ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,418 รายการ

          อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ขอเชิญชวนร่วมกิจกรรมเวียนเทียนในวันสำคัญทางพุทธศาสนา "วันมาฆาบูชา" วันจันทร์ที่ ๖ มีนาคม ๒๕๖๖ เวลา ๑๘.๓๐ น. ณ โบราณสถานวัดพระธาตุ ภายในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร นอกจากนี้ยังสามารถชมความงดงามของอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชรในยามค่ำคืนได้อีกด้วย ทั้งนี้ การติดตั้งระบบไฟส่องสว่างโบราณสถานช่วงกลางคืน เปิดให้เที่ยวชมได้ตั้งแต่บัดนี้จนถึงวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๖ เวลา ๑๖.๓๐ - ๒๐.๐๐ น. 


เลขทะเบียน : นพ.บ.377/10ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 40 หน้า ; 5 x 54.5 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา มีฉลากไม้ชื่อชุด : มัดที่ 142  (7-25) ผูก 10 (2566)หัวเรื่อง : เวสฺสนฺตรชาตก --เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


เลขทะเบียน : นพ.บ.513/8ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 46 หน้า ; 4 x 48.5 ซ.ม. : ล่องชาด ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 172  (248-253) ผูก 8 (2566)หัวเรื่อง : ฉลองอาราม--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


ข้อมูลการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการกลุ่มบริหารทรัพยากรบุคคล  ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 รอบไตรมาสที่ 1 - 2 (ต.ค. 65 - มี.ค. 66)



ชื่อเรื่อง                     นิติสารสาธกผู้แต่ง                       พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร)ประเภทวัสดุ/มีเดีย       หนังสือหายากหมวดหมู่                   ภาษาเลขหมู่                      495.918 ศ817นมสถานที่พิมพ์               พระนครสำนักพิมพ์                 โรงพิมพ์รุ่งนครปีที่พิมพ์                    2503ลักษณะวัสดุ               70 หน้า หัวเรื่อง                     ภาษาไทย – แบบเรียนภาษา                       ไทยบทคัดย่อ/บันทึกหนังสือเรื่อง “นิติสารสาธก” นี้ มี 2 เล่มต่อกัน เล่มที่ 1 เป็นหนังสืออ่านเทียบแบบสอนตั้งแต่มูลบทไป พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) ได้แต่งทูลเกล้าฯ ถวายไว้ให้ใช้ในโรงเรียนหลวง ส่วนเล่ม 2 นั้นปรากฏในโคลงต้นเล่มว่า หม่อมราชวงศ์หนูเป็นผู้แต่งทูลเกล้าฯ ถวาย เป็นหนังสือที่นับว่าต่อเนื่องกับชุดมูลบทบรรพกิจ ฯลฯ ซึ่งเป็นแบบเรียนยุคแรก  


         ประติมากรรมปูนปั้นรูปศีรษะบุคคล พบบริเวณศาลเจ้าพ่อพระยาจักร อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี ปัจจุบันจัดแสดง ณ อาคารจัดแสดง ๒ ชั้นที่ ๒ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง          ประติมากรรมปูนปั้นรูปศีรษะบุคคล กว้าง ๒๓ เซนติเมตร สูง ๓๑ เซนติเมตร เป็นประติมากรรมลอยตัว พบเพียงส่วนศีรษะ ลักษณะใบหน้าค่อนข้างเหลี่ยม หน้าผากกว้าง คิ้วเป็นสันนูน ยาวต่อกันเป็นทรงปีกกา ดวงตาโปนกลมโต คล้ายกำลังถลึงตา จมูกใหญ่ ปากหยักกว้าง ริมฝีปากหนา มีเส้นขอบปาก และเหนือริมฝีปากบนปรากฏหนวด คางค่อนข้างสั้น ปลายคางหยัก บริเวณศีรษะปรากฏเส้นกรอบกระบังหน้าโค้งแสดงถึงการประดับศิราภรณ์บนศีรษะ          ลักษณะใบหน้าของประติมากรรมรูปศีรษะบุคคลนี้ แสดงถึงสุนทรียภาพและความนิยมแบบพื้นเมืองอันเป็นเอกลักษณ์ของศิลปะทวารวดี ได้แก่ การทำคิ้วต่อเป็นเส้นปีกกา ตาโปน จมูกใหญ่ ปากหนา นอกจากนั้นยังมีอิทธิพลศิลปะเขมรร่วมอยู่ด้วย ได้แก่ มีหนวดเหนือริมฝีปาก ซึ่งเป็นลักษณะที่มักพบในเทวรูป และประติมากรรมรูปยักษ์ ปรากฏในศิลปะเขมรตั้งแต่สมัยไพรกเมง-กำพงพระ (พุทธศตวรรษที่ ๑๓ - ๑๔ หรือประมาณ ๑,๒๐๐ - ๑,๓๐๐ ปีมาแล้ว) และปรากฏในประติมากรรม ศิลปะทวารวดี เช่น พระพุทธรูปสำริด พบจากเจดีย์หมายเลข ๑๓ เมืองโบราณอู่ทอง จึงกำหนดอายุประติมากรรมชิ้นนี้ในสมัยทวารวดี ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๕ – ๑๖ หรือประมาณ ๑,๐๐๐ – ๑,๑๐๐ ปีมาแล้ว           สันนิษฐานว่าประติมากรรมรูปศีรษะบุคคลนี้ จัดอยู่ในกลุ่มทวารบาล อาจเป็นยักษ์หรืออสูร ซึ่งมีหน้าที่พิทักษ์ศาสนสถาน เนื่องจากมีใบหน้าที่ถมึงทึงน่าเกรงขาม มีการประดับศิราภรณ์บนศีรษะซึ่งแสดงถึงการเป็นบุคคลสำคัญ อีกทั้งเป็นประติมากรรมลอยตัวสามารถตั้งบริเวณประตูหรือทางเข้าของศาสนาสถานได้ นอกจากประติมากรรมชิ้นนี้แล้ว ในวัฒนธรรมทวารวดียังพบทวารบาลดินเผารูปยักษ์ ที่วัดพระงาม จังหวัดนครปฐม อีกด้วย   เอกสารอ้างอิง กรมศิลปากร. โบราณคดีเมืองอู่ทอง. นนทบุรี : สหมิตรพริ้นติ้ง, ๒๕๔๕. กรมศิลปากร. พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระปฐมเจดีย์. กรุงเทพฯ : บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด, ๒๕๖๔. ศักดิ์ชัย สายสิงห์. ศิลปะทวารวดี : วัฒนธรรมทางศาสนายุคแรงเริ่มในดินแดนไทย. นนทบุรี : เมืองโบราณ,  ๒๕๖๒.



ชื่อเรื่อง: ปาฐกถาเรื่องสงวนของโบราณ ของ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ  ผู้แต่ง: สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ปีที่พิมพ์: พ.ศ. ๒๔๗๓สถานที่พิมพ์: พระนครสำนักพิมพ์: โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากรจำนวนหน้า: ๓๘ หน้า เนื้อหา: "ปาฐกถาเรื่อง สงวนของโบราณ" แสดงโดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ในฐานะนายกราชบัณฑิตยสภา ทรงแสดงแก่เทศาภิบาล และข้าราชการ ณ พิพิธภัณฑสถานสำหรับพระนคร เมื่อวันพุธที่ ๑๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๓ โดยราชบัณฑิตยสภาได้จัดพิมพ์เผยแพร่      ด้วยเกิดเลื่อมใสในการที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงพระดำริให้สมุหเทศาภิบาลมีโอกาสได้เคยศึกษาดูงานพิพิธภัณฑสถานสำหรับพระนคร การจัดเก็บ การตรวจค้นและรักษาของโบราณ ปาฐกถาครั้งนี้แบ่งเป็น ๖ ตอน เป็นการให้ความรู้ประวัติศาสตร์ที่มา การบำรุง ดูแลรักษา ทั้งโบราณสถานและโบราณวัตถุต่างๆ ซึ่งสามารถพบได้ในพื้นที่มณฑลเทศาภิบาลทั่วสยามที่เหล่าเทศาภิบาลและข้าราชการเป็นผู้ดูแลรักษาอยู่ด้วยเช่นกันเลขทะเบียนหนังสือหายาก: ๑๗๓เลขทะเบียนหนังสืออิเล็กทรอนิกส์: E-book ๒๕๖๖_๐๐๐๓หมายเหตุ: โครงการจัดเก็บและอนุรักษ์หนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ์ สื่อโสตทัศนวัสดุ และเอกสารโบราณ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๖




         พระราชพิธีจองเปรียง          เรียบเรียง : นางสาววารุณี วิริยะชูศรี บรรณารักษ์          ข้อมูลอ้างอิง  กรมศิลปากร. สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์. วรรณกรรมสมัยอยุธยา เล่ม ๒. กรุงเทพฯ : กรม, ๒๕๔๕. กรมศิลปากร. จิตรกรรมกรุงรัตนโกสินทร์ = Rattanakosin Paining. กรุงเทพฯ : กรม, ๒๕๒๕. กรมศิลปากร. สมุดภาพจิตรกรรมกรุงรัตนโกสินทร์. กรุงเทพฯ : กรม, ๒๕๒๕. จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ, ๒๓๙๖-๒๔๕๓. พระราชพิธีสิบสองเดือน เล่ม ๑. กรุงเทพฯ : องค์การค้าของคุรุสภา, ๒๕๒๘. ลาลูแบร์, เดอะ,ผู้แต่ง. สันต์ ท.โกมลบุตร, ผู้แปล. จดหมายเหตุ ลา ลูแบร์ ราชอาณาจักรสยาม. นนทบุรี : ศรีปัญญา, ๒๕๕๗.   ช่วยเหลือการค้นคว้าโดย : หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ ตรัง หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่  หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก กาญจนบุรี



เมื่อวันที่ ๑๙ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๓๔ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จพระราชดำเนินไปยังศูนย์โครงการพัฒนาลุ่มน้ำปายตามพระราชดำริ ตำบลผาบ่อง อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน จังหวัดแม่ฮ่องสอน รหัสเอกสาร ภ หจภ กษ ๑.๑/๑๓๐ ผู้สนใจสามารถสืบค้นเอกสารจดหมายเหตุเพิ่มเติมได้ที่ https://archives.nat.go.th/Home/ หรือสนใจสั่งซื้อหนังสือออนไลน์ https://shorturl.asia/nQ5WZ


ชื่อเรื่อง                                สตฺตปฺปรณาภิธมุม (วิภังค์-ปุคคลบบัญญัติ)สพ.บ.                                  476/3ประเภทวัสดุมีเดีย                   คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                              พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                          18 หน้า กว้าง 4.5 ซม. ยาว 56 ซม.หัวเรื่อง                                พุทธศาสนา                                         บทคัดย่อ/บันทึก           เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับชาดทึบ ลานดิบ ไม่มีไม้ประกับ  ได้รับบริจาคมาจากวัดด่านช้าง ต.ด่านช้าง อ.ด่านช้าง จ.สุพรรณบุรี


Messenger