ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,399 รายการ


จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ, 2396-2486.  พระราชหัตถเลขา ร.5 พระราชทานมายัง นายพันตรี พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร ราชองครักษ์.               พระนคร: โรงพิมพ์พระจันทร์, 2511. (พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ หม่อมเจ้าดิศศานุวัติ ดิศกุล ณ เมรุหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิริทราวาส              วันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2511).กล่าวถึงประวัติหม่อมเจ้าดิศศานุวัติ ดิศกุล และบันทึกส่วนพระองค์ ที่ปรากฎลายพระหัตถเลขาของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานมายังนายพันตรีพระองค์เจ้าดิศวรกุมาร ราชองครักษ์


โบราณสถานหอพระสูง (พระวิหารสูง)           ตั้งอยู่ในเขตตำบลคลัง อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช บริเวณเนินดินขนาดใหญ่ นอกกำแพงเมืองนครศรีธรรมราชด้านทิศเหนือ มีข้อสันนิษฐานหลายประการเกี่ยวกับประวัติการสร้างหอพระสูงและที่มาของเนินดิน เช่น เชื่อว่าเกิดจากชาวเมืองนครศรีธรรมราชช่วยกันขุดดินจากบริเวณคลองหน้าเมืองมาถมจนเป็นเนินใหญ่ เพื่อใช้ตั้งปืนใหญ่ในการสกัดทัพพม่า ในคราวที่มีการยกทัพมาตีหัวเมืองภาคใต้ตั้งแต่มะริด ถลาง ไชยา เรื่อยมาจนถึงนครศรีธรรมราช เมื่อครั้งสงคราม ๙ ทัพ พ.ศ. ๒๓๒๘ นอกจากนี้ยังมีความเชื่อท้องถิ่นว่าเป็นสถานที่ปลงพระบรมศพพระเจ้าตากสินมหาราช เป็นต้น ภายหลังเนินดินนี้ได้กลายเป็นที่รกร้างมีต้นไม้ปกคลุมหนาแน่น กระทั่งพ.ศ. ๒๓๗๗ เจ้าพระยานคร (น้อย) เห็นว่าควรจะสร้างขวัญกำลังใจให้แก่ชาวเมือง จึงให้สร้างพระพุทธรูปขึ้นบนเนินนั้นและสร้างวิหารสำหรับประดิษฐานพระพุทธรูป เรียกว่า “หอพระสูง” หอพระสูง เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน ทรงไทย แผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดกว้าง ๕.๙๐ เมตร ยาว ๑๓.๒๐ เมตร สูง ๓.๕๐ เมตร หันหน้าไปทางทิศตะวันออก หลังคาเป็นเครื่องไม้มุงกระเบื้องดินเผา ผนังทั้งสองด้านทำช่องรับแสงเป็นรูปกากบาท ฐานชั้นล่างก่ออิฐเป็นตะพัก ๔ ชั้น มีบันไดทางขึ้นด้านหน้า ภายในวิหารมีภาพจิตรกรรมฝาผนังทั้ง ๔ ด้าน เขียนด้วยสีน้ำตาลเป็นลายรูปดอกไม้ร่วงแปดกลีบ เกสรเป็นลายไทย  ภายในหอพระสูงเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นลงรักปิดทอง ประทับนั่งขัดสมาธิราบ แสดงปางมารวิชัย แกนในของพระพุทธรูปทำด้วยดินเหนียวทาน้ำปูน ลักษณะพระวรกายอวบอ้วน กำหนดอายุพุทธศตวรรษที่ ๒๓ - ๒๔ ซึ่งตรงกับสมัยอยุธยาตอนปลายถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ฐานพระพุทธรูปตกแต่งด้วยลวดลายเขียนสีลายดอกโบตั๋นเคล้าภาพนก กระรอก ศิลปะจีนผสมกับศิลปะไทย สันนิษฐานว่าเขียนขึ้นในภายหลัง นอกจากนั้นยังพบพระพุทธรูปหินทรายแดง พระพุทธรูปประทับยืน และเศียรพระพุทธรูป ปัจจุบันเก็บรักษา ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช            กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนและกำหนดเขตที่ดินโบราณสถานหอพระสูง (พระวิหารสูง) ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๘ ตอนที่ ๖๓ หน้า ๑๒๐๖ วันที่ ๒๘ เมษายน ๒๕๒๔ เนื้อที่โบราณสถานประมาณ ๑ ไร่ ๒ งาน ๗๙ ตารางวา Ho Phra Sung  (Phra Viharn Sung)           Hor Phra Sung or Phra Viharn Sung is located at Klang Sub-district, Mueang Nakhon Si Thammarat District, Nakhon Si Thammarat Province. This monument is on the large mound outside of the northern city wall. There’re many folklore about Ho Phra Sung. For example, belief that the large mound was made of soil from the canal in front of the city to place cannons to intercept the Burmese’s army in Burmese – Siamese war 1785 and the belief that this is the place where King Taksin the Great was cremated. This mound was abandoned until 1834 Chao Phraya Nakhon (Noi) ordered to build the Buddha image and Viharn for enshrined a Buddha image on the mound called “Ho Phra Sung” to encourage the people.           Ho Phra Sung is a Thai style building in rectangular shape. It was built with bricks and lime. The size of the building is 5.90 metres wide, 13.20 metres long and 3.50 metres high. The building faces east. The roof was made of wood and terracotta roof tiles. In each side of the wall, there’s a rectangular clerestory window. The base made of bricks and has four tiers. There was a steps in front of the building. Inside the shrine, the walls were decorated with mural paintings of eight-petals falling flowers that were drawn in brown and pollens were drawn in Thai style drawing. The base of the Buddha image, which was decorated with peony, bird and squirrel in Chinese and Thai arts. The Buddha image was made of clay, covered with stucco, lacquered and gilded with gold leafs. The Buddha image has corpulent body, in the attitude of Subduing Mara, sitting cross-legs with one top of another, dating between the 18th and 19th century, during the late Ayutthaya period to early Rattanakosin period. In addition, the red sandstone Buddha image, the standing Buddha image and the head of Buddha image which were found here are now kept at the Nakhon Si Thammarat National Museum.           The Fine Arts Department announced the registration of Ho Phra Sung as a national monument and 2,716 squares - metres of national monument area in the Royal Gazette, Volume 98, Part 63, page 1206, dated 28th April 1981.    


***บรรณานุกรม***    กฎหมายตราสามดวง เล่ม 1 พระนคร  โรงพิมพ์คุรุสภา 2505





ความฝันอันสูงสุด : “Kwam Fan An Sung Sut”(The Impossible Dream)  เพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่ 43           เพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่ 43 ทรงพระราชนิพนธ์ในพุทธศักราช 2514 ท่านผู้หญิงมณีรัตน์บุนนาคเล่าไว้ในหนังสือ “ภิรมย์รัตน์” ว่าเมื่อตนตามเสด็จฯ ไปอยู่ที่ตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์พุทธศักราช 2512 ได้รับ     พระราชเสาวนีย์จากสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ให้เขียนกลอนแสดงความนิยมส่งเสริมคนดีให้มีกำลังใจทำงานเพื่ออุดมคติเพื่อประเทศชาติ           “ข้าพเจ้าค่อยๆ คิดคำกลั่นกรองให้ตรงกับความหมายเท่าที่จะสามารถ แล้วทูลเกล้าฯ ถวายทอดพระเนตรทรงพระกรุณาติชม จนผลสุดท้ายออกมาเป็นกลอน 5 บท... ความบันดาลใจในเรื่องนี้มีที่มาจากการสังเกตของข้าพเจ้าได้รู้เห็นพระราชอัธยาศัยพระราชจริยวัตรที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงประพฤติปฏิบัติอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน ไม่เสื่อมคลาย”           สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พิมพ์กลอนบทนี้ลงในกระดาษการ์ดแผ่นเล็กๆ พระราชทานข้าราชการ ทหาร ตำรวจ พลเรือน และผู้ทำงานเพื่อประเทศชาติ เตือนสติมิให้ท้อถอยในการทำความดีเพราะบ้านเมืองขณะนั้นยุ่งอลเวงน่าเป็นห่วงอนาคตของประเทศชาติ ต่อมาสมเด็จ พระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถได้กราบบังคมทูลพระกรุณาขอพระราชทานทำนองเพลงพระราชนิพนธ์ใส่ คำกลอน “ความฝันอันสูงสุด” ซึ่งเป็นเพลงพระราชนิพนธ์ที่รู้จักกันแพร่หลายทุกวันนี้ นับเป็นเพลงที่แต่งคำร้องก่อนพระราชนิพนธ์ทำนอง   Royal Composition Number 43          The forty-third royal musical composition was written in 1971. Thanpuying Maniratana Bunnag related in the book “ Phirom Ratana” that when she accompanied the royal party to stay at Bhubing Palacein 1969 , she was instructed by Her Majesty the Queen to write a poem encouraging the well-intentioned to work for their ideals and for the nation.           “...I carefully searched for words to communicate the messageat the best of my ability and gradually presented to Her Majestyfor review, until finally I got five simple verses. My inspirationcame from my close observation of the determination of His Majesty in carrying out his duties day in and day out...”           Her Majesty the Queen had the poem printed on small cards anddistributed to officials, soldiers , police and civilians who work for thecountry , reminding them not to be discouraged in performing gooddeeds as the country was then in turmoil and the future was threatened.            Her Majesty the Queen later requested the melody for the poem "Kwam Fan An Sung Sut" from His Majesty which become a widelyknown royal composition .It was the song with the lyrics composed first before the tune was written.


เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2559 นายอนันต์ ชูโชติ อธิบดีกรมศิลปากร พร้อมคณะ ได้เดินทางมาเยี่ยมเยียนบุคลากรหอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ ตรัง และหอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ ตรัง พร้อมรับฟังผลการดำเนินงานที่ผ่านมา ทั้งยังให้คำแนะนำในการปฏิบัติงานที่เน้นย้ำให้มีการบูรณาการงานร่วมกันเพื่อก่อให้เกิดการทำงานที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ณ ห้องประชุมหอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ ตรัง


สำนักศิลปากรที่ ๘ เชียงใหม่ ร่วมกับ อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย จะดำเนินการโครงการ "เพาะ กล้า รักษ์" กิจกรรม คืนธรรมชาติ ปลูกสัก รักษ์เชียงแสน เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในโอกาสพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๒ พรรษา ในวันที่ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๕๗ เวลา ๙.๐๐ น. เป็นต้นไป ณ บริเวณคูเมืองกำแพงเมืองเชียงแสน หน้าวัดป่าสัก อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย จึงขอเรียนเชิญท่านผู้สนใจเข้าร่วมโครงการ ในวันและเวลาดังกล่าว


พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ เกิดเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2463  ที่ตำบลบ่อยาง  อำเภอเมือง  จังหวัดสงขลา  เป็นบุตรของรองอำมาตย์โทหลวงวินิจทัณฑกรรม (บึ้ง ติณสูลานนท์) และนางวินิจทัณฑกรรม (ออด ติณสูลานนท์)  เป็นบุตรคนที่ 6 ในจำนวนพี่น้อง 8 คน    พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ เข้ารับการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เมื่อปี พ.ศ. 2469 ที่โรงเรียนมหาวชิราวุธ จังหวัดสงขลา หมายเลขประจำตัว 167  สำเร็จชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6  เมื่อปี พ.ศ.2478  เข้าศึกษาต่อชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 7 - 8 แผนกวิทยาศาสตร์  ที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย  หมายเลขประจำตัว 7587 พลเอก เปรม ติณสูลานนท์  ผ่านการสอบคัดเลือกเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา ณ โรงเรียนเท็ฆนิคทหารบก (ปัจจุบัน คือ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า) เมื่อปี พ.ศ.2481  โดยเข้ารับการศึกษาเป็นรุ่นที่ 5 มีเพื่อนร่วมรุ่น 55 นาย สำเร็จการศึกษาเมื่อปี พ.ศ.2484 ใช้เวลาเพียง 3 ปี ไม่ครบ 5 ปี ตามหลักสูตร  เนื่องจากเกิดกรณีพิพาทระหว่างรัฐบาลไทยกับฝรั่งเศสขึ้น จึงจำเป็นต้องให้นักเรียนนายร้อยออกรับราชการก่อนกำหนด พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ เริ่มรับราชการเป็นผู้บังคับหมวด ประจำกรมรถรบ เมื่อวันที่ 3 มกราคม 2484 ปฏิบัติหน้าที่ ณ สมรภูมิรบปอยเปต ประเทศเขมร ในกรณีพิพาทในอินโดจีนระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลฝรั่งเศส และได้รับแต่งตั้งให้เป็นว่าที่ร้อยตรี (รับกระบี่ในสนามรบ) เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2484   พ.ศ. 2485 - 2488  เกิดสงครามมหาเอเชียบูรพา จึงได้รับคำสั่งให้ไปประจำการเป็นกองหนุนของกองทัพพายัพ จังหวัดลำปาง  ต่อมากองทัพเคลื่อนย้ายไปอยู่เชียงราย และได้รับคำสั่งให้ไปขึ้นอยู่กับกองพล.3  ที่เชียงตุง  จนได้เลื่อนยศเป็น ร้อยเอก และเป็นผู้บังคับกองร้อยที่ลพบุรี  พ.ศ. 2489 - 2492 เป็นผู้บังคับกองร้อยที่ 2 กองพันที่ 1 กรมรถรบ ได้เข้าศึกษาเป็นนายทหารฝึกหัดราชการ โรงเรียนนายทหารม้า เมื่อจบการศึกษาได้กลับมารับตำแหน่งผู้บังคับกองร้อยเดิม และรักษาราชการผู้บังคับกองพันที่ 1 กรมรถรบ 1 กรกฎาคม 2492  ได้รับพระราชทานยศ "พันตรี"  พ.ศ. 2493 เป็นผู้บังคับกองร้อยที่ 3 กองพันทหารม้าที่ 4 จังหวัดอุตรดิตถ์  รองผู้บังคับกองพันทหารม้าที่ 4 และรองผู้บังคับการจังหวัดทหารบกอุตรดิตถ์อีกตำแหน่งหนึ่ง พ.ศ. 2495 ได้รับทุนจากกองทัพบกโดยการสอบแข่งขันได้ไปศึกษาต่อที่ The United States Army Armor School รัฐเคนตักกี้  ประเทศสหรัฐอเมริกา  สำเร็จการศึกษาเมื่อต้นปี พ.ศ. 2497  กลับมารับราชการเป็นอาจารย์ในแผนกวิชายุทธวิธี  กองการศึกษา  โรงเรียนยานเกราะ  กองพลน้อยทหารม้า (กรุงเทพฯ)  30 มกราคม 2497  ได้รับพระราชทานยศ "พันโท"  พ.ศ. 2497 - 2498  เป็นผู้บังคับกองพันทหารม้าที่ 5  กรมทหารม้าที่ 2  และเป็นอาจารย์หัวหน้าแผนกวิชาทหาร  กองการศึกษา  โรงเรียนยานเกราะ 1 มกราคม 2499  ได้รับพระราชทานยศ "พันเอก"  พ.ศ. 2501  เป็นผู้ช่วยผู้บัญชาการโรงเรียนทหารม้ายานเกราะ ศูนย์การทหารม้า จังหวัดสระบุรี  เป็นรองผู้บัญชาการโรงเรียนทหารม้ายานเกราะ  ศูนย์การทหารม้า พ.ศ. 2506  เป็นรองผู้บัญชาการโรงเรียนทหารม้า  ศูนย์การทหารม้า  และเป็นรองผู้บังคับการจังหวัดทหารบก  สระบุรี พ.ศ. 2509 - 2510  เข้าศึกษาในวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักรรุ่นที่ 9 (ยศพันเอก)  เดินทางไปดูงานที่ประเทศญี่ปุ่น และเกาหลี 1 ตุลาคม 2511 ได้รับพระราชทานยศ "พลตรี" และให้ดำรงตำแหน่ง "ผู้บัญชาการศูนย์การทหารม้า" และ "ผู้บังคับการจังหวัดทหารบกสระบุรี" พ.ศ. 2512 เป็นองครักษ์เวร เป็นนายทหารพิเศษประจำกรมทหารม้าที่ 1 รักษาพระองค์ 1 ตุลาคม 2516  เป็นรองแม่ทัพภาคที่ 2 จังหวัดสกลนคร 1 ตุลาคม 2517  ได้รับพระราชทานยศ "พลโท" และดำรงตำแหน่ง "แม่ทัพภาคที่ 2" พ.ศ. 2518  เป็นราชองครักษ์พิเศษ 1 ตุลาคม 2520 ได้รับพระราชทานยศ "พลเอก" และดำรงตำแหน่งผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก และปฏิบัติหน้าที่รองผู้อำนวยการป้องกันการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ทั่วไปฝ่ายทหาร พ.ศ. 2521  เป็นผู้บัญชาการทหารบก  จนเกษียณอายุราชการ  เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2523  และคณะรัฐมนตรีได้มีมติต่ออายุราชการอีก 1 ปี 26 สิงหาคม 2524 พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ได้อำลาการรับราชการทหาร เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2523  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์  ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี นับเป็นนายกรัฐมนตรี คนที่ 16 ของประเทศไทย  ก่อนได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ เริ่มรับราชการทางการเมืองโดยได้รับการแต่งตั้งให้เป็นวฺุฒิสมาชิก เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2511  เป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2515 เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน2520 และเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เมื่อวันที่ 22พฤษภาคม 2522  พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ตั้งแต่ 3 มีนาคม 2523 จนถึงวันที่ 4 สิงหาคม 2531 รวมทั้งสิ้น 3 ครั้ง มีคณะรัฐมนตรีทั้งหมด 5 ชุด รวมเวลาทั้งสิ้น 8 ปี 5 เดือน หลังจากการปฏิเสธการรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อไป พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งองคมนตรี เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2531 ต่อมาเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2531 ทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ประกาศยกย่อง พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ไว้ในฐานะรัฐบุรุษ และเมื่อวันที่ 4 กันยายน 2541 จึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นประธานองคมนตรีในสมัยรัชกาลที่ 9 จนถึง วันที่ 13 ตุลาคม 2559  จากนั้นดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ตั้งแต่วันที่ 13 ตุลาคม - 1 ธันวาคม 2559  และดำรงตำแหน่งประธานองคมนตรี ในสมัยรัชกาลที่ 10 ตั้งแต่วันที่ 2 ธันวาคม 2559  ถึงแก่อสัญกรรม เมื่อวันอาทิตย์ที่ 26 พฤษภาคม 2562 เวลา 9 นาฬิกา 9 นาที  สิริอายุ  99 ปี  



ตึกถาวรวัตถุ ซึ่งปัจจุบันใช้เป็นสถานที่จัดแสดงนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จัดขึ้นเนื่องในโอกาส 100 ปี แห่งการสวรรคตของพระบามสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว 23 ตุลาคม พ.ศ. 2553 เพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 5 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์    ตึกถาวรวัตถุ ซึ่งตึกนี้สร้างขึ้นตามพระราชประสงค์ระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงใช้เป็นพระที่นั่งทรงธรรมในการพระเมรุของพระองค์เอง ก่อสร้างแล้วเสร็จในสมัยรัชกาลที่ 6 จากนั้น พระราชทานเป็นที่ตั้งของหอสมุด วชิรญาณสำหรับพระนคร เมื่อถึงสมัยรัชกาลที่ 7 คงให้ใช้เป็นที่เก็บหนังสือตัวพิมพ์ข่าว พระราชทานนามใหม่ว่า หอพระสมุดวชิราวุธ ปัจจุบันเป็นอาคารนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กำเนิดอาคารถาวรวัตถุ อาคารถาวรวัตถุ หรือตึกแดง ตั้งอยู่ฝั่งทิศตะวันตกของสนามหลวง ด้านหน้าวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ ล้นเกล้ารัชกาลที่ 5 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นด้วยพระราชประสงค์ 2 ประการ ประการแรก เพื่อให้เป็นที่เล่าเรียนของพระสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย หลังจากที่ได้โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งมหาธาตุวิทยาลัยขึ้น ณ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ เมื่อวันที่ 8 พ.ย. 2432 แต่ยังขาดสถานที่เรียนอันเหมาะสม จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเสนาสนะสำหรับพระสงฆ์ขึ้น ประการที่สอง ประจวบกับสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จสวรรคตเมื่อปี พ.ศ.2437 โดยพระราชประเพณีจะต้องสร้างพระเมรุมาศขนาดใหญ่ ตามพระเกียรติยศขึ้นที่ท้องสนามหลวง พระองค์มีพระราชดำริว่า เป็นการสิ้นเปลืองพระราชทรัพย์ในการสร้างสิ่งที่ไม่ได้เป็นถาวรวัตถุ เพราะสร้างใช้งานชั่วคราว เสร็จงานแล้วก็รื้อทิ้ง จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ เป็นผู้อำนวยการสร้างอาคารตึกถาวรวัตถุขึ้น ณ บริเวณกุฏิสงฆ์วัดมหาธาตุด้านทิศตะวันออก ลักษณะอาคารเป็นยอดปรางค์ 3 ยอด เพื่อเป็นที่อัญเชิญพระบรมศพสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร มาประดิษฐานบำเพ็ญพระราชกุศลทักษิณานุประทาน เมื่อการบำเพ็ญพระราชกุศลนั้นแล้วจะได้ถวายอาคารนี้ให้เป็นสังฆิกเสนาสนะสำหรับมหาธาตุวิทยาลัยต่อไป แต่การก่อสร้างยังไม่แล้วเสร็จในรัชกาลของพระองค์ (เพราะสวรรคตก่อน) พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างต่อจนเสร็จ แล้วพระราชทานให้เป็นที่ตั้งหอพระสมุดสำหรับพระนคร เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดเมื่อวันที่ 6 ม.ค. 2459 สมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ตึกถาวรวัตถุนั้น ทรงให้ใช้เป็นที่เก็บหนังสือตัวพิมพ์ ทรงพระราชทานนามใหม่ว่า หอพระสมุดวชิรญาณ ต่อมาและเป็นอาคารหอสมุดแห่งชาติ จนกระทั่งได้ย้ายหอสมุดแห่งชาติไปตั้งที่แห่งใหม่ที่ท่าวาสุกรี เมื่อ พ.ศ. 2508 ตึกถาวรวัตถุยังเป็นที่ตั้งสำนักงานราชบัณฑิตยสถานต่อ จนกระทั่งสำนักงานย้ายไปอยู่ในพระบรมมหาราชวัง ตึกนี้ไม่มีการใช้งานอื่นใด กรมศิลปากร สมัยนายเกรียงไกร สัมปัชชลิต เป็นอธิบดี ได้ปรับปรุงเพื่อเป็นที่จัดแสดงนิทรรศการพระราชประวัติ และพระราชกรณียกิจในรัชกาลที่ 5 เมื่อปี พ.ศ. 2552 ซึ่งเป็นที่องค์ยูเนสโกประกาศขึ้นทะเบียนเอกสารในการปฏิรูปประเทศของรัชกาลที่ 5 เป็นมรดกโลก   สื่อมัลติมีเดีย: ต่อไป >    


วันที่ ๑๙ - ๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๓ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ จัดโครงการเผยแพร่ความรู้ประวัติศาสตร์โบราณคดีและศิลปวัฒนธรรม ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๓ ณ พิพิธภัณฑ์ชุมชนช่างปี่ ตำบลช่างปี่ อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ โดยได้รับเกียรติจากท่านผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ นายไกรสร กองฉลาด เป็นประธานในพิธี โดยมีหน่วยงานราชการ นักเรียน และชาวบ้านชุมชนช่างปี่ เข้าร่วมโครงการในครั้งนี้



Messenger