ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,401 รายการ

ปฐมสมฺโพธิ (ปถมสมฺโพธิ)  ชบ.บ.89/1-13  เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


เลขทะเบียน : นพ.บ.231/1ฆห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  40 หน้า ; 5 x 58.5 ซ.ม. : ลานดิบ ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 113 (180-193) ผูก 1ฆ (2565)หัวเรื่อง : ขีรธารกถา(แทนน้ำนมแม่)--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


เลขทะเบียน : นพ.บ.364/4ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 62 หน้า ; 4.5 x 54 ซ.ม. : ทองทึบ-ล่องรัก-ลานดิบ ; ไม้ประกับธรรมดาชื่อชุด : มัดที่ 140  (420-433) ผูก 4 (2565)หัวเรื่อง : มหานิปาตรณณนา (นารทชาดก)--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


ชื่อผู้แต่ง          พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย  อาจารยางกูร) ชื่อเรื่อง            สยามสาธก วรรณสาทิศ ครั้งที่พิมพ์       พิมพ์ครั้งที่ ๑ สถานที่พิมพ์     พระนคร สำนักพิมพ์       โรงพิมพ์พระจันทร์ ปีที่พิมพ์            ๒๕๑๔               จำนวนหน้า         ๒๑๐ หน้า หมายเหตุ         ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้พิมพ์ขึ้นพระราชทานในงานเฉลิมพระชนมพรรษา พุทธศักราช ๒๕๑๔                                     พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดำริว่า หนังสือ “สยามสาธก วรรณสาทิศ” เป็นหนังสือเก่าที่ควรค่าแก่การศึกษาและเก็บรักษาไว้ให้ถาวรสืบไป จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พิมพ์ขึ้นพระราชทานในงานเฉลิมพระชนมพรรษา พุทธศักราช ๒๕๑๔  เป็นตำรารวมศัพท์ภาษามคธบรรดาที่ใช้อยู่ในภาษาไทย ทั้งในภาษาง่ายและภาษายาก  ต้นฉบับหนังสือเล่มนี้เป็นสมุดฝรั่งเขียนด้วยตัวหมึกเก็บอยู่ในสำนักราชเลขาธิการหลายรัชกาล พระยาศรีสุนทรโวหารแต่งสำหรับทูลเกล้าถวายพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แต่มิได้บอกวันเดือนปีที่แต่งไว้ สันนิษฐานว่าจะแต่งเมื่อปลายอายุขัยของท่านแล้ว


ชื่อผู้แต่ง                  ธนิต อยู่โพธิ์และศรีปราชญ์ ชื่อเรื่อง                   ประวัติและโคลงกำศรวลศรีปราชญ์พร้อมด้วยบันทึกสอบทานและหมายเหตุ ครั้งที่พิมพ์                พิมพ์ครั้งที่ 3 สถานที่พิมพ์              พระนคร สำนักพิมพ์                โรงพิมพ์มงคลการพิมพ์ ปีที่พิมพ์                  2510 จำนวนหน้า               90 หน้า รายละเอียด              หนังสือประวัติและโคลงกำศรวลศรีปราญ์พร้อมด้วยบันทึกสอบทานและหมายเหตุเป็นหนังสือที่ขออนุญาตจัดพิมพ์เพื่อเป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ                    นางเดือนลอย บุนนาค ประกอด้วย ประวัติศรีปราชญ์ โคลงกำศรวลศรีปราชญ์และผนวกประวัติศรีปราชญ์


          อุทยานประวัติศาสตร์ตั้งอยู่ที่ตำบลเมืองพาน อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี จากการศึกษาทางโบราณคดีที่ผ่านมา พบว่าภูพระบาทได้ปรากฏร่องรอยกิจกรรมของมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์เมื่อราว 3,000 – 2,500 ปีมาแล้ว จากการพบภาพเขียนสีบนเพิงผาและผนังถ้ำมากกว่า 54 แห่งบนภูเขาแห่งนี้ นอกจากนี้ยังพบการดัดแปลงเพิงหินธรรมชาติให้เป็นพื้นที่ใช้งานในวัฒนธรรมทวารวดี เขมรโบราณ จนถึงวัฒนธรรมล้านช้าง ซึ่งหลักฐานทางโบราณคดีเหล่านี้ แสดงให้เห็นพัฒนาการทางสังคม และวัฒนธรรมของ ภูพระบาทได้เป็นอย่างดี          วัฒนธรรมล้านช้างปรากฏขึ้นในช่วงพุทธศตวรรษที่ 19 – 20 ศูนย์กลางของวัฒนธรรมอยู่ที่เมืองเชียงดงเชียงทอง หรือหลวงพระบาง โดยมีแม่น้ำคานไหลสู่แม่น้ำโขงและมีพูสี (ภูศรี) เป็นภูเขาศักดิ์สิทธิ์ประจำเมืองตามคติศูนย์กลางจักรวาล ซึ่งนิยมสร้างพระธาตุเจดีย์บนยอดเขา ตั้งแต่ช่วงพุทธศตวรรษที่ 19 เป็นต้นมาดินแดนของล้านนา สุโขทัย อยุธยา และล้านช้าง มีการนับถือพุทธศาสนานิกายเถรวาทในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน สำหรับอาณาจักรล้านช้างนั้นพงศาวดารล้านช้างได้กล่าวว่า พระยาฟ้างุ้มลี้ภัยไปยังอินทปัตต์นคร (พระนครหลวงของกัมพูชา) และกลับมาพร้อมพระมหาเถรปาสมันต์ โดยอัญเชิญพระบางพระพุทธรูปองค์สำคัญมาด้วย และได้ประดิษฐานไว้ที่เมืองเวียงคำ จนถึงรัชกาลพระยาวิชุนราชจึงอัญเชิญขึ้นมาประดิษฐาน ณ เมืองเชียงดงเชียองทอง นับเป็นจุดเริ่มต้นของพุทธศาสนานิกายเถรวาทในอาณาจักรล้านช้าง          ช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 21 สมัยสมเด็จพระไชยเชษฐาราช ได้มีการติดต่อทางพุทธศาสนาครั้งสำคัญระหว่างล้านช้างและล้านนา ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมด้านภาษา อักษร และงานศิลปกรรมทางศาสนา เกิดการสร้าง ปฏิสังขรณ์วัด และพระธาตุเจดีย์ที่สำคัญหลายแห่ง เช่น วัดเชียงทอง เมืองหลวง พระบาง พระธาตุบังพวน จังหวัดหนองคาย และพระธาตุพนม จังหวัดนครพนม          ในรัชกาลของพระยาสุริยวงศาธรรมิกราชถือเป็นยุคทองของล้านช้าง บ้านเมืองมีความสงบสุข และมีความเจริญทางพุทธศาสนาอย่างมาก มีการสร้างศาสนสถานและพระพุทธรูป รวมทั้งมีการแต่งวรรณคดีทางศาสนาคือ อุรังคธาตุนิทาน ภายหลังพระยาสุริยวงศาธรรมิกราชสิ้นพระชนม์ บ้านเมืองเกิดความแตกแยกกลายเป็นสามนครรัฐ คือ หลวงพระบาง เวียงจันทน์ และจำปาสัก ระยะนี้อยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 23 ตรงกับสมัยอยุธยาตอนปลาย จากนั้นเมื่อกษัตริย์องค์สุดท้ายของอาณาจักรล้านช้างคือ เจ้าอนุวงศ์ ซึ่งเคยพำนักในกรุงเทพฯ และกลับไปครองนครเวียงจันทน์ ส่งผลให้ศิลปกรรมของวัฒนธรรมล้านช้างในยุคนี้ได้รับอิทธิพลศิลปะรัตนโกสินทร์ ต่อมาเจ้าอนุวงศ์เกิดความขัดแย้งกับราชสำนักในกรุงเทพฯ จนเกิดสงครามยืดเยื้อ ท้ายที่สุดเจ้าอนุวงศ์ถูกสำเร็จโทษ ส่วนเมืองเวียงจันทน์ได้ถูกทำลายลง ถือเป็นการสิ้นสุดลงของสมัยล้านช้าง โดยภูพระบาทได้พบหลักฐานการเข้ามาใช้พื้นที่ของผู้คนในวัฒนธรรมล้านช้าง 3 แห่ง ดังนี้           1. ถ้ำช้าง มีลักษณะเป็นเพิงหินขนาดใหญ่ 2 ก้อนซ้อนกัน ตั้งอยู่บนลานพื้นหินที่ยกตัวสูงขึ้น โดยพบภาพจิตรกรรมฝาผนังทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของตัวถ้ำ เขียนสีแดงเป็นลวดลายช้าง ลายเส้นดูอ่อนช้อย สันนิษฐานว่าเขียนขึ้นในช่วงวัฒนธรรมล้านช้าง ราวพุทธศตวรรษที่ 21 – 23          2. เจดีย์ร้าง ผู้คนในท้องถิ่นเรียกเจดีย์ดังกล่าวว่า อูปโมงค์ ลักษณะเป็นอาคารทรงสี่เหลี่ยมก่อผนังอิฐทึบ 3 ด้าน มีประตูทางเข้า 1 ด้าน ตั้งอยู่บนลานหิน สันนิษฐานว่าเคยเป็นที่ประดิษฐานรอยพระพุทธบาท รูปแบบของอาคารคล้ายคลึงกับอูบมุง มาจากคำว่าอุโมงค์ ในศิลปะล้านช้างที่มักก่อหลังคาเป็นทรงจั่ว และมีการประดับหลังคาด้วยช่อฟ้าปราสาทกลางหลังคา และลักษณะดังกล่าวยังคล้ายคลึงกับเจดีย์ครอบพระพุทธบาทที่วัดพระพุทธบาทบัวบานอีกด้วย รูปแบบเช่นนี้มีลักษณะเป็นคันธกุฎี หรือกุฎิส่วนพระองค์ของพระพุทธเจ้า ถูกระบุในวินัยว่าเป็นสถานที่สำราญพระสรีระของพระพุทธเจ้าโดยเฉพาะ จึงสร้างให้พอดีกับพระพุทธรูปองค์เดียว           3. วัดพระพุทธบาทบัวบก ตามประวัติว่าแต่เดิมมีอุบมง (มณฑป) ขนาดเล็กสร้างครอบพระพุทธบาทไว้ ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.2463 พระอาจารย์สีทัตถ์ สุวรรณมาโจ ได้ธุดงค์มาพบจึงได้ปฏิสังขรณ์สร้างพระธาตุครอบใหม่ดังปรากฏในปัจจุบัน โดยเสร็จสิ้นราวพ.ศ. 2479 ซึ่งนำรูปแบบทางศิลปกรรมมาจากองค์พระธาตุพนม คือ เป็นพระธาตุทรงเหลี่ยมฐานกว้างด้านละ 8.50 เมตร สูงประมาณ 45 เมตร ส่วนฐานชั้นล่างก่อเป็นห้อง สามารถเข้าไปนมัสการรอยพระพุทธบาทได้ ส่วนยอดพระธาตุทรงบัวเหลี่ยมสูงเพรียว ประดับด้วยฉัตร 9 ชั้น ในส่วนยอดประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุที่ขุดพบในรอยพระพุทธบาทเดิม          จากหลักฐานดังกล่าวจะเห็นได้ว่าวัฒนธรรมล้านช้างมีความสำคัญต่อพื้นที่ภูพระบาทอย่างมาก ดังปรากฏในรูปแบบของภาพเขียนสีบนผนังถ้ำ รวมถึงงานศิลปกรรมอย่างเจดีย์ และพระธาตุที่สะท้อนให้เห็นถึงคติความเชื่อ ศาสนา และวัฒนธรรมในสมัยวัฒนธรรมล้านช้างบนพื้นที่ภูพระบาทได้เป็นอย่างดี---------------------------------------------------------เรียบเรียงโดย นางสาวนิชา คำสิงห์ ผู้ช่วยนักโบราณคดีอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท ภาพโดย นายจักรชัย พรหมวิชัย นายช่างศิลปกรรมอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท--------------------------------------------------------บรรณานุกรม กรมศิลปากร, ตำนานอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) ที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพ อ.ต. หลวงประชุม บรรณสาร (พิณ เดชะคุปต์) วันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2483 ณ สุสานวัดมกุฎกษัตริยาราม , 2483. จักรพันธ์ เพ็งประไพ, การสำรวจสภาพปัจจุบันของแหล่งโบราณคดีและภาพเขียนสีในเขตอุทยาน ประวัติศาสตร์ภูพระบาท (เอกสารประกอบการประเมินผลการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ, มปป). ประภัสสร์ ชูวิเชียร, ศิลปะลาว (กรุงเทพฯ: มติชน, 2557). สุรศักดิ์ ศรีสำอาง, ลำดับกษัตริย์ลาว (กรุงเทพฯ: สำนักโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร, 2545).


เนื่องในวันพืชมงคลอันเป็นวันสำคัญที่เกี่ยวข้องกับพืชประจำชาติ คือ “ข้าว” พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์ ขอนำเสนอองค์ความรู้เกี่ยวกับข้าวในสมัยอยุธยาตอนปลาย เรื่อง “ข้าว” อาหารอันดีที่สุดของชาวสยาม ....................................................... “ข้าว” อาหารอันดีที่สุดของชาวสยาม ....................................................... “ข้าว เป็นพืชผลเก็บเกี่ยวทางเกษตรอันสำคัญของชาวสยามและเป็นอาหารอันดีที่สุดของพวกเขา” ข้อความดังกล่าวเป็นข้อความที่ ซีมง เดอ ลา ลูแบร์ กล่าวถึง “ข้าว” ในครั้งที่ได้เดินทางมาเยือนสยามเมื่อ พ.ศ. 2230 ในฐานะราชทูตฝรั่งเศสครั้งรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ...................................................................... #ข้าว ในสมัยอยุธยามิใช่เพียงเป็นพืชพรรณสำคัญที่ใช้ในการดำรงชีวิตเท่านั้น แต่ยังมีความสำคัญในการเป็นตัวแทนที่สามารถสะท้อนภาพของเศรษฐกิจในช่วงเวลานั้น ๆ และยังถือว่าปรากฏการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับข้าวนับเป็นลางบอกเหตุทั้งดีและร้าย โดยมีการนำเรื่องของข้าวไปบันทึกลงในพระราชพงศาวดาร ตัวอย่างเช่น สมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ : “...สักราช 805 ปีกุน เบญจสก เข้าเปลือกแพง เปนทนานละ 800 เบี้ย ... เกวียนหนึ่งเป็นเงินสามชั่งกับสิบบาท...” สมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 : “...สักราช 867 ปีฉลูสัปตสก น้ำน้อยข้าวตายฝอยมากสิ้น...” และ “...สักราช 868 ปีขานอัถสก ข้าวแพงเปนสามทนานต่อเฟื้อง เบี้ยแปดร้อยต่อเฟื้อง เกวียนหนึ่งเปนเงินชั่งหนึ่งกับเก้าบาทสลึง...” นอกจากด้านเศรษฐกิจที่ข้าวถูกกล่าวถึงเพื่อบรรยายสภาพคล่องทางเศรษฐกิจของบ้านเมือง ปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับ “ข้าว” ยังถือเป็นลางบอกเหตุของบ้านเมือง เรียกได้ว่าเหตุการณ์ผิดปกติที่เกิดขึ้นกับข้าวนับเป็นความอัปมงคลของบ้านเมือง ดังปรากฏในพระราชพงศาวดารความว่า “...สักราช 832 ปีขานโทสก เกิดอุบาทเปนหลายประการ โคตกลูกตัวหนึ่งเปนแปดเท้า ไข่ฟักฟองตกลูกตัวหนึ่งเปนสี่เท้า ไก่ฟักฟองคู่ขอนตกลูกเป็นหกตัว อนึ่งข้าวสารงอกเปนไบขึ้นในปีนั้น...” นอกจากที่ได้ยกตัวอย่างเกี่ยวกับข้าวที่ปรากฏเรื่องราวในพระราชพงศาวดารแล้ว ข้อความในบันทึกของ ซีมง เดอ ลา ลูแบร์ ยังได้บอกเล่าเรื่องราวของข้าวในสมัยอยุธยาตอนปลายไว้อย่างเป็นรูปธรรม ชาวสยามในสมัยนั้นปลูกข้าวหลากหลายสายพันธุ์ โดยมีทั้งข้าวเจ้า และข้าวสาลี ทั้งยังรู้จักและช่ำชองในวิธีการที่จะกะปริมานน้ำ กะความแก่อ่อนของไฟ และกะเวลาในการหุงข้าวให้สุกโดยเม็ดไม่แตกแยะ นอกจากการหุงข้าวด้วยน้ำบริสุทธิ์ชาวสยามยังรู้จักการหุงข้าวด้วยน้ำกะทิด้วย สำหรับข้าวสาลีนั้นเป็นพันธุ์ข้าวที่นำเข้ามาโดยแขกมัวร์และถูกปลูกภายในไร่ของพระเจ้าแผ่นดิน (สมเด็จพระนารายณ์มหาราช) เท่านั้น ไม่ใช่ข้าวที่ชาวบ้านทั่วไปนิยมปลูก ข้าวสาลีจะถูกนำไปแปรรูปเป็นแป้งที่โรงสีลม โดยสันนิษฐานว่าอยู่ในกรุงศรีอยุธยาโรงหนึ่ง และอีกโรงระบุว่าอยู่ใกล้เมืองละโว้ หลังจากแปรรูปเป็นแป้งสาลี ชาวสยามก็นำแป้งดังกล่าวมาผลิตเป็นขนมปังสด นอกจากชาวสยามจะกิน “ข้าว” เป็นอาหารหลักแล้ว ยังนำข้าวไปทำเป็นเครื่องดื่มคือเหล้าอีกด้วย โดย ลาลูแบร์ บันทึกไว้ว่า ชาวสยามทำเหล้าบรั่นดีจากข้าว โดยการหมักไว้ด้วยน้ำปูนใส เหล้าที่ทำด้วยข้าวขั้นแรกทำเป็น เมรัย (bière หรือ beer) ก่อน แล้วกลั่นออกมาเป็น บรั่นดี ซึ่งพวกเขา (ชาวสยาม) เรียกว่า เหล้า นอกจากนำเมรัยมากลั่นเป็นเหล้าแล้ว บางส่วนยังมีการนำไปใช้ทำเป็นน้ำส้มสายชูด้วย ข้าวโดยชาวสยามยังเป็นที่รู้จักและมีรสชาติที่ดี จนท่านราชทูต ลา ลูแบร์ ต้องบันทึกไว้ว่า “…ลูกเรือกำปั่นของเราแสดงความรู้สึกเสียดาย หลังจากได้บริโภคข้าวสุกมากกว่าสามเดือนแล้วต้องกลับไปกินขนมปังแห้ง...” เรียกได้ว่าข้าวของชาวสยามในสมัยอยุธยาตอนปลายเป็นที่ถูกปากชาวตะวันตกไม่น้อยเลยทีเดียว ด้วยความสำคัญของข้าวที่เป็นตัวแทนความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ เป็นอาหารหลักที่เลี้ยงปากท้องของชาวสยาม ทั้งยังถือเป็นสัญลักษณ์หนึ่งที่ใช้เป็นลางบอกเหตุเภทภัยที่จะเกิดขึ้นกับบ้านเมือง จึงต้องมีการทำนุ บำรุงและรักษาข้าวอย่างดี ทั้งเพื่อเป็นหลักประกันความอุดมสมบูรณ์ของอาหารการกิน ว่าราษฎรจะมี “อาหารอันดีที่สุด” ไว้กินตลอดปี ยังเป็นการป้องกันมิให้เกิดลางร้ายไปในตัว การทำนาเพื่อปลูกข้าวจึงถือเป็นสิ่งสำคัญจนนำไปสู่การประกอบพิธีอันเกี่ยวข้องกับการปลูกข้าว อย่างพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ เพื่อความเป็นสิริมงคลต่อพืชพรรณธัญญาหารที่จะถูกหว่านไถในฤดูน้ำ และเพื่อเป็นขวัญกำลังใจแก่ราษฎร ดังปรากฏเรื่อยมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ……………………………………………….. เอกสารอ้างอิง ปรมานุชิตชิโนรส, สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระ. พระราชพงสาวดารกรุงสรีอยุธยา ฉบับความสมเด็ดกรมพระปรมานุชิตชิโนรส. กรุงเทพ: โรงพิมพ์พระจันทร์, 2485. เข้าถึงได้จาก: https://archive.org/details/aekamarins_gmail_1/1%20พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา/mode/2up มองซิเออร์ เดอ ลาลูแบร์. จดหมายเหตุลา ลูแลร์. สันต์ ท. โกมลบุตร (ผู้แปล). นนทบุรี: ศรีปัญญา, 2557. ที่มาภาพ https://alchetron.com/Simon-de-la-Loub%C3%A8re https://bit.ly/3l3CHW2 ……………………………………………….. เรียบเรียงโดย นางสาววสุนธรา ยืนยง นักวิชาการวัฒนธรรม #MuseumInsider


องค์ความรู้ส่งเสริมการอ่านกับหอสมุดแห่งชาติชลบุรี เรื่อง วันเข้าพรรษา การเข้าพรรษา คือ การที่ภิกษุผูกใจว่าจะอยู่ที่แห่งเดียวตลอดเวลา 3 เดือนในฤดูฝน โดยไม่ไปค้างแรมในช่วงเวลาราตรีในที่แห่งอื่น นับตั้งแต่แรม 1 ค่ำเดือน 8 ไปจนถึง ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ประเพณีที่เกี่ยวข้องกับวันเข้าพรรษา ได้แก่ การถวายผ้าอาบน้ำฝน ในสมัยพุทธกาลนั้น ผ้าอาบหรือผ้าสำหรับพลัดเวลาอาบน้ำ เป็นสิ่งจำเป็นอย่างมาก ในเวลาที่ใกล้เข้าพรรษา สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสให้พระภิกษุทั้งหลายแสวงหาผ้าอาบน้ำฝนและผ้านุ่งห่ม พุทธศาสนิกชนเมื่อได้ทราบดังนั้นจึงพร้อมใจกันบริจาคทรัพย์และจัดหาผ้าอาบน้ำฝนนำไปถวาย เมื่อผู้ใดถวายจึงได้อานิสงส์และได้ชื่อว่าเกื้อกูลพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองถาวรสืบไป ปัจจุบันการถวายผ้าอาบน้ำฝนเป็นเพียงการถวายพอเป็นพิธีตามที่เคยเป็นมาเท่านั้น และยุคสมัยที่เปลี่ยนไปได้เปลี่ยนจากผ้าอาบน้ำฝนเป็นผ้าขนหนูหรือผ้าเช็ดตัว เพื่อใช้ประโยชน์ได้มากขึ้น การถวายเทียนพรรษา มีมาแต่โบราณกาลกระทำกันเป็นประจำทุกปี ด้วยพระภิกษุต้องสวดมนต์ทำวัตรทุกเช้าค่ำ และต้องมีธูปเทียนจุดบูชา ชาวบ้านพร้อมใจกันหล่อเทียนถวาย ถือเป็นกุศลทานอย่างหนึ่ง คือ การให้ทานด้วยแสงสว่าง เชื่อกันว่าจะทำให้สติปัญญาเพิ่มพูน หูตาสว่างไสว สันนิษฐานว่าการถวายเทียนพรรษาเกิดขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ดังปรากฏใน โคลงดั้นทวาทศมาศและกาพย์ห่อโคลงนิราศธารโศก ที่กล่าวถึงพระราชพิธีในราชสำนักพิธีหนึ่งเรียกว่า พระราชพิธีอาษาฒมาส หรือพระราชพิธีเดือน 8 ปัจจุบันการพระราชทานเทียนพรรษาจะมีการหล่อเทียนล่วงหน้าก่อนพระราชพิธีเข้าพรรษา 45 วัน เทียนพรรษาพระราชทานมีด้วยกัน 2 แบบ ได้แก่ เทียนแบบหล่อ และแบบแกะสลัก ซึ่งจะพระราชทานยังพระอารามหลวงแบบใดแบบหนึ่งหรือทั้งสองแบบ ตามพระราชอัธยาศรัย บรรณานุกรม เมฆพัสตร. ประเพณีโบราณไทย. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 12 กรกฎาคม 2565, จาก: http://digital.nlt.go.th/items/show/18538. 2510. ธัญญพัทธ์ ศรีบุญสถิตพงษ์. บทบาทของเทศบาลนครอุบลราชธานีในการอนุรักษ์วัฒนธรรม ประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น: กรณีวิจัยการจัดงานประเพณีแห่เทียนพรรษา จังหวัดอุบลราชธานี. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 12 กรกฎาคม 2565, จาก: http://www.esanpedia.oar.ubu.ac.th/.../NakornUbon...


ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 45 รวมจดหมายเหตุเรื่องราชทูตไทยไปประเทศอังกฤษ เมื่อ พ.ศ. 2400.  กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2522.       อธิบายประเพณีทูตไทยไปยุโรปสมัยโบราณ พระนิพนธ์สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพและจดหมายเหตุของหม่อมราโชทัยเล่าการเดินทางของราชทูตไทยตั้งแต่ออกจากกรุงเทพฯ ผ่านสิงคโปร์ ไคโร เกาะมอลตา เมืองยิบรอลตา เมืองไวโค ปอร์ตสมัท และลอนดอน นอกจากนี้ยังเล่าถึงการต้อนรับของควีนวิกตอเรียแห่งอังกฤษ การเข้าเฝ้า บัญชีคนทั่วไป บัญชีเครื่องราชบรรณาการ เป็นต้น


กิจกรรมสัมมนาทางวิชาการ “จารึกทองคำ มรดกล้ำเลิศ คืนถิ่นเกิดสุพรรณภูมิ”          ด้วยจังหวัดสุพรรณบุรีได้รับมอบโบราณวัตถุสำคัญ จำนวน ๕ รายการ คือ จารึกทองคำที่พบจากวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ วัดปู่บัว และวัดพระรูป ซึ่งปัจจุบันจัดแสดง ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี          ในการนี้ สำนักศิลปากรที่ ๒ สุพรรณบุรี พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี ร่วมกับชมรมนักโบราณคดี (สมัครเล่น) เมืองสุพรรณ จึงกำหนดจัดโครงการเนื่องในวันพิพิธภัณฑ์ไทย ประจำปี ๒๕๖๕ กิจกรรมสัมมนาทางวิชาการ เรื่อง “จารึกทองคำ มรดกล้ำเลิศ คืนถิ่นเกิดสุพรรณภูมิ” ในวันศุกร์ที่ ๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๕ เวลา ๐๙.๐๐ น. - ๑๖.๐๐ น. ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี              ผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรมฟรี รับจำนวนจำกัดเพียง ๑๐๐ ท่าน ลงทะเบียนออนไลน์ได้ที่ https://docs.google.com/.../1FAIpQLScyMa7WnGYc1W.../viewform หรือสแกน QR Code (รูปภาพในคอมเม้นท์) และยังสามารถรับชมการถ่ายทอดภาพสด ผ่านทาง Facebook Live  ของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. ๐ ๓๕๕๓-๕๓๓๐ ในวันและเวลาราชการ



           พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร ขอเชิญเข้าร่วมกิจกรรมการบรรยายเชิงปฏิบัติการ เรื่อง "ฉะโด : วิถีแห่งชาญี่ปุ่น" "Chado : The Way of Japanese Tea" เนื่องในนิทรรศการพิเศษเรื่อง"เซรามิกแห่งแหลมทองและแดนอาทิตย์อุทัย: สานตำนานสายใยไม่เสื่อมคลายในพาณิชยวัฒนธรรมโลก" วันอาทิตย์ที่ ๒ ตุลาคม ๒๕๖๕ โดยมีนายธนพันธุ์ ขจรพันธุ์ นักวิชาการอิสระ และนางสาวศุภวรรณ นงนุช ภัณฑารักษ์ชำนาญการ เป็นวิทยากรบรรยายและสาธิตการชงชาญี่ปุ่นแบบลำลอง โดยผู้เข้าร่วมกิจกรรมจะได้ทดลองปฏิบัติการชงชาด้วยตนเองอีกด้วย กิจกรรมแบ่งเป็นสองรอบ เวลา ๐๙.๓๐ และเวลา ๑๓.๐๐ น. รอบละ ๔๐ ท่าน           ผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรม สามารถสำรองที่นั่งล่วงหน้า ได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ ๐ ๒๒๒๔ ๑๓๓๓, ๐ ๒๒๒๔ ๑๔๐๒ (*รับสำรองที่นั่งผ่านทางโทรศัพท์เท่านั้น)


ความรู้เรื่องประเพณีลอยกระทง ตอนที่ 1 หัวข้อ เรื่อง "ลอยกระทงมีมาแต่เมื่อไร ทำเพื่ออะไร"เนื่องในเทศกาลวันลอยกระทงที่จะมาถึง หอสมุดเฉลิมพระเกียรติ ร.9 นครราชสีมา ขอนำเสนอสาระความรู้เกี่ยวกับประเพณีวันลอยกระทง จากหนังสือเรื่อง "ประเพณีลอยกระทง" โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม


ชื่อเรื่อง                                        สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม  (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ.                                           44/6ประเภทวัดุ/มีเดีย                       คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                                     พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                              24 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 56 ซม.หัวเรื่อง                                        พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก               เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา


องค์ความรู้ ส่งเสริมการอ่านผ่านออนไลน์ เรื่อง “วันครู 16 มกราคม” เหตุผลที่วันที่ 16 มกราคมของทุกปีถูกกำหนดให้เป็นวันครู อันเนื่องมาจาก ในปี 2488 ประเทศไทยมีการประกาศพระราชบัญญัติครูขึ้นมาในราชกิจจานุเบกษา จึงมีการกำหนดให้มีวันครูครั้งแรกตั้งแต่ปี พ.ศ.2500 เป็นต้นมา ครู หมายถึง ผู้อบรมสั่งสอน ผู้ถ่ายทอดความรู้ ผู้สร้างสรรค์ภูมิปัญญา และพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อนำไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองของสังคมและประเทศชาติ เป็นผู้ที่มีหน้าที่สอน อบรมเกี่ยวกับวิชาความรู้ การอ่านเขียน (คำว่าครูนั้นมาจากศัพท์ภาษาสันสกฤต คำว่า "คุรุ" และภาษาบาลี คำว่า "ครุ" , "คุรุ") วันครูได้จัดให้มีขึ้น ครั้งแรกเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2500 สืบเนื่องมาจากการประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษาเมื่อปี พ.ศ. 2488 ซึ่งระบุให้มีสภาในกระทรวงศึกษาธิการเรียกว่า "คุรุสภา" เป็นนิติบุคคลให้ครูทุกคนเป็นสมาชิกคุรุสภา โดยมีหน้าที่ในเรื่องของสถาบันวิชาชีพครู ในขณะเดียวกันก็ทำหน้าที่ให้ความเห็นในเรื่องนโยบายการศึกษา และวิชาการศึกษาทั่วไปแก่กระทรวงศึกษาธิการ ควบคุมจรรยาและวินัยของครู จัดสวัสดิการการให้แก่ครูและครอบครัว ได้รับความช่วยเหลือตามสมควร ส่งเสริมความรู้และความสามัคคีของครู ทุกๆปี คุรุสภาจึงจัดให้มีการประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้แทนครูจากทั่วประเทศแถลงผลงานในรอบปีที่ผ่านมา พร้อมทั้งซักถามปัญหาข้อข้องใจต่างๆเกี่ยวกับการดำเนินงานของคุรุสภา โดยมี คณะกรรมการอำนวยการคุรุสภาเป็นผู้ตอบข้อสงสัย สถานที่ในการประชุมสมัยนั้นใช้หอประชุม "สามัคคยาจารย์" หอประชุมของจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ในระยะหลังจึงมาใช้หอประชุมของคุรุสภา ปี พ.ศ. 2499 ในที่ประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีและประธานกรรมการอำนวยการคุรุสภากิตติมศักดิ์ ได้กล่าวปราศัยต่อที่ประชุมครูทั่วประเทศว่า "ที่อยากเสนอในตอนนี้ก็คือว่า เนื่องจากผู้เป็นครูมีบุญคุณเป็นผู้ให้แสงสว่างในชีวิตของเราทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิดว่า"วันครู"ควรมีสักวันหนึ่งสำหรับให้บรรดาลูกศิษย์ทั้งหลายได้ แสดงความเคารพสักการะต่อบรรดาครูผู้มีพระคุณทั้งหลาย เพราะเหตุว่าสำหรับคนทั่วไปถ้าถึงวันตรุษ วันสงกรานต์ เราก็นำอัฐิของผู้มีพระคุณบังเกิดเกล้ามาทำบุญ ทำทาน คนที่สองรองลงไปก็คือครูผู้เสียสละทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิดว่าในโอกาสนี้จะขอฝากที่ประชุมไว้ด้วย ลองปรึกษาหารือกันในหลักการทุกคนคงจะไม่ขัดข้อง" จากแนวความคิดนี้ กอรปกับความคิดเห็นของครูที่แสดงออกทางสื่อมวลชนและอื่นๆที่ล้วนเรียกร้อง ให้มี "วันครู" เพื่อให้เป็นการรำลึกถึงความสำคัญของครูในฐานะที่เป็นผู้เสียสละ ประกอบคุณงามความดีเพื่อประโยชน์ของชาติ และประชาชนเป็นอันมาก ในปีเดียวกันที่ประชุมคุรุสภาสามัญประจำปีจึงได้พิจารณาเรื่องนี้และมีมติ เห็นควรให้มี "วันครู" เพื่อเสนอคณะกรรมการอำนวยการต่อไป โดยได้เสนอในหลักการว่า เพื่อจะได้ประกอบพิธีระลึกถึงคุณบูรพาจารย์ ส่งเสริมสามัคคีธรรมระหว่างครู และเพื่อส่งเสริมความเข้าใจอีนดีระหว่างครูกับประชาชน ในที่สุดคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2499 ให้วันที่ 16 มกราคม ของทุกปีเป็น "วันครู" โดยถือเอาวันที่ประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2488 เป็นวันครู และให้กระทรวงศึกษาธิการสั่งการให้นักเรียนและครูหยุดในวันดัง กล่าวได้ การจัดงานวันครูได้จัดเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2500 ในส่วนกลางใช้สถานที่ของกรีฑาสถานแห่งชาติเป็นที่จัดงาน ได้กำหนดเป็นหลักการให้มีอนุสรณ์งานวันครูไว้ให้แก่อนุชนรุ่นหลังทุกปี อนุสรณ์ที่สำคัญคือ หนังสือประวัติครู หนังสือที่ระลึกวันครู และสิ่งก่อสร้างที่เป็นถาวรวัตถุ คำขวัญวันครูนั้นเป็นของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในฐานะประธานกรรมการอำนวยการคุรุสภา ต่อมาก็เป็นคำขวัญของบุคคลทั่วไปที่ส่งเข้าประกวด และจากนายกรัฐมนตรี ในปี พ.ศ. 2566 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ให้คำขวัญเนื่องในโอกาสวันครู ครั้งที่ 67 ดังนี้ "ครูดี ศิษย์ดี มีอนาคต" อ้างอิง : ประชิด สกุณะพัฒน์, อุดม เชยกีวงศ์. วันสำคัญ. กรุงเทพฯ : ภูมิปัญญา, 2549. บุญเติม แสงดิษฐ์. วันสำคัญ. กรุงเทพฯ : พัชรการพิมพ์. 2541. ผู้เรียบเรียง : นายประพนธ์ รอบรู้ นักวิชาการโสตทัศนศึกษาชำนาญการ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี สำนักศิลปากรที่ 5 ปราจีนบุรี


Messenger