ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,418 รายการ






ผู้แต่ง : กรมศิลปากร ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1 สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร ปีที่พิมพ์ : 2552 หมายเหตุ : -             หนังสือ 9 เส้นทางมรดกทางวัฒนธรรม นี้ นำเสนอข้อมูลสังเขปเกี่ยวกับแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมซึ่งปรากฏในประเทศไทย อันได้แก่ แหล่งโบราณสถาน และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ซึ่งเป็นแหล่งเรียนรู้ที่อยู่ในความดูแลของกรมศิลปากร โดยแยกเป็นเส้นทางมรดกวัฒนธรรมบ้านเชียง ทวารวดี ศรีโคตรบูรณ์ - ล้านช้าง ลพบุรี ศรีวิชัย ล้านนา สุโขทัย อยุธยา ธนบุรี - รัตนโกสินทร์ เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้วัฒนธรรมวิถีชีวิตชุมชน อันจะเป็นการเสริมสร้างความนิยมในการท่องเที่ยวแหล่งวัฒนธรรมและสร้างจิตสำนึกต่อการอนุรักษ์มรดกวัฒนธรรมของชาติทางหนึ่ง


ชื่อเรื่อง : พระพุทธศาสนาในประเทศไทย ชื่อผู้แต่ง : บริบาลบุรีภัณฑ์, หลวง ปีที่พิมพ์ : 2493 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์บำรุงนุกูลกิจ จำนวนหน้า : 64 หน้า สาระสังเขป : เรื่องพระพุทธศาสนาในประเทศไทย ของหลวงบริบาลบุรีภัณฑ์ กล่าวถึงประวัติและการเข้ามาในประเทศไทยของพุทธศาสนาลัทธิต่าง ๆ จากหลักฐานทางโบราณสถานและโบราณวัตถุ ประกอบด้วย ลัทธิหินยานอย่างเถรวาท ลัทธิมหายาน ลัทธิหินยานอย่างพุกาม และลัทธิลังกาวงศ์



ชื่อเรื่อง                           อาฏานาฏิยสุตฺต (พระอาฏานาฏิสูตร)สพ.บ.                                  188/1ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           64 หน้า กว้าง 4.8ซ.ม. ยาว 35.9 ซ.ม. หัวเรื่อง                                 พุทธศาสนา                                           บทสวดมนต์บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม  เส้นจาร ฉบับล่องชาด ได้รับบริจาคมาจาก วัดพยัคฆาราม ต.ศรีประจันต์ อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี   


ชื่อเรื่อง                                ธมฺมจกฺกปฺปวตฺนสุตฺต (ธมฺมจกฺก)สพ.บ.                                  225/1ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           22 หน้า กว้าง 5 ซ.ม. ยาว 58 ซ.ม. หัวเรื่อง                                 พุทธศาสนา                                           พระไตรปิฎก บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน เส้นจาร ฉบับลานดิบ ภาษาบาลี-ไทยอีสาน ได้รับบริจาคมาจากวัดทุ่งอุทุมพร ต.บางปลาม้า อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี


ศิลาจารึกหลักที่ ๑ พ่อขุนรามคำแหง มรดกแห่งความทรงจำของโลก .  เมื่อวันที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๔๖ องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ได้ประกาศขึ้นทะเบียนศิลาจารึกหลักที่ ๑ หรือจารึกพ่อขุนรามคำแหง เป็นมรดกแห่งความทรงจำของโลก (The Memory of the World Register) เนื่องในโอกาสนี้เราจะนำทุกท่านมาทำความรู้จักกับศิลาจารึกหลักที่ ๑  .  ศิลาจารึกหลักที่ ๑ หรือจารึกพ่อขุนรามคำแหง ถูกค้นพบเมื่อปี พ.ศ.๒๓๗๖ หรือตรงกับรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว  รัชกาลที่ ๓  โดยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๔ เมื่อครั้งยังทรงผนวชเป็นพระภิกษุ ได้เสด็จจาริกธุดงค์ไปทางหัวเมืองแถบเหนือของประเทศไทย เมื่อถึงเมืองเก่าสุโขทัย ทรงพบศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง ที่บริเวณเนินปราสาทเมืองเก่าสุโขทัย ทอดพระเนตรเห็นเป็น “โบราณวัตถุที่สำคัญ” จึงโปรดให้นำลงมาที่กรุงเทพมหานคร พร้อมกับศิลาจารึกวัดป่ามะม่วง ภาษาเขมร (สท.๓) หลักที่ ๔ และพระแท่น มนังคศิลาบาตร ปัจจุบันศิลาจารึกหลักที่ ๑ ถูกเก็บรักษาอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร  .  เนื้อความของศิลาจารึกหลักที่ ๑ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งทรงผนวชได้ทรงอ่านศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงเป็นพระองค์แรก ซึ่งถือว่าเป็นการอ่านจารึกภาษาไทยโบราณ เป็นครั้งแรกในประเทศไทย ต่อมามีนักปราชญ์ราชบัณฑิตอีกหลายท่านได้ทำการอ่านและแปลความ ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง สามารถสรุปเนื้อหาได้ ๓ ตอนดังนี้ ตอนที่ ๑ กล่าวถึงเรื่องราวส่วนพระองค์ของพ่อขุนรามคำแหงตั้งแต่ประสูติจนได้เสวยราชสมบัติ สันนิษฐานว่าตอนที่ ๑ นั้นจารึกขึ้นโดยพระราชดำรัสของพ่อขุนรามคำแหงเอง สังเกตได้จากการใช้ว่า “กู” ในการเล่าเรื่องราว ตอนที่ ๒ เล่าเรื่องราวเหตุการณ์ต่าง ๆ และธรรมเนียมในเมืองสุโขทัย การสร้างพระแท่นมนังคศิลาเมื่อ มหาศักราช ๑๒๑๔ (พ.ศ.๑๘๓๕) การสร้างพระธาตุเมืองศรีสัชนาลัย เมื่อ มหาศักราช ๑๒๐๗ (พ.ศ.๑๘๒๘) และการประดิษฐ์ตัวอักษรไทยขึ้นเมื่อ มหาศักราช ๑๒๐๕ (พ.ศ.๑๘๒๖) ตอนที่ ๓ สันนิษฐานว่าจารึกขึ้นภายหลังหลายปี เพราะตัวหนังสือไม่เหมือนกับตอนที่ ๑ และที่ ๒ คือตัวพยัญชนะลีบกว่าทั้งสระที่ใช้ก็ต่างกันบ้าง เนื้อหาของตอนที่ ๓ นี้ เป็นคำสรรเสริญ และยอพระเกียรติคุณของพ่อขุนรามคำแหง และกล่าวถึงอาณาเขตเมืองสุโขทัย  . หรือสามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ตามลิ้งนี้ >>> https://db.sac.or.th/inscriptions/inscribe/detail/47


ชื่อเรื่อง                                กจฺจายนมูล (อาขยาต)สพ.บ.                                  154/6ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           62 หน้า กว้าง 6 ซ.ม. ยาว 58 ซ.ม. หัวเรื่อง                                 พุทธศาสนา--การศึกษาและการสอน                                           ภาษาบาลี--ไวยากรณ์                                           คัมภีร์มูลกัจจายน์--การศึกษาและการสอน บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากวัดป่าเลไลยก์วรวิหาร ต.รั้วใหญ่ อ.เมืองฯ จ.สุพรรณบุรี


เลขทะเบียน : นพ.บ.124/5ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  46 หน้า ; 4.7 x 58 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา  ชื่อชุด : มัดที่ 71 (243-247) ผูก 5 (2564)หัวเรื่อง : ปพฺพชาขนฺธก (ปัพพชาขันธ์)--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม



     เรือนไทยภาคกลาง องค์ประกอบของเรือนเครื่องสับ      เรือนเครื่องสับ คือ เรือนที่สร้างด้วยไม้จริง โดยการประกอบเครื่องไม้เป็นส่วน ๆ เช่น ทำฝา ทำหน้าจั่วให้เสร็จก่อน แล้วจึงเตรียมโครงสร้างส่วนอื่น ๆ เช่น เสา รอด พื้น โครงหลังคา เสร็จแล้วจึงนำส่วนประกอบทั้งหมดเหล่านั้นมาประกอบกันเป็นเรือน        เรือนเครื่องสับ หรือเรือนหลังคาจั่ว เป็นเรือนใต้ถุนสูง พื้นยกสูงจนเดินรอดได้ ใช้เป็นที่พักผ่อน หรือเลี้ยงสัตว์ เก็บเครื่องมือเครื่องใช้ทางการเกษตร ฝาเรือนเป็นไม้จริง ส่วนมากเป็นไม้สัก ทำเป็นแผง มีหลายแบบ เช่น ฝาปะกน หรือฝาปะกนลูกฟัก ฝาสำหรวด ฝามักสอบเข้าเล็กน้อย หน้าต่างเปิดเข้าด้านใน หลังคาจั่วลาดชัน มุงด้วยจาก กระเบื้อง หรือสังกะสี มีไม้ปิดเครื่องมุงด้านสกัดเป็นรูปสามเหลี่ยม เรียก “ป้านลม” (ปั้นลม)        เรือนเครื่องสับมีทั้งแบบที่สร้างเป็นเรือนเดี่ยว ประกอบด้วยเรือนนอน ครัว ระเบียง และชาน หรือสร้างเป็นเรือนหมู่ มีเรือนนอนมากกว่าหนึ่งหลัง มีชานเชื่อมถึงกัน มีเรือนครัว หอนั่ง หรือหอนก เรือนหมู่ เป็นเรือนสำหรับครอบครัวขยาย หรือเรือนคหบดี หรือผู้มีฐานะทางสังคมสูง      ปัจจุบัน เรือนไทยภาคกลางแบบดั้งเดิมเหลือน้อย แม้มีการสร้างเรือนไทยสำหรับผู้ต้องการสร้างบ้านใหม่ในสมัยปัจจุบัน แต่รูปแบบนั้นเปลี่ยนไปจากแบบแผนเดิม        ภาพจาก รูปตัด เรือนทับขวัญ ที่มา ศาสตราจารย์ น.อ. สมภพ ภิรมย์ ร.น.,ราชบัณฑิต, ๒๕๓๘      *หมายเหตุ ภาพจากการ scan จากหนังสือตัวอักษรจึงไม่ชัด ผู้เรียบเรียงจึงได้เขียนด้วยลายมือทับเพื่อความชัดเจนของตัวอักษร      สรุป เรียบเรียงและถ่ายภาพ : นางสาวภัทรา เชาว์ปรัชญากุล ภัณฑารักษ์ชำนาญการ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชาวนาไทย สุพรรณบุรี สำนักศิลปากรที่ ๒ สุพรรณบุรี      ที่มาข้อมูล รวบรวม เรียบเรียง และสรุปจาก - โครงการจัดทำองค์ความรู้ด้านการสำรวจสถาปัตยกรรมเพื่อการอนุรักษ์โบราณสถาน (อาคารเรือนทรงไทย) โดยกลุ่มอนุรักษ์โบราณสถาน สำนักศิลปากรที่ ๓ พระนครศรีอยุธยา กรมศิลปากร - บ้านไทยภาคกลาง ศาสตราจารย์ พลเรือตรี สมภพ ภิรมย์ - สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ ๑๓ เรื่องที่ ๑ เรือนไทย/เรือนไทยภาคกลาง - สืบค้น online www.royin.go.th (สำนักงานราชบัณฑิตยสภา) “เรือน”


กฏหมายลักษณะต่าง ๆ ชบ.ส. ๔๓ เจ้าอาวาสวัดบุญญฤทธยาราม ต.บ้านบึง อ.บ้านบึง จ.ชลบุรี มอบให้หอสมุด ๒๒ ก.ค. ๒๕๓๕เอกสารโบราณ (สมุดไทย)


Messenger