ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,418 รายการ

ชื่อเรื่อง                     จันทคาด (จันทคาด)สพ.บ.                       444/1หมวดหมู่                   พุทธศาสนาภาษา                       บาลี-ไทยอีสานหัวเรื่อง                     พุทธศาสนา                              ตำนาน                              ประวัติ                              จันทคุปราคาประเภทวัสดุ/มีเดีย       คัมภีร์ใบลานลักษณะวัสดุ               90 หน้า : กว้าง 5.8 ซม. ยาว 36.6 ซม.บทคัดย่อ/บันทึก        เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน เส้นจาร ฉบับลานดิบ ไม่มีไม้ประกับ ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี





#นิทานอีสปในยุคแรกของไทยเมื่อเห็นประโยค “นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า” คงพอจะเดากันได้ว่า มาจากนิทานอีสปนั่นเอง เมื่อนิทานจบ ก็จะมีข้อคิดแถมท้ายนิทานแต่ละเรื่อง นิทานอีสปเป็นนิทานสั้นๆ เนื้อเรื่องอ่านสนุกมีข้อคิด เป็นวรรณกรรมที่แพร่หลายไปทั่วโลก ในประเทศไทยเองก็ได้มีการนำนิทานอีสปมาแปลเป็นภาษาไทย โดยมีหลักฐานการเผยแพร่นิทานอีสปสู่ประเทศไทยที่ชัดเจน ปรากฏในสมัยรัตนโกสินทร์ ช่วงรัชกาลที่ 3 - รัชกาลที่ 6 ซึ่งถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นให้นิทานอีสปได้รับความนิยมแพร่หลายในประเทศไทยในเวลาต่อมาจนถึงปัจจุบัน สมัยรัชกาลที่ 3-4นิทานอีสป ของ หมอบรัดเลย์ ในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว นายแพทย์แดน บีช บรัดเลย์ มิชชันนารีชาวอเมริกัน ได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตออกหนังสือพิมพ์ในประเทศไทย ชื่อว่า จดหมายเหตุบางกอกรีคอเดอ เผยแพร่ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2387 และพบว่าในหนังสือพิมพ์ ฉบับที่ 7 มีการเรียบเรียงนิทานอีสปลงพิมพ์ จำนวน 2 เรื่อง โดยไม่ได้ระบุว่าเป็นนิทานอีสป แต่ได้ตั้งชื่อว่า คำเปรียบข้อหนึ่ง และ คำเปรียบข้อสอง และมีชื่อเรื่องนิทานภาษาอังกฤษกำกับไว้ หลังจากนั้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 พ.ศ. 2407 นายแพทย์แดน บีช บรัดเลย์ได้กลับมาออกหนังสือพิมพ์บางกอกรีคอเดอร์อีกครั้ง และได้เรียบเรียงนิทานอีสป ลงพิมพ์ด้วย รวมทั้งสิ้น 44 เรื่องสมัยรัชกาลที่ 5อิศปปกรณัม พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและชุมนุมกวี มีการกล่าวถึงการแปลนิทานอีสปในพระราชวิราชวิจารณ์ว่าด้วยนิทานชาดก ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์ไว้ในปี พ.ศ. 2447 จึงคาดว่า นิทานอีสป หรือ อิศปปกรณัมนี้ คงจะแปลในช่วงก่อนปี พ.ศ. 2447 โดยได้ทรงแปลนิทานอีสปจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยร่วมกับปราชญ์และกวีในราชสำนักอีกหลายท่าน อาทิ พระยาศรีสุนทรโวหาร พระยาราชสัมภารากร พระเทพกระวี กรมหลวงพิชิตปรีชา กรมหมื่นพิชิตปรีชากร ขุนท่องสื่อ พระทิพยวินัย และขุนภักดีอาษา ซึ่งไม่ทราบว่าทรงแปลมาจากต้นฉบับภาษาอังกฤษฉบับใด ลักษณะเป็นนิทานร้อยแก้วขนาดสั้น ท้ายนิทานแต่ละเรื่องด้วยจะมีการสรุปเนื้อหาข้อคิดจากนิทาน และประพันธ์โคลงสี่สุภาพ เพื่อเป็นสุภาษิตสอนใจ ในลักษณะ “นิทานเรื่องนี้สอนไว้ให้รู้ว่า” มีจุดมุ่งหมายในการแต่งเพื่อเป็นคติสอนใจและแนวทางแก่ผู้อ่านให้เลือกปฏิบัติตามคำสอนจากนิทานในแต่ละเรื่อง ปัจจุบันต้นฉบับตัวเขียนพระราชนิพนธ์ เรื่อง อีสปปกรณัม เก็บรักษาอยู่ที่กลุ่มหนังสือตัวเขียนและจารึก สำนักหอสมุดแห่งชาติสมัยรัชกาลที่ 6นิทานอีสป ของ ภราดา ฟ. ฮีแลร์ (พ.ศ. 2453)นิทานอีสปสำนวนของเจษฎาจารย์ ฟ. ฮีแลร์ นักบวชชาวฝรั่งเศสหรือที่รู้จักกันในชื่อ ภราดา ฟ.ฮีแลร์ (F. Hilaire) นิทานอีสปสำนวนนี้ จัดพิมพ์แทรกอยู่ในหนังสือดรุณศึกษา ซึ่งเป็นหนังสือแบบเรียนภาษาไทยของโรงเรียนอัสสัมชัญ ภายในเล่มมีการสอนการอ่าน การเขียน หลักเกณฑ์ของภาษา และนิทานต่างๆ เพื่อให้ เด็กได้ฝึกอ่าน รวมทั้งนิทานอีสปด้วยนิทานอีสป ของพระจรัสชวนะพันธ์ หนังสือนิทานอีสปของพระจรัสชวนะพันธ์ หรือ มหาอำมาตย์โท พระยาเมธาธิบดี จัดทำขึ้นโดยได้รับคำแนะนำของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ที่ให้แปลและเรียบเรียงหนังสือนิทานอีสปเป็นภาษาไทย จัดพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ ร.ศ. 131 (พ.ศ. 2456) เป็นหนังสือแบบเรียนสำหรับหัดอ่านของเด็กชั้นมูลศึกษา (เทียบเท่าชั้นประถมศึกษาในปัจจุบัน) พิมพ์ที่โรงพิมพ์อักษรนิติ จำนวนพิมพ์ 30,000 เล่ม ราคาเล่มละ 25 สตางค์ มีนิทานทั้งสิ้น 45 เรื่อง มีคติธรรมสอนใจ “นิทานเรื่องนี้สอนไว้ให้รู้ว่า” อยู่ท้ายนิทานทุกเรื่อง บรรณานุกรมจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ, 2396-2453.  อิศปปกรณำ: นิทานอีสป ฉบับสมุดไทย.  กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2551.ดาวรัตน์ ชูทรัพย์.  อิศปปกรณัม: วรรณกรรมแปลจากตะวันตกยุคแรกของไทย.  กรุงเทพฯ: สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, 2562.เมธาธิบดี, พระยา.  แบบเรียนภาษาไทย นิทานอีสป.  [ออนไลน์].  สืบค้นเมื่อ 1 กันยายน 2565, จาก  http://164.115.27.97/digital/items/show/10202ฮีแลร์, ฟ.  ดรุณศึกษา ตอนกลาง.  [ออนไลน์].  สืบค้นเมื่อ 1 กันยายน 2565, จากhttp://164.115.27.97/digital/items/show/19645เรียบเรียงโดย นางสาวพิมพา สุธัญญาวัชชัย บรรณารักษ์ชำนาญการ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่#นิทานอีสป #บรรณารักษ์ชวนรู้สำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่ กลุ่มเผยแพร่ฯ กรมศิลปากร


***รายการบรรณานุกรม*** หนังสือหายาก กรมศิลปากร.  ละคอน เรื่อง พระอภัยมณ๊ ตอน พระอภัยมณี. พระนคร : โรงพิมพ์พระจันทร์, ๒๔๙๕.




นิตยสารศิลปากร ปีที่ ๔๙ ฉบับที่ ๒ มี.ค. - เม.ย. ๒๕๔๙ SILPAKORN JOURNAL Vol. 49 No. 2 March - April 2006


วัดพระรูป   ที่ตั้ง          วัดพระรูป ตั้งอยู่ริมฝั่งตะวันตกของแม่น้ำสุพรรณบุรี (ท่าจีน) ตรงกันข้ามกับตัวตลาดสุพรรณบุรีในปัจจุบัน บนถนนขุนช้าง ในท้องที่ตำบลรั้วใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี สาระสำคัญ            วัดพระรูปนี้ สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างขึ้นมาแล้วตั้งแต่ก่อนสมัยอยุธยาเป็นราชธานี  ดังปรากฏเจดีย์เก่าแก่ทรงแปดเหลี่ยมยอดระฆังกลม ซึ่งเป็นเจดีย์ที่มีรูปแบบศิลปกรรมเฉพาะที่นิยมในศิลปแบบสุพรรณภูมิหรืออู่ทอง กำหนดอายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ 19             เจดีย์วัดพระรูปนี้กรมศิลปากรเคยทำการขุดแต่งและบูรณะเมื่อ พ.ศ. 2534 ได้พบซากฐานเดิมขององค์เจดีย์ที่สันนิษฐานว่ามีมาก่อนพุทธศตวรรษที่ 19 ส่วนเจดีย์ที่เห็นในปัจจุบันนั้นน่าจะสร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 19 บนฐานเจดีย์เดิม แล้วมีการบูรณะซ่อมแซม โดยการฉาบปูนทับและปั้นลายปูนปั้นใหม่เมื่อราวครึ่งแรกของพุทธศตวรรษที่ 20            นอกจากนี้ภายในวัดยังเก็บรักษา พระพุทธบาทไม้ ศิลปกรรมแบบอู่ทอง ที่งดงามมากไว้ด้วย พระพุทธบาทนี้มีขนาดกว้างประมาณ 60 เซนติเมตร ยาวประมาณ 1 เมตร 80 เซนติเมตร สันนิษฐานได้ว่าถูกนำมาจากที่อื่น ด้านหน้าทำเป็นลวดลายมงคล 108 ในกรอบทรงกลมกลางฝ่าพระบาท และท้าวจตุโลกบาล ด้านหลังสลักเป็นรูปตอนมารผจญ อีกทั้งยังมีซากเจดีย์ที่ยังไม่ได้รับการขุดแต่งและบูรณะในบริเวณวัดอีกหลายองค์ ซากศาลาแบบเก๋งจีน และวิหารประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์องค์ใหญ่ ศิลปกรรมแบบอู่ทอง ซึ่งแต่เดิมเป็นวิหารขนาดเล็กพอดีกับองค์พระ แต่ปัจจุบันมีการซ่อมขยายวิหารให้มีขนาดใหญ่ขึ้น การขึ้นทะเบียน            กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนวัดพระรูปในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 52 ตอนที่ 75 วันที่ 8 มีนาคม พ . ศ . 2478


มาร์ชธงไชยเฉลิมพล: March Thong Chai Chaloemphon(The colors March)   เพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่ ๑๗           เพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่ ๑๗ ทรงพระราชนิพนธ์ในพุทธศักราช ๒๔๙๕ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ   ให้พระราชทานแก่กองทัพไทย เพื่อใช้ในการเชิญธงไชยเฉลิมพลในพิธีการกองทัพ   Royal composition Number 17           The seventeenth royal musical composition was written in 1952 and granted to the Thai armed forces, to be used in marching unit colors at their annual ceremony.


ดำเนินการระหว่างวันที่ ๑๓ – ๑๙ มีนาคม ๒๕๕๙ ณ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษกเชียงใหม่จังหวัดเชียงใหม่ โดยดำเนินการอนุรักษ์สงวนรักษาและลงทะเบียนรายการสมุดไทยจำนวน ๑๐๗ รายการ






Messenger