ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,418 รายการ
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (ปุคฺคลปญฺญตฺติ-มหาปัฎฐาน)
ชบ.บ.48/1-5ง
เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
ปฐมสมฺโพธิ (ปถมสมฺโพธิ)
ชบ.บ.89/1-21
เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
เลขทะเบียน : นพ.บ.238/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 14 หน้า ; 5 x 55 ซ.ม. : ลานดิบ ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 113 (180-193) ผูก 1 (2565)หัวเรื่อง : วิสาขบูชากถา(บูชาวิสาขะ)--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
พระมารดาแห่งการคุ้มครองความหลากหลายทางชีวภาพ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอคณะรัฐมนตรีเห็นสมควรถวายพระราชสมัญญา “พระมารดาแห่งการคุ้มครองความหลากหลายทางชีวภาพ” แด่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เพื่อเฉลิมพระเกียรติเนื่องในปีสากลแห่งความหลากหลายทางชีวภาพ ค.ศ. ๒๐๑๐ ด้วยความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงอนุรักษ์และคุ้มครองทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศ ตลอดจนพระราชทานแนวทางและโครงการตามพระราชดำริด้านการคุ้มครองความหลากหลายทางชีวภาพเป็นแบบอย่างแก่พสกนิกรไทย โดยคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบการถวายพระราชสมัญญา “พระมารดาแห่งการคุ้มครองความหลากหลายทางชีวภาพ” แด่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เมื่อวันที่ ๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ผู้เรียบเรียง : นางเกษราภรณ์ กุณรักษ์ นักจดหมายเหตุชำนาญการภาพ : หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชอ้างอิง : ราชกิจจานุเบกษา. ๒๕๕๓. เล่มที่ ๑๒๗ ตอนพิเศษ ๑๓๖ง, หน้า ๑๐
ชื่อผู้แต่ง สอ เสถบุตร
ชื่อเรื่อง ความยอกย้อนของภาษา แง่คิดของ สอ เสถบุตร
ครั้งที่พิมพ์ -
สถานที่พิมพ์ สมุทรปราการ
สำนักพิมพ์ โรงพิมพ์ สอ เสถบุตร
ปีที่พิมพ์ ๒๕๑๔
จำนวนหน้า ๔๒๒ หน้า
หมายเหตุ พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ เสวกโท หลวงมหาสิทธิโวหาร(สอ เสถบุตร)
พิมพวัลคุ์ เสถบุตร ได้รวบรวมเนื้อหาและจัดพิมพ์หนังสือเล่มนี้ เนื้อหามาจากบทบรรณาธิการของสอ เสถบุตร เป็นการให้ความคิดเห็นสนับสนุน หรือโต้แย้งปัญหาสำคัญต่าง ๆ เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจเจตนาของผู้เขียนในขณะนั้น
บทความองค์ความรู้ส่งเสริมการอ่านผ่านออนไลน์
เรื่อง
ประกาศกำหนดอัตราเงินผู้ที่ได้เสียภาษีอากร ต้องในจำพวกยกเว้นชั่วคราว
ตามพระราชบัญญัติลักษณเกณฑ์ทหาร รัตนโกสินทร์ ศก ๑๒๔ ในมณฑล จันทบุรี
ได้มีประกาศอีกฉบับหนึ่งที่น่าสนใจเป็นประกาศสมัยโบราณที่หายากเกี่ยวกับ ประกาศกำหนดอัตราเงินผู้ที่ได้เสียภาษีอากรต้องในจำพวกยกเว้นชั่วคราว จึงขอนำมาถ่ายทอดให้อ่านกันอีก ดังนี้
ประกาศกำหนดอัตราเงินผู้ที่ได้เสียภาษีอากร
ต้องในจำพวกยกเว้นชั่วคราว
ตามพระราชบัญญัติลักษณเกณฑ์ทหาร รัตนโกสินทร์ ศก ๑๒๔ ในมณฑล จันทบุรี
มีพระบรมราชโองการ ดำรัสเหนือเกล้าฯ ให้ประกาศทราบทั่วกันว่า ตามความใน พระราชบัญญัติลักษณเกณฑ์ทหาร รัตนโกสินทร์ ศก ๑๒๔ มาตรา ๑๓ ข้อ ๘ มีว่า มีคนประกอบการทำไร่ นา ค้าขายมาก ได้เสียภาษีอากรตามจำนวนเงิน ซึ่งจะกำหนดอัตราโดยได้ประกาศในหนังสือราชกิจจานุเบกษา ให้ทราบว่าในเมืองมณฑลใดเป้นอัตราเท่าใด ยกเว้นตลอดเวลาที่ได้เสียภาษีอากรอยู่ ไม่ต่ำกว่าอัตราที่ได้ประกาศ กับข้อ ๙ มีว่าการค้าขายซึ่งลงทุนทำด้วยกันหลายคนให้นับว่าเป็นบริษัท ถ้าบริษัทนั้นได้เสียภาษีอากรตามจำนวนเงินซึ่งจะได้กำหนดอัตรา โดยได้ประกาสในหนังสือราชกิจจานุเบกษา ว่าในเมืองมณฑลใดเป็นอัตราเท่าใดนั้นแล้ว ให้ยกเว้นผู้อำนวยการ และผู้จัดการของบริษัทนั้น ตลอดเวลาที่เป็นผู้อำนวยการ และผู้จัดการบริษัท ที่ได้เสียภาษีอากรอยู่ไม่ต่ำกว่าอัตราที่ได้ประกาศนั้น
บัดนี้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กำหนดอัตราเงินในมณฑลจันทบุรี ตามความในมาตรา ๑๓ ข้อ ๘ ข้อ ๙ นั้น เป้นอัตราเงินไม่ต่ำกว่าปีละ ๔๐ บาท
ประกาศ มา ณ วันที่ ๒๔ สิงหาคม รัตนโกสินทร์ ศก ๑๒๖ เป็น วันที่ ๑๔๑๖๕ ในรัชกาลปัจจุบันนี้
อ้างอิง : กฎหมาย. ประกาศพระราชบัญญัติและพระราชกำหนดต่างๆรัชกาลที่ 5. พิมพ์ครั้งที่ 2.
พระนคร: โรงพิมพ์บำรุงนุกูลกิจ, 2450. (ร.ศ.126)
ผู้เรียบเรียง : นางกรองแก้ว เปเหล่าดา บรรณารักษ์ชำนาญการ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี สำนักศิลปากรที่ 5 ปราจีนบุรี
#องค์ความรู้
#พระราชบัญญัติ
# ภาษีอากร
#จันทบุรี
#หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี
#กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ กรมศิลปากร
#สำนักศิลปากรที่ 5 ปราจีนบุรี
#กรมศิลปากร
#กระทรวงวัฒนธรรม
พระพิมพ์ปางสมาธิ ขนาบข้างด้วยธรรมจักรและสถูป
ศิลปะศรีวิชัย พุทธศตวรรษที่ ๑๓-๑๔ (ประมาณ ๑,๒๐๐-๑,๓๐๐ ปีมาแล้ว)
ได้มาจากเขาอกทะลุ จังหวัดพัทลุง
ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ ณ ห้องศรีวิชัย อาคารมหาสุรสิงหนาท พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
พระพิมพ์ดินดิบ กรอบทรงสี่เหลี่ยมยอดโค้งมน คล้ายกลีบบัว ขอบพระพิมพ์หนาและเรียบ กึ่งกลางเป็นพระพุทธรูปประทับขัดสมาธิราบ แสดงปางสมาธิ บนฐานบัวหงาย ที่เศียรพระพุทธรูปปรากฏศิรประภา* เหนือขึ้นไปเป็นรูปต้นไม้ซึ่งน่าจะหมายถึงโพธิพฤกษ์ (ต้นไม้ที่พระพุทธเจ้าประทับอยู่ขณะตรัสรู้) ด้านขวาของพระพุทธรูปคือธรรมจักร (หันด้านข้าง) ตั้งอยู่บนเสา และด้านซ้ายเป็นสถูปทรงระฆัง ลักษณะองค์ระฆังยืดสูง ส่วนยอดประกอบด้วยบัลลังก์ ก้านฉัตร และปล้องไฉน และปลียอด พระพิมพ์รูปแบบนี้พบแพร่หลายในบริเวณคาบสมุทรภาคใต้อีกหลายแห่ง เช่น ถ้ำเขานุ้ย อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง และเมืองโบราณยะรัง อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี
*ศิรประภา หมายถึง รัศมีที่เปล่งรอบศีรษะของผู้ศักดิ์สิทธิ์และพระพุทธรูป
อ้างอิง
กรมศิลปากร. พระพิมพ์ : พระเครื่องเมืองไทย. นครปฐม: รุ่งศิลป์การพิมพ์, ๒๕๖๔.
หมายเหตุ อ่านประเด็นการทำพระพิมพ์ดินดิบและการพบพระพิมพ์ที่เขาอกทะลุ จังหวัดพัทลุงได้ใน : https://www.facebook.com/photo/?fbid=5313161458736037&set=a.5313162775402572
ชื่อเรื่อง สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ. 31/6ประเภทวัสดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 46 หน้า : กว้าง 4.9 ซม. ยาว 53.2 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา
ชื่อเรื่อง สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ. 45/5ประเภทวัดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 42 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 56 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา
ชื่อเรื่อง เด็กเขียนให้เด็ก นิทานสำหรับเด็ก
ชื่อผู้แต่ง นราธิวาสราชนครินทร์,สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวง
พิมพ์ครั้งที่ -
สถานที่พิมพ์ กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ วัฒนาพานิช
ปีที่พิมพ์ 2539
จำนวนหน้า ๕๐ หน้า
รายละเอียด
เด็กเขียนให้เด็ก นิทานสำหรับเด็ก จัดพิมพ์ในการพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ สมเด็จพระศรนครินทร์ทราบรมราชชนนี วันที่ 10 มีนาคม 2539 บทพระนิพนธ์ในสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ที่ทรงแปลและเรียบเรียงจากนิทานฝรั่ง เมื่อครั้งยังทรงพระเยาว์ จำนวน 13 เรื่อง เป็นหนังสือที่เหมาะแก่เด็กปฐมวัย เพราะมีสำนวนภาษาเรียบง่ายและเป็นเรื่องสั้นๆ กระชับ เหมาะแก่เด็กในวัยหัดอ่าน
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 142/6 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 177/1ฌ เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)