ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,399 รายการ
ชื่อผู้แต่ง พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ชื่อเรื่อง ธรรมาธรรมะสงคราม
ครั้งที่พิมพ์ พิมพ์ครั้งที่ 7
สถานที่พิมพ์ พระนคร
สำนักพิมพ์ โรงพิมพ์สามมิตร
ปีที่พิมพ์ 2514 จำนวนหน้า 33 หน้า
หมายเหตุ พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พันเอก พระยาพิสัยสิทธิ สงคราม
(แช่ม พรโสภณ)
ธรรมาธรรมะสงครามเล่มนี้ เป็นบทพากโขนซึ่ง ร.6 ทรงพระราชนิพนธ์ เมื่อ พ.ศ. 2461 ตามเค้าเรื่องในธรรมะชาดกเอกาทสนิบาต กล่าวถึงธรรมเทพบุตร ผู้รักษาความเป็นธรรม ซึ่งทุกวันพระ จะเสด็จมาตักเตือนชาวโลกให้ทำความดี ประพฤติกุศลกรรมบท 10 ประการ และฝ่ายอธรรมเทพบุตร ผู้ประพฤติชั่วคอยสอนให้ประชาชนทำชั่ว ประพฤติอกุศล กรรมบท,วันหนึ่งเทพบุตร ทั้งสองพร้อมด้วยมบริวารมาพบกันกลางอากาศต่างฝ่าย ต่างไม่ยอมหลีกทาง อธรรมเทพบุตรถือว่ามีฤทธิ์และกำลังมากกว่าเลยเข้าโจมตีก่อน ธรรมเทพบุตรสู้ไม่ไหวจวรจะเสียท่า แต่อธรรมเทพบุตร หน้ามืดพลัดจากรถ เมื่อถึงพื้นก็ถูกทรณีสูบ ธรรมเทพบุตรจึงเป็นฝ่ายชนะและทรงสั่งสอนประชาชนที่มาชมบารมีว่าธรรมะย่อมชนะอธรรมเสมอ
นายขจร มุกมีค่า ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครราชสีมาเข้าร่วมประชุมชี้แจงแนวทางการขออนุญาตใช้ประโยชน์ในเขตพื้นที่โบราณสถาน ร่วมกับนายอำเภอรัตนบุรีและนายกองค์การบริหารส่วนตำบลน้ำเขียวณ ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลน้ำเขียว จังหวัดสุรินทร์วันพุธที่ ๑๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๗
V.I.P. ย่อมาจาก very important person คือ บุคคลสำคัญ บุคคลพิเศษ หรือที่สมัยนี้นิยมเรียกกันว่า เซเล็บ (celebrity) มี วี.ไอ.พี.ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ของประเทศไทยด้วยหรือ รู้ได้อย่างไรว่าเขาหรือเธอเป็นบุคคลพิเศษ เมื่อนักโบราณคดีขุดค้นแหล่งโบราณคดีที่เป็นแหล่งฝังศพ มักมีโครงกระดูกที่พบหลักฐาน เช่น สิ่งของอุทิศในพิธีกรรมการฝังศพ เครื่องประดับตกแต่งร่างกาย ที่มีปริมาณและความหลากหลายแตกต่างจากโครงกระดูกอื่นๆในแหล่งเดียวกันอย่างเห็นได้ชัด หลักฐานเหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงความเป็น วี.ไอ.พี. หรือบุคคลสำคัญที่มีฐานะ สถานะพิเศษในชุมชนที่ผู้ทำพิธีฝังศพยอมรับ หรือมีความผูกพัน แสดงออกด้วยการมอบสิ่งของอุทิศจำนวนมาก หายาก และมีค่าให้กับผู้ตาย ในสมัยหินใหม่มีตัวอย่าง วี.ไอ.พี. หรือบุคคลสำคัญที่แหล่งโบราณคดีโคกพนมดี อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี เป็นเพศหญิง ตายเมื่ออายุ ๓๕ ปี กำหนดอายุประมาณ ๓,๖๐๐ ปีมาแล้ว หลุมศพของเธอมีขนาดใหญ่ ร่างกายตกแต่งด้วยเครื่องประดับจำนวนมากอย่างหรูหรา จนได้รับการขนานนามว่า “เจ้าแม่โคกพนมดี” เป็นโครงกระดูกที่แสดงถึงความร่ำรวยที่สุดในแหล่ง จากลักษณะของกระดูกแสดงว่าเมื่อยังมีชีวิตเป็นคนที่ทำกิจกรรมที่ใช้แขนท่อนล่างและมือมาก ประกอบกับสิ่งของในหลุมฝังศพเป็นอุปกรณ์เกี่ยวข้องกับการทำภาชนะดินเผา ได้แก่ หินดุ หินขัดภาชนะ และแท่งดินเหนียวดิบจำนวนมากวางสุมทับลำตัวเป็นกองสูงมีภาชนะดินเผาทุบแตกวางไว้ด้านบน ทำให้สันนิษฐานได้ว่าน่าจะเป็นช่างปั้นภาชนะดินเผาหญิงที่มีความสำคัญมากของชุมชน ลูกปัดเปลือกหอย เครื่องประดับของ “เจ้าแม่โคกพนมดี” ได้แก่ ลูกปัดเปลือกหอยมากกว่า ๑๒๐,๐๐๐ เม็ด บริเวณกระดูกอกและแผ่นหลังลักษณะที่น่าจะเย็บติดกับผ้าเป็นเสื้อหรือเสื้อคลุมมากกว่าจะเป็นสายสร้อย เครื่องประดับศรีษะทำจากเปลือกหอย แผ่นวงกลมมีเดือยทำจากเปลือกหอย ๒ วงที่ไหล่ซ้ายขวา กำไลเปลือกหอยสวมข้อมือซ้าย เขี้ยวสัตว์เจาะรู ๕ เขี้ยวบริเวณอก และลูกปัดทรงตัวไอกว่า ๙๕๐ เม็ด ลักษณะที่อาจร้อยเป็นสายหรือเย็บติดกับผ้าสวมบริเวณอกและใต้แขน ลูกปัดเปลือกหอยทรงตัวไอกว่า ๙๕๐ เม็ด เครื่องประดับศรีษะ ทำจากเปลือกหอย ชุมชนโบราณสมัยเหล็กในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ก็พบหลักฐาน วี.ไอ.พี.เช่นกัน ที่แหล่งโบราณคดีเนินอุโลก อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา มีบุคคลพิเศษเป็นเพศหญิง ๑ โครง เพศชาย ๑ โครง อายุ ๑,๗๐๐ - ๑,๘๐๐ ปีมาแล้ว เป็นเพียง ๒ โครงเท่านั้นที่พบเครื่องประดับทองคำ ขณะที่โครงกระดูกอื่นๆในแหล่งตกแต่งร่างกายด้วยเครื่องประดับสำริดและหิน ได้แก่ กำไลสำริด แหวนสำริด จี้หินอาเกต ลูกปัดหินคาร์นีเลียนฯ วี.ไอ.พี. ชายหญิง ๒ โครงนี้ ประดับร่างกายด้วย สร้อยลูกปัดทองคำและแหวนเงิน ซึ่งเป็นวัสดุมีค่าหายากในสมัยนั้น ไม่สามารถผลิตเองได้เป็นสินค้านำเข้าจากต่างแดน โครงกระดูกเพศหญิงตกแต่งร่างกายโดดเด่นพิเศษมาก ด้วยสายสร้อยลูกปัดทองคำถึง ๖๘ เม็ดร่วมกับลูกปัดอะเกต จี้อะเกตบริเวณคอ ขดเกลียวสำริดที่หูซ้ายขวา กำไลสำริดอย่างน้อย ๓๘ วง แหวนนิ้วมือสำริด ๖๔ วง แหวนเงิน ๑ วง แหวนนิ้วเท้าสำริด ๙ วง และสวมแหวนเงิน ๑ วง ส่วนโครงกระดูกเพศชาย มีสร้อยคอลูกปัดทองคำ ๕๓ เม็ด แต่เครื่องประดับสำริดมีน้อยชิ้น ลูกปัดทองคำ ในหลุมฝังศพ วี.ไอ.พี. สมัยเหล็ก อายุ ๑,๗๐๐ - ๑,๘๐๐ ปีมาแล้ว สิ่งของอุทิศในพิธีกรรมการฝังศพยุคก่อนประวัติศาสตร์นี้ เป็นเสมือนตัวแทนความผูกพัน ความอาลัย การให้เกียรติและการแสดงความระลึกถึงของญาติพี่น้อง ผู้คนในชุมชนต่อผู้ตาย และบางส่วนคงเป็นของใช้ เครื่องมือประกอบอาชีพ เครื่องประดับที่ผู้ตายเคยใช้เมื่อครั้งยังมีชีวิตอยู่นั่นเอง. ข้อมูล : นางศิริพันธ์ ตาบเพ็ชร์ นักโบราณคดีชำนาญการพิเศษ กองโบราณคดี
ชื่อผู้แต่ง : สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรสชื่อเรื่อง : อุปสมบทวิธีและบุรพกิจสำหรับภิกษุใหม่ครั้งที่พิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ ๒๐สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพ ฯสำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์มหามกุฎิราชวิทยาลัยปีที่พิมพ์ : ๒๕๑๕ ให้รายละเอียดเกี่ยวกับอุปสมบทวิธี บรรพชาขอนิสสัย อุปสมบทเดี่ยว อุปสมบทคู่ บอกอนุศาสน์ คาถาตรวจน้ำ บุรพกิจสำหรับภิกษุใหม่ พินทุกัปปะอธิฐาน วิกัป วิธีแสดงอาบัติ คำปัจจเวกขณปัจจัย อารักขกัมมัฎฐาน นมัสการพระ ทำวัตรเช้า ทำวัตรค่ำ เข้าพรรษา ขอขมา ตลอดจนวิธีลสาสิกขา
ผู้แต่ง : พระครูวินัยสารนิเทศน์
ฉบับพิมพ์ : -
สถานที่พิมพ์ : ม.ป.ท.
สำนักพิมพ์ : ม.ป.พ.
ปีที่พิมพ์ : ม.ป.ป.
หมายเหตุ : -
มีเนื้อหาเกี่ยวกับประวัติวัดสุวรรณคูหา ตลอดจนบุคคลสำคัญของวัด และโบราณวัตถุของวัด
ชื่อเรื่อง : ประชุมพงศาวดาร เล่ม 9 (ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 9 และภาคที่ 10 ตอนต้น) ชื่อผู้แต่ง : - ปีที่พิมพ์ : 2507 สถานที่พิมพ์ : - สำนักพิมพ์ : - จำนวนหน้า : 390 หน้าสาระสังเขป : ประชุมพงศาวดาร เล่ม 9 ภาคที่ 9 มีเรื่อง 4 เรื่อง คือ พงศาวดารเมืองเชียงรุ้ง พงศาวดารเมืองไล พงศาวดารเมืองแถง และพงศาวดารเมืองเชียงแขง เมืองเหล่านี้ล้วนเป็นเมืองของชนชาติไทย เคยมาขึ้นอยู่ในพระราชอาณาจักรสยามบางยุคบางคราวแต่ก่อนมา ในคราวที่มีท้าวพระยาผู้ใหญ่ของเมืองนั้นๆ เข้ามาสวามิภักดิ์ จึงได้ถามเรื่องพงศาวดารของบ้านเมืองจดไว้เป็นความรู้ในราชการ ในภาคที่ 10 เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติของพระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ พระเจ้านครน่าน และพงศาวดารเมืองน่าน
ชื่อเรื่อง เรื่องเมืองพิษณุโลกผู้แต่ง สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพประเภทวัสดุ/มีเดีย หนังสือหายากหมวดหมู่ ภูมิศาสตร์และการท่องเที่ยวเลขหมู่ 918.936 ด495รสถานที่พิมพ์ พระนครสำนักพิมพ์ อักษรนิติปีที่พิมพ์ 2496ลักษณะวัสดุ 52 หน้า หัวเรื่อง จังหวัดพิษณุโลกภาษา ไทยบทคัดย่อ/บันทึก พิมพ์ในงานประทานเพลิงศพ คุณปุ้ย อิศรางกูร ณ อยุธยา พ.ศ.2496 เนื้อหาเกี่ยวกับตำนานเมืองพิษณุโลก
ชื่อเรื่อง ตำราโหราศาสตร์ (โหราศาสตร์)สพ.บ. 216/1ขประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 58 หน้า กว้าง 5 ซ.ม. ยาว 32.7 ซ.ม. หัวเรื่อง โหราศาสตร์
บทคัดย่อ/บันทึก
เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน-ไทยโบราณ เส้นจาร ฉบับลานดิบ ภาษาบาลี-ไทยอีสาน-ไทยโบราณ ได้รับบริจาคมาจากวัดทุ่งอุทุมพร ต.บางปลาม้า อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
ดอกพิกุลทอง
ศิลปะรัตนโกสินทร์ พุทธศตวรรษที่ ๒๕ หรือประมาณ ๑๐๐ ปีมาแล้ว
ทองคำ สูงเฉลี่ย ๐.๖ เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลางเฉลี่ย ๑.๕ เซนติเมตร
รับมาจากราชพัสดุ กระทรวงการคลัง
ดอกพิกุลทอง ขึ้นรูปจากแผ่นทองคำรูปกลมบางๆ ๒ แผ่น จักเป็นกลีบเรียวแหลมคล้ายกับกลีบดอกพิกุลตามธรรมชาติ กลีบดอกชั้นล่างแผ่บานรองรับกลีบชั้นบนที่หุบตูม แผ่นทองยึดติดกันด้วยตาไก่ที่ใต้ดอก
ตามคติแต่โบราณเชื่อกันว่าดอกพิกุล เป็นดอกไม้มงคลของต้นไม้ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ด้วยเหตุนี้ในพระราชพิธีสำคัญคือ พระราชพิธีบรมราชาภิเษก จึงมีการถวายดอกพิกุลทอง ดอกพิกุลเงิน ให้พระมหากษัตริย์พระองค์ใหม่ทรงโปรยในระหว่างการประกอบพระราชพิธี ทั้งนี้อาจเป็นด้วยความเชื่อว่าในหลวงทรงเป็นสมมติเทพที่ได้อุบัติลงมาจากสวรรค์ การโปรยดอกพิกุลจึงเสมือนกับการที่องค์สมมติเทพทรงโปรยดอกไม้จากสวรรค์ลงมาให้มนุษย์ได้ชื่นชมนั่นเอง
เลขทะเบียน : นพ.บ.123/18ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 88 หน้า ; 4.5 x 54 ซ.ม. : ล่องชาด ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 70 (232-242) ผูก 18 (2564)หัวเรื่อง : มงฺคลตฺถทีปปี (มงคลทีปนีอรรถกถา)--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม