ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,418 รายการ

สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน) เลขที่ ชบ.บ.23/1-6 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


                            สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชเป็นพระมหากษัตริย์สมัยธนบุรี ทรงได้รับการยกย่องเป็น “มหาราช” ในประวัติศาสตร์ไทย ด้วยพระวีรกรรมอันกล้าหาญเด็ดเดี่ยว ที่ทรงกอบกู้เอกราช รักษาชาติบ้านเมืองให้เป็นปึกแผ่นมั่นคง โดยสถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานี และสืบทอดความรุ่งเรืองสู่กรุงรัตนโกสินทร์ในเวลาต่อมา                     อย่างไรก็ตาม ประเด็นปัญหาสำคัญในประวัติศาสตร์ไทยสมัยธนบุรีประการหนึ่งคือ ปัญหาศักราชปีครองราชย์ของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชที่ปรากฏข้อมูลประวัติศาสตร์แตกต่างกัน ทั้งในหนังสือสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ ของราชการและเอกชน ตลอดจนบทความทางอินเทอร์เน็ต ซึ่งบางแห่งระบุว่าเสด็จขึ้นครองราชย์ในวันที่ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๓๑๐ แต่บางแห่งระบุว่าเป็นวันที่ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๓๑๑ กรอบเวลาต่างกัน ๑ ปี สร้างความสับสนแก่ผู้ศึกษาค้นคว้าทางวิชาการ โคลงภาพพระราชพงศาวดาร ตอนสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงชนะทัพพม่าที่ค่ายโพธิ์สามต้น                      สาเหตุที่เป็นเช่นนี้เกิดจากความเข้าใจพื้นฐานทางประวัติศาสตร์ว่าหลังการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สองเมื่อวันที่ ๗ เมษายน พ.ศ. ๒๓๑๐ แล้ว สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงใช้เวลา ๗ เดือนในการกอบกู้เอกราชได้สำเร็จในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๓๑๐ จากนั้นทรงย้ายไปตั้งราชธานีที่กรุงธนบุรี จึงเป็นเรื่องสมเหตุสมผลที่พระองค์จะเสด็จขึ้นครองราชย์ในเดือนถัดมา ทำให้คนจำนวนมากเข้าใจว่าวันที่ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๓๑๐ เป็นวันเสด็จขึ้นครองราชย์                    แต่ในความเป็นจริงแล้ว หลักฐานทางประวัติศาสตร์ฉบับต่าง ๆ ทั้งจดหมายเหตุโหรและพระราชพงศาวดารฉบับพันจันทนุมาศ ระบุตรงกันว่าสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชเสด็จขึ้นครองราชสมบัติ (ในพระราชพงศาวดารฯ ใช้คำว่าเสด็จออกขุนนาง) ในวันอังคาร เดือนอ้าย แรม ๔ ค่ำ จุลศักราช ๑๑๓๐ ซึ่งตรงกับวันที่ ๒๘ ธันวาคม ๒๓๑๑ พร้อมทั้งเกิดแผ่นดินไหวเป็นที่อัศจรรย์ถึงพระบารมี                    สาเหตุที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงรอเป็นเวลา ๑ ปีเศษถึงจะเสด็จขึ้นครองราชย์ เพราะหลังจากชนะทัพพม่าที่ค่ายโพธิ์สามต้นและย้ายมาตั้งราชธานีที่กรุงธนบุรีแล้ว พระองค์ทรงให้ความสำคัญกับการสถาปนาความมั่นคงในพระราชอาณาจักรก่อน ด้วยการยกทัพไปปราบพม่าที่บางกุ้ง การยกทัพไปปราบชุมนุมเจ้าพระยาพิษณุโลก (แต่ต้องยกทัพกลับเพราะทรงต้องกระสุนปืนได้รับบาดเจ็บ) การยกทัพไปปราบชุมนุมเจ้าพิมายและกรมหมื่นเทพพิพิธ ตลอดจนการทำสารบัญชีพระสงฆ์เพื่อฟื้นฟูพระพุทธศาสนา เมื่อพระราชอาณาจักรมีความมั่นคงขึ้นแล้ว จึงเสด็จขึ้นครองราชย์ในวันที่ ๒๘ ธันวาคม ๒๓๑๑ ดังปรากฏในพระราชพงศาวดารฯ เรียบเรียงโดยนายธันวา วงศ์เสงี่ยมนักอักษรศาสตร์ชำนาญการกลุ่มประวัติศาสตร์สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์



สแปโรว์, เจอรัลด์.  ฝรั่งเล่าเรื่องเมืองสยาม.  แปลโดย ลาวัณย์  โชตามระ.  พิมพ์ครั้งที่ ๑.       พระนคร  : อักษรสาสน์, ๒๕๑๑.   ๔๑๖ หน้า      ผู้แปลได้แปลจากผลงานของการเล่าเรื่องเมืองสยามจากผลงานการเขียนของ มร.เจอรัลด์  สแปโรว์รวมทั้งสิ้น ๒๔ บทด้วยกัน ซึ่งเริ่มต้นบทที่ ๑ เรื่อง สู่ตะวันออกโดย “ดาวหาง”  เดินทางตอนหนุ่ม สวนสวรรค์แห่งสุดท้าย ความยุติธรรม พระเจ้าแผ่นดินสยาม สมภาพ ทองดำ บันไซ! กำแพง ๔ ด้าน  การปลดปล่อย บ้านของเรา ความผิดพลาด บินสู่แดนเสน่ห์ สุนี ร็อกซ์กับอีฟ-ลีน งานแปลที่สมใจ กรณีเรือ เอส.เอส สแตนเลย์ เสือดำมาอีก ทั้งดีทั้งชั่ว ไม่เคยเข้ากันได้ ชีวิตบางกอก เทศกาลคอมพิวนิสต์ ความตายของเสือ เหินกลับลอนดอน


กรมศิลปากร.  พระราชบัญญัติ ระเบียบ กฎกระทรวง ประกาศ และมติคณะรัฐมนตรี.  กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2524.            รวบรวมพระราชบัญญัติ ระเบียบ กฏกระทรวง ประกาศ มติคณะรัฐมนตรี ที่เกี่ยวข้องกับกรมศิลปากร ซึ่งเป็นประโยชน์ในการนำมาใช้ในการปฎิบัติงานหรือใช้เป็นหลักฐานอ้างอิงในการปฏิบัติงานหรือใช้เป็นหลักฐานอ้างอิงในการปฏิบัติงานของส่วนราชการในสังกัดกรมศิลปากร  


กรมศิลปากร.  การอนุรักษ์พระเจดีย์วัดใหญ่ชัยมงคล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พ.ศ. 2522.  กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2522.         พระเจดีย์ชัยมงคล เป็นพระเจดีย์ใหญ่กว่าพระเจดีย์ ใด ๆ ในกรุงศรีอยุธยา ทั้งยังมีความสำคัญในด้านประวัติศาสตร์ โบราณคดี สถาปัตยกรรม วิศวกรรม และศิลปกรรม หนังสือเล่มนี้ได้รวบรวมเนื้อหาของพระเจดีย์ชัยมงคล ประวัติวัดใหญ่ชัยมงคล การอนุรักษ์องค์พระเจดีย์วัดใหญ่ชัยมงคล ใน พ.ศ. 2518 และ พ.ศ. 2521 โดยกองโบราณคดี และกองสถาปัตยกรรม กรมศิลปากร


องค์ความรู้จากหอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ตรัง เรื่อง สำนวนตรัง ภาษาใต้ สไตล์ “ฅนตรัง”  ขอนำเสนอคำว่า "คดเหมือนเขาพับผ้า" หมายถึง "คดมาก"      เป็นสำนวนเปรียบเทียบว่า "คดมาก" โดยมีที่มาจากการตัดถนนสายตรัง-พัทลุงที่ตัดผ่านเทือกเขาบรรทัด ในสมัยรัชกาลที่ ๕ โดยพระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี เจ้าเมืองตรังในขณะนั้น เป็นผู้อำนวยการสร้างและบุกเบิก แต่การสร้างถนนมีความยากลำบากมาก จำเป็นต้องตัดไปตามแนวร่องของเทือกเขา จึงทำให้ถนนคดไปคดมาเหมือนกับพับผ้า ชาวตรังเรียกถนนสายนี้ว่า “ถนนสายเขาพับผ้า”  และมักเปรียบเทียบสิ่งที่คดมากว่า “คดเหมือนเขาพับผ้า” นั่นเอง อ้างอิง :  คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุฯ. วัฒนธรรมพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดตรัง. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, ๒๕๔๔. ที่มาของภาพ : เขาพับผ้า จากเว็บไซต์ https://mgronline.com/travel/detail/9620000014342 เขาพับผ้าในอดีต จากเว็บไซต์ https://talung.gimyong.com/index.php?topic=208130.0


          นายประทีป เพ็งตะโก อธิบดีกรมศิลปากร เปิดเผยว่า ตามที่กรมศิลปากรได้ดำเนินโครงการพัฒนาและเพิ่มศักยภาพพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเก่า ตำบลบ้านเก่า อำเภอเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี โดยได้มอบหมายให้สำนักศิลปากรที่ ๒ สุพรรณบุรี ดำเนินการทางโบราณคดีเพิ่มเติมบริเวณแหล่งโบราณคดีโรงเรียนวัดท่าโป๊ะ ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่พบแหล่งโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ช่วงสมัยหินใหม่จนถึงสมัยโลหะ เช่น แหล่งถ้ำเขาทะลุ ถ้ำเม่น ถ้ำหีบ รวมถึงแหล่งโบราณคดีบ้านเก่า (แหล่งนายบาง) ที่มีอายุกว่า ๓,๐๐๐ - ๔,๐๐๐ ปี และมีชื่อเสียงไปทั่วโลกในฐานะตัวแทนของสังคมเกษตรกรรมระยะแรกเริ่มของไทย จากการขุดค้นศึกษาโดยคณะวิจัยร่วมทางโบราณคดีไทย – เดนมาร์ก เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๓-๒๕๐๔           สำนักศิลปากรที่ ๒ สุพรรณบุรี ได้ดำเนินการขุดค้นทางโบราณคดี แหล่งโบราณคดีโรงเรียนวัดท่าโป๊ะ ระหว่าง พ.ศ. ๒๕๕๙ – ๒๕๖๔ พบว่าเป็นแหล่งฝังศพสมัยสำริด โดยปัจจุบันขุดพบหลุมฝังศพแล้ว จำนวน ๒๔ หลุม ฝังร่วมกับภาชนะดินเผา เครื่องประดับจากเปลือกหอย ขวานสำริดมีบ้อง ซึ่งการค้นพบสำคัญในครั้งนี้ ได้แก่ การขุดพบพื้นที่ผลิตโลหะสำริด กำหนดอายุทางวิทยาศาสตร์ได้ระหว่าง ๒,๔๙๑ - ๓,๐๘๓ ปีมาแล้ว โดยเมื่อนำมาวิเคราะห์ร่วมกับข้อมูลจากแหล่งโบราณคดีบ้านเก่า จึงสามารถเชื่อมโยงการใช้พื้นที่ได้ว่า มีการตั้งถิ่นฐานมาตั้งแต่สมัยหินใหม่ ซึ่งปรากฏแหล่งฝังศพขนาดใหญ่อยู่บริเวณแหล่งโบราณคดีบ้านเก่า (แหล่งนายบางและนายลือ) ริมห้วยแมงลักซึ่งเป็นสาขาของแม่น้ำแควน้อย ต่อมาในสมัยสำริดได้เปลี่ยนสถานที่ฝังศพมายังริมแม่น้ำแควน้อย คือบริเวณแหล่งโรงเรียนวัดท่าโป๊ะแห่งนี้ จนกระทั่งในสมัยเหล็กได้ขยายการใช้พื้นที่ลงใต้ไปตามแม่น้ำ จึงกล่าวได้ว่าแหล่งโบราณคดีโรงเรียนวัดท่าโป๊ะ เป็นตัวแทนของสมัยสำริด ที่ทำให้นักโบราณคดีทราบถึงพัฒนาการทางสังคมของชุมชนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ในพื้นที่ตำบลบ้านเก่า ไล่เรียงตั้งแต่สมัยหินใหม่ สมัยสำริด และสมัยเหล็ก ได้อย่างต่อเนื่อง ถือเป็นการเติมเต็มช่องว่างของหลักฐานทางโบราณคดีในช่วงเวลาที่ขาดหายไปให้สมบูรณ์          อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวอีกว่า แหล่งโบราณคดีโรงเรียนวัดท่าโป๊ะ มีศักยภาพที่แสดงให้เห็นถึงความสำคัญในทางวิชาการโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ของพื้นที่ ซึ่งตั้งอยู่ในที่ราชพัสดุแปลงติดกับพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเก่า จึงมีความพร้อมสำหรับการพัฒนาเป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ทางด้านโบราณคดีและประวัติศาสตร์ ในลักษณะของหลุมขุดค้นเปิด (site museum) โดยเป็นส่วนหนึ่งของแผนการพัฒนาพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเก่า ให้เป็นศูนย์กลางแหล่งเรียนรู้ด้านโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ประจำภาคตะวันตกของประเทศ ตามนโยบายการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ของกรมศิลปากร ทั้งนี้ กรมศิลปากรกำลังดำเนินการขอใช้พื้นที่ดังกล่าวจากกรมธนารักษ์ตามระเบียบขั้นตอนต่อไป



เลขทะเบียน: กจ.บ.193/1: 1ก-1ขชื่อเรื่อง: ตำรายาข้อมูลลักษณะ: อักษรมอญ ภาษามอญ เส้นจาร ฉบับลานดิบ ประวัติ : ได้มาจากวัดท่าขนุน ต.ท่าขนุน อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2533 จำนวน 1คัมภีร์ 3 ผูกจำนวนหน้า: 78 หน้า






           พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระราชโอรส ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ ๒) และสมเด็จพระศรีสุริเยนทรามาตย์ พระราชสมภพเมื่อวันอาทิตย์ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐ ปีมะโรง จุลศักราช ๑๑๗๐ ตรงกับวันที่ ๔ กันยายน พุทธศักราช ๒๓๕๑ เวลา ๕ นาฬิกา ณ พระราชวังเดิมกรุงธนบุรี เมื่อทรงพระเยาว์ พระองค์ประทับอยู่ที่พระราชวังเดิมและทรงเริ่มศึกษาที่สำนักวัดท้ายตลาด (วัดโมลีโลกยารามราชวรวิหาร) จากนั้นทรงศึกษาที่หอพระมณเฑียรธรรม ในพระบรมมหาราชวัง ทรงเรียนทั้งวิชาปืนและการทรงช้างทรงม้า เมื่อพระองค์มีพระชนมายุได้ ๑๓ พรรษา พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย โปรดเกล้าฯ ให้จัดพระราชพิธีโสกันต์ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๖๓ ในปีถัดมาทรงบรรพชาเป็นสามเณร เมื่อพระองค์ทรงมีพระชนมายุได้ ๒๑ พรรษา ใน พ.ศ. ๒๓๗๒ ทรงผนวชเป็นพระภิกษุสงฆ์ กล่าวกันว่าทรงประทับจำพรรษา ณ พระตำหนักในวัดหงส์รัตนารามราชวรวิหาร          ในสมัยรัชกาลที่ ๓ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งขึ้นเป็นสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศรังสรรค์ เมื่อวันที่ ๑๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๓๗๕ (ขณะนั้นทรงมีพระชนมายุได้ ๒๔ พรรษา) ทรงบังคับบัญชากรมทหารแม่นปืนหน้าปืนหลัง และญวนอาสารบ แขกอาสาจาม พระราชกรณียกิจที่สำคัญของพระองค์ในสมัยรัชกาลที่ ๓ คือทรงเป็นแม่ทัพใหญ่ยกกองทัพเรือไปรบกับฝ่ายญวนที่เมืองบันทายมาศ (เมืองฮาเตียน) เมื่อ พ.ศ. ๒๓๘๔          ต่อมาเมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๔) เสด็จขึ้นครองราชย์สมบัติ พระองค์โปรดเกล้าฯ สถาปนาสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศรังสรรค์ ขึ้นเป็น “สมเด็จพระปวเรนทราเมศ มหิศเรศรังสรรค์ พระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว” ทรงมีพระเกียรติยศเป็นอย่างพระเจ้าแผ่นดินองค์ที่ ๒ ดำรงตำแหน่ง กรมพระราชวังบวรสถานมงคล อีกทั้งยังมีการแก้ระเบียบราชประเพณีบางประการเพื่อให้สมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว อาทิ พระราชพิธีอุปราชาภิเษก ให้เรียกว่า “พระราชพิธีบวรราชาภิเษก” คำสั่งของกรมพระราชวังบวรสถานมงคลแต่เดิมใช้คำว่า “บัณฑูร” ให้เปลี่ยนมาใช้คำว่า “พระบวรราชโองการ” เป็นต้น          เมื่อพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จมาประทับอยู่ ณ พระราชวังบวรสถานมงคล ทรงโปรดให้ก่อสร้างอาคารเพิ่มเติมและปฏิสังขรณ์อาคารพระที่นั่งองค์ต่าง ๆ อาทิ โปรดให้ซ่อมตำหนักฝ่ายในทั้งหมด ป้อมประตูเครื่องไม้ที่ทรุดโทรม ทรงเปลี่ยนมาเป็นป้อมประตูก่ออิฐถือปูนแทน และย้ายตำหนักแดงจากพระราชวังเดิมมาปลูกขึ้นใหม่ในพระราชวังบวรสถานมงคล ส่วนอาคารสร้างขึ้นใหม่ได้แก่ พระที่นั่งมังคลาภิเษก และพระที่นั่งเอกอลงกฎ ลักษณะเป็นอาคารโถง มีเกยอยู่ด้านหน้า สร้างตามแบบพระที่นั่งดุสิดาภิรมย์ในพระบรมมหาราชวัง พระที่นั่งคชกรรมประเวศตั้งอยู่ด้านหน้าพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ ลักษณะเป็นอาคารยอดปราสาท คล้ายกับพระที่นั่งอาภรณ์พิโมกข์ในพระบรมมหาราชวัง ส่วนที่ประทับของพระองค์ โปรดให้สร้างเป็นอาคารก่ออิฐถือปูนแบบฝรั่ง มีนามว่า “พระที่นั่งอิศเรศราชานุสรณ์” ลักษณะเป็นอาคารสองชั้น มีบันไดทางขึ้นทั้งด้านหน้าอาคารและภายในอาคาร ส่วนที่ประทับของพระองค์อยู่ชั้นบน แบ่งออกเป็นสี่ส่วน ได้แก่ ส่วนแรกคือห้องสมุดและห้องทรงพระอักษร ส่วนที่สองคือห้องรับแขก ส่วนที่สามคือห้องเสวย (ต่อมาเป็นห้องประดิษฐานพระบรมอัฐิ) ส่วนที่สี่คือ ห้องพระบรรทมและห้องฉลองพระองค์และสรงพระพักตร์พระที่นั่งอิศเรศราชานุสรณ์          จากการที่พระองค์ทรงงานที่เกี่ยวกับการทหาร จึงมีการสร้างโรงปืนใหญ่ โรงทหาร คลังสรรพาวุธ และตึกดิน บริเวณเขตพระราชฐานชั้นนอก และพื้นที่บริเวณริมน้ำโปรดให้สร้างเป็นโรงทหารเรือ อีกทั้งโปรดให้สร้างพลับพลาสูง บริเวณกำแพงด้านทิศตะวันออกของพระราชวังบวรสถานมงคล สำหรับทอดพระเนตรการฝึกซ้อมทหาร โดยสร้างตามแบบพระที่นั่งสุทไธสวรรย์ในพระบรมมหาราชวัง          พระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้นมีอยู่หลายประการ ทั้งด้านการทหาร ด้านศาสนา ด้านการดนตรีและวรรณกรรม กล่าวคือ ในด้านการทหารนั้นพระองค์ทรงว่าจ้างนายทหารอังกฤษ ชื่อ โทมัส ยอร์ช น็อกส์ (Thomas George Knox) มาฝึกทหารปืนใหญ่ในวังหน้า ในขณะที่ด้านกิจการทหารเรือ ทรงดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารเรือพระองค์แรก และได้ปูพื้นฐานการจัดการด้านทหารเรือให้เป็นไปตามแบบอย่างสากลของอารยประเทศ ด้วยพระอัจฉริยภาพด้านการต่อเรือ พระองค์ทรงศึกษาวิธีการต่อเรือจากชาวต่างประเทศ เรือที่พระองค์ทรงต่อขึ้นสำเร็จในช่วง พ.ศ. ๒๔๐๖ มีนามว่า เรือยงยศอโยชฌิยา รวมทั้งพระองค์ทรงสั่งซื้อเรือจากต่างประเทศเข้ามาอยู่ในสังกัดวังหน้าเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้พระองค์ทรงมีกองทัพเรือของพระองค์เอง เรียกว่าทหารเรือวังหน้าเรือยงยศอโยชฌิยาจำลอง          พระราชกรณียกิจของพระองค์ในด้านการศาสนา พระองค์โปรดให้ปฏิสังขรณ์วัดหงสาราม (วัดหงส์รัตนารามราชวรวิหาร) วัดศรีสุดารามวรวิหาร วัดบวรสถานสุทธาวาส (วัดพระแก้ววังหน้า) และวัดโมลีโลกยารามราชวรวิหาร          พระราชกรณียกิจด้านการดนตรีและวรรณกรรม เป็นผลสืบเนื่องจากพระองค์ทรงโปรดการดนตรีและนาฏศิลป์ กล่าวคือ พระองค์ได้ทรงประดิษฐ์ระนาดทุ้มเหล็ก จัดให้เล่นประกอบกับระนาดแบบเดิม รวมขึ้นเป็นวงปี่พาทย์เครื่องใหญ่ และยังคงเป็นแบบแผนที่สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน รวมทั้งพระองค์ทรงอุปการะศิลปินอยู่หลายท่าน เช่น สุนทรภู่ (บรรดาศักดิ์ สุนทรโวหาร) ครูมีแขก (บรรดาศักดิ์ หลวงประดิษฐ์ไพเราะ) และ คุณพุ่ม (ธิดาพระยาราชมนตรี (ภู่ ภมรมนตรี) กวีหญิงในสมัยรัตนโกสินทร์ช่วงรัชกาลที่ ๓-๕) พระราชนิยมของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวอีกประการหนึ่งคือ การทรงแคน แอ่วลาว ทรงพระราชนิพนธ์คำกลอนแอ่วลาวไว้อยู่หลายฉบับ เช่น บทแอ่วเรื่องนิทานนายคำสอน เป็นต้นระนาดทุ้มเหล็กแคนของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้า และสมุดไทย (จำลอง) พระราชนิพนธ์เรื่องนิทานนายคำสอน          ในช่วงปลายพระชนม์ชีพ พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระอาการประชวรด้วยโรควัณโรค พ.ศ. ๒๔๐๘ พระอาการประชวรก็ทรุดหนักลงตามลำดับ ทำให้พระองค์ต้องเสด็จกลับจากวังสีทา เมืองสระบุรี กลับมาประทับที่พระที่นั่งอิศเรศราชานุสรณ์ ในพระบวรราชวัง กระทั่งพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จสวรรคต ณ พระที่นั่งอิศเรศราชานุสรณ์ ในวันอาทิตย์ เดือนยี่ แรม ๖ ค่ำ ปีฉลูสัปตศก จุลศักราช ๑๒๒๗ เวลาเช้าย่ำรุ่งแล้ว ๓ นาฬิกากับ ๓ บาท ตรงกับวันที่ ๗ มกราคม พ.ศ. ๒๔๐๘ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จไปสรงน้ำพระบรมศพ เจ้าพนักงานได้อัญเชิญพระบรมศพสถิตอยู่ในพระโกศทองคำ จากนั้นจึงแห่มาประดิษฐาน ณ พระที่นั่งอิศราวินิจฉัยในพระบวรราชวัง และโปรดเกล้าฯ ให้ข้าราชการเฉพาะสังกัดกับฝ่ายพระบวรราชวังโกนศีรษะเท่านั้น          พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้เรียกพระศพว่า “พระบรมศพ” และให้จัดงานพระบรมศพของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวเสมือนงานพระบรมศพเทียบเท่าพระมหากษัตริย์ งานพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว จัดขึ้นที่ท้องสนามหลวง ภายหลังเสร็จสิ้นงานพระบรมศพ ได้อัญเชิญพระบรมอัฐิพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ประดิษฐาน ณ พระที่นั่งอิศเรศราชานุสรณ์ กระทั่งรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๖) โปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระบรมอัฐิพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวกับพระอัฐิกรมพระราชวังบวร ๔ พระองค์ ไปประดิษฐานในหอพระนาก วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง เมื่อวันที่ ๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๖๐ตู้ประดิษฐานพระบรมอัฐิ บนพระที่นั่งอิศเรศราชานุสรณ์------------------------------------------------------------อ้างอิงกรมศิลปากร. กรมพระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า) ในสมัยรัตนโกสินทร์. กรุงเทพฯ: โพรดักส์, ๒๕๔๙. . พระราชประวัติพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว. พิมพ์ครั้งที่ ๓. กรุงเทพฯ: สมาพันธ์, ๒๕๕๖.


เลขทะเบียน : นพ.บ.177/8ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  52 หน้า ; 4.5 x 59.5 ซ.ม. : ลานดิบ ; ไม้ประกับธรรมดาชื่อชุด : มัดที่ 100 (74-79) ผูก 8 (2565)หัวเรื่อง : ธมฺมจกฺกฎีกา(ฎีกาธัมมจักร)--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


Messenger