ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,418 รายการ





ชื่อเรื่อง: จดหมายเหตุบัญชีน้ำฝน ของสมเด็จพระมหาสมณะเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ เล่ม ๑  ผู้แต่ง: สมเด็จพระมหาสมณะเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ปีที่พิมพ์: พ.ศ.๒๔๗๑สถานที่พิมพ์: พระนครสำนักพิมพ์: โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากรจำนวนหน้า: ๕๐ หน้า เนื้อหา จดหมายเหตุบัญชีน้ำฝนของสมเด็จพระมหาสมณะเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ เล่ม ๑ เจ้าพระยาพลเทพ เสนาบดีกระเกษตราธิการ     พิมพ์ในงานพระราชพิธีจรดพระนังคัล ปี พ.ศ. ๒๔๗๑ พิมพ์ที่โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร ซึ่งสมเด็จพระมหาสมณะเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ทรงเริ่มจดในรัชกาลที่ ๓ ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๓๘๙ และทรงพระอุตสาหะจดเป็นรายวันตลอดมานับได้ ๔๕ ปี จนถึง พ.ศ. ๒๔๓๓ รวมกันได้ ๑๓ เล่มสมุดไทย ในหนังสือเล่มนี้เป็นบัญชีฝนตกตั้งแต่ปีมะเมีย พ.ศ. ๒๓๘๙ จนถึงปีมะโรง พ.ศ. ๒๓๙๙ รวม ๑๑ ปี โดยอธิบายเรื่องห่าฝน ปริมาณฝนที่ตกรายวัน ข้างขึ้นข้างแรมรายเดือน ทั้งยังได้จดหมายเหตุคล้ายกับปูมของโหรหลวงลงไว้ และทรงพระนิพนธ์โคลงไว้มีทุกเล่มสมุด จึงเห็นว่าเป็นตำราที่น่ารู้น่าอ่าน และจัดพิมพ์ให้แพร่หลาย เพื่อรักษาไว้มิให้สูญหาย    เลขทะเบียนหนังสือหายาก: ๕๗๘เลขทะเบียนหนังสืออิเล็กทรอนิกส์: E-book ๒๔๖๖_๐๐๐๗หมายเหตุ: โครงการจัดเก็บและอนุรักษ์หนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ์ สื่อโสตทัศนวัสดุ และเอกสารโบราณ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๖


          วันพฤหัสบดีที่ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๖๖ เวลา ๑๑.๒๙ น. นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร เป็นประธานในพิธีบวงสรวงการจัดทำมวลสาร การจัดสร้างพระพุทธสิหิงค์จำลอง ในโอกาสครบรอบ ๑๑๒ ปี แห่งการสถาปนากรมศิลปากร ณ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร            พุทธศักราช ๒๕๖๖ ในโอกาสครบรอบ ๑๑๒ ปี แห่งการสถาปนากรมศิลปากร กรมศิลปากรได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตจัดสร้างพระพุทธสิหิงค์จำลอง และเหรียญพระพุทธสิหิงค์ เพื่อหารายได้นำเข้ากองทุนโบราณคดี ใช้ในการบูรณะโบราณสถาน และกิจการพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติทั่วประเทศ การจัดสร้างครั้งนี้ ออกแบบโดยสำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ด้วยฝีมืออันงดงาม ถือเป็นการจัดสร้างครั้งแรก และจัดสร้างจำนวนจำกัด พิเศษคือใต้ฐานของพระพุทธสิหิงค์จำลองทุกองค์ได้บรรจุไม้ช่อฟ้าเดิมซึ่งเป็นส่วนสูงสุดของพระที่นั่ง  พุทไธสวรรย์ สถานที่ประดิษฐานพระพุทธสิหิงค์ และเทียนชัยเข้าพรรษา ซึ่งถวายองค์พระพุทธสิหิงค์เพื่อเป็นนิมิตแห่งความสว่างไสวของชีวิต            ในการนี้ กรมศิลปากรได้จัดพิธีบวงสรวงในวันพฤหัสบดีที่ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๖๖ ขึ้น ๔ ค่ำ เดือน ๑๒ ปีเถาะ และจะจัดพิธีมหาพุทธาภิเษก ภายในพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร โดย พระเถรานุเถระ ผู้ได้รับความเคารพนับถือจากประชาชน จำนวน ๙ รูป ในวันอาทิตย์ที่ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๖๖ เวลา ๑๓.๔๙ น. เป็นวันมหาสิทธิโชค และตรงกับราชาแห่งฤกษ์ โดยจะอัญเชิญวัตถุมงคลที่จัดสร้างทั้งหมดไว้ภายในพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ เป็นเวลา ๑ ราตรี เพื่อซึมซับความศักดิ์สิทธิ์ จากองค์พระพุทธสิหิงค์ และถือเป็นสิริมงคลอย่างยิ่ง            กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม ขอเชิญชวนพุทธศาสนิกชนและผู้สนใจสั่งจองพระพุทธสิหิงค์ พระกริ่งพระพุทธสิหิงค์ และเหรียญพระพุทธสิหิงค์ ได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่  ฝ่ายพัสดุ กลุ่มคลังและพัสดุ สำนักบริหารกลาง ชั้น ๓ อาคารกรมศิลปากร เทเวศร์ โทร. ๐ ๒๑๒๖ ๖๕๕๙ หรือ facebook page พระพิฆเนศวร ๑๐๘ ปี กรมศิลปากร 


        หนังสือ : เมื่อข้าพเจ้าเยือนสยามและมาลายา         ผู้เขียน :  แคดดี, ฟลอเรนซ์         ผู้แปล :  พัชรา สุขเกษม          แปลและเรียบเรียงจากเรื่อง “To Siam and Malaya in the Duke of Sutherland’s Yacht ‘Sans Peur’” เป็นบันทึกที่ผู้เขียนเรียบเรียงขึ้นภายหลังจากการติดตามจอร์จ แกรนวิลล์ วิลเลียม ซัทเธอร์แลนด์-ลูซัน-กอร์ (George Granville William Sutherland-Leveson-Gower) ดุ๊กที่ 3 แห่งซัทเธอร์แลนด์ (3rd Duke of Sutherland) เดินทางมาท่องเที่ยวประเทศไทยและรัฐยะโฮร์ในคาบสมุทรมลายูโดยเรือซึ่งมีชื่อว่าซ็องส์เปอร์ ใน พ.ศ. 2431 ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เนื้อหากล่าวถึงสถานที่สำคัญต่าง ๆ ที่ผู้เขียนได้ไปเที่ยวชมทั้งในกรุงเทพฯ และจังหวัดพระนครศรีอยุธยา รวมถึงเหตุการณ์สำคัญที่ผู้เขียนและคณะเดินทางได้มีโอกาสเข้าร่วมในครั้งนี้คืองานพระเมรุของเจ้านายชั้นสูงของไทย รวมทั้งสิ้น 4 พระองค์ คือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าพาหุรัดมณีมัย กรมพระเทพนารีรัตน์ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าตรีเพ็ชรุตม์ธำรง สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าสิริราชกกุธภัณฑ์ และพระอรรคชายาเธอ พระองค์เจ้าเสาวภาคนารีรัตน์ นับเป็นโอกาสที่ชาวต่างชาติจะได้พบเห็นพระราชพิธีสำคัญของไทย นอกจากนี้ ผู้เขียนยังได้บรรยายถึงความประทับใจเมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ดุ๊กแห่งซัทเธอร์แลนด์และคณะผู้ติดตามได้เข้าเฝ้าฯ ในพระบรมมหาราชวังด้วย รวมถึงได้พบปะร่วมสนทนากับพระบรมวงศานุวงศ์และชาวต่างประเทศที่เข้ามารับราชการในประเทศไทยด้วย โดยผู้เขียนได้สอดแทรกความคิดเห็นตลอดจนมุมมองต่าง ๆ ในทรรศนะของชาวต่างประเทศอีกด้านหนึ่ง ซึ่งนับเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจ     ห้องบริการ 1 หอสมุดแห่งชาติจังหวัดสุพรรณบุรี เฉลิมพระเกียรติ เลขหมู่ : 959.3057 ค912ม



          กรมศิลปากร ขอเชิญรับชมถ่ายทอดสด Facebook Live รายการไขความรู้จากครูกรมศิลป์ ตอน “เอกสารล้ำค่าจารึกสยาม” นิทรรศการพิเศษเนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย วิทยากร นางพัชรินทร์ ลั้งแท้กุล ผู้อำนวยการกลุ่มเอกสารจดหมายเหตุและบริการ, นางสาวณัฏฐา กล้าหาญ นักจดหมายเหตุชำนาญการ กลุ่มเอกสารจดหมายเหตุและบริการ, นางสาวทรายทอง ทองเกษม นักจดหมายเหตุชำนาญการ กลุ่มบริหารเอกสาร และนางสาวมณีรัตน์ พุทธอุปถัมภ์ นักจดหมายเหตุชำนาญการ กลุ่มเอกสารจดหมายเหตุและบริการ ผู้ดำเนินรายการ นายสิทธิพร บุปผา นักวิชาการเผยแพร่ กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ ในวันพฤหัสบดีที่ ๒๑ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๖๗ เวลา ๑๑.๐๐ - ๑๑.๔๕ น.           ผู้สนใจสามารถติดตามชมได้ทาง Facebook Live : กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม และ Facebook : กลุ่มเผยแพร่ฯ กรมศิลปากร


เมื่อวันที่ ๑๙ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๓๔ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จพระราชดำเนินไปยังศูนย์โครงการพัฒนาลุ่มน้ำปายตามพระราชดำริ ตำบลผาบ่อง อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน จังหวัดแม่ฮ่องสอน รหัสเอกสาร ภ หจภ กษ ๑.๑/๑๓๐ ผู้สนใจสามารถสืบค้นเอกสารจดหมายเหตุเพิ่มเติมได้ที่ https://archives.nat.go.th/Home/ หรือสนใจสั่งซื้อหนังสือออนไลน์ https://shorturl.asia/nQ5WZ


          สำนักการสังคีต กรมศิลปากร ขอเชิญชมรายการแสดงงานสัปดาห์วันอนุรักษ์มรดกไทย พุทธศักราช ๒๕๖๗ วันอังคารที่ ๒ เมษายน ๒๕๖๗ ถึง วันจันทร์ที่ ๘ เมษายน ๒๕๖๗ เวลา ๑๘.๐๐ - ๒๐.๐๐ น. ณ  เวทีกลางแจ้ง พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ  พระนคร  วันอังคารที่ ๒ เมษายน ๒๕๖๗ ๑. การบรรเลง - ขับร้อง วงดุริยางค์สากล (ก่อนพิธีเปิด) ๒. การบรรเลงดนตรีไทย “เพลงเทพสมภพ เถา” ๓. การแสดงชุดเทพนารีถวายพระพร ๔. การแสดงโขน เรื่องรามเกียรติ์ ชุดพาลีสอนน้อง วันพุธที่ ๓ เมษายน ๒๕๖๗ ๑. การบรรเลงดนตรีไทย “โหมโรงเพลงเทิด ส.ธ.” ๒. การแสดงละครนอก เรื่องแก้วหน้าม้า ตอนถวายลูก – ถอดรูป วันพฤหัสบดีที่ ๔ เมษายน ๒๕๖๗ ๑. การบรรเลงดนตรีไทย “โหมโรงเพลงมหาสังข์” ๒. การแสดงละครพันทาง เรื่องราชาธิราช ตอนสมิงพระรามอาสา วันศุกร์ที่ ๕ เมษายน ๒๕๖๗ ๑. การบรรเลงดนตรีไทย “เพลงนาคพัน ๓ ชั้น” ๒. ละครเบิกโรง เรื่องพระไพศรพณ์เทพเจ้าแห่งธัญชาติ ๓. การแสดงละครตำนานพื้นเมือง เรื่องสงกรานต์  ตอน “เชิญศีรษะท้าวกบิลพรหม” วันเสาร์ที่ ๖ เมษายน ๒๕๖๗ ๑. รำอาศิรวาทราชสดุดีจักรีวงศ์ ๒. ละครเทพนิยายเบิกโรง เรื่องกำเนิดสุริยะและโสมเทพ ๓. การแสดงละคร เรื่องอานุภาพพ่อขุนรามคำแหง วันอาทิตย์ที่ ๗ เมษายน ๒๕๖๗ ๑. การบรรเลงดนตรีไทย “โหมโรงเพลงศรีสุขสังคีต” ๒. การแสดงโขน เรื่องรามเกียรติ์ ชุดเล่ห์รักยักขินี วันจันทร์ที่ ๘ เมษายน ๒๕๖๗ ๑. การแสดงคอนเสิร์ต “เพชรในเพลง” รับฟังบทเพลงไพเราะจากศิลปินแห่งชาติและศิลปินทรงคุณวุฒิ อ.รวงทอง ทองลั่นธม อ.วิรัช อยู่ถาวร อ.วินัย พันธุรักษ์ อ.พิเชฏฐ ศุขแพทย์ อ.โฉมฉาย อรุณฉาน พร้อมด้วยศิลปินรางวัลเพชรในเพลง หนู มิเตอร์ ปาน ธนพร รัชนก ศรีโลพันธุ์ จ่อย รวมมิตร คงชาตรี ใบเฟิร์น สุทธิยา ธัช กิตติธัช โบ๊ท ปรัชญา นัน อนันต์ และเปาวลี พรพิมล บรรเลงโดยวงดุริยางค์สากล กรมศิลปากร และยังสามารถรับชมการแสดงคอนเสิร์ตนี้ได้ผ่านทาง facebook live: กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม และในเวลา ๑๗.๐๐ - ๑๘.๐๐ น. รับฟังการบรรเลงดนตรี  ณ ศาลาลงสรง   ทั้งนี้ การแสดงในวันที่ ๓ - ๗ เมษายน ๒๕๖๗  นำแสดงโดยศิลปินสำนักการสังคีต /อำนวยการแสดงโดย ลสิต อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสำนักการสังคีตชมฟรี สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม (วันและเวลาราชการ) โทร. ๐ ๒๒๒๔ ๑๓๔๒ และ ๐ ๒๒๒๑ ๐๑๗๑


ภาพถ่ายเก่าปราสาทพิมายสันนิษฐานว่าถ่ายโดยขุนสุนทรสาทิศลักษณ์ หรือ ฟรานซิส จิตร ช่างภาพหลวงรุ่นแรกของประเทศไทย สังเกตได้จากที่มุมของภาพจะปรากฏลายมือ F.Chit ภาพชุดนี้เป็นเป็นภาพถ่ายฟิล์มกระจกที่ถ่ายเมื่อพ.ศ.2411 (นับแบบปฏิทินสากลในปัจจุบัน หากนับแบบปฏิทินปีใหม่เดิมจะอยู่ในพ.ศ.2410)


          กรมศิลปากร ขอเชิญชวนผู้สนใจร่วมท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ จังหวัดสุพรรณบุรี พร้อมชมละครเรื่อง เลือดสุพรรณ ณ โรงละครแห่งชาติภาคตะวันตก จังหวัดสุพรรณบุรี ในวันเสาร์ที่ 6 กรกฎาคม 2567โดยรถบัสปรับอากาศ (ไป-กลับ) เพียงท่านละ 500 บาท จองบัตรได้ที่ Line OA ID : @743pznsd หรือคลิกลิงค์ : https://lin.ee/2ZxCKWP ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ คุณภูริชญา ทองจีน โทร. 08 4874 8976           นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร เปิดเผยว่า ตามที่กรมศิลปากร ได้จัดการแสดงละครเรื่อง เลือดสุพรรณ บทประพันธ์ของ พลตรี หลวงวิจิตรวาทการ ในวันเสาร์ที่ 6 กรกฎาคม 2567 เวลา 18.00 น. ณ โรงละครแห่งชาติภาคตะวันตก จังหวัดสุพรรณบุรี กรมศิลปากรได้จัดบริการรถบัสเพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้สนใจชมละครที่อยู่ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล พร้อมทั้งจัดเส้นทางท่องเที่ยวจังหวัดสุพรรณบุรี โดยออกเดินทางจากกรมศิลปากร (เทเวศร์) เวลา 12.30 น. สักการะหลวงพ่อโต วัดป่าเลไลยก์ ชมภาพจิตรกรรมฝาผนัง เสภาขุนช้างขุนแผน ช้อป ชิม ชม สินค้าจากชุมชน ไหว้พระขอพร ณ วัดแค ก่อนนำชมละครเรื่อง เลือดสุพรรณ ณ โรงละครแห่งชาติภาคตะวันตก จังหวัดสุพรรณบุรี และเดินทางกลับ (รวมค่าบัตรชมละครแล้ว)            ละคร เรื่อง เลือดสุพรรณ เป็นละครที่มีรูปแบบละครผสม คือ มีบทพูดแบบละครพูด การรำแบบละครรำ การบรรเลงและขับร้องเพลงไทย และเพลงไทยสากล จัดการแสดงเพื่อจูงใจให้ผู้ชมเกิดความสมัครสมานสามัคคี มีไมตรีต่อกัน และเสียสละชีวิตเพื่อชาติ ประพันธ์บทโดย พลตรี หลวงวิจิตรวาทการ ขณะดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมศิลปากร ออกแสดงเผยแพร่ให้ประชาชนชมครั้งแรกเมื่อพุทธศักราช 2479 และได้รับความนิยมจากผู้ชมเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะเพลงร้องในละคร คือ เพลงเลือดสุพรรณ และเพลงดวงจันทร์ เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย สำนักการสังคีต กรมศิลปากร จึงกำหนดจัดการแสดงละครเรื่อง เลือดสุพรรณ ประกอบการบรรเลงและขับร้องเพลงไทย และเพลงไทยสากล โดยวงดุริยางค์ไทย และวงดุริยางค์สากล สำนักการสังคีต ในวันเสาร์ที่ 6 กรกฎาคม 2567 เวลา 18.00 น. ณ โรงละครแห่งชาติภาคตะวันตก จังหวัดสุพรรณบุรี นำแสดงโดยนาฏศิลปินรุ่นใหม่ อาทิ ปริญเมศร์ จูไหล รับบท มังราย นงลักษณ์ กลีบศรี รับบทดวงจันทร์ วัชรวัน ธนะพัฒน์ รับบทมังมหาสุรนาท กำกับการแสดงโดย ปกรณ์  พรพิสุทธิ์ อำนวยการแสดงโดย ลสิต อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสำนักการสังคีต  บัตรราคา 80 บาท 60 บาท สอบถามรายละเอียดการจองบัตรได้ที่โรงละครแห่งชาติภาคตะวันตก จังหวัดสุพรรณบุรี โทร. 0 3553 5114 , 0 3553 5116 (วันและเวลาราชการ) เฟสบุ๊ก เพจ โรงละครแห่งชาติภาคตะวันตก จังหวัดสุพรรณบุรี 


ชื่อเรื่อง                               พื้นเมืองศรีอยุธยา (พื้นเมืองสีอโยธิยา)สพ.บ.                                 480/1 ประเภทวัสดุมีเดีย                   คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                              พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                          40 หน้า กว้าง 5 ซม. ยาว 58 ซม.หัวเรื่อง                                พุทธศาสนา                                           บทคัดย่อ/บันทึก          เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับลานดิบ ไม่มีไม้ประกับ  ได้รับบริจาคมาจากวัดด่านช้าง ต.ด่านช้าง อ.ด่านช้าง จ.สุพรรณบุรี


              นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร เปิดเผยว่า กรมศิลปากร โดยสำนักศิลปากรที่ 10 นครราชสีมา ปรับปรุงพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิมาย ทั้งด้านข้อมูลการจัดนิทรรศการ เทคนิคและรูปแบบการนำเสนอเพื่อให้มีความน่าสนใจและดึงดูดผู้ชมให้เข้ามาศึกษาเรียนรู้มรดกทางศิลปวัฒนธรรมเพิ่มมากขึ้น ขณะนี้ส่วนจัดแสดงนิทรรศการชั้นล่างแล้วเสร็จ โดยมีไฮไลท์อยู่ที่การจัดแสดงทับหลังจากปราสาทพิมายและประติมากรรมพระเจ้าชัยวรมันที่ 7                พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิมาย จัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑ์เพื่อบริการผู้เข้าชมตามแนวทางการจัดแสดงพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เมื่อปี 2536 จัดแสดงเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ และความเป็นมาของเมืองพิมาย ตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์จนถึงปัจจุบัน กรมศิลปากรจึงได้พัฒนาและเพิ่มศักยภาพพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิมาย เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ด้านประวัติศาสตร์ โบราณคดี ซึ่งมีการศึกษาทางโบราณคดีและพบหลักฐานโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ เพิ่มมากขึ้น อีกทั้งเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการพัฒนาและสร้างสรรค์แหล่งเรียนรู้ทางศิลปวัฒนธรรมของชาติ ในฐานะแหล่งเรียนรู้และแหล่งท่องเที่ยวด้านศิลปวัฒนธรรมที่สำคัญในระดับภูมิภาคอีสานตอนล่าง โดยดำเนินการมาตั้งแต่เดือนตุลาคม 2565                นิทรรศการถาวรในอาคารจัดแสดงที่ 1 (ชั้นล่าง) ที่ปรับปรุงแล้วเสร็จ และเปิดให้เข้าชมแบบ soft opening ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2567 ประกอบด้วย               “ก่อร่างสร้างปราสาท พิมาย” บอกเล่าเรื่องราวปราสาทพิมาย ตั้งแต่ที่มาของชื่อ "พิมาย" และการก่อสร้างปราสาทพิมาย ไม่ว่าจะเป็นวัสดุ เครื่องมือ วิธีการ รวมถึงความเชื่อและพิธีกรรมในการก่อสร้าง             “หลักฐานคนพิมาย” จัดแสดงหลักฐานที่บอกเล่าวิถีชีวิตของผู้คนในสมัยโบราณ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องประดับและเครื่องแต่งกาย ภาชนะดินเผา เครื่องมือเครื่องใช้ เครื่องไทยธรรม และพาหนะในการเดินทาง              “ศาสนาในเมืองพิมาย” เมืองพิมาย เป็นศูนย์กลางสําคัญของศาสนาพุทธลัทธิมหายาน นิกายวัชรยาน ที่สําคัญในช่วงพุทธศตวรรษที่ 17 เป็นต้นมา (ประมาณ 900 ปีมาแล้ว) นอกจากปราสาทพิมาย ยังปรากฏวัตถุเนื่องในพุทธศาสนาที่สะท้อนถึงความรุ่งเรืองของพุทธศาสนาเป็นจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม เมืองพิมายยังพบการเคารพนับถือศาสนาฮินดูควบคู่กันไปด้วย             “เมืองพิมาย สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7” พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 กษัตริย์ผู้ทรงสืบเชื้อสายมาจากราชวงศ์มหิธรปุระ ในรัชสมัยของพระองค์ เมืองพิมายมีนามว่า วิมายปุระ เป็นเมืองสำคัญยิ่งแห่งหนึ่งและเจริญรุ่งเรืองมากในขณะนั้น มีการสร้างประตูเมืองพิมายขึ้นทั้ง 4 ด้าน และโปรดให้สร้าง สถานพยาบาล (อาโรคยศาลา) ขึ้นที่เมืองพิมาย และสร้างที่พักคนเดินทาง (วหนิคฤหะ - บ้านมีไฟ) ตามถนนสายหลัก ที่ตัดจากเมืองพระนครหลวงมายังพิมายด้วย              “เมืองพิมาย หลังพุทธศตวรรษที่ 18” เมื่อสิ้นสุดรัชสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 อิทธิพลทางการเมืองของอาณาจักรเขมรโบราณเริ่มเสื่อมลง เป็นผลให้อาณาจักรอยุธยาขยายอํานาจเข้าสู่บ้านเมืองในบริเวณลุ่มแม่น้ำมูลตอนบน ดังพบหลักฐานรูปเคารพสมัยอยุธยาที่ถูกนําเข้าไปประดิษฐานภายในปราสาทเขมรโบราณ เช่น ปราสาทพนมวัน ปราสาทพิมาย รวมถึงการพบโบราณสถานสมัยอยุธยาในเมืองพิมาย เช่น อุโบสถวัดเจ้าพิมาย และเมรุพรหมทัต              “ลวดลายจําหลัก : ศิลปะแห่งเมืองพิมาย” ห้องจัดแสดงไฮไลท์ของพิพิธภัณฑ์ จัดแสดงทับหลังจากปราสาทพิมายและประติมากรรมพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 และประติมากรรมรูปสตรีที่สันนิษฐานว่าเป็นพระนางศรีชัยราชเทวี มเหสีองค์แรกของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7             สำหรับอาคารจัดแสดงชั้นบน ปิดให้บริการ เนื่องจากอยู่ในระหว่างการจัดเตรียมพื้นที่เพื่อปรับปรุงนิทรรศการ โดยพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิมาย มีแผนการดำเนินงานปรับปรุงต่อไปในปีงบประมาณ 2568               ขอเชิญร่วมชมและสัมผัสประสบการณ์ใหม่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิมาย ตําบลในเมือง อําเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา เฉพาะส่วนจัดแสดงชั้นล่างที่ปรับปรุงเรียบร้อยแล้ว และส่วนอาคารศิลาจำหลัก จัดแสดงโบราณวัตถุซึ่งเป็นส่วนประกอบสถาปัตยกรรมหินทรายที่พบจากโบราณสถานในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง โดยไม่เสียค่าธรรมเนียมเข้าชม วันพุธ – อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลา 09.00 - 16.00 น. 


Messenger