ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,393 รายการ
ชื่อผู้แต่ง -
ชื่อเรื่อง ประชุมพงศาวดาร ที่ ๖๑
ครั้งที่พิมพ์ พิมพ์ครั้งที่ 3
สถานที่พิมพ์ กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ โรงพิมพ์ชวนพิมพ์
ปีที่พิมพ์ 2516
จำนวนหน้า 197 หน้า
รายละเอียด ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๖๑ เล่มนี้เป็นหนังสือที่ขออนุญาตพิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พลตรีเจ้าราชบุตร (วงศ์ตวัน ณ เชียงใหม่) เป็นเรื่องราวของชาวไทยสมัยก่อนที่ยกลงมาเป็นใหญ่ในกลุ่มน้ำเจ้าพระยา ประกอบด้วย พงศาวดาร 2 เรื่อง คือ พงศาวดารเมืองเงินยางเชียงแสนและ ตำนานสิงหนวติกุมาร
ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 นอกจากจะเป็นวันสำคัญทางพุทธศาสนาอย่างวันวิสาขบูชาแล้ว ยังเป็น “วันต้นไม้แห่งชาติ” ด้วย โดยวันต้นไม้แห่งชาติ มีขึ้นเพื่อให้ประชาชนร่วมกันปลูกต้นไม้เพิ่มพูนทรัพยากรทางธรรมชาติของประเทศ และของโลก กำหนดให้ตรงกับวันวิสาขบูชา เนื่องจากช่วงเวลาดังกล่าวเป็นช่วงระยะเริ่มต้นของฤดูฝนที่เอื้อต่อการเจริญเติบโตของต้นกล้าที่เพิ่งปลูก ในโอกาสนี้ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์ ขอนำเสนอเรื่อง “ต้นจันพระนารายณ์” ต้นไม้ที่ยืนต้นอยู่คู่วังมาเมื่อครั้งแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
.............................................................................
ใต้ร่มจันรุกขมรดกสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
.............................................................................
“ในบริเวณพระที่นั่งสมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงปลูกพันธุ์ดอกไม้ด้วยพระองค์เอง ตรงหน้าพระที่นั่งปลูกต้นส้ม มะนาว และพันธุ์ไม้ในประเทศอย่างอื่น มีใบดกหนาทึบ แม้ยามแดดร้อนตะวันเที่ยงก็ร่มรื่นอยู่เสมอ”
คำบรรยายถึงพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ ณ พระนารายณ์ราชนิเวศน์ โดย นิโกลาส์ แชร์แวส ชาวฝรั่งเศส
.............................................................................
แม้ว่าในปัจจุบันต้นไม้ที่สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงปลูกด้วยพระหัตถ์จะไม่หลงเหลือให้เห็นแล้ว แต่ที่พระนารายณ์ราชนิเวศน์ยังมีต้นไม้สำคัญหนึ่งต้นที่ยืนต้นมาอย่างยาวนาน ผ่านการเปลี่ยนแปลงของพระราชวังแห่งนี้มาตลอดระยะเวลากว่า 300 ปี
#ต้นจันพระนารายณ์ ยืนต้นอยู่ในเขตพระราชฐานชั้นกลางของพระนารายณ์ราชนิเวศน์ อยู่ด้านหน้าแนวกำแพงเตี้ย ๆ ด้านหน้าพระที่นั่งจันทรพิศาล ใกล้กับประตูวังด้านข้างที่มีทางออกไปสู่บ้านหลวงรับราชทูต หรือที่รู้จักกันในนาม บ้านวิชาเยนทร์ จากการศึกษาเพื่อกำหนดอายุของต้นจันพบว่า ต้นจันต้นนี้มีอายุมากกว่า 300 ปี ซึ่งถือได้ว่าเป็นต้นไม้เก่าแก่ที่ร่วมสมัยกับแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
ต้นจันเป็นไม้ยืนต้น เรือนยอดเป็นทรงกลมหรือทรงกระสวย หนาทึบ ลำต้นตรง เปลือกต้นเรียบ สีน้ำตาลอมเทาหรือดำแตกเป็นสะเก็ด ส่วนกิ่งอ่อน ยอดอ่อนจะมีขนสีน้ำตาลปกคลุม และมีกิ่งก้านเหนียว เป็นต้นไม้ที่เจริญเติบโตช้า และเป็นผลไม้ที่มีลักษณะพิเศษคือ ต้นเดียวกันแต่สามารถออกผลได้ 2 แบบ คือ ผลกลมแป้น มีรอยบุ๋มตรงกลางผล ไม่มีเมล็ดหรือเป็นเมล็ดลีบ เรียกว่า #ลูกจัน อีกแบบหนึ่งมีลักษณะเป็นผลกลมหนา และไม่มีรอยบุ๋ม มีเมล็ด 2 – 3 เมล็ด เรียกว่า #ลูกอิน
บริเวณแห่งนี้เป็นหนึ่งในพื้นที่ที่ร่วมเป็นพยานสำคัญในเหตุการณ์ช่วงปลายรัชกาลของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชที่เกิดความไม่สงบภายในหลายประการจากการแย่งชิงอำนาจของขุนนางกลุ่มต่าง ๆ ในราชสำนัก หนึ่งในนั้นคือเหตุการณ์การจับกุมออกญาวิชาเยนทร์ หรือ คอนสแตนติน ฟอลคอน ขณะที่ออกญาวิชาเยนทร์นั่งเสลี่ยงจากที่พักอาศัยที่อยู่ไม่ไกลจากพระราชวังนัก เมื่อผ่านประตูวังเข้ามาได้ถูกจับกุมโดยทหารของพระเพทราชา และถูกนำไปสำเร็จโทษ อันถือเป็นเหตุการณ์สำคัญที่พลิกขั้วอำนาจทางการเมืองให้ไปอยู่ที่กลุ่มของขุนนางฝ่ายพระเพทราชาเพียงกลุ่มเดียว
นอกจากจะเป็นต้นไม้ใหญ่ที่ยืนยงอยู่คู่พระราชวังแห่งเมืองละโว้ผ่านกาลเวลามากว่า 300 ปี และยังให้ร่มเงาแก่ทั้งเจ้าหน้าที่ รวมทั้งนักท่องเที่ยวที่มาเยือนพระนารายณ์ราชนิเวศน์แล้ว ในพุทธศักราช 2560 เมื่อคราวเปลี่ยนแผ่นดินในราชวงศ์จักรีสู่แผ่นดินในรัชกาลที่ 10 กระทรวงวัฒนธรรมได้มีการสำรวจต้นไม้ใหญ่ที่ทรงคุณค่าทั่วประเทศและได้คัดเลือกต้นไม้ใหญ่จำนวน 65 ต้น และประกาศให้ต้นไม้เหล่านั้นเป็น “รุกข มรดกของแผ่นดิน ใต้ร่มพระบารมี” ซึ่ง “ต้นจันพระนารายณ์” เป็นหนึ่งในต้นไม้ใหญ่ที่ทรงคุณค่าในโอกาสนี้ด้วย
.............................................................................
อ้างอิง
กรมศิลปากร. หนังสือนำชมพระนารายณ์ราชนิเวศน์. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : บริษัท นะรุจ จำกัด, 2560.
_________.ต้นไม้ใหญ่ ในแผ่นดินถิ่นประวัติศาสตร์ลพบุรี. กรุงเทพฯ : บริษัท โรงพิมพ์รตนพร จำกัด, 2561.
กระทรวงวัฒนธรรม. รุกข มรดกของแผ่นดิน ใต้ร่มพระบารมี. เข้าถึงได้จาก : http://tree.culture.go.th/mobile/index.html#p=1
นิโกลาส์ แชร์แวส. ประวัติศาสตร์ธรรมชาติและการเมืองแห่งราชอาณาจักรสยาม : ในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช. สันต์ ท. โกมลบุตร แปล. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ก้าวหน้า, 2506.
.............................................................................
เรียบเรียงโดย นางสาววสุนธรา ยืนยง นักวิชาการวัฒนธรรม
#MuseumInsider
จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ, 2396-2453. พระราชหัตถเลขา เรื่องเสด็จประพาสลำน้ำมะขามเฒ่า. พระนคร : กรมศิลปากร, 2505. การเสด็จพระพาสครั้งนี้นั้บเป็นครั้งที่ 3 ในการเสด็จประพาสหัวเมืองฝ่ายเหนือในรัชกาลที่ 5 เสด็จโดยรถไฟจนถึงเมืองนครสวรรค์ และลงเรือพระที่นั่งล่องลงมาเข้าปากน้ำมะขามเฒ่า ประพาสทางลำน้ำเมืองชัยนาท เมืองสุพรรณบุรี เมืองอ่างทอง และเมืองสิงห์บุรี
สำนักการสังคีต ขอเชิญร่วมกิจกรรมโครงการจัดการแสดงแนวอนุรักษ์มรดกทางศิลปวัฒนธรรมด้านนาฏดุริยางคศิลป์ การเสวนาทางวิชาการ เรื่อง “มหาชาติอิทธิพลต่อวัฒนธรรมไทยในแง่มุมต่างๆ” วิทยากรโดย อาจารย์บุญเตือน ศรีวรพจน์ ผู้เชี่ยวชาญด้านอักษรศาสตร์ (ภาษาและวรรณกรรม) กรมศิลปากร อาจารย์ธนโชติ เกียรติณภัทร ภาควิชาภาษาไทย และภาษาตะวันออก คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง พร้อมชมการแสดงละครชาดก เรื่องมหาเวสสันดร กัณฑ์ชูชก และกัณฑ์กุมาร วันที่ ๑ กันยายน ๒๕๖๕ เวลา ๑๓.๐๐ น. ณ โรงละครแห่งชาติ นำแสดงโดย ศิลปินสำนักการสังคีต กำกับการแสดงโดย ปกรณ์ พรพิสุทธิ์ ชมฟรี! ผู้สนใจสามารถรับบัตรชมการแสดง (ท่านละไม่เกิน ๔ ใบ) ตั้งแต่วันที่ ๒๒ สิงหาคม ๒๕๖๕ เป็นต้นไป ณ ห้องจำหน่ายบัตร โรงละครแห่งชาติ (เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๖.๐๐ น.) และรับบัตรออนไลน์ที่ https://ntt.finearts.go.th (เปิดด้วยโปรแกรมเว็บเบราเซอร์ อาทิ Safari, Google Chrome, Firefox, Internet Explorer) สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม (วันและเวลาราชการ) โทร. ๐ ๒๒๒๔ ๑๓๔๒ และ ๐ ๒๒๒๑ ๐๑๗๑
ชื่อเรื่อง สืบสานวัฒนธรรมและประเพณีชาวไทยโซ่งในประเทศไทยครั้งที่พิมพ์ 2ผู้แต่ง นุกูล ชมภูนิชประเภทวัสดุ/มีเดีย หนังสือท้องถิ่นISBN/ISSN -หมวดหมู่ ขนมธรรมเนียม ประเพณี คติชนวิทยาเลขหมู่ 390.09593 น722สสถานที่พิมพ์ นครปฐม สำนักพิมพ์ เพชรเกษมการพิมพ์ ปีที่พิมพ์ 2540ลักษณะวัสดุ 200 หน้า : ภาพประกอบ ; 30 ซม.หัวเรื่อง ไทยโซ่ง -- ความเป็นอยู่และประเพณีภาษา ไทยบทคัดย่อ/บันทึก รวบรวมเรื่องราวของประเพณีสำคัญๆ ของชาวไทยโซ่ง เป็นการสืบทอดให้อนุชนรุ่นหลังได้ศึกษา
สำนักหอสมุดแห่งชาติ ขอเชิญรับชมรายการ "นิทานวันเสาร์ Kids Inspiration" ที่จะนำนิทานสนุกๆ สอดแทรกทั้งความรู้ มาแบ่งปันและเล่าให้ฟังในทุกวันเสาร์ เวลา 10 โมงเช้า ในวันเสาร์ที่ 29 ตุลาคม 2565 พบกับนิทานเรื่องที่ 39 นำเสนอเรื่อง "นิทานผ่านไปรษณียบัตร" เล่าโดย รองศาสตราจารย์กุลวรา ชูพงศ์ไพโรจน์ ข้าราชการบำนาญ สาขาวรรณกรรมสำหรับเด็กมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ติดตามชมได้ทางเฟสบุ๊ก National Library of Thailand https://www.facebook.com/NationalLibraryThailand/
กรมศิลปากร โดยสำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ขอเชิญชวนผู้สนใจร่วมเรียนรู้พร้อมรับพรปีใหม่อันเป็นมงคลจากผู้คุ้มครองดวงชะตาทั้งจากพระและเทพเจ้า รวมถึงสิ่งศักดิ์สิทธิ์สำคัญ ผู้ทำหน้าที่ปกปักรักษาในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ในกิจกรรม “นบพระ ไหว้ (เทพ) เจ้า” เนื่องในเทศกาลปีใหม่ ในวันที่ ๓๐ ธันวาคม ๒๕๖๕ ถึงวันที่ ๒ มกราคม ๒๕๖๖ เวลา ๑๗.๐๐ - ๑๘.๐๐ น. วันละ ๑ รอบๆ ละ ๔๐ – ๕๐ คน ลงทะเบียนร่วมกิจกรรมในวันงาน (เวลา ๑๖.๓๐ น.) ณ ศาลาลงสรง พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
เส้นทางกิจกรรมนำชมในครั้งนี้ แบ่งสิ่งศักดิ์สิทธิ์ออกเป็น ๒ ประเภทคือ ๑. เทพเจ้ากับพระพุทธ ผู้ครองเรือนชะตามนุษย์ และ ๒. สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ผู้ปกปักรักษา ดังนี้
๑. ผู้ครองเรือนชะตามนุษย์ ตามความเชื่อของศาสนาฮินดู ได้แก่ นพเคราะห์ทั้ง ๙ (อุปสรรค) ผู้ให้คุณและโทษแก่ผู้เกิดในวันนั้น ๆ โดยมีพระคเณศเป็นเจ้าแห่งอุปสรรคทั้งหลาย นพเคราะห์เหล่านี้เองที่เป็นต้นแบบให้กับ รูปแม่ซื้อ ที่แขวนไว้เหนือเปลเด็กเกิดใหม่ โดยนำภาพสัตว์เทพพาหนะของแต่ละองค์มาแทนศีรษะ แม่ซื้อในแต่ละวัน อย่างไรก็ตาม เมื่อครั้งแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์์โปรดให้สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระปรมานุชิตชิโนรส ทรงคัดเลือกลักษณะปางหรือมุทราตามที่ปรากฏในพุทธประวัติของพระบรมศาสดา จำนวน ๔๐ ปาง มาสร้างถวายเป็นพุทธบูชา และต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ จึงปรากฏการสร้างพระพุทธรูปแทนนพเคราะห์ประจำวันเกิด ดังปรากฏใน พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ที่อัญเชิญมาให้สักการะในปีใหม่นี้
๒. สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ผู้ปกปักรักษา ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร นั้น ประกอบด้วย พระชัยหลังช้าง ผู้ปกปักรักษากองทัพในการสงคราม พระพุทธรูปแกะสลักจากนอระมาด ของทนสิทธ์ผู้ปกปักรักษาบ้านเรือนให้ร่มเย็น รอดพ้นจากอัคคีภัย สัตตมงคล สิ่งศักดิ์สิทธิ์ของครูโขนละคร ผู้ปัดเสนียดจัญไร พระภูมิเจ้าที่ผู้ปกปักรักษาบ้านเรือน ไร่นา และยุ้งฉาง และเจ้าพ่อหอแก้ว ศาลพระภูมิประจำพระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า)
แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
สำหรับเส้นทางนำชมเรียงตามลำดับทักษิณาวรรต ได้แก่
๑. พระพุทธสิหิงค์ และพระพุทธรูปประจำวันเกิด ณ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์
๒. พระชัยในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระแกะสลักจากนอระมาด ณ พระตำหนักแดง
๓. บัตรนพเคราะห์และแม่ซื้อ ณ พระตำหนักแดง
๔. พระคเณศและสัตตมงคล ณ พระที่นั่งทักษิณาภิมุข
๕. พระภูมิเจ้าที่ ณ มุขเด็จ
๖. พระชัยเมืองนครราชสีมา ณ พระที่นั่งบูรพาภิมุข
๗. เจ้าพ่อหอแก้ว ณ ศาลพระภูมิประจำวังหน้า
นอกจากนี้ ผู้เข้าร่วมกิจกรรมฯ ยังได้ร่วมลุ้นรับของที่ระลึกสุดพิเศษ (*วันละ ๑๐ ชิ้นเท่านั้น) "เครื่องรางโอมาโมริแก้ชง ปีเถาะ ธาตุน้ำ" ภายในบรรจุยันต์ "องค์ไท่ส่วย" ปี ๒๕๖๖ รับเมตตาอธิษฐานจิตจากพระอาจารย์จีนคณาณัติจีนพรต (เย็นงี้) เจ้าอาวาสวัดมังกรกมลาวาส (เล่งเน่ยยี่)
ชื่อเรื่อง สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ. 44/5ประเภทวัดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 28 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 56 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา
องค์ความรู้ ส่งเสริมการอ่านผ่านออนไลน์ เรื่อง “วันพ่อขุนรามคำแหงมหาราช 17 มกราคม”
วันพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ตรงกับวันที่ 17 มกราคม ของทุกปี โดยวันนี้เกิดขึ้นหลังจากเมื่อเดือนธันวาคม 2531 สำนักสภาจังหวัดสุโขทัย ได้มีหนังสือเสนอต่อนายกรัฐมนตรี ขอให้มีการกำหนดให้วันที่ 17 พฤศจิกายนของทุกปี เป็น "วันพ่อขุนรามคำแหงมหาราช” ที่เลือกวันนี้ เพราะป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะดำรงตำแหน่งพระราชอิสริยยศสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินเพื่อทรงประกอบพระราชพิธีเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ในปี 2526
ต่อมา คณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ คณะกรรมการชำระประวัติศาสตร์ไทยและจัดเอกสารทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี ได้พิจารณาเรื่องการกำหนดวันสำคัญทางประวัติศาสตร์ใหม่ ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ก็ได้เสนอว่า วันพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ควรเป็นวันที่ 17 มกราคม ซึ่งเป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพบหลักศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช เมื่อปี 2376 และนำเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2532 คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบด้วย จึงกำหนดให้วันที่ 17 มกราคม ของทุกปีเป็น "พ่อขุนรามคำแหงมหาราช”
พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ทรงเป็นพระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์พระร่วง กรุงสุโขทัย ในขณะที่พระองค์มีพระชนมายุ 19 พรรษา ได้เสด็จไปกองทัพกับพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ผู้เป็นบิดา สู้รบกับขุนสามชน เจ้าเมืองฉอด (เมืองสอด จังหวัดตาก) ที่ยกทัพมาตีเมืองตากในความปกครองจนได้รับชัยชนะ ทำให้พ่อขุนศรีอินทราทิตย์พระราชทานนามให้ว่า “รามคำแหง” ที่มีความหมายว่า รามผู้กล้าหาญเข้มแข็งในการรบ ก่อนที่พระองค์จะได้ขึ้นเสวยราชย์ ราวปี 1822 ต่อจากพ่อขุนบาลเมือง พระเชษฐาธิราช
ทรงปกครองบ้านเมืองแบบ”พ่อปกครองลูก” ทรงแขวนกระดิ่งไว้หน้าประตูพระราชวัง ใครมีเรื่องร้องทุกข์ก็มาสั่นกระดิ่ง และทรงโปรดให้เข้าเฝ้าเพื่อทูลร้องทุกข์ได้รวดเร็ว โปรดให้สร้างพระแท่นขึ้นด้วยหิน เรียกว่า พระแท่นมนังคศิลาอาสน์ ที่กลางดงตาล ทุกวันโกนวันพระทรงนิมนต์พระมาเทศน์ที่พระแท่นโปรดประชาชน ส่วนวันธรรมดาพระองค์ทรงใช้เป็นที่ปฏิบัติภารกิจเสมอมา
มีการติดต่อสัมพันธ์กับต่างประเทศทั้งในด้านเศรษฐกิจและการเมือง
ประชาชนอยู่ดีกินดี สภาพบ้านเมืองก้าวหน้าทั้งทางการเกษตร การชลประทาน การอุตสาหกรรม และการศาสนา อาณาเขตของกรุงสุโขทัยได้ขยายออกไปกว้างใหญ่ไพศาล ทรงเจริฐสัมพันธ์ไมตรีกับมหาอำนาจอย่าง”จีน” แล้วยังโปรดให้นำช่างปั้นถ้วยชามจากนมาสอนคนไทย ผลิตเป็น อุตสาหกรรมส่งออกไปยังประเทศจีน มลายู และอินเดีย ถ้วยชามที่ผลิตขึ้นนี้เรียกว่า "ชามสังคโลก”
ข้อความในศิลาจารึกแสดงให้เห็นว่า พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงใช้พระราชอำนาจในการยุติธรรมและนิติบัญญัติไว้ดังต่อไปนี้ คือ ราษฎรสามารถค้าขายได้โดยเสรี เจ้าเมืองไม่เรียกเก็บจังกอบหรือภาษีผ่านทาง ผู้ใดล้มตายลง ทรัพย์มรดกก็ตกแก่บุตร และหากผู้ใดไม่ได้รับความเป็นธรรมในกรณีพิพาท ก็ไปสั่นกระดิ่งที่แขวนไว้หน้าประตูวังเพื่อถวายฎีกา พระองค์ก็ทรงตัดสินด้วยพระองค์เอง
ด้านศาสนา พ่อขุนรามคำแหงมหาราชยังทรงใช้พระพุทธศาสนา นิกายเถรวาท ลัทธิลังกาวงศ์ จากลังกา ผ่านเมืองนครศรีธรรมราช มาประดิษฐานที่เมืองสุโขทัย แทนลัทธิมหายาน ทำให้พระพุทธศาสนาวางรากฐานมั่นคง ในอาณาจักรสุโขทัย และเผยแพร่ไปยังหัวเมืองต่างๆ ในราชอาณาจักรสุโขทัย จนกระทั่งได้เป็นศาสนาประจำชาติไทยมาจนถึงทุกวันนี้
พระองค์ยังโปรดให้สร้างทำนบกักน้ำที่เรียกว่า ”สรีดภงส์” เพื่อนำน้ำไปใช้ในตัวเมืองสุโขทัยและบริเวณใกล้เคียง โดยอาศัยแนวคันดินที่เรียกว่า "เขื่อนนพพระร่วง” ทำให้มีน้ำสำหรับใช้ในการเพาะปลูกและอุปโภคบริโภคในยามที่บ้านเมืองขาดแคลนน้ำ
ในปี พ.ศ. 1826 พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ได้คิดประดิษอักษรไทยขึ้นใช้แทนตัวอักษรขอมที่เคยใช้กันมาแต่เดิม เรียกว่า "ลายสือไทย” และให้ช่างสลักอักษรไว้ในศิลาจารึก ณ กรุงสุโขทัย ซึ่งศิลาจารึกได้ปรากฏอยู่ทุกวันนี้ และตัวหนังสือไทยทุกตัวในศิลาจารึกได้มีการพัฒนามาเป็นลำดับจนถึงอักษรไทยในปัจจุบัน ทำให้คนไทยมีอักษรไทยใช้มาจนถึงทุกวันนี้
จะเห็นได้ว่าไทยได้เริ่มเป็นปึกแผ่น นับตั้งแต่รัชสมัยของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชเป็นต้นมา ทรงเสวยราชย์นาน 40 ปี พระชนมายุ 60 พรรษา เสด็จสวรรคตประมาณปี พ.ศ. 1842
อ้างอิง : ประชิด สกุณะพัฒน์, อุดม เชยกีวงศ์. วันสำคัญ. กรุงเทพฯ : ภูมิปัญญา, 2549. บุญเติม แสงดิษฐ์. วันสำคัญ. กรุงเทพฯ : พัชรการพิมพ์. 2541.
ผู้เรียบเรียง : นายประพนธ์ รอบรู้
นักวิชาการโสตทัศนศึกษาชำนาญการ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี สำนักศิลปากรที่ 5 ปราจีนบุรี
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 141/5ก เอกสารโบราณ(คัมภีร์ใบลาน)
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 176/7 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
ชื่อเรื่อง : อาลัยบุญยศ เจ้าภาพพิมพ์แจกในงานพระราชทานเพลิงศพ พันเอกบุญยศ สุพรรณโรจน์ (นายแพทย์ ขุนบุญธรรมบำเทิงเวช) ณ ฌาปนสถานกองทัพบก วัดโสมนัสวิหาร วันจันทร์ ที่ 27 ธันวาคม 2514 ชื่อผู้แต่ง : บุญยศ สุพรรณโรจน์ ปีที่พิมพ์ : 2514 สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์พลศิลป์ จำนวนหน้า : 54 หน้าสาระสังเขป : หนังสือเล่มนี้ถูกจัดพิมพ์ขึ้นเป็อนุสรณ์และบรรณาการสนองพระคุณแด่ท่านที่เคารพนับถือ และญาติมิตร ที่มาร่วมงานพระราชทานเพลิงศพ พ.อ.บุญยศ สุพรรณโรจน์ ญาติมิตรจึงปรึกษากันเห็นว่า เรื่องราวของพระพุทธรูปปางต่างๆ นั้น เป็นประโยชน์ต่อพุทธศาสนิกชน และกำลังเป็นที่น่าสนใจของประชาชนโดยทั่วไป ข้าพเจ้าไม่มีความรู้ในเรื่องนี้ดีพอ จึงได้ขอความกรุณาจากกรมศิลปากรและได้รับคำแนะนำ เรื่องพระพุทธรูปปางต่างๆ เรียบเรียงโดย คุณสมพร อยู่โพธิ์
ศิษย์น้อมกราบ พระคุณ....."ครู".........ขอรำลึกถึง ครูบาอาจารย์ทุกท่านจิตรกรรมฝาผนังภายในวิหาร วัดบวกครกหลวง อ.เมือง จ.เชียงใหม่