ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,403 รายการ
ชื่อเรื่อง สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ. 45/6ประเภทวัดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 28 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 56 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา
ชื่อเรื่อง บันทึก ของรัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม ระหว่าง พ.ศ.2491 – 2499
ชื่อผู้แต่ง กรมศิลปากร กองจดหมายเหตุแห่งชาติ
พิมพ์ครั้งที่ -
สถานที่พิมพ์ พระนคร
สำนักพิมพ์ ศิวพร
ปีที่พิมพ์ 2500
จำนวนหน้า 3๕๒ หน้า
รายละเอียด
บันทึก ของรัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม ระหว่าง พ.ศ.2491 – 2499 พิมพ์ในอภิลักขิตสมัยคล้ายวันเกิดครบ 5 รอบ ของ พณฯ จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี 14 กรกฎาคม 2500 ได้บันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับการงานของกระทรวง ทบวง กรม และองค์การต่างๆ เมื่อครั้งรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยแบ่งหัวข้อเรื่องไปตามนโยบายที่รัฐบาลได้แถลงไว้ และได้กล่าวถึงเกี่ยวกับ คณะรัฐบาล ชุดที่ ๑ ถึงชุดที่ ๖ คำแถลงนโยบายของรัฐบาล กระทรวงการคลัง กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงเกษตร ฯลฯ
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 142/7 เอกสารโบราณ(คัมภีร์ใบลาน)
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 177/1ญ เอกสารโบราณ(คัมภีร์ใบลาน)
ชื่อเรื่อง 1มัดที่1 เวทมนต์คาถาป้องกันอันตรารายภูตผีปีศาจต่างๆแทรกด้วยตำรายาแก้โรคต่างๆประเภทวัสดุ/มีเดีย สมุดไทยขาวISBN/ISSN -หมวดหมู่ ตำราไสยศาสตร์ลักษณะวัสดุ 158; หน้า : มีภาพประกอบหัวเรื่อง ตำราไสยศาสตร์ ภาษา ไทยบทคัดย่อ/บันทึก ประวัติ นายวีระศักดิ์ เข็มเงิน มอบให้หอสมุดสุพรรณฯ
ชื่อเรื่อง สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ. 13/6ประเภทวัดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 24 หน้า : กว้าง 4.6 ซม. ยาว 54.8 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา
เลขทะเบียน : นพ.บ.377/11ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 20 หน้า ; 5 x 54.5 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา มีฉลากไม้ชื่อชุด : มัดที่ 142 (7-25) ผูก 11 (2566)หัวเรื่อง : เวสฺสนฺตรชาตก --เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
เลขทะเบียน : นพ.บ.513/9ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 48 หน้า ; 4 x 48.5 ซ.ม. : ล่องชาด ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 172 (248-253) ผูก 9 (2566)หัวเรื่อง : ฉลองอาราม--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
ວິຫານ ວັດໂພສີ ບ້ານເໜືອງແພ່ ແຂວງໄຊຍະບຸລີ ສປປ.ລາວ
จิตรกรรมฝาผนังวิหาร วัดโพธิ์ศรี บ้านเหมืองแพร่ แขวงไชยบุรี สปป.ลาว ติดกับบ้านเหมืองแพร่ ต.นาแห้ว อ.นาแห้ว จ.เลย เขียนด้วยเทคนิคสีฝุ่นบนผนังปูน เล่าเรื่องราวพุทธประวัติ ทศชาติชาดก พระมาลัย และสอดภาพแทรกวิถีชีวิต สามารถข้าม"พรมแดน"เข้าชมความงดงามได้ในทุกๆ"วันพระ"ວິຫານ ວັດໂພສີ ບ້ານເຫມືອງແພ່ ແຂວງໄຊຍະບຸລີ ເມືອງບໍ່ແຕນ ສປປ.ລາວ
ประติมากรรมดินเผารูปนาค พบจากเมืองโบราณอู่ทอง
ประติมากรรมดินเผารูปนาค สมัยทวารวดี พบจากเมืองโบราณอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี จัดแสดง ณ ห้องจัดแสดงนิทรรศการพิเศษ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง
ประติมากรรมดินเผารูปนาค สูง ๔ เซนติเมตร กว้าง ๓.๓ เซนติเมตร มีขนดนาคซ้อนเป็นวง ๒ ชั้น รองรับเศียรนาคซึ่งมีลักษณะเหมือนหงอนเป็นตุ่มนูน ใบหน้าและลำตัวของนาค ตกแต่งโดยใช้วัสดุปลายแหลมขีดให้เป็นลูกตากลมโต จมูกเจาะเป็นรูกลม ๒ รู ส่วนปากขีดเป็นเส้นตรงยาว มุมปลายยกขึ้นคล้ายอมยิ้ม ลำตัวตกแต่งเป็นขีดคล้ายเกล็ดงู
นาค เป็นสัตว์ในจินตนาการ ซึ่งได้รับแนวคิดมาจากสัตว์ที่มีอยู่จริงประเภทงูใหญ่ ตามความเชื่อ นาค ถือเป็นสัญลักษณ์ของน้ำ ความอุดมสมบูรณ์ รวมทั้งเป็นผู้พิทักษ์รักษาในศาสนาพุทธ และพราหมณ์-ฮินดู ความเชื่อเรื่องนาคที่ปรากฏในดินแดนไทย จึงเป็นการผสมผสานทั้งความเชื่อที่มีมาแต่เดิม และความเชื่อทางศาสนา รวมทั้งการรับวัฒนธรรมมาจากอินเดีย
รูปแบบทางศิลปกรรมของนาคชิ้นนี้ สัมพันธ์กับประติมากรรมรูปนาค ที่สร้างขึ้นในสมัยทวารวดีที่พบในเมืองโบราณอู่ทอง ได้แก่ ประติมากรรมปูนปั้นรูปนาค พบที่เจดีย์หมายเลข ๓ นาค เป็นนาคหัวโล้น มีหงอนเป็นจุกสามเหลี่ยม นอกจากนั้น ในเมืองโบราณอู่ทอง ยังพบหลักฐานประติมากรรมรูปนาคปูนปั้นที่เจดีย์หมายเลข ๒๘ ซึ่งประติมากรรมรูปนาคปูนปั้นเหล่านี้ สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นเพื่อประดับส่วนฐาน หรือประดับองค์ประกอบอื่นๆ ของสถาปัตยกรรม หลักฐานประติมากรรมรูปนาคที่พบจากเมืองโบราณอู่ทอง ส่วนใหญ่มักทำจากปูนปั้น และเกี่ยวข้องกับการตกแต่งศาสนสถานในศาสนาพุทธ ซึ่งน่าจะมีความหมายถึงความเป็นสิริมงคลและเป็นผู้พิทักษ์ดูแลพุทธสถานแห่งนั้น
ประติมากรรมรูปนาคชิ้นนี้ น่าจะมีหน้าที่ต่างจากประติมากรรมรูปนาคชิ้นอื่น ๆ ที่พบภายในเมืองโบราณอู่ทอง เนื่องจากทำจากดินเผา มีขนาดเล็ก และส่วนฐานโค้งเว้า ประกอบกับบริเวณขนดนาคมีการเจาะรูกลมทะลุถึงกัน ลักษณะคล้ายกับประติมากรรมดินเผารูปช้าง และสิงห์ ประดับบนจุกภาชนะ พบบริเวณเมืองโบราณอู่ทอง จึงสันนิษฐานว่าประติมากรรมรูปนาคนี้ เป็นประติมากรรมที่ประดับอยู่บนจุกภาชนะเช่นเดียวกัน ซึ่งน่าจะใช้สำหรับอุดปากภาชนะประเภทปากแคบหรือขวดที่มีความสำคัญ อาจใช้สำหรับบรรจุของที่ใช้ในพิธีกรรมที่มีความเกี่ยวข้องกับศาสนา ความเชื่อ หรืออาจเป็นเครื่องใช้ของบุคคลชั้นสูงหรือชนชั้นปกครองก็เป็นได้ กำหนดอายุสมัยทวารวดี ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ – ๑๔ หรือประมาณ ๑,๒๐๐ – ๑,๔๐๐ ปีมาแล้ว
เอกสารอ้างอิง
ดวงกมล อนันต์วัชรกุล. “ความเชื่อเรื่องสัตว์ที่ปรากฏในวัฒนธรรมทวารวดี.” เอกสารศึกษาเฉพาะบุคคล ภาควิชาโบราณคดี คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๕๔.
สุพิชฌาย์ จินดาวัฒนภูมิ. “นาค” ในงานประติมากรรมสมัยทวารวดี เอกสารประกอบงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ ๑๑ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ๑๑-๑๒ กรกฎาคม ๒๕๖๒.
ชื่อเรื่อง: ประวัติการส้างพระพุทธรูปประจำวัน พระ 7 ปาง ผู้แต่ง: พุทธสมาคมแห่งประเทสไทย สาขาจังหวัดเชียงใหม่ ปีที่พิมพ์: พ.ศ. ๒๔๘๖สถานที่พิมพ์: เชียงใหม่สำนักพิมพ์: โรงพิมพ์ปติพงส์จำนวนหน้า: ๒๐ หน้า เนื้อหา: "ประวัติการส้างพระพุทธรูปประจำวัน พระ ๗ ปาง" พุทธสมาคมแห่งประเทสไทย สาขาจังหวัดเชียงใหม่ ได้จัดส้างพระพุทธรูปประจำวัน นะ วัดพระสิงห์ จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ ๒๓ มกราคม ๒๔๘๖ เนื้อหาว่าด้วย พระ ๗ ปาง ประกอบด้วย ๑) ผู้เกิดวันอาทิตย์ บูชาพระยืนถวายเนตร์ ๒) ผู้เกิดวันจันทร์ บูชาพระยื่นห้ามญาติ ๓) ผู้เกิดวันอังคาร บูชาพระไสยาสน์ (หรือคันตรราสตร์ ราถปางขอฝน) ๔) ผู้เกิดวันพุธ บูชาพระอุ้มบาตร์ ๕) ผู้เกิดวันพรึหัสบดี บูชาพระขัดสมาธิ ๖) ผู้เกิดวันสุกร์ บูชาพระยืนรำพึง และ ๗) ผู้เกิดวันเสาร์ บูชาพระนาคปรก ทั้งยังมีการกล่าวถึงเริกส์ผสม วัตถุส้างพระพุทธรูป พิธีการปลุกเสก วัตถุที่นำมาจากปูชนียสถานสำคันในจังหวัดต่างๆ เลขทะเบียนหนังสือหายาก: ๓๗๖เลขทะเบียนหนังสืออิเล็กทรอนิกส์: ๒๕๖๖_๐๐๐๔หมายเหตุ: โครงการจัดเก็บและอนุรักษ์หนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ์ สื่อโสตทัศนวัสดุ และเอกสารโบราณ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๖