ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,418 รายการ




***บรรณานุกรม*** หนังสือหายาก กรมหมื่นนราธิปประพันธ์พงศ์.  พระราชพงศาวดารพม่า เล่ม ๙ พ.ศ. ๒๔๕๗.  ม.ป.พ., ๒๔๕๗.


หมวดหมู่                        พุทธศาสนาภาษา                            บาลีหัวเรื่อง                          พุทธศาสนา                                    พระไตรปิฏกประเภทวัสดุ/มีเดีย            คัมภีร์ใบลานลักษณะวัสดุ                    กว้าง 5.5 ซม. ยาว 56 ซม.; 18 หน้า บทคัดย่อ                      เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับลานดิบ ได้รับบริจาคมาจากพระอธิการเด่น ปญฺญาทีโป วัดคิรีรัตนาราม  ต.ดอนคา อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี ดำเนินการอนุรักษ์เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2534    



           เนื่องในวันที่ ๒๑ เมษายน ๒๕๖๓ ที่ผ่านมา ถือเป็นวันครบรอบ ๒๓๘ ปี แห่งการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ แม้การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-๑๙) จะทำให้รัฐบาลต้องประกาศงดเว้นกิจกรรมทางสังคม เพื่อป้องกันและยับยั้งการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-๑๙) กระทรวงวัฒนธรรมจึงได้จัดทำเว็บไซต์ www.รัตนโกสินทร์.com เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ เรื่องราวประวัติความเป็นมาของกรุงรัตนโกสินทร์ในอดีต ภายใต้หัวข้อ “ใต้ร่มพระบารมี ๒๓๘ ปี กรุงรัตนโกสินทร์ : ราชอารยรัฐ รัตนโกสินทร์ รัฐอันเจริญรุ่งเรืองมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข” ให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลออนไลน์ได้ง่ายขึ้นและถือเป็นการปฏิบัติตามมาตรการของรัฐบาลอีกด้วย  แต่หากย้อนไปในอดีต เมื่อพ.ศ. ๒๕๒๕ ในวาระครบรอบ ๒๐๐ ปี แห่งการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการจัดงานสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ ๒๐๐ ปี เพื่อดำเนินงานและแต่งตั้งให้ พลเอก เปรม  ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี ดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการฯ เพื่อจัดกิจกรรมสืบเนื่องตลอดทั้งปีมหามงคลนั้น จัดขึ้นทั้งในกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัด โดยเฉพาะในช่วงเวลาระหว่างวันที่ ๔-๒๑ เมษายน ๒๕๒๕ มีการจัดกิจกรรมด้านพระราชพิธีและงานสมโภชน์ต่าง ๆ อาทิ พระราชพิธีบวงสรวงบูรพมหากษัตริยาธิราชเจ้า พระราชพิธียกช่อฟ้าพระอุโบสถฉลองวัดพระศรีรัตนศาสดาราม พระราชพิธีบวงสรวงพระสยามเทวาธิราช พระราชพิธีสมโภชหลักเมือง พระราชพิธีสมโภชสิริราชสมบัติ ฉัตรมงคล การเฉลิมฉลองงานสมโภชน์ การตกแต่งประทีปโคมไฟตามสถานที่ต่าง ๆ การก่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ แก่ประชาชนทั่วประเทศ การบูรณะปฏิสังขรณ์พระอารามสำคัญในกรุงรัตนโกสินทร์ รวมถึงการสร้างอนุสรณ์สถานและสิ่งของที่ระลึกประกอบในงานสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ ๒๐๐ ปี ดังที่ปรากฏข้อมูลรายละเอียดในหนังสือจดหมายเหตุงานสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ ๒๐๐ ปี           ส่วนเอกสารจดหมายเหตุที่จัดเก็บอยู่ในหอจดหมายเหตุนายกรัฐมนตรี พลเอก เปรม  ติณสูลานนท์ ในช่วงระหว่างงานสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ ๒๐๐ ปี ประกอบด้วย เอกสารจดหมายเหตุ  ชุดที่ ๑ ภาพถ่ายจากกองงานโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ขณะพลเอก เปรม  ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี ร่วมชมพิธีการซักซ้อมกระบวนพยุหยาตราชลมารค ตามหมายกำหนดการแรกในพระราชพิธีบวงสรวงสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราชเจ้า พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง พร้อมด้วย พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จะเสด็จประทับที่เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ และ โปรดเกล้าฯ ให้จัดเรือพระที่นั่งอนันตนาคราช เป็นเรือเชิญพระชัย (หลังช้าง) และเป็นเรือนำไปในกระบวน แต่จากภาพที่ ๒ พบว่าภาพเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ ล่องนำเรือพระที่นั่งอนันตนาคราช จึงสันนิษฐานได้ว่าน่าจะเป็นภาพขณะทำพิธีการซักซ้อม ก่อนวันพระราชพิธีในวันที่ ๕ เมษายน ๒๕๒๕   ภาพที่ ๑ เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ ล่องผ่านบริเวณด้านหน้าพระปรางค์ วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร เมื่อวันที่ ๑ เมษายน ๒๕๒๕    (รหัสภาพ นรม ๑.๑.๑.๓/๗๑ (๑))ภาพที่ ๒ เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ และตามด้วยเรือพระที่นั่งอนันตนาคราช ล่องผ่านบริเวณด้านหน้าพระปรางค์ วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร เมื่อวันที่ ๑ เมษายน ๒๕๒๕ (รหัสภาพ นรม ๑.๑.๑.๓/๗๑ (๓))           เอกสารจดหมายเหตุชุดที่ ๒ ภาพถ่าย ขณะพลเอก เปรม  ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีเจิมศิลาฤกษ์สถานศึกษาในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งพิธีการดังกล่าวสืบเนื่องมาจากโครงการจัดตั้งโรงเรียนมัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานคร โดยกระทรวงศึกษาธิการเพื่อเป็นอนุสรณ์ในการสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ ๒๐๐ ปี จำนวน ๔ โรงเรียน ใน ๔ ทิศ ได้แก่ ด้านทิศใต้ โรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบางขุนเทียนวิทยา ด้านทิศตะวันตก โรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบวรนิเวศศาลายา ส่วนทิศตะวันออกและทิศเหนือจัดสร้างใหม่ ในปัจจุบันคือโรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชลาดกระบังและโรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภช เขตจตุจักร ภาพที่ ๓ พลเอก เปรม  ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี ขณะเจิมศิลาฤกษ์สถานศึกษาในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ และ นายสิปปนนท์ เกตุทัต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อวันที่ ๒๐ เมษายน ๒๕๒๕ (รหัสภาพ นรม ๑.๑.๑.๓/๗๔ (๑)) ภาพที่ ๔ พลเอก เปรม  ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี ขณะโปรยข้าวตอกลงบนแผ่นศิลาฤกษ์ ในพิธีเจิมศิลาฤกษ์สถานศึกษาในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อวันที่ ๒๐ เมษายน ๒๕๒๕(รหัสภาพ นรม ๑.๑.๑.๓/๗๔ (๒))           การจัดสร้างอนุสรณ์สถานดังกล่าวนอกจากจะเป็นสัญลักษณ์ที่แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของงานสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ ๒๐๐ ปี ยังเป็นการตอบสนองต่อนโยบายของรัฐบาลในการพัฒนาด้านการศึกษาของประชาชน ดังคำกล่าวของ พลเอก เปรม  ติณสูลานนท์ ในพิธีเจิมศิลาฤกษ์สถานศึกษาในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อวันที่ ๒๐ เมษายน ๒๕๒๕ [1] ไว้ว่า                     “รัฐบาลนี้ตระหนักเป็นอย่างยิ่งว่า การจัดการศึกษาเป็นปัจจัยพื้นฐานอันสำคัญยิ่งในการ  พัฒนาคุณภาพของประชากรของประเทศ และได้มีนโยบายอันแน่วแน่ที่จะสนับสนุนให้มีการปรับปรุงทั้งด้านคุณภาพของการจัดการศึกษาทุกระดับให้มีประสิทธิภาพสูงยิ่งขึ้น รวมทั้งด้านการขยายปริมาณของสถานศึกษาให้เพียงพอที่จะให้โอกาสทางการศึกษาแก่กุลบุตรกุลธิดาอย่างกว้างขว้าง                     การที่กระทรวงศึกษาธิการมีโครงการจัดตั้งโรงเรียนมัธยมศึกษา ๔ มุมเมือง เพื่อเป็นถาวรวัตถุเป็นอนุสรณ์ในวโรกาสงานเฉลิมฉลองสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ ๒๐๐ ปีนี้ จึงนับว่าเป็นโครงการที่น่าชื่นชมเป็นอย่างยิ่ง เพราะการตั้งสถานศึกษาเพิ่มขึ้น ย่อมเป็นการขยายโอกาสให้ เยาวชนของชาติได้รับการศึกษามากขึ้น อันจะเป็นผลให้ผู้มีความรู้ ความสามารถ เป็นประชากร  ที่มีคุณภาพที่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาประเทศชาติของเรา และนับเป็นการสนองพระมหากรุณาธิคุณแห่งองค์สมเด็จพระบูรพมหากษัตริย์เจ้าแห่งพระบรมราชจักรีวงค์ทุกพระองค์ที่ได้โปรดให้พสกนิกรชาวไทย ได้รับการศึกษาเล่าเรียน ให้มีวิทยาการตามแบบอย่างนานา   อารยประเทศ อันส่งผลให้เกิดความจำเริญรุ่งเรืองแก่ประเทศชาติมาตราบเท่าทุกวันนี้                     ผมขอขอบคุณทุกท่านที่ได้มีส่วนสนับสนุนช่วยเหลือให้โครงการจัดตั้งโรงเรียนมัธยมศึกษา ๔ มุมเมือง ของกระทรวงศึกษาธิการสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี และขออำนวยพรให้โรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภช ทั้ง ๔ โรงเรียน จงเจริญรุ่งเรืองวัฒนาสถาวร เป็นสถานศึกษาที่ให้ความรู้อันประดุจประทีปส่องทางชีวิตให้แก่กุลบุตรกุลธิดา อันเป็นความหวังและอนาคตของประเทศชาติของเราตลอดไป”                       เรียบเรียงโดย นางสาวพัชราภรณ์  สุวรรณะ นักจดหมายเหตุปฏิบัติการ   เอกสารอ้างอิง            หอจดหมายเหตุนายกรัฐมนตรี พลเอก เปรม  ติณสูลานนท์. นรม ๑.๑.๕.๑/๒๔๘ คำกล่าวของ ฯพณฯ    พลเอก เปรม   ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี เนื่องในพิธีสมโภชศิลาฤกษ์ โรงเรียน ๔ มุมเมือง ตามโครงการสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ ๒๐๐ ปี ของกระทรวงศึกษาธิการ ณ บริเวณกระทรวงศึกษาธิการ (๒๐ เม.ย. ๒๕๒๕)           หอจดหมายเหตุนายกรัฐมนตรี. นรม ๑.๑.๑.๓/๗๑ ภาพกองงานโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ภาพพลเอก เปรม  ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี ชมการซ้อมงานสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ ที่บริเวณท้องสนามหลวง           หอจดหมายเหตุนายกรัฐมนตรี. นรม ๑.๑.๑.๓/๗๔ ภาพกองงานโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ภาพ พลเอก เปรม  ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีเจิมศิลาฤกษ์สถานศึกษาในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ           หอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร.  (๒๕๔๕). จดหมายเหตุงานสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ ๒๐๐ ปี.  กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร.                [1] หอจดหมายเหตุนายกรัฐมนตรี พลเอก เปรม  ติณสูลานนท์. นรม ๑.๑.๕.๑/๒๔๘ คำกล่าวของ ฯพณฯ พลเอก เปรม   ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี เนื่องในพิธีสมโภชศิลาฤกษ์ โรงเรียน ๔ มุมเมือง ตามโครงการสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ ๒๐๐ ปี ของกระทรวงศึกษาธิการ ณ บริเวณกระทรวงศึกษาธิการ (๒๐ เม.ย. ๒๕๒๕)


เลขทะเบียน : นพ.บ.6/5ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  50 หน้า  ; 4.5 x 56 ซ.ม. : ทองทึบ ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 4 (33-46) ผูก 5หัวเรื่อง : อาทิกมฺมวณฺณนา--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม



เลขทะเบียน : นพ.บ.51/6ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  62 หน้า ; 4 x 55 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 32 (331-336) ผูก 6หัวเรื่อง :  วินกิจฺจ (บาลีวินัยกิจ) --เอกสารโบราณ             คัมภีร์ใบลาน             พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


     ชื่อเรื่อง : รายการตำรับยาแผนไทยแห่งชาติ ฉบับพุทธศักราช ๒๕๖๑ = National Thai Traditional Medicine                          Formulary (2018 edition)      ผู้เขียน : สถาบันการแพทย์แผนไทย      สำนักพิมพ์ : กระทรวงสาธารณสุข      ปีพิมพ์ : ๒๕๖๑      เลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ : ๙๗๘-๖๑๖-๑๑-๓๗๑๔-๔      เลขเรียกหนังสือ : ๖๑๕.๓๒๑ ก๔๙๕ร      ประเภทหนังสือ : หนังสือทั่วไป      ห้องบริการ : ห้องหนังสือทั่วไป ๑ สาระสังเขป : การแพทย์แผนไทยและสมุนไพรได้รับการฟื้นฟูและส่งเสริมให้เข้ามามีบทบาทในการดูแลสุขภาพของประชาชนคนไทยในระบบสาธารณสุขอย่างต่อเนื่อง โดยการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ผสมผสานได้เข้าเป็นส่วนหนึ่งของระบบบริการสุขภาพของกระทรวงสาธารณสุขตั้งแต่ปลายปี พ.ศ. ๒๕๕๘ ทำให้ปัจจุบันประชาชนสามารถเข้าถึงบริการการแพทย์แผนไทยและยาสมุนไพรได้อย่างทั่วถึงมากขึ้น "รายการตำรับยาแผนไทยแห่งชาติ ฉบับพุทธศักราช ๒๕๖๑ เป็นเอกสารทางการที่ได้รวบรวมตำรับยาแผนไทยจากแหล่งสำคัญ ๔ แหล่ง ได้แก่ ตำรับยาจากตำราการแพทย์แผนไทย ตำรับยาเกร็ดที่ผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยยังนิยมใช้ปรุงยาให้แก่ผู้ป่วย ตำรับยาจากบัญชียาสมุนไพรในบัญชีหลักแห่งชาติ และประกาศยาสามัญประจำบ้านแผนโบราณ โดยเนื้อหาประกอบด้วยตำรับยากว่า ๑๐๐ ตำรับ เช่น ยาแก้ซางเพลิง ยาแก้ลมปัตฆาต ยาแก้ไอผสมตรีผลา ยาถ่ายดีเกลือฝรั่ง ยาน้ำมันแก้แผลเปื่อย ยาประสะกานพลู ยาปลูกธาตุไฟ ยามหานิลแท่งทอง ยาริดสีดวงมหากาฬ  ยาเลือดงาม ยาสตรีหลังคลอด ยาหอมนวโกฐ  ยาห้าราก ยาเหลืองปิดสมุทร ยาอำมฤควาที เป็นต้น สำหรับ ๖ กลุ่มโรคหรือกลุ่มอาการ ได้แก่ กลุ่มโรคโลหิตระดูสตรี กลุ่มโรคเด็ก  กลุ่มโรคลม กลุ่มไข้ กลุ่มอาการของระบบทางเดินหายใจ และกลุ่มอาการทางระบบทางเดินอาหาร โดยตำรับยาแต่ละตำรับจะประกอบด้วยรายละเอียดของชื่อตำรับยา ชื่ออื่น ที่มาของตำรับยา สูตรตำรับยา สรรพคุณ รูปแบบยา ขนาดและวิธีใช้ ข้อห้ามใช้ คำเตือน ข้อควรระวัง ข้อมูลเพิ่มเติม และเอกสารอ้างอิง อีกทั้งยังมีข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับยาต่างๆ ที่ใช้ในตำรับยาทั้ง ๑๐๐ ตำรับ ได้แก่ (๑) เภสัชวัตถุ เป็นการรวามตัวยาหรือเภสัชวัตถุทั้งพืช สัตว์และธาตุทั้งหมดที่เป็นส่วนประกอบ ซึ่งให้ข้อมูลของชื่อไทย ส่วนที่ใช้ ชื่อละติน และชื่อวิทยาศาสตร์ (๒) การเตรียมตัวยาก่อนใช้ปรุงยา เป็นการประสะ สะตุ หรือกระบวนการฆ่าเชื้อของตัวยาบางชนิดก่อนนำไปใช้เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค (๓) วิธีการปรุงยา เป็นการเตรียมปรุงยาและอธิบายขั้นตอนการผลิตยาของรูปแบบยา ๒ ประเภท คือ รูปแบบยาเตรียมประเภทของเหลว ได้แก่ ยาต้ม ทั้งการต้มเดือด ต้มเคี่ยว และต้มสามเอาหนึ่ง และ รูปแบบยาเตรียมประเภทของแข็ง ได้แก่ ยาผง ยาแคปซูล ยาเม็ดแบบพิมพ์ด้วยมือ ยาเม็ดแบบใช้เครื่องตอกยาเม็ดหรือยาเม็ดตอกอัด และยาลูกกลอน (๔) อภิธานศัพท์ เป็นบัญชีคำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับการแพทย์แผนไทย เพื่อช่วยให้ผู้อ่านได้ศึกษาเพิ่มเติมและทำความเข้าใจคำศัพท์ที่ใช้ได้ง่ายขึ้น (๕) สมุฏฐานของโรคและอาการ เป็นรายละเอียดเกี่ยวกับสมุฏฐานการเกิดโรคและอาการ ชนิดของโรค อาการของแต่ละกลุ่ม ประเภทของยาสำหรับบำบัด เพื่อเป็นพื้นฐานความรู้ในการปรุงยาและใช้ยาให้เหมาะกับโรคหรืออาการของผู้ป่วย ซึ่งรายการตำรับยาแผนไทยแห่งชาตินี้มุ่งหมายเพื่อให้ความรู้แก่แพทย์แผนไทยและนักศึกษาแพทย์แผนไทยที่สนใจเกี่ยวกับที่มาของตำรับยาแผนไทย สามารถนำไปใช้ปรุงยา และจ่ายยาให้แก่ผู้ป่วยได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัย รวมทั้งนำไปใช้เป็นรายการยาในระบบบริการสุขภาพของประเทศ การประกอบวิชาชีพและการเรียนการสอนด้านการแพทย์และเภสัชกรรมแผนไทย การผลิตยาแผนไทยในระดับอุตสาหกรรม และในสถานบริการสุขภาพ ซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่ผู้ประกอบวิชาชีพด้านการแพทย์ แผนไทย บุคลากรด้านการแพทย์แผนไทยและสาธารณสุขต่อไป      



 ชื่อผู้แต่ง        พระบาทสมเด็จพระงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวชื่อเรื่อง          บทละครสังคีต เรื่อง วั่งตี่ครั้งที่พิมพ์      พิมพ์ครั้งที่ ๒สถานที่พิมพ์   พระนครสำนักพิมพ์      กรุงเทพฯ การพิมพ์ปีที่พิมพ์          ๒๕๐๙จำนวนหน้า      ๑๐๒ หน้าหมายเหตุ       พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพนางลุ้ย อัมพรภักดิ์                      บทละครสังคีต เรื่อง วั่งตี่ พระราชนิพนธ์ โดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จากเค้าโคลงเรื่อง “มิคาโด”ของ     นาย ว.ส. คิวเปิต (W.S.Gilpert) เป็นบทละครสั้นตลกขบขันและเสียดสีความประพฤติของขุนนางที่อยู่ห่างไกล


1. เวทย์มนต์คาถา เช่น เสกลมใส่ผู้หญิง, เสกขี้ผึ้งสีปาก, หัวใจลม, หัวใจราชสีห์, เสกยาเป่า ฯลฯ 2. รูปยันต์ต่างๆ อักษรขอม ภาษบาลี เช่น ยันต์แคล้วคลาดสารพัด, ยันต์ลงอ่างอาบน้ำเด็ก, ยันต์ใส่ถุงเงิน ฯลฯ 3. เวทย์มนต์คาถา อักษรขอม ภาษบาลี เช่น คาถาจังงัง, เสกน้ำกิน แก้ร้อน ฯลฯ 4. ตำรายาเกร็ด เช่น ยาเกี่ยวกับการตั้งครรภ์, ยาเลือด, ยารักษาเด็กในแต่ละวัย, ยาต้มแก้โกลัง, ยาต้มขับแสนกลอน, ยาลมจุกเสียด ฯลฯ


ชื่อผู้แต่ง        ธนิต  อยู่โพธิ์ชื่อเรื่อง          เครื่องดนตรีไทยและตำนานการประสมวงมโหรี ปี่พาทย์ และเครื่องสายพิมพ์ครั้งที่      ๗สถานที่พิมพ์    กรุงเทพฯสำนักพิมพ์      อักษรธเนศวรปีที่พิมพ์         ๒๕๓๓          จำนวนหน้า     ๑o๘   หน้าหมายเหตุ       พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ                                 นางลออ มโนพัฒนะ                        เนื่องด้วยเรื่องเครื่องดนตรีไทยนี้  นายธนิต อยู่โพธิ์  เรียบเรียงขึ้นครั้งดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมศิลปากร  ได้ค้นคว้ารวบรวมข้อมูลจากหนังสือและตำราต่างๆ  โดยเฉพาะอย่างยิ่งได้สอบถามความรู้จากข้าราชการศิลปินหลายท่านในกรมศิลปากร อาทิ นายถีร์  ปี่เพราะ   นายเทียบ  คงลายทอง และ นายมนตรี  ตราโมท  กรมศิลปากรได้จัดพิมพ์เผยแพร่ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๕oo  ปรากฏว่าได้รับความสนใจจานิสิต  นักศึกษาและ ประชาชน ตลอดจนนักวิชาการด้านดนตรีไทย จึงนำจัดพิมพ์เป็นที่ระลึกในงานงานฌาปนกิจศพ นางลออ มโนพัฒนะ


Messenger