ต่อพระเจดีย์นั้นออกไปทางตะวันออกมีอุโบสถอยู่หลังหนึ่งซึ่ง ไม่สู้แปลกอะไร การก่อสร้างในวัดนี้ใช้แลงเป็นพื้น ที่โบสถ์นี้ห่างจากวัดเชตุพนเพียงประมาณ ๒ เส้นเท่านั้น จึงเห็นว่าน่าจะเป็นวัดเดียวกับวัดเชตุพนนั่นเอง จริงอยู่ระหว่างวัดทั้ง ๒ นี้ มีคูคั่นอยู่ แต่คูนี้อาจจะขุดขึ้นภายหลังก็ได้ หรือขุดไว้ใช้ขังน้ำในวัดก็ได้ ถ้าวัดนี้ไม่ใช่อันหนึ่งอันเดียวกันกับวัดเชตุพนแล้ว ก็ต้องเป็นวัดที่สร้างขึ้นภายหลังที่วัดเชตุพนหายเป็นวัดสำคัญเสียแล้ว แต่พิจารณาดูที่อุโบสถก็ดูท่าทางเป็นของโบราณ แลงที่ใช้ทำเสาเป็นก้อนเขื่องๆ พอใช้ อีกประการหนึ่งภายในเขตที่เรียกว่า วัดเชตุพนนั้น อุโบสถหรือวิหารหามีไม่ จึ่งสันนิษฐานว่า อุโบสถในที่ซึ่งเรียกว่าวัดเจดีย์สี่ห้องนี้เองคืออุโบสถของวัดเชตุพน และวัดเจดีย์สี่ห้องนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของวัดเชตุพน ที่ดินแปลงที่เรียกว่าวัดเชตุพนเดี๋ยวนี้เป็นแปลงที่รักษาไว้ให้สะอาดงดงาม เป็นที่พระราชาเสด็จและราษฏรไปมนัสการ ทางแปลงที่เรียกว่าวัดเจดีย์สี่ห้อง เดี๋ยวนี้เป็นที่อยู่ของพระสงฆ์สามเณร”
ชื่อเรื่อง ธมฺมาสนทานานิสํสกถา (อานิสงส์สร้างธรรมาสน์)สพ.บ. 155/1ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 32 หน้า กว้าง 5 ซ.ม. ยาว 55 ซ.ม. หัวเรื่อง ธรรมเทศนา พุทธศาสนา อานิสงส์
บทคัดย่อ/บันทึก
เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากวัดป่าเลไลยก์วรวิหาร ต.รั้วใหญ่ อ.เมืองฯ จ.สุพรรณบุรี
เลขทะเบียน : นพ.บ.125/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 52 หน้า ; 4.5 x 51.5 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา มีฉลากไม้ ชื่อชุด : มัดที่ 72 (248-256) ผูก 1 (2564)หัวเรื่อง : เอกนิปาต (นิไสเอกนิปาต)--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม