อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย
1. ที่ตั้ง
อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย ตั้งอยู่ในเขตตำบลศรีสัชนาลัย ตำบลสารจิตร ตำบลหนองอ้อ และตำบลท่าชัย อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย ตัวเมืองโบราณศรีสัชนาลัย อยู่ในเขตหมู่บ้านพระปรางค์ ตำบลศรีสัชนาลัย โดยอยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครไปทางทิศเหนือ ประมาณ 550 กิโลเมตร
เมืองโบราณศรีสัชนาลัยมีสภาพภูมิประเทศที่ตั้งของเมืองเป็นที่ราบเชิงเขาพระศรี และ เขาใหญ่ ทางด้านทิศตะวันตก และมี
ลำน้ำยมอยู่ทางด้านทิศตะวันออก
กรมศิลปากรได้กำหนดเขตที่ดินโบราณสถานอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย ประมาณ 28,217 ไร่
2. ความสำคัญทางประวัติศาสตร์
เนื่องจากสภาพภูมิประเทศที่ตั้งของเมืองศรีสัชนาลัย มีความเหมาะสมต่อการตั้งถิ่นฐาน คือมีทั้งที่ราบลุ่มริมแม่น้ำยมและที่ลาด
เชิงเขาพระศรี และเขาใหญ่ ทำให้มีทั้งความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่และสิ่งป้องกันทางธรรมชาติที่ใช้ในการป้องกันข้าศึกศัตรู
ได้อย่างดีด้วย
จากหลักฐานที่สำรวจพบ พวกขวานหินขัด (เครื่องมือ เครื่องใช้ ของคนสมัยโบราณ) ที่พบที่ตำบลท่าชัย อำเภอศรีสัชนาลัย
รวมทั้งจาก หลักฐานการขุดค้นทางโบราณคดีที่วัดชมชื่น แสดงว่ามีชุมชน เข้ามาอยู่อาศัยตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 9 (พ.ศ.800)
เป็นต้นมาเป็นชุมชนร่วมสมัย ทวารวดีในภาคกลางถัด ขึ้นมาเป็นหลักฐานของวัฒนธรรมร่วมสมัยลพบุรี (พุทธศตวรรษที่ 18,
พ.ศ. 1700) ปรากฏหลักฐานที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุเชลียง ในระยะนั้นเมืองศรีสัชนาลัยมีชื่อว่าเมืองเชลียง ตามหลักฐานที่ปรากฏ
ในศิลาจารึก ตำนานและพงศาวดารที่ยืนยันว่ามีเมืองโบราณ 2 เมือง อยู่ในลุ่มน้ำยมก่อนแล้ว คือ เมืองสุโขทัย และเมืองเชลียง
ต่อมาได้มีการก่อสร้างเมืองศรีสัชนาลัยขึ้นทางด้านทิศเหนือของเมืองเชลียงห่างออกไปประมาณ 1.5 กิโลเมตร เมืองศรีสัชนาลัย
มีความสำคัญควบคู่กันมากับเมือง สุโขทัย โดยจากหลักฐานได้กล่าวถึงพ่อขุนศรีนาวนำถม ว่าเป็นกษัตริย์ครอง 2 นคร คือ เสวยราชย์
ทั้งเมืองสุโขทัยและเมืองศรีสัชนาลัย (ก่อน พ.ศ. 1781)
ต่อมาจนถึงพ่อขุนศรีอินทราทิตย์เป็นกษัตริย์ปกครองอาณาจักรสุโขทัย (พ.ศ.1781 - 1822) ทรงโปรดให้พ่อขุนบาลเมือง
ไปครองเมืองศรีสัชนาลัย ส่วนพ่อขุนรามคำแหง พระยาลิไทก็เคยครองเมืองศรีสัชนาลัย ก่อนขึ้นเสวยราชย์เป็นกษัตริย์ปกครอง
อาณาจักรสุโขทัย
เมืองศรีสัชนาลัยมีฐานะเป็นเมืองลูกหลวงของสุโขทัย ต่อมาจนแม้กระทั่งสุโขทัยตกอยู่ภายใต้อำนาจของกรุงศรีอยุธยา และได้
เปลี่ยนชื่อเรียกว่า เมืองสวรรคโลก
เมืองศรีสัชนาลัยหรือเมืองสวรรคโลกในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น เป็นเมืองสำคัญที่ผลิตภาชนะเครื่องเคลือบสังคโลกให้แก่
กรุงศรีอยุธยา ในสมัยต่อมาเมื่อมีการจัดระบบการปกครองปรับปรุงเรื่องเชื้อสายราชวงศ์ให้เข้าอยู่ในระบบราชการเรียบร้อยแล้ว กรุงศรีอยุธยา ได้เป็นผู้แต่งตั้งเจ้าเมืองเข้ามา ปกครองเมืองสวรรคโลกมีฐานะเป็นหัวเมืองชั้นนอกระดับเมืองโท
หลังเสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่า ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2310 เมืองศรีสัชนาลัยหรือ สวรรคโลกถูก ทิ้งร้าง ต่อมาเมืองสวรรคโลกได้จัดตั้ง
ขึ้นใหม่ ที่บ้านท่าชัยอยู่ด้านทิศใต้ของเมืองเดิม และในสมัยรัตนโกสินทร์ได้ย้ายไปอยู่ที่บ้านวังไม้ขอน ซึ่งคือที่ตั้งของอำเภอ
สวรรคโลกในปัจจุบัน ส่วนชื่อเมืองศรีสัชนาลัยถูกนำไปตั้งเป็นชื่อของอำเภอศรีสัชนาลัย ซึ่งได้รวมเอาเขตพื้นที่เมืองศรีสัชนาลัย
โบราณไว้ด้วย
อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย ได้รับการยกย่องให้เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของโลก ร่วมกับอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย และอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชรใน พ.ศ.2534 เนื่องจากหลักฐานที่ปรากฏแสดงให้เห็นถึงผลงานทางสถาปัตยกรรมที่โดดเด่น นับเป็นตัวแทนของศิลปกรรมไทยยุคแรกและเป็นต้นกำเนิดของการสร้างประเทศ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานในพิธีเปิดอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัยอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ.2533
3. โบราณสถานที่สำคัญ
เมืองโบราณศรีสัชนาลัย มีขอบเขตของผังเมืองที่ก่อสร้างทับซ้อนอยู่บนบริเวณ เมืองเชลียงเดิม กล่าวคือ แนวกำแพงเมืองเชลียง
เดิม ทำเป็นคันดินยาวขนานไปตามลำน้ำยมโดยเริ่มจาก บริเวณวัดมหาธาตุเชลียงขนานลำน้ำยมเลยผ่านเขาพนมเพลิงออกไป
ซึ่งยังคงปรากฎหลักฐานคันดินให้เห็นอยู่เป็นระยะ ๆ
ต่อมาเมื่อมีการก่อสร้างเมืองศรีสัชนาลัยขึ้น จึงได้พิจารณาเลือกบริเวณที่มีสภาพ ภูมิประเทศเป็นที่ราบเชิงเขา กำหนดขอบเขต
การก่อสร้างกำแพงเมืองจากศิลาแลง ลักษณะผังเมืองเป็น รูปหลายเหลี่ยมไม่สม่ำเสมอตามทิศทางของแม่น้ำยม ในช่วงนี้
ลักษณะของกำแพงเมืองศรีสัชนาลัยมี หลายแนวเพราะคงมีการผสมผสานเอาแนวกำแพงคันดินในสมัยที่เป็นเมืองเชลียงเข้ามา
ใช้ประโยชน์ด้วย โบราณสถานในอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย มีทั้งภายในและภายนอกกำแพงเมือง ซึ่งรวมทั้งหมดมีไม่น้อย
กว่า 215 แห่งโบราณสถานที่สำคัญมีดังนี้
3.1 โบราณสถานภายในกำแพงเมือง
สำรวจพบแล้วมีทั้งสิ้น 28 แห่ง ที่สำคัญคือ วัดช้างล้อม วัดเจดีย์เจ็ดแถว วัดนางพญา วัดสวนแก้วอุทยานใหญ่ วัดสวนแก้ว เป็นต้น
3.2 โบราณสถานนอกกำแพงเมืองด้านทิศเหนือ
สำรวจพบแล้วมีจำนวนทั้งสิ้น 35 แห่ง ที่สำคัญคือ วัดกุฎีราย เตาทุเรียงบ้านป่ายาง เตา ทุเรียงบ้านเกาะน้อย ซึ่งเป็น แหล่งผลิตภาชนะดินเผา “เครื่องสังคโลก” ที่สำคัญของเมืองศรีสัชนาลัย
3.3 โบราณสถานนอกกำแพงเมืองด้านทิศตะวันออก
สำรวจพบแล้วมีจำนวนทั้งสิ้น 10 แห่ง ที่สำคัญคือ วัดสวนสัก วัดป่าแก้ว เป็นต้น
3.4 โบราณสถานนอกกำแพงเมืองด้านทิศใต้
สำรวจพบแล้วมีจำนวนทั้งสิ้น 24 แห่ง ที่สำคัญคือ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ วัดชมชื่น วัดเจ้าจันทร์ และวัดโคกสิงคาราม เป็นต้น
3.5 โบราณสถานนอกกำแพงเมืองด้านทิศตะวันตก
สำรวจพบแล้วมีจำนวนทั้งสิ้น 19 แห่ง ที่สำคัญ คือ วัดพญาดำ วัดราหู วัดสระประทุม วัดพรหมสี่หน้า วัดยายตา เป็นต้น
3.6 โบราณสถานนอกกำแพงเมืองบนภูเขา
สำรวจพบแล้วมีจำนวนทั้งสิ้น 15 แห่ง ที่สำคัญคือ วัดเขาใหญ่บน วัดเจดีย์เจ็ดยอด วัดเจดีย์รอบ และวัดเขาใหญ่ล่าง เป็นต้น
อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัยได้รับการยกย่องให้เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของโลก ร่วมกันกับ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย
และอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ในปี พ.ศ. 2534 เนื่องจากหลักฐานที่ปรากฎแสดงให้เห็นถึงผลงานทางสถาปัตยกรรมที่โดดเด่น นับเป็นตัวแทนของศิลปกรรมไทย ยุคแรก และเป็นต้นกำเนิดของการสร้างประเทศ
4. การบริการและเเหล่งท่องเที่ยว
รถยนต์ ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 1 ผ่านจังหวัดนครสวรรค์ กำแพงเพชร เข้าสู่เส้นทาง หลวงหมายเลข 101 ผ่านอำเภอพรานกระต่าย อำเภอคีรีมาศ เข้าสู่จังหวัดสุโขทัย จากนั้นเมื่อถึงสี่แยกบ้านสวน เข้าอำเภอศรีสำโรง ผ่านอำเภอสวรรคโลก ไปตามทางหลวงหมายเลข 1201 ระยะทาง 18 กิโลเมตร ถึงทางเข้าอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย
รถโดยสารประจำทาง จากสถานีขนส่งสายเหนือ เส้นทางกรุงเทพฯ – สุโขทัย – ศรีสัชนาลัย เปิดบริการทุกวัน
อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย ตั้งอยู่ในเขตตำบลศรีสัชนาลัย ตำบลสารจิตร ตำบลหนองอ้อ และตำบลท่าชัย อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย ตัวเมืองโบราณศรีสัชนาลัย อยู่ในเขตหมู่บ้านพระปรางค์ ตำบลศรีสัชนาลัย โดยอยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครไปทางทิศเหนือ ประมาณ 550 กิโลเมตร
เมืองโบราณศรีสัชนาลัยมีสภาพภูมิประเทศที่ตั้งของเมืองเป็นที่ราบเชิงเขาพระศรี และ เขาใหญ่ ทางด้านทิศตะวันตก และมี
ลำน้ำยมอยู่ทางด้านทิศตะวันออก
กรมศิลปากรได้กำหนดเขตที่ดินโบราณสถานอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย ประมาณ 28,217 ไร่
2. ความสำคัญทางประวัติศาสตร์
เนื่องจากสภาพภูมิประเทศที่ตั้งของเมืองศรีสัชนาลัย มีความเหมาะสมต่อการตั้งถิ่นฐาน คือมีทั้งที่ราบลุ่มริมแม่น้ำยมและที่ลาด
เชิงเขาพระศรี และเขาใหญ่ ทำให้มีทั้งความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่และสิ่งป้องกันทางธรรมชาติที่ใช้ในการป้องกันข้าศึกศัตรู
ได้อย่างดีด้วย
จากหลักฐานที่สำรวจพบ พวกขวานหินขัด (เครื่องมือ เครื่องใช้ ของคนสมัยโบราณ) ที่พบที่ตำบลท่าชัย อำเภอศรีสัชนาลัย
รวมทั้งจาก หลักฐานการขุดค้นทางโบราณคดีที่วัดชมชื่น แสดงว่ามีชุมชน เข้ามาอยู่อาศัยตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 9 (พ.ศ.800)
เป็นต้นมาเป็นชุมชนร่วมสมัย ทวารวดีในภาคกลางถัด ขึ้นมาเป็นหลักฐานของวัฒนธรรมร่วมสมัยลพบุรี (พุทธศตวรรษที่ 18,
พ.ศ. 1700) ปรากฏหลักฐานที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุเชลียง ในระยะนั้นเมืองศรีสัชนาลัยมีชื่อว่าเมืองเชลียง ตามหลักฐานที่ปรากฏ
ในศิลาจารึก ตำนานและพงศาวดารที่ยืนยันว่ามีเมืองโบราณ 2 เมือง อยู่ในลุ่มน้ำยมก่อนแล้ว คือ เมืองสุโขทัย และเมืองเชลียง
ต่อมาได้มีการก่อสร้างเมืองศรีสัชนาลัยขึ้นทางด้านทิศเหนือของเมืองเชลียงห่างออกไปประมาณ 1.5 กิโลเมตร เมืองศรีสัชนาลัย
มีความสำคัญควบคู่กันมากับเมือง สุโขทัย โดยจากหลักฐานได้กล่าวถึงพ่อขุนศรีนาวนำถม ว่าเป็นกษัตริย์ครอง 2 นคร คือ เสวยราชย์
ทั้งเมืองสุโขทัยและเมืองศรีสัชนาลัย (ก่อน พ.ศ. 1781)
ต่อมาจนถึงพ่อขุนศรีอินทราทิตย์เป็นกษัตริย์ปกครองอาณาจักรสุโขทัย (พ.ศ.1781 - 1822) ทรงโปรดให้พ่อขุนบาลเมือง
ไปครองเมืองศรีสัชนาลัย ส่วนพ่อขุนรามคำแหง พระยาลิไทก็เคยครองเมืองศรีสัชนาลัย ก่อนขึ้นเสวยราชย์เป็นกษัตริย์ปกครอง
อาณาจักรสุโขทัย
เมืองศรีสัชนาลัยมีฐานะเป็นเมืองลูกหลวงของสุโขทัย ต่อมาจนแม้กระทั่งสุโขทัยตกอยู่ภายใต้อำนาจของกรุงศรีอยุธยา และได้
เปลี่ยนชื่อเรียกว่า เมืองสวรรคโลก
เมืองศรีสัชนาลัยหรือเมืองสวรรคโลกในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น เป็นเมืองสำคัญที่ผลิตภาชนะเครื่องเคลือบสังคโลกให้แก่
กรุงศรีอยุธยา ในสมัยต่อมาเมื่อมีการจัดระบบการปกครองปรับปรุงเรื่องเชื้อสายราชวงศ์ให้เข้าอยู่ในระบบราชการเรียบร้อยแล้ว กรุงศรีอยุธยา ได้เป็นผู้แต่งตั้งเจ้าเมืองเข้ามา ปกครองเมืองสวรรคโลกมีฐานะเป็นหัวเมืองชั้นนอกระดับเมืองโท
หลังเสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่า ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2310 เมืองศรีสัชนาลัยหรือ สวรรคโลกถูก ทิ้งร้าง ต่อมาเมืองสวรรคโลกได้จัดตั้ง
ขึ้นใหม่ ที่บ้านท่าชัยอยู่ด้านทิศใต้ของเมืองเดิม และในสมัยรัตนโกสินทร์ได้ย้ายไปอยู่ที่บ้านวังไม้ขอน ซึ่งคือที่ตั้งของอำเภอ
สวรรคโลกในปัจจุบัน ส่วนชื่อเมืองศรีสัชนาลัยถูกนำไปตั้งเป็นชื่อของอำเภอศรีสัชนาลัย ซึ่งได้รวมเอาเขตพื้นที่เมืองศรีสัชนาลัย
โบราณไว้ด้วย
อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย ได้รับการยกย่องให้เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของโลก ร่วมกับอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย และอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชรใน พ.ศ.2534 เนื่องจากหลักฐานที่ปรากฏแสดงให้เห็นถึงผลงานทางสถาปัตยกรรมที่โดดเด่น นับเป็นตัวแทนของศิลปกรรมไทยยุคแรกและเป็นต้นกำเนิดของการสร้างประเทศ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานในพิธีเปิดอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัยอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ.2533
3. โบราณสถานที่สำคัญ
เมืองโบราณศรีสัชนาลัย มีขอบเขตของผังเมืองที่ก่อสร้างทับซ้อนอยู่บนบริเวณ เมืองเชลียงเดิม กล่าวคือ แนวกำแพงเมืองเชลียง
เดิม ทำเป็นคันดินยาวขนานไปตามลำน้ำยมโดยเริ่มจาก บริเวณวัดมหาธาตุเชลียงขนานลำน้ำยมเลยผ่านเขาพนมเพลิงออกไป
ซึ่งยังคงปรากฎหลักฐานคันดินให้เห็นอยู่เป็นระยะ ๆ
ต่อมาเมื่อมีการก่อสร้างเมืองศรีสัชนาลัยขึ้น จึงได้พิจารณาเลือกบริเวณที่มีสภาพ ภูมิประเทศเป็นที่ราบเชิงเขา กำหนดขอบเขต
การก่อสร้างกำแพงเมืองจากศิลาแลง ลักษณะผังเมืองเป็น รูปหลายเหลี่ยมไม่สม่ำเสมอตามทิศทางของแม่น้ำยม ในช่วงนี้
ลักษณะของกำแพงเมืองศรีสัชนาลัยมี หลายแนวเพราะคงมีการผสมผสานเอาแนวกำแพงคันดินในสมัยที่เป็นเมืองเชลียงเข้ามา
ใช้ประโยชน์ด้วย โบราณสถานในอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย มีทั้งภายในและภายนอกกำแพงเมือง ซึ่งรวมทั้งหมดมีไม่น้อย
กว่า 215 แห่งโบราณสถานที่สำคัญมีดังนี้
3.1 โบราณสถานภายในกำแพงเมือง
สำรวจพบแล้วมีทั้งสิ้น 28 แห่ง ที่สำคัญคือ วัดช้างล้อม วัดเจดีย์เจ็ดแถว วัดนางพญา วัดสวนแก้วอุทยานใหญ่ วัดสวนแก้ว เป็นต้น
3.2 โบราณสถานนอกกำแพงเมืองด้านทิศเหนือ
สำรวจพบแล้วมีจำนวนทั้งสิ้น 35 แห่ง ที่สำคัญคือ วัดกุฎีราย เตาทุเรียงบ้านป่ายาง เตา ทุเรียงบ้านเกาะน้อย ซึ่งเป็น แหล่งผลิตภาชนะดินเผา “เครื่องสังคโลก” ที่สำคัญของเมืองศรีสัชนาลัย
3.3 โบราณสถานนอกกำแพงเมืองด้านทิศตะวันออก
สำรวจพบแล้วมีจำนวนทั้งสิ้น 10 แห่ง ที่สำคัญคือ วัดสวนสัก วัดป่าแก้ว เป็นต้น
3.4 โบราณสถานนอกกำแพงเมืองด้านทิศใต้
สำรวจพบแล้วมีจำนวนทั้งสิ้น 24 แห่ง ที่สำคัญคือ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ วัดชมชื่น วัดเจ้าจันทร์ และวัดโคกสิงคาราม เป็นต้น
3.5 โบราณสถานนอกกำแพงเมืองด้านทิศตะวันตก
สำรวจพบแล้วมีจำนวนทั้งสิ้น 19 แห่ง ที่สำคัญ คือ วัดพญาดำ วัดราหู วัดสระประทุม วัดพรหมสี่หน้า วัดยายตา เป็นต้น
3.6 โบราณสถานนอกกำแพงเมืองบนภูเขา
สำรวจพบแล้วมีจำนวนทั้งสิ้น 15 แห่ง ที่สำคัญคือ วัดเขาใหญ่บน วัดเจดีย์เจ็ดยอด วัดเจดีย์รอบ และวัดเขาใหญ่ล่าง เป็นต้น
อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัยได้รับการยกย่องให้เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของโลก ร่วมกันกับ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย
และอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ในปี พ.ศ. 2534 เนื่องจากหลักฐานที่ปรากฎแสดงให้เห็นถึงผลงานทางสถาปัตยกรรมที่โดดเด่น นับเป็นตัวแทนของศิลปกรรมไทย ยุคแรก และเป็นต้นกำเนิดของการสร้างประเทศ
4. การบริการและเเหล่งท่องเที่ยว
รถยนต์ ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 1 ผ่านจังหวัดนครสวรรค์ กำแพงเพชร เข้าสู่เส้นทาง หลวงหมายเลข 101 ผ่านอำเภอพรานกระต่าย อำเภอคีรีมาศ เข้าสู่จังหวัดสุโขทัย จากนั้นเมื่อถึงสี่แยกบ้านสวน เข้าอำเภอศรีสำโรง ผ่านอำเภอสวรรคโลก ไปตามทางหลวงหมายเลข 1201 ระยะทาง 18 กิโลเมตร ถึงทางเข้าอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย
รถโดยสารประจำทาง จากสถานีขนส่งสายเหนือ เส้นทางกรุงเทพฯ – สุโขทัย – ศรีสัชนาลัย เปิดบริการทุกวัน
การเที่ยวชม | เปิดบริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 8.00 – 17.00 น. | |
อัตราค่าเข้าชม | ผู้มีสัญชาติไทย 10 บาท ผู้มีสัญชาติอื่น 30 บาท |
การท่องเที่ยว | สำนักงานอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย 055 679211 สำนักงาน ททท. 055 252743 หรือ 1672
|
(จำนวนผู้เข้าชม 3288 ครั้ง)