ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,403 รายการ

          วัดศรีธาตุ บ้านสิงห์ ตำบลสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๖๐ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๐๐ ภายในวิหารวัดศรีธาตุประดิษฐานพระพุทธหลักคำวรสิงหนาท (พระเจ้าใหญ่) พระพุทธรูปปูนปั้นศิลปะล้านช้าง ปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง ๒.๘๕ เมตร สูง ๕.๒๐ เมตร เป็นพระสำคัญคู่ชุมชนบ้านสิงห์มาแต่โบราณ วัดศรีธาตุเป็นวัดเก่าแก่ที่มีโบราณสถานและโบราณวัตถุที่สำคัญ ได้แก่ สถูปโบราณ สิงห์หินทรายแกะสลัก นอกจากนี้ยังมีหอไตรกลางน้ำ ตู้พระธรรม หีบพระธรรม สัตตภัณฑ์หรือเชิงเทียน ที่เก็บรักษาภายในวัดอีกด้วย ปัจจุบันมีพระครูฉันทกิจโกศล รองเจ้าคณะอำเภอเมืองยโสธร เป็นเจ้าอาวาส พระพุทธหลักคำวรสิงหนาท (พระเจ้าใหญ่)           ปีงบประมาณ ๒๕๖๓ กลุ่มหนังสือตัวเขียนและจารึก สำนักหอสมุดแห่งชาติ ได้ดำเนินโครงการสำรวจเอกสารโบราณ ที่เก็บรักษา ณ วัดศรีธาตุ บ้านสิงห์ ตำบลสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร ระหว่างวันที่ ๒๔ – ๒๙ มกราคม ๒๕๖๓ มีคณะทำงานไปปฏิบัติราชการจากสำนักหอสมุดแห่งชาติและหอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม เพื่อทำการสำรวจ ดูแลรักษา สืบสานวัฒนธรรมทางด้านอักษรและภาษาโบราณที่บันทึกไว้ในเอกสารโบราณ ซึ่งเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติให้คงอยู่อย่างยั่งยืน ทั้งนี้พระครูฉันทกิจโกศล รองเจ้าคณะอำเภอเมืองยโสธร เจ้าอาวาสวัดศรีธาตุ ได้กรุณาให้ความอนุเคราะห์ช่วยเหลือในด้านต่าง ๆ ตลอดการทำงาน           เมื่อได้สำรวจเอกสารโบราณที่เก็บรักษาไว้ภายในศาลาอเนกประสงค์ของทางวัด ซึ่งแต่เดิมเข้าใจว่าได้ย้ายมาจากหอไตรกลางน้ำ เบื้องต้นพบว่าเอกสารโบราณส่วนมากเป็นคัมภีร์ใบลาน ซึ่งกลุ่มงานอนุรักษ์เอกสารโบราณ สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้มาสำรวจและลงทะเบียนไว้ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๖๒ โดยมีบัญชีจากฐานข้อมูลเอกสารโบราณ วัดศรีธาตุ บ้านสิงห์ ตำบลสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร ระบุว่ามีคัมภีร์ใบลานจำนวนทั้งสิ้น ๒๐๘ มัด เก็บรักษาเอกสารโบราณอยู่ในตู้พระธรรม จำนวน ๑ ใบ หีบพระธรรม จำนวน ๕ ใบ บนธรรมาสน์ และบันไดแก้ว หอไตรกลางน้ำหีบพระธรรม ตู้พระธรรม ภายในศาลาอเนกประสงค์            คณะทำงานจึงได้วางแผนงานและปฏิบัติงานตามลำดับขั้นตอน เพื่อให้สามารถจัดเก็บและค้นหาเอกสารได้สะดวกรวดเร็วมากยิ่งขึ้น ดังนี้            ๑. นำมัดคัมภีร์ใบลานออกจากสถานที่จัดเก็บ เพื่อเรียงเลขที่มัดตั้งแต่มัดที่ ๑ จนถึงมัดที่ ๒๐๘ ตามลำดับทะเบียนเดิม            ๒. ตรวจสอบข้อมูลป้ายหน้ามัดคัมภีร์ใบลานกับบัญชีฐานข้อมูลเอกสารโบราณให้ถูกต้องตรงกัน เนื่องจากพบว่ามีบางรายการให้เลขที่ประจำมัดซ้ำกัน หรือ ป้ายชื่อเรื่องหน้ามัดไม่ตรงกับเอกสารโบราณภายใน ซึ่งจำเป็นต้องแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้อง            ๓. จัดทำป้ายเลขที่ประจำมัด โดยตัดใบลานเปล่าให้มีขนาดที่เหมาะสม แล้วจึงเขียนเลขที่ประจำมัด พร้อมกับประทับตราวัด แล้วจึงเจาะรูร้อยด้วยเชือกและผูกไว้กับเชือกมัดคัมภีร์ใบลานทุกมัด เพื่อให้สะดวกต่อการจัดเก็บและค้นหา            ๔. เขียนเลขที่มัดและประทับตราของวัดลงบนผ้าฝ้ายสีขาวที่ใช้ห่อคัมภีร์ใบลานทุกมัด            ๕. ลงทะเบียนเอกสารโบราณเพิ่มเติมจำนวน ๖ รายการ ประกอบด้วยคัมภีร์ใบลานจำนวน ๔ รายการ และหนังสือสมุดไทยจำนวน ๒ รายการ รวมเป็นเอกสารโบราณทั้งหมด ๒,๔๗๖ รายการ ดังนี้                     ๕.๑ คัมภีร์ใบลาน อักษรขอมและอักษรธรรมอีสาน จำนวน ๒๑๒ มัด มี ๒๑๒ เลขที่ รวมทั้งหมด ๒,๔๗๔ รายการ                     ๕.๒ หนังสือสมุดไทยที่บันทึกด้วยอักษรธรรมล้านนา และอักษรขอมไทย ภาษาบาลี เป็นบท สวดมนต์ หมวดธรรมคดี จำนวน ๒ รายการ หนังสือสมุดไทยดำ อักษรธรรมล้านนา หนังสือสมุดไทยดำ อักษรขอม            ๖. จัดเก็บคัมภีร์ใบลานเรียงตามลำดับมัดเพื่อสะดวกต่อการค้นหา ---------------------------------------เรียบเรียงข้อมูล : นายสันติ วงศ์จรูญลักษณ์ นักภาษาโบราณชำนาญการ กลุ่มหนังสือตัวเขียนและจารึก สำนักหอสมุดแห่งชาติ ---------------------------------------เอกสารอ้างอิง ๑. กรมการศาสนา. ประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่ม ๑๔. กรุงเทพฯ: กรมการศาสนา, ๒๕๓๘. ๒. กรมศิลปากร. ปกิณกศิลปวัฒนธรรม เล่ม ๑๘ จังหวัดยโสธร. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, ๒๕๕๕. ๓. กระทรวงศึกษาธิการและกระทรวงมหาดไทย. วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดยโสธร. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, ๒๕๔๒.


ผู้แต่ง : หลวงจินดาสหกิจ (ละม้าย ธนะศิริ), แปล ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 2  สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์ : พระนคร ปีที่พิมพ์ : 2510 หมายเหตุ : ธนาคารแห่งประเทศไทย พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ ม.ร.ว. ทองเถา ทองแถม 18 ธันวาคม 2510             จดหมายเหตุ เรื่อง การจลาจลเมื่อปลายแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราชนี้ ได้รวบรวมจดหมายต่างๆ ที่เขียนขึ้นในระหว่างเดือนตุลาคม ค.ศ. 1688 (พ.ศ. 2231) ถึงเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1689 (พ.ศ. 2232) ซึ่งส่งไปจากประเทศสยามและจากฝั่งคอร์มันเดล (Cormandel) เนื้อความในจดหมายเหตุเรื่องนี้ ตอนต้นกล่าวถึงชีวประวัติโดยย่อของคอนสแตนติน ฟอลคอน ตอนท้ายกล่าวถึงเหตุการณ์บ้านเมืองในตอนปลายรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช และการจลาจลครั้งใหญ่ในกรุงศรีอยุธยา ตลอดจนการขับไล่ชาวฝรั่งเศสออกจาอยุธยาหลังจากที่สมเด็จพระนารายณ์มหาราชสวรรคต และพระเพทราชาปราบดาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์ครองกรุงศรีอยุธยา




         พระพุทธรูปปางแสดงธรรม พบที่วัดราชเดชะ(ร้าง) พระครูประภัศร์ธรรมาภรณ์ เจ้าอาวาสวัดพระลอย อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรีมอบให้ จัดแสดง ณ ห้องบรรพชนคนอู่ทอง พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง           ลำพระองค์พระพุทธรูป สลักจากหิน ส่วนพระเศียรหักหายไป สูงประมาณ ๑๘๘ เซนติเมตร พระพุทธรูปครองจีวรห่มคลุม จีวรเรียบ เห็นขอบสบงบริเวณบั้นพระองค์ ขอบสบงยาวถึงข้อพระบาทมีริ้วด้านข้าง ส่วนปลายจีวรเป็นลายเขี้ยวตะขาบ ปรากฏจีวรพาดผ่านพระกรทั้งสองข้าง แล้วทิ้งชายลงเป็นวงโค้งเบื้องหน้า พระกรทั้งสองยกขึ้นเสมอพระอุระ  มีรูสำหรับเสียบเดือยต่อกับข้อพระกรและพระหัตถ์ที่สลักหินแยกชิ้น ซึ่งปัจจุบันได้หักหายไป สันนิษฐานว่าพระหัตถ์ที่หักหายไปทั้งสองข้างนั้นน่าจะแสดงวิตรรกะมุทรา (ปางแสดงธรรม) โดยการจีบพระอังคุฐ (นิ้วหัวแม่มือ) กับพระดัชนี (นิ้วชี้) เข้าหากัน เทคนิคการสลักแยกส่วนพระหัตถ์ออกจากพระวรกายเช่นนี้ พบในพระพุทธรูปปางแสดงธรรมขนาดใหญ่ที่สลักจากหินในวัฒนธรรมทวารดี            พระพุทธรูปองค์นี้ หากสมบูรณ์ น่าจะมีรูปแบบศิลปกรรมคล้ายคลึงกันกับพระพุทธรูปปางแสดงธรรม สลักจากหิน ที่พบจากเมืองโบราณในวัฒนธรรมทวารวดีอื่น ๆ เช่น พระพุทธรูปปางแสดงธรรมพบที่เมืองนครปฐมโบราณ จัดแสดงที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระปฐมเจดีย์ พระพุทธรูปปางแสดงธรรมพบที่จังหวัดลพบุรี จัดแสดงที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์ นอกจากนั้นยังมีการค้นพบชิ้นส่วนพระเศียร พระหัตถ์ และพระบาทพร้อมฐานพระพุทธรูปสลักจากหิน จากการขุดแต่งเจดีย์หมายเลข ๑๓ เมืองโบราณอู่ทอง ซึ่งสันนิษฐานว่า น่าจะเป็นพระพุทธรูปยืนปางแสดงธรรม เช่นเดียวกัน           สุนทรียภาพโดยรวม และรูปแบบศิลปกรรมของพระพุทธรูปองค์นี้ ได้แก่ การครองจีวรห่มคลุม จีวรเรียบบางแนบพระวรกาย ยังคงแสดงถึงอิทธิพลของศิลปะอินเดียแบบคุปตะและหลังคุปตะ ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๑ – ๑๓ แต่การปรับเปลี่ยนการยืนในท่าตริภังค์ (ยืนเอียงสะโพก) และแสดงมุทรา (ปาง) ด้วยพระหัตถ์ขวา แบบศิลปะอินเดีย มาเป็นยืนในท่าสมภังค์ (ยืนตรง) และแสดงวิตรรกะมุทราสองพระหัตถ์ (ปางแสดงธรรม) น่าจะเกิดขึ้นในช่วงที่งานศิลปกรรมสมัยทวารวดีมีพัฒนาการจากศิลปะอินเดียซึ่งเป็นต้นแบบ จนมีเอกลักษณ์ของตนเองอย่างแท้จริง โดยเฉพาะการแสดงวิตรรกะมุทรา (ปางแสดงธรรม) สองพระหัตถ์  ซึ่งเป็นรูปแบบเฉพาะที่เกิดขึ้นในวัฒนธรรมทวารวดี จึงอาจกำหนดอายุพระพุทธรูปองค์นี้ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๓ – ๑๔ (ประมาณ ๑,๒๐๐ – ๑,๓๐๐ ปีมาแล้ว)            พระพุทธรูปองค์นี้แม้จะมีสภาพไม่สมบูรณ์ แต่ถือเป็นหลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงพัฒนาการของรูปแบบศิลปกรรมที่รับอิทธิพลมาจากศิลปะอินเดีย และมีการพัฒนาจากต้นแบบจนกระทั่งมีรูปแบบที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง ทั้งยังแสดงให้เห็นถึงเทคนิคเชิงช่างในการสร้างพระพุทธรูปปางแสดงธรรมขนาดใหญ่ที่สลักจากหินในวัฒนธรรมทวารวดีด้วย  เอกสารอ้างอิง ศักดิ์ชัย สายสิงห์. ศิลปะทวารวดี : วัฒนธรรมทางศาสนายุคแรกเริ่มในดินแดนไทย. กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ,  ๒๕๖๒ สุภัทรดิศ ดิศกุล, ศิลปะในประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่ ๑๓, กรุงเทพฯ : มติชน, ๒๕๕๐.


ชื่อเรื่อง                           อรรถกถาอภิธรรมเจ็ด (วิภังค์-ยมก)สพ.บ.                                  190/3ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           34 หน้า กว้าง 5 ซ.ม. ยาว 36.6 ซ.ม. หัวเรื่อง                                 พุทธศาสนา                                           บทสวดมนต์บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากวัดพยัคฆาราม ต.ศรีประจันต์ อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี


ชื่อเรื่อง                                ปญฺญาบารมี (ปัญญาบารมี)สพ.บ.                                  227/1คประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           20 หน้า กว้าง 5.5 ซ.ม. ยาว 60 ซ.ม. หัวเรื่อง                                 พุทธศาสนา                                           ธรรมเทศนา บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน เส้นจาร ฉบับลานดิบ ภาษาบาลี-ไทยอีสาน ได้รับบริจาคมาจากวัดทุ่งอุทุมพร ต.บางปลาม้า อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี


+++โบราณสถานวัดพระพายหลวง+++  โบราณสถานวัดพระพายหลวงตั้งอยู่ใกล้ประตูเมืองด้านทิศเหนือ โดยอยู่ขนานกับกำแพงเมืองชั้นนอก จัดเป็นโบราณสถานที่เก่าแก่ และมีความสำคัญมากต่อประวัติศาสตร์สุโขทัย  เพราะมีสิ่งก่อสร้างในรูปแบบสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมตั้งแต่ยุคเริ่มแรกของเมืองสุโขทัย และก่อสร้างเพิ่มเติมสืบต่อกันมาจนถึงสมัยสุโขทัยตอนปลาย .  กลุ่มโบราณสถานตั้งอยู่ตรงกลางในพื้นที่ที่มีคูน้ำล้อมรอบ คูน้ำแต่ละด้านมีความยาวประมาณ ๖๐๐ เมตร โบราณสถานที่เก่าแก่ที่สุดเป็นปราสาทแบบเขมร ๓ องค์ ปัจจุบันพังทลายลงเหลือเพียงฐาน ๒ องค์ และที่สมบูรณ์เพียงองค์ด้านทิศเหนือ มีลวดลายปูนปั้นประดับเล่าเรื่องตามพุทธประวัติเหมือนกับปราสาทที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ลพบุรี และปราสาทปาลิไลย์ ในเมืองพระนครหลวงของเขมร  เป็นเครื่องยืนยันว่า ในราวกลางพุทธศตวรรษที่ ๑๘ ชุมชนสุโขทัยมีวัฒนธรรมร่วมกับเขมรในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ และมีความเกี่ยวข้องกับเมืองละโว้ (ลพบุรี) เมืองใหญ่ที่เป็นตัวแทนของวัฒนธรรมเขมร ในที่ราบลุ่มแม่น้ำภาคกลางของประเทศไทย .  ถัดจากปราสาทไปทางตะวันออก มีวิหาร มีเจดีย์ทรงเหลี่ยมแบบปิรามิดประดับทุกด้านด้วยซุ้มพระพุทธรูปลดหลั่นเป็นชั้น ๆ ขึ้นไป เหมือนกับเจดีย์กู่กุด จังหวัดลำพูน  ที่เจดีย์นี้มีหลักฐานการก่อสร้างทับซ้อนกันหลายสมัย เช่น มีพระพุทธรูปในซุ้มเป็นแบบหมวดวัดตระกวนอยู่ภายใน  โดยถูกปิดและซ้อนทับอยู่ด้วยพระพุทธรูปสุโขทัยหมวดใหญ่อันเป็นที่รู้จักกันทั่วไป เป็นต้น .  ทางด้านตะวันออกสุดของกลุ่มโบราณสถาน  เป็นมณฑปประดิษฐานพระพุทธรูปในอิริยาบท  เดิน ยืน และนอน  ซึ่งเข้าใจว่าน่าจะสร้างในสมัยหลังที่สุดในบรรดาโบราณสถานที่กล่าวมาแล้ว คือในสมัยสุโขทัยตอนปลาย อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๒๐


ชื่อเรื่อง                                โพธิปกฺขิยธมฺมกถา (พระโพธิปักขิยธรรม)สพ.บ.                                  165/4ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           38 หน้า กว้าง 5.5 ซ.ม. ยาว 56 ซ.ม. หัวเรื่อง                                 พุทธศาสนา--หัวข้อธรรม                                           โพธิปักขิยธรรม--พระธรรมเทศนา                                           พุทธศาสนา บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากวัดพยัคฆาราม ต.ศรีประจันต์ อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี 


เลขทะเบียน : นพ.บ.125/3ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  52 หน้า ; 4.5 x 51.5 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา  มีฉลากไม้  ชื่อชุด : มัดที่ 72 (248-256) ผูก 3 (2564)หัวเรื่อง : เอกนิปาต (นิไสเอกนิปาต)--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม



     "ข้าว วิถีไทย สายใยวัฒนธรรมแห่งแผ่นดิน"       : เครื่องมือ เครื่องใช้ ในการทำนาในอดีต เครื่องมือเครื่องใช้ในระยะเตรียมดิน ชิ้นที่ ๓ "ไถ" ในส่วนของเครื่องมือเครื่องใช้ในการทำนาจะแบ่งออกเป็น ๔ ประเภทตามการใช้งาน ดังนี้      ๑. เครื่องมือเครื่องใช้ในระยะเตรียมดิน      ๒. เครื่องมือเครื่องใช้ในช่วงเก็บเกี่ยว      ๓. เครื่องมือเครื่องใช้ในการขนส่งข้าว      ๔. เครื่องมือเครื่องใช้ในการแปรรูปข้าว         เครื่องมือทำนาไถดินเพื่อปลูกข้าวหรือพืชต่าง ๆ ทำด้วยไม้และเหล็ก รูปร่างคล้ายตัวอักษร "ง" ประกอบด้วยคันไถ หางยาม ผาล และหัวหมู      ไถมี ๒ ชนิด คือ ไถวัวและไถควาย      ไถวัว คือ ไถที่เทียมด้วยวัว ใช้วัว ๒ ตัวคู่กัน ไถวัวมักมีคันไถยาวและงอนขึ้นไปจนถึงแอกบนคอวัว      ไถควาย คือ ไถที่เทียมด้วยควาย ใช้ควายตัวเดียวลากไถ มีแอกน้อยคล้องอยู่ที่ปลายคันไถ และมีเชือกคร่าว ล่ามไปคล้องกับคอมหรือโกกที่คอควาย      ไถใช้ได้หลายลักษณะ เช่น ไถพลิกหน้าดินเพื่อเตรียมหว่านข้าวหรือหว่านเมล็ดพืช ไถกลบเพื่อให้ขี้ไถปิดเมล็ดข้าว หรือเมล็ดพืชที่หว่านไว้ เป็นต้น          นางสาวภัทรา เชาว์ปรัชญากุล ภัณฑารักษ์ชำนาญการ      พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชาวนาไทย เรียบเรียง/เผยแพร่ ที่มา/แหล่งข้อมูล      - วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญาจังหวัดสุพรรณบุรี      - วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญาจังหวัดร้อยเอ็ด      - วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญาจังหวัดแพร่      - วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญาจังหวัดพัทลุง      - วิบูลย์ ลี้สุวรรณ : พจนานุกรมหัตถกรรม เครื่องมือเครื่องใช้พื้นบ้าน      - รองศาสตราจารย์วัฒนะ จูฑะวิภาต : ศิลปะพื้นบ้าน      - สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน เล่มที่ ๓ โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ใน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว      - สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน เล่มที่ ๑๓ โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ใน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว      - สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน เล่มที่ ๒๒ โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ใน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว


ตำรายาแผนโบราณ ชบ.ส. ๔๖ เจ้าอาวาสวัดบุญญฤทธยาราม ต.บ้านบึง อ.บ้านบึง จ.ชลบุรี มอบให้หอสมุด ๒๒ ก.ค. ๒๕๓๕เอกสารโบราณ (สมุดไทย)


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน) เลขที่ ชบ.บ.24/1-2 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)



Messenger