ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,403 รายการ
บรรยากาศนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ เข้าชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง วันที่ ๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ ซึ่งงดเว้นการเก็บค่าธรรมเนียมเข้าชมตามนโยบายของกรมศิลปากร เพื่อน้อมถวายเป็นพระราชกุศลและถวายความไว้อาลัยแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
โครงการ : ขุดแต่งขุดค้นทางวิชาการเพื่อออกแบบบูรณะโบราณสถานวัดกลาง
วัดกลาง (ร้าง) ตั้งอยู่ หมู่ที่ ๑๒ ตำบลบางคู้ อำเภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรี เป็นโบราณสถานที่กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถาน โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๙ ตอนพิเศษ ๑๑๙ ง ลงวันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๔๕ โบราณสถานที่สำคัญประกอบด้วย โบสถ์ กำแพงแก้ว และเจดีย์ ปัจจุบันโบราณสถาน มีสภาพชำรุดทรุดโทรมมาก สมควรได้รับการอนุรักษ์ไว้เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติ
กลุ่มอนุรักษ์โบราณสถาน สำนักศิลปากรที่ ๔ ลพบุรี ได้ดำเนินการปักหมุดเขตที่ดินโบราณสถาน และดำเนินการขุดค้นโบราณสถาน วัดกลาง (ร้าง) เพื่อออกแบบบูรณะ ในระหว่างวันที่ ๑ - ๒๐ กันยายน ๒๕๕๔
กิจกรรมเสวนาวิชาการ เรื่อง บทบาทของห้องสมุดในการสร้างความเข้มแข็งด้านการพัฒนาทักษะการรู้เท่าทันเทคโนโลยีสารสนเทศ (ICT Literacy) จัดเมื่อวันที่ ๒๙ มีนาคม ๒๕๕๙ณห้องประชุมหอจดหมายเหตุแห่งชาติ มีการบรรยายเรื่อง
- ICT Literacy เพื่อส่งเสริมความเท่าเทียมภายใต้โครงการการเตรียมความพร้อมภาคประชาชนสู่สังคมดิจิทัล
- สภาพการพัฒนาด้านICT Literacy ของห้องสมุดในอาเซียน
- ASEAN Local Women’s ICT Literacy : Research Finding
และการเสวนาเรื่องบทบาทของห้องสมุดที่จะช่วยสนับสนุนด้านICT Literacy ให้กับประชาชนในชาติ
แหล่งท่องเที่ยวมรดกโลกกำแพงเพชร
สมัยประวัติศาสตร์ทวารวดี
•เมืองไตรตรึงษ์ อำเภอเมืองกำแพงเพชร
Øพบหลักฐาน ลูกปัดแก้ว ตะเกียงดินเผา เศษภาชนะดินเผาแบบต่างๆ
Øเป็นหลักฐานในวัฒนธรรมทวารวดี มีอายุในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๒ – ๑๖
•พื้นที่อุทยานฯ ๓.๔ ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ ๒,๑๑๔ ไร่
•แบ่งเป็น ๒ เขต
Øเขตภายในกำแพงเมือง ๕๐๓ ไร่ มีโบราณสถานประมาณ ๑๙ แห่ง โบราณสถานที่สำคัญ ได้แก่ วัดพระแก้ว วัดพระธาตุ เขตวังโบราณ(สระมน) ศาลพระอิศวร กำแพงเมือง คูเมืองและป้อมประตูต่างๆ
Øเขตนอกกำแพงเมืองหรือเขตอรัญญิก ๑,๖๑๑ ไร่ ตั้งอยู่บนเนินเขาลูกรังทางด้านทิศเหนือของเมืองกำแพงเพชร มีโบราณสถานที่เป็นวัดขนาดใหญ่น้อยรวมประมาณ ๓๑ แห่ง โบราณสถานที่สำคัญ ได้แก่วัดพระนอน วัดพระสี่อิริยาบถ วัดสิงห์ วัดช้างรอบ และวัดอาวาสใหญ่ ฯลฯ
โครงการอบรมจัดตั้งอาสาสมัครท้องถิ่นในการดูแลรักษามรดกทางวัฒนธรรม(อส.มศ) จังหวัดเชียงราย ระหว่างวันที่ ๑๘ - ๑๙ ธันวาคม ๒๕๕๗
โครงการสำรวจเอกสารโบราณ
วันศุกร์ที่ ๒๓ เมษายน ๒๕๕๔
ณ วัดควนขัน ตำบลทับเที่ยง อำเภอเมือง จังหวัดตรัง
วันพุธที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๖๓ เวลา ๐๙.๐๐ น. นักเรียนชั้นประถมศึกษาที่ ๔ - ๖ โรงเรียนสนมศึกษาคาร อำเภอสนม จังหวัดสุรินทร์ นักเรียนจำนวน ๑๓๕ คน คุณครูจำนวน ๑๐ คน เข้าเยี่ยมชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ โดยมีนางสาวอาภาภรณ์ เปล่งปลั่งศรี นักวิชาการวัฒนธรรม และนายแก่นแก้ว หอมนวล พนักงานประจำพิพิธภัณฑ์ ให้การต้อนรับและบรรยายนำชม
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษกและกลุ่มทะเบียน คลังพิพิธภัณฑ์และสารสนเทศ
ร่วมกันต้อนรับ คณะประชุมสมาคมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติแห่งเอเชีย ครั้งที่ ๖
เข้าเยี่ยมชมสถานที่ ในวันเสาร์ที่ ๒๓ ธันวาคม ๒๕๖๐ ที่ผ่านมา
โดยมีผู้อำนวยการพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติและผู้อำนวยการกลุ่มทะเบียนฯ กล่าวต้อนรับ
แนะนำสถานที่ประวัติความเป็นมา พร้อมทั้งนำชมอาคารคลังพิพิธภัณฑ์
อัพฺชะ แปลว่า “เกิดในน้ำ หรือ เกิดจากน้ำ” หมายถึง ดอกบัว มีหลายประเภท ได้แก่ ปัทม (padama-ดอกบัวหลวง, บัวก้านแข็ง) อุตปล (utpala-บัวสาย, บัวก้านอ่อน) กมละ (Kamala-ดอกบัวสีแดง) นีลโลตปล (nīilotpala-ดอกบัวสีน้ำเงิน) ปุณฑรีกะ (puṇḍarīka-ดอกบัวสีขาว) เป็นเครื่องหมายแห่งน้ำ บางครั้งดอกบัวเป็นสัญลักษณ์ของดิน ตามคติทางประติมานวิทยาของฮินดูเป็นสัญลักษณ์ของการรู้แจ้ง (enlightenment) และความบริสุทธิ์ (purity) นอกจากนี้ ยังเป็นนามของสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดจากน้ำ คือ สังข์ (the conch) พระจันทร์ (the moon) และธันวันตริ (Dhanvantari-แพทย์แห่งทวยเทพ) ซึ่งเกิดจากการกวนเกษียรสมุทร ภาพที่ 1. ศิลาสลักรูปดอกบัว ศิลปะเขมรในประเทศไทย จัดแสดงที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิมาย จังหวัดนครราชสีมา พระพรหมา (Brahmā) ซึ่งเป็นพระสวยัมภู (ผู้เกิดเอง) จากน้ำ ก็ได้นามว่า อัพชะ (Abja) หรือ อัพชชะ (Abjaja) แปลว่า “ผู้เกิดจากดอกบัว” ตามคติในคัมภีร์ปุราณะ (Purāṇa) และมหากาพย์มหาภารตะ (Mahābhārata) ที่กล่าวว่าพระพรหมาปรากฏขึ้นในดอกบัวซึ่งผุดจากพระนาภี (สะดือ) ของพระวิษณุ (Viṣṇu) ผู้บรรทมเหนืออนันตนาคราช (Ananta) ในระหว่างกัลป์ เพื่อสร้างโลก พระพรหมจึงมีนามอีกว่า อัพชโยนิ (Abjayoni) และ อัพชภวะ (abjabhava) หรือ อัพชสัมภวะ (Abjasambhava) หมายถึง “ผู้มีดอกบัวเป็นที่เกิด” ส่วนพระวิษณุได้นามว่า อัพชนาภะ (abjanābha) หมายถึง ผู้มีสะดือเป็นดอกบัว ภาพที่ 2. แท่งหินสลักเรื่องวิษณุอนันตศายนะ (พระวิษณุบรรทมเหนืออนันตนาคราช) พระพรหมาเกิดจากดอกบัวซึ่งผุดขึ้นจากพระนาภีของพระวิษณุ ศิลปะเขมรในประเทศไทย จัดแสดงที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิมาย จังหวัดนครราชสีมา อ้างอิงจาก 1. Iconographic Dictionary of the Indian Religions Hinduism-Buddhism-Jainism 2. The illustrated dictionary of Hindu iconography 3. ศาสนาพราหมณ์ในอาณาจักรขอม 4. https://www.wisdomlib.org/definition/abjaเรียบเรียงข้อมูล : นางสาวเด่นดาว ศิลปานนท์ ภัณฑารักษ์เชี่ยวชาญ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
***บรรณานุกรม***
หนังสือหายาก
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพรหมวรานุรักษ์. จักรวรรดิวัตรคำฉันท์. พระนคร : โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร, ๒๔๖๗.