ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,413 รายการ


"....โนนหนองกราด : แหล่งผลิต เกลือสินเธาว์โบราณ ยุคก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย กับ ปริศนา ? โครงกระดูกช้าง พบใหม่! แห่ง อำเภอด่านขุนทด..." “เกลือสินเธาว์” เป็นทรัพยากรแร่ที่สำคัญของมนุษย์มาตั้งเเต่โบราณ ผลจากการศึกษาทางโบราณคดี พบว่า มนุษย์เรียนรู้ที่จะผลิตเกลือสินเธาว์มาใช้ประโยชน์เพื่อการบริโภค ถนอมอาหาร ชุบแข็งโลหะ ฯ มาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ สมัยเหล็ก หรือราว 2,500-1,500 ปีมาแล้ว โดยพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา พบแหล่งทรัพยากรแร่ ประเภทเกลือหิน ทั้งที่มีลักษณะเป็น โดมเกลือและอ่างเกลือ ใต้ดิน คิดเป็นร้อยละ 27 ของพื้นที่ทั้งหมด หรือกว่า 7,016.33 ตารางกิโลเมตร (หากนึกไม่ออกว่ากว้างใหญ่ขนาดไหน ก็ให้นึกถึงขนาดของจังหวัดสระแก้วหรือขนาดใหญ่เกือบ 5 เท่าของกรุงเทพมหานคร ครับ) โดยแร่ประเภทเกลือหินมีขอบเขตทรัพยากรอยู่ทางด้านทิศเหนือของจังหวัดนครราชสีมา ครอบคลุมพื้นที่กว่า 10 อำเภอ . #โนนหนองกราด ตั้งอยู่ บ้านหนองกราด หมู่ที่ 3 ตำบลหนองกราด อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา (ปัจจุบันอยู่ในความครอบครองของเอกชน) ภูมิประเทศเป็นโนนสูง มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 175 เมตร เป็นแหล่งโบราณคดี ประเภทแหล่งผลิตเกลือสินเธาว์ อีกแห่งหนึ่ง ซึ่งเกิดขึ้นจากการใช้พื้นที่เป็นที่ทิ้งดินภายหลังกระบวนการกรองน้ำเกลือออกแล้ว ในช่วงเวลานั้น คงเป็นเนินดินขนาดย่อมที่เกิดขึ้น รอบ ๆ พื้นที่กรองน้ำเกลือ และเมื่อเวลาผ่านไป เนินดินเหล่านี้ คงเชื่อมตัวและพอกพูนกลายเป็นเนินดินขนาดใหญ่ ทั้งนี้ เมื่อสำรวจบริเวณโนน ยังพบชิ้นส่วนภาชนะดินเผาเนื้อดินธรรมดา ตกแต่งด้วยวิธีการกดประทับลายเชือกทาบ และวิธีการทาน้ำดินสีแดง กระจายตัวเป็นจำนวนมาก เบื้องต้น กำหนดอายุสมัย โนนหนองกราด ให้มีอายุอยู่ในยุคก่อนประวัติศาสตร์สมัยเหล็ก หรือราว 2,500-1,500 ปีมาแล้ว เนื่องจากช่วงเวลาดังกล่าวมนุษย์เริ่มผลิตเกลือสินเธาว์ได้แล้ว ดังปรากฏให้เห็นจากแหล่งโบราณคดีประเภทเดียวกันที่กระจายในเขตพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา เเละใกล้เคียง . #ความพิเศษ ของ โนนหนองกราด มิได้จบแค่การเป็น แหล่งผลิตเกลือสินเธาว์โบราณ เท่านั้น แต่เมื่อวันที่ 24 มกราคม ที่ผ่านมานี้ได้พบ #โครงกระดูกช้าง ถูกฝังอยู่บนโนนลาดลงมาทางทิศใต้ ซึ่งเป็นการพบโดยบังเิญจากการปรับพื้นที่เพื่ออยู่อาศัย โครงกระดูกช้าง ดังกล่าว พบที่ระดับความลึกจากผิวดินเดิมประมาณ 2 เมตร ลักษณะที่พบ สันนิษฐานว่า ช้างตัวนี้ถูกขุดหลุมฝังโดยมนุษย์ เพราะปรากฏรูปโครงชัดเจน และผลการวิเคราะห์เบื้องต้น พบว่า ช้างตัวดังกล่าวเป็นช้างสายพันธุ์เอเชียหรือสายพันธุ์ปัจจุบัน และมีอายุเมื่อตายอยู่ในช่วง 10-20 ปี ทั้งนี้ การกำหนดอายุสมัยของช้างตัวนี้ ยังเป็นข้อจำกัด เนื่องจากหลักฐานที่ปรากฏบนผิวดินมีไม่เพียงพอ จึงไม่สามารถตอบได้ชัดเจนว่า โครงกระดูกช้าง ดังกล่าว มีอายุเท่าใด เเละร่วมสมัยกับแหล่งโบราณคดีหรือไม่ ในอนาคตหากมีการขุดค้นทางโบราณคดีอย่างเป็นระบบคงช่วยให้เราตอบคำถามต่างๆ ได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น เรียบเรียงนำเสนอโดย นายวรรณพงษ์ ปาละกะวงษ์ ณ อยุธยา นักโบราณคดีปฏิบัติการ กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ 10 นครราชสีมา


           วันเสาร์ที่ ๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๕ เวลา ๑๔.๓๐ น. นายกิตติพันธ์ พานสุวรรณ อธิบดีกรมศิลปากร เป็นประธานในพิธีเปิดการเสวนาทางวิชาการ เรื่อง “เครื่องปั้นดินเผาจากแหล่งเตาบุรีรัมย์ที่ดีที่สุดในประเทศไทย” อันเป็นส่วนหนึ่งของเนื้อหานิทรรศการในห้องลพบุรี ภายในอาคารมหาสุรสิงหนาท พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร          เนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย พุทธศักราช ๒๕๖๕ กรมศิลปากร โดยสำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จัดการเสวนาทางวิชาการ เรื่อง “เครื่องปั้นดินเผาจากแหล่งเตาบุรีรัมย์ที่ดีที่สุดในประเทศไทย” มุ่งเน้นในการขยายองค์ความรู้จากคอลเล็กชั่นที่กรมศิลปากรได้รับมอบจาก นายโยธิน ธาราหิรัญโชติ ซึ่งถือได้ว่าเป็นคอลเล็กชั่น ที่มีความสมบูรณ์และสวยงามมากที่สุดในประเทศไทย และเป็นของสะสมของนายโยธิน ธาราหิรัญโชติ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ก่อตั้งบริษัท บีเอสวาย กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ผู้มีความสนใจในการศึกษาเครื่องปั้นดินเผาสมัยลพบุรีมาอย่างยาวนาน ความสำคัญอีกประการหนึ่งคือการที่คุณโยธินมีความประสงค์มอบเครื่องปั้นดินเผาสมัยลพบุรี จำนวน ๑๖๔ รายการ ให้กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม เพื่อเก็บรักษาไว้เป็นสมบัติของชาติ           การเสวนาครั้งนี้ ได้รับเกียรติจากนายโยธิน ธาราหิรัญโชติ ผู้ศึกษารวบรวมเครื่องปั้นดินเผาสมัย ลพบุรีที่ผลิตจากแหล่งเตาบุรีรัมย์ และนายปริวรรต ธรรมปรีชากร นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญเรื่องเครื่องปั้นดินเผาจีนและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ร่วมเสวนา ทั้งนี้ กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมศิลปากร ในฐานะคณะกรรมการติดตามโบราณวัตถุของไทยในต่างประเทศกลับคืนสู่ประเทศไทย จะได้เรียนเชิญพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มาเป็นประธานในพิธีรับมอบเครื่องปั้นดินเผาจากแหล่งเตาบุรีรัมย์ จากนายโยธิน ธาราหิรัญโชติ อย่างเป็นทางการต่อไป


เรื่อง “วันวิสาขบูชา” วันสำคัญทางพระพุทธศาสนาในเดือนพฤษภาคมนี้ คือ วันวิสาขบูชา ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ในปี พ.ศ.2565 ตรงกับวันอาทิตย์ที่ 15 พฤษภาคม 2565 วันวิสาขบูชา เป็นวันที่แสดงความเคารพต่อพระพุทธเจ้า ซึ่งมีชื่อเต็มว่า “วิสาขปุรณมีบูชา” แปลว่า การบูชาพระในวันเพ็ญเดือน 6 ในวันนี้ตรงกับวันประสูติ ตรัสรู้ และเสด็จดับขันธปรินิพพานของพระพุทธเจ้า ที่เวียนมาบรรจบในวันและเดือนเดียวกัน คือวันเพ็ญเดือนวิสาขะ หลักธรรมสำคัญในวันวิสาขบูชาอันเกี่ยวเนื่องจากการประสูติ ตรัสรู้ และเสด็จดับขันธปรินิพพาน คือ ความกตัญญู อริยสัจ 4 และความไม่ประมาท ความกตัญญู คือ รู้บุญคุณ คู่กับความกตเวที คือตอบอทนผู้มีพระคุณ อริยสัจ 4 คือ ความจริงอันประเสริฐ หมายถึง ความจริงที่ไม่ผันแปร เกิดมีขึ้นได้แก่ทุกคนมี 4 ประการ คือ ทุกข์ (ปัญหาของชีวิต) สมุทัย (เหตุแห่งปัญหา) นิโรธ (การแก้ปัญหาได้) มรรค (ทางหรือวิธีแก้ปัญหา มรรคมีองค์ ส่วนความไม่ประมาท คือ การมีสติทั้งขณะทำ ขณะพูดและขณะคิด สติ คือการระลึกรู้ทันที่คิด พูดและทำ กล่าวคือ ระลึกรู้ทันทั้งในขณะ ยืน เดิน นั่ง นอน รวมทั้งระลึกรู้ทันในขณะพูดขณะคิด และขณะทำงานต่างๆ พระพุทธเจ้าประสูติ ณ สวนลุมพินีวัน อยู่ระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์กับกรุงเทวทหะ แคว้นสักกะ (ปัจจุบันอยู่ในเมืองลุมมินเด ประเทศเนปาล) เช้าวันศุกร์ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีจอ ก่อนพุทธศักราช 80 ปี ต่อมาพระองค์ได้เสด็จออกผนวชและทรงบำเพ็ญเพียรอย่างหนัก จนได้ตรัสรู้พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ ณ ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม แคว้นมคธ (ปัจจุบันอยู่ในเขตเมืองพุทธคยา แคว้นพิหาร ประเทศอินเดีย) เช้ามืดวันพุธ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีระกา ก่อนพุทธศักราช 45 ปี หลังจากตรัสรู้แล้ว พระองค์ทรงบำเพ็ญพุทธกิจโปรดผู้ที่ควรแนะนำสั่งสอนใหได้บรรลุมรรคผลจนนับไม่ถ้วน และเสด็จดับขันธปรินิพพาน วันอังคาร ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีมะเส็ง ณ สาลวโนทยานของมัลลกษัตริย์ เมืองกุสินารา แคว้นมัลละ (ปัจจุบันอยู่ในเขตเมืองกุสีนคระ) แคว้นอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย สิริรวมพระชนมายุได้ 80 พรรษา การจัดงานวันวิสาขบูชาได้เริ่มมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย มาอยุธยา จนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 2 ได้ทรงฟื้นฟูพิธีวิสาขบูชา ให้เป็นแบบแผนขึ้น และกระทำสืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน ต่อมาองค์การสหประชาชาติได้เล็งเห็นความสำคัญของวันนี้ จึงประกาศให้เป็น “วันสำคัญสากลโลก” (Vesak Day) อ้างอิง : ประชิด สกุณะพัฒน์, อุดม เชยกีวงศ์. วันสำคัญ. กรุงเทพฯ : ภูมิปัญญา, 2549. บุญเติม แสงดิษฐ์. วันสำคัญ. กรุงเทพฯ : พัชรการพิมพ์. 2541. ผู้เรียบเรียง : นายประพนธ์ รอบรู้ นักวิชาการโสตทัศนศึกษาชำนาญการ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี สำนักศิลปากรที่ 5 ปราจีนบุรี


          กรมศิลปากร ขอเชิญรับชมถ่ายทอดสด Facebook Live รายการ ไขความรู้จากครูกรมศิลป์ ตอน “พระราชวังหลวงแห่งกรุงศรีอยุธยา...การสันนิษฐานและการสื่อความหมาย” วิทยากรโดย นายประทีป เพ็งตะโก อดีตอธิบดีกรมศิลปากร ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. สันติ เล็กสุขุม ราชบัณฑิต นางสาวสุกัญญา เบาเนิด ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ ๓ พระนครศรีอยุธยา ดำเนินรายการโดย นางสาวราศี บุรุษรัตนพันธ์ พิธีกรโดย นายสิทธิพร บุปผา นักวิชาการเผยแพร่ กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ ในวันพฤหัสบดีที่ ๗ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๖๕ ตั้งแต่เวลา ๑๑.๐๐ – ๑๑.๔๕ น.           ผู้สนใจสามารถติดตามชมได้ทาง Facebook Live : กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม Facebook Live : กลุ่มเผยแพร่ฯ กรมศิลปากร และ Youtube Live : กรมศิลปากร


องค์ความรู้ ส่งเสริมการอ่านผ่านออนไลน์ เรื่อง “วันเข้าพรรษา วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8” วันเข้าพรรษา หมายถึง วันที่พระภิกษุในพระพุทธศาสนาอธิษฐานอยู่ประจำในวัดหรือเสนาสนะที่คุ้มแดดคุ้มฝนได้แห่งหนึ่ง ไม่ไปค้างแรมในที่อื่นตลอด 3 เดือนในฤดูฝน ในปี พ.ศ. 2565 วันเข้าพรรษา ตรงกับวันพฤหัสบดีที่ 14 กรกฎาคม พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติพระวินัยสำหรับพระสงฆ์ไว้ว่า ในฤดูฝนให้พระสงฆ์อยู่ประจำที่ 3 เดือน เรียกว่า จำพรรษา ทั้งนี้เนื่องจากในสมัยพุทธกาลตอนต้น พระพุทธเจ้าไม่ได้กำหนดให้พระสาวกจำพรรษา ภิกษุทั้งหลายจึงเดินทางเที่ยวจาริกไปทุกฤดู แม้ในฤดูฝนที่ชาวบ้านทำไร่ทำนากัน จึงเหยียบย่ำข้าวกล้าและสัตว์เล็กๆนานาชนิด เช่น มด ปลวก ชาวบ้านจึงพากันตำหนิติเตียน ด้วยเหตุนี้พระพุทธเจ้าจึงตรัสในที่ประชุมสงฆ์ บัญญัติพระวินัยให้พระสงฆ์จำพรรษาตลอด 3 เดือนในฤดูฝน การเข้าพรรษา แบ่งออกได้เป็น 2 ระยะ คือ เข้าพรรษาแรกเรียกว่า “ปุริมพรรษา” เริ่มตั้งแต่ แรม 1 ค่ำ เดือน 8 ถึงกลางเดือน 11 ถ้าเข้าพรรษาแรกไม่ทันก็เข้าพรรษาหลัง เรียกว่า “ปัจฉิมพรรษา” เริ่มตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 9 ถึงกลางเดือน 12 แต่เข้าพรรษาหลังจะรับกฐินไม่ทันเพราะหมดเวลาทอดกฐิน ปีใดมีเดือน 8 สองหน (ปี 2564) ปีนั้นให้ถือเอาวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 หลัง เป็นวันเข้าพรรษาแรก ช่วงเวลาพรรษา พุทธศาสนิกชนทั่วไปจะบำเพ็ญทาน รักษาศีล ฟังธรรม และเจริญภาวนามากขึ้น ก่อนวันเข้าพรรษาพุทธศาสนิกชนจะนำเทียนเข้าพรรษาและหลอดไฟฟ้าไปถวายพระ เพื่อให้พระสงฆ์ได้ใช้แสงสว่างตลอดเข้าพรรษา ในวันเข้าพรรษานิยมไปทำบุญที่วัด ถวายผ้าอาบน้ำฝนและช้าวของเครื่องใช้ตามแต่จะมีจิตศรัทธาถวาย เช่น สบู่ ยาสีฟัน แปรงสีฟัน น้ำตาล ไม้ขีด ร่ม พุ่มเทียน ในตอนเช้าของวันเข้าพรรษาก็จะมีการทำบุญตักบาตรทั่วไป อ้างอิง : ประชิด สกุณะพัฒน์ ผศ., อุดม เชยกีวงศ์. วันสำคัญ. กรุงเทพฯ : ภูมิปัญญา, 2549. บุญเติม แสงดิษฐ์. วันสำคัญ. กรุงเทพฯ : พัชรการพิมพ์. 2541. ผู้เรียบเรียง : นายประพนธ์ รอบรู้ นักวิชาการโสตทัศนศึกษาชำนาญการ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี สำนักศิลปากรที่ 5 ปราจีนบุรี #องค์ความรู้ #วันอาสาฬหบูชา #วันสำคัญทางพุทธศาสนา #กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ กรมศิลปากร #สำนักศิลปากรที่ 5 ปราจีนบุรี #กรมศิลปากร #กระทรวงวัฒนธรรม


ชื่อเรื่อง                                    มหานิปาตวณฺณนา (ทสชาติ) ชาตกฏฐกถา ขุทฺทกนิกายฏฐ  กถา(สุวรรณสาม)สพ.บ.                                       420/1ฆหมวดหมู่                                  พระพุทธศาสนาภาษา                                       บาลี-ไทยอีสานหัวเรื่อง                                    พระพุทธศาสนา                                               ชาตกประเภทวัสดุ/มีเดีย                    คัมภีร์ใบลานลักษณะวัดุ                               64 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 56 ซม.บทคัดย่อ/บันทึก              เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน เส้นจาร ฉบับลานดิบ-ล่องชาด-ล่องรัก ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี



       มหามกุฎราชสันตติวงศ์ ๗ พฤศจิกายน ๒๔๑๙ วันประสูติพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช        จอมพล พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช มีพระนามเดิมว่า พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าจิรประวัติวรเดช เป็นพระราชบุตรพระองค์ที่ ๑๘ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ที่ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาทับทิม ประสูติเมื่อวันที่ ๗ พฤศจิกายน ๒๔๑๙         ในรัชกาลที่ ๕ เมื่อพุทธศักราช ๒๔๒๘ เสด็จไปทรงศึกษาในประเทศอังกฤษ แล้วศึกษาวิชาทหารบกในประเทศเดนมาร์ก และเมื่อยังประทับอยู่ในยุโรป โปรดเกล้าฯ ให้เป็นราชทูตพิเศษต่างพระองค์ไปในราชการพิเศษหลายแห่ง ครั้นพุทธศักราช ๒๔๔๓ โปรดเกล้าฯ ให้ทรงกรมเป็นพระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นนครไชยศรีสุรเดช เป็นนายพลเอก ราชองครักษ์ ผู้บัญชาการกรมยุทธนาธิการ เป็นเสนาธิการทหารบก และเป็นองคมนตรี        ในรัชกาลที่ ๖ เป็นเสนาบดีกระทรวงกลาโหม เมื่อพุทธศักราช ๒๔๕๓ – ๒๔๕๖ วันที่ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๔๕๔ เลื่อนเป็นพระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช และเป็นจอมพลทหารบก        พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๖ เมื่อวันที่ ๔ กุมภาพันธ์ ๒๔๕๖ สิริพระชันษา ๓๘ ปี เป็นต้นราชสกุล จิรประวัติ ภายหลังสิ้นพระชนม์ เฉลิมพระยศเป็นพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช        พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช ทรงเป็นพระราชนัดดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ที่สืบสายจากพระบรมชนกนาถ   ภาพ : จอมพล พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช  


ชื่อเรื่อง                                        สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม  (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ.                                           46/3ประเภทวัดุ/มีเดีย                       คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                                     พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                              32 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 56 ซม.หัวเรื่อง                                        พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก               เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา


ชื่อเรื่อง           สงขลาตามรอยเท้าพ่อ ชื่อผู้แต่ง         จังหวัดสงขลา พิมพ์ครั้งที่       - สถานที่พิมพ์     สงขลา สำนักพิมพ์       ม.ป.พ. ปีที่พิมพ์          ม.ป.ป. จำนวนหน้า      ๘๑  หน้า รายละเอียด                      สงขลาตามรอยเท้าพ่อ เป็นหนังสือที่ทางจังหวัดสงขลาได้น้อมนำยุทธศาสตร์พระราชทาน “เข้าใจ  เข้าถึง  พัฒนา” และปรัชญา “เศรษฐกิจพอเพียง” ได้น้อมนำแนวทางโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริในพื้นที่ซึ่งมีมากมายหลายด้าน  ซึ่งมีโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการจำนวน 50  โรงเรียน  การดำเนินกิจกรรมเกษตรผสมผสานตามรอยเท้าพ่อ “1 ไร่ได้หลายแสน” และปัจจุบันมีเกษตรกรที่ร่วมโครงการทั้งสิ้น 85 ราย  โดยจังหวัดเป็นหน่วยสนับสนุนงบประมาณเพื่อดำเนินการภายใต้ชื่อ โครงการขยายผลโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริจังหวัดสงขลา รายละเอียดทั้งหมดได้สรุปไว้ในหนังสือ “สงขลาตามรอยเท้าพ่อ”


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 143/4 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 177/2ข เอกสารโบราณ(คัมภีร์ใบลาน)


ชื่อเรื่อง                     การคุกคามของคอมมิวนิสต์ต่อประเทศไทยผู้แต่ง                        -ประเภทวัสดุ/มีเดีย       หนังสือหายากหมวดหมู่                   รัฐศาสตร์ การเมือง การปกครองเลขหมู่                      320.53209593 ก445สถานที่พิมพ์               กรุงเทพ ฯสำนักพิมพ์                 ไทยสัมพันธ์ปีที่พิมพ์                    2511ลักษณะวัสดุ               102 หน้าหัวเรื่อง                     การคุกคาม                              คอมมิวนิสต์ภาษา                       ไทย – อังกฤษบทคัดย่อ/บันทึกรวบรวมเนื้อหาปัจจัยต่างๆ ในประเทศไทยที่ช่วยสกัดลัทธิคอมมิวนิสต์ เหตุจูงใจ การบ่อนทำลายและการก่อการร้าย ผู้ลี้ภัย และข้อยุติ


ชื่อเรื่อง                                        สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม  (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ.                                           14/3ประเภทวัดุ/มีเดีย                       คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                                     พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                              42 หน้า : กว้าง 5.2 ซม. ยาว 54.5 ซม.หัวเรื่อง                                        พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก               เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา


Messenger