ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,413 รายการ


ตำราดูฤกษ์ยาม ชบ.ส. ๔๔ เจ้าอาวาสวัดบุญญฤทธยาราม ต.บ้านบึง อ.บ้านบึง จ.ชลบุรี มอบให้หอสมุด ๒๒ ก.ค. ๒๕๓๕เอกสารโบราณ (สมุดไทย)


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน) เลขที่ ชบ.บ.23/1-7 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


พงศาวดารจีน ตั้งฮั่น เล่ม ๑.  พิมพ์ครั้งที่ ๑.  กรุงเทพ ฯ : องค์การค่าของคุรุสภา, ๒๕๐๗.       ๓๒๑ หน้า.      พงศาวดารจีนเรื่อง "ตั้งฮั่น" นี้ อยู่ในระหว่าง "ไซ่ฮั่น" กับเรื่อง "สามก๊ก" ไซ่ฮั่น...แปลว่า ฮั่นตะวันตก ขณะที่ ตั้งฮั่น...แปลว่า ฮั่นตะวันออก นับเป็นพงศาวดารจีนหรือเรื่องราวของจีนที่เกิดขึ้นในสมัยราชวงศ์ฮั่น โดยไซ่ฮั่นนั้น ดำเนินเรื่องตั้งแต่สมัยราชวงศ์จิ๋น กระทั่งเข้าสู่ช่วงแรกของการก่อตั้งราชวงค์ฮั่น ขณะที่เรื่อง ตั้งฮั่น นั้นเริ่มตั้งแต่อองมังซึ่งเป็นบุตรอองบวนขุนนางผู้ใหญ่ที่กรอกยาพิษผสมสุราให้พระเจ้าเปงเต้แล้วขึ้นครองราชสมบัติแทน ถึงพระเจ้าฮั่นเหี้ยนเต้ รวมสิบสองพระองค์ 


กรมศิลปากร.  ประวัติวัดสิริจันทรนิมิตรวรวิหาร จังหวัดลพบุรี.  กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2528.            ประวัติความเป็นมา ของวัดสิริจันทรนิมิตรวรวิหาร อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี



องค์ความรู้จากหอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ ตรัง ขอนำเสนอเรื่อง “ตราประจำจังหวัดตรัง”    ๑. ความเป็นมาของตราประจำจังหวัด   ในปี ๒๔๘๓ โดยจอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นได้ริเริ่มให้มีการจัดทำตราประจำจังหวัดขึ้นใช้นอกเหนือจากตราประจำตัวและตราประจำตำแหน่งข้าราชการที่มีมาแล้วแต่โบราณ แนวคิดการสร้างตราประจำจังหวัดมาจากเหตุผลหลัก ๒ ประการคือ ๑) ต้องการมีเครื่องหมายประจำจังหวัดดังเช่นประเทศในยุโรป และ ๒) ต้องการส่งเสริมให้ประชาชนในท้องถิ่นมีความภาคภูมิใจและรักในบ้านเกิดเมืองนอนของตนเอง ก่อให้เกิดความเป็นปึกแผ่นและส่งผลให้ประเทศชาติมีความเจริญรุ่งเรืองและมั่นคง   รัฐบาลโดยนายกรัฐมนตรีจึงมอบนโยบายให้กรมศิลปากรออกแบบดวงตราประจำจังหวัด ขณะนั้นมีพลตรีหลวงวิจิตรวาทการ ดำรงตำแหน่งอธิบดี ออกแบบดวงตราประจำจังหวัดทุกจังหวัด โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิของกรมศิลปากร ๒ ท่าน ได้แก่ ศาสตราจารย์พระยาอนุมานราชธน (ยง เสฐียรโกเศศ) เป็นผู้คิดความหมายจากชื่อจังหวัด หรือจากสิ่งสำคัญในแต่ละจังหวัด เพื่อจำลองออกมาเป็นภาพในดวงตรา และ พระพรหมพิจิตร (อู๋ ลาภานนท์) เป็นผู้ร่างแบบตามแนวคิด ทั้งนี้เปิดโอกาสให้คณะกรรมการจังหวัดทุกจังหวัดมีส่วนร่วมเสนอแนวคิดเพื่อประกอบการพิจารณาเขียนตราประจำจังหวัดด้วย ส่วนการเขียนลงเส้นมีช่างอาวุโสในแผนกหัตถศิลป กองสถาปัตยกรรม กรมศิลปากรเป็นผู้เขียนรวม ๔ นายคือ นายปลิว จั่นแก้ว นายทองอยู่ เรียงเนตร นายปรุง เปรมโรจน์ และนายอุ่ณห์ เศวตมาลย์   จังหวัดต่าง ๆ ได้นำดวงตราไปใช้ในปี ๒๕๘๕ ต่อมาเพื่อให้ดวงตราของแต่ละจังหวัดมีความชัดเจนยิ่งขึ้นเป็นของจังหวัดใด กรมศิลปากรจึงได้เพิ่มแถบชื่อจังหวัดหรือบางดวงได้เพิ่มทั้งรูปครุฑและแถบชื่อไว้ด้วยกัน โดยวางในตำแหน่งที่เหมาะสมของลักษณะตราแต่ละดวง   ต่อมาในภายหลังมีบางจังหวัดต้องการเปลี่ยนแปลงแบบดวงตราใหม่และได้ขอให้กองหัตถศิลป กรมศิลปากรออกแบบให้ใหม่ และบางจังหวัดได้มอบให้กรมโยธาธิการ กระทรวงมหาดไทยแก้ไข หรือออกแบบขึ้นเอง ดังนั้นจึงมีหลายจังหวัดที่ยังคงใช้ตราประจำจังหวัดตามแบบเดิมที่กรมศิลปากรออกแบบให้เมื่อปี ๒๔๘๓ และมีดวงตราประจำจังหวัดของหลายจังหวัดที่เปลี่ยนแปลงไป    ในปัจจุบันจังหวัดที่มีพระราชบัญญัติจัดตั้งขึ้นใหม่ กรมศิลปากรได้ออกแบบตราประจำจังหวัดให้เฉพาะบางจังหวัดที่ขอความร่วมมือเท่านั้น   ๒. ตราประจำจังหวัดตรัง   กรมศิลปากรออกแบบตราประจำจังหวัดตรังเป็นภาพสะพานท่าเรือ ทะเลมีระลอกคลื่น ภูเขาและต้นไม้ พร้อมทั้งอธิบายความหมายไว้ดังนี้   “สะพานท่าเรือมีเสาโคมไฟ” หมายถึง การเป็นเมืองท่าติดต่อค้าขายกับต่างประเทศมาตั้งแต่สมัยโบราณ   “ทะเลมีลูกคลื่น” มาจากคำว่า "ตรังค์" ซึ่งแปลว่า คลื่น    “ภูเขา” หมายถึง ลักษณะพื้นที่ของจังหวัดตรัง ซึ่งเป็นเนินสูงๆ ต่ำๆ สลับกับภูเขา   “ต้นไม้” หมายถึง ต้นยางพารา ซึ่งพระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี (คอซิมบี๊ ณ ระนอง) ได้นำมาปลูกในจังหวัดตรังเป็นแห่งแรก   ทั้งนี้ปัจจุบันจังหวัดตรังยังคงใช้ตราตามแบบของกรมศิลปากร แต่ได้เพิ่มชื่อจังหวัดตรังไว้ตอนล่างของดวงตรา   ในสมัยก่อนเคยมีการนำรูปครุฑมาไว้ตอนบนของดวงตราด้วย เอกสารอ้างอิง กรมศิลปากร. ตราประจำจังหวัด. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, ๒๕๔๒. สุนทรี สังข์อยุทธ์.  ตรัง เมืองท่าอันดามัน. ตรัง: ศาลากลางจังหวัดตรัง กระทรวงมหาดไทย, ๒๕๕๙. อาณัติ บำรุงวงศ์.  เหลียวหลัง แลหน้า : ทับเที่ยง ๙๐ ปี เทอดพระเกียรติครองราชย์ ๖๐ ปี.    สงขลา : เค.ยู.การพิมพ์ , ๒๕๔๙.  สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร. (๒๕๖๓). ตราประจำจังหวัด. สืบค้นเมื่อ ๑ เมษายน ๒๕๖๔,    จาก https://www.nat.go.th ที่มาของภาพ ภาพที่ ๑ จอมพล ป. พิบูลสงคราม จากเพจ S. Phormma's Colorizations https://www.facebook.com/sphormmacolorization/ ภาพที่ ๒ พลตรีหลวงวิจิตรวาทการ จากเว็บไซต์ศิลปวัฒนธรรม https://www.silpa-mag.com/quotes-in-history/article_918 ภาพที่ ๓ ศาสตราจารย์พระยาอนุมานราชธน (ยง เสฐียรโกเศศ) จากหนังสือบรรณานุกรมงานนิพนธ์ของศาสตราจารย์พระยาอนุมานราชธน ภาพที่ ๔ พระพรหมพิจิตร (อู๋ ลาภานนท์) จาก https://www.pinterest.com/pin/117797346476310550/ ภาพที่ ๕ – ๘ ภาพตราประจำจังหวัด จากสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร ภาพที่ ๙ – ๑๐ ภาพตราประจำจังหวัดตรัง จากหนังสือตรัง เมืองท่าอันดามัน.





ชื่อเรื่อง                     ชุมนุมบทละคอนและบทคอนเสิตผู้แต่ง                       สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ประเภทวัสดุ/มีเดีย       หนังสือหายากหมวดหมู่                   วรรณคดี เลขหมู่                      895.9112081 น254ชสถานที่พิมพ์               พระนครสำนักพิมพ์                 ศิวพรปีที่พิมพ์                    2506ลักษณะวัสดุ               356 หน้าหัวเรื่อง                     บทละครไทย – รวมเรื่องภาษา                       ไทยบทคัดย่อ/บันทึกรวบรวมบทละครดึกดำบรรพ์ เรื่อง สังข์ทอง คาวี เรื่องอิเหนา สังข์ศิลปชัยภาคต้นและภาคปลาย กรุงพาณชมทวีป รามเกียรติ์ ตอน ศูรปนเขาตีสีดา, อุณรุท , พระมณีพิชัยบทคอนเสิต เรื่อง รามเกียรติ์ ตอน นางลอย,นาคบาศ,พรหมาศ เรื่องอิเหนา ตอน บวงสรวง บท ตาโบล วิวังต์ (Tableaux Vivantes)  พร้อมบันทึกความแตกต่างและผิดพลาด โดย ม.จ.หญิงดวงจิตร จิตรพงษ์ ทรงบันทึก      


ชื่อเรื่อง                                ชาตกฏฐกถา ขุทฺทกนิกายฏฐกถา (มหาชนก-วิธูรบัณฑิต) สพ.บ.                                  270/ง/1ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           52 หน้า กว้าง 4.5 ซม. ยาว 57 ซม.หัวเรื่อง                                 พุทธศาสนา                                           ชาดก                                           เทศน์มหาชาติ                                            คาถาพัน บทคัดย่อ/บันทึก          เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมล้านนา ภาษาไทยล้านนา เส้นจาร ฉบับล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี                


เลขทะเบียน : นพ.บ.177/9ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  52 หน้า ; 4.5 x 59.5 ซ.ม. : ลานดิบ ; ไม้ประกับธรรมดาชื่อชุด : มัดที่ 100 (74-79) ผูก 9 (2565)หัวเรื่อง : ธมฺมจกฺกฎีกา(ฎีกาธัมมจักร)--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


สาวกนิพฺพาน (อานนฺท,ควมฺปติ,พิมฺพา,มหากสฺสป,โมคฺคลฺลาน,สารีปุตฺตเถรนิพฺพาน)  ชบ.บ.90/1-1  เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)



Messenger