ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,399 รายการ
อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ขอเชิญชมฟรี "พลุ ตะไล ไฟพะเนียง" ในงานประเพณีลอยกระทง เผาเทียน เล่นไฟ จังหวัดสุโขทัย ประจำปี 2566 เวลา 22.30 น. ระหว่างวันที่ 18-27 พฤศจิกายน 2566กำหนดการจัดงาน : https://drive.google.com/file/d/1cSP3gu0fj1naIaqEVBBoVCt-63LGNlFo/view?fbclid=IwAR3ohpVsJY5UfC5guixIBMqn8RaiHpV6kksExcvLjMo-wd2m61Q-P7mLX70
แผนผังการจัดงาน : https://drive.google.com/file/d/1cTu38okPuRwgDxX2cGyETnRrQCreAI7D/view?fbclid=IwAR0Et1x2SW-LGpDYiP6-hXPzY9IPTlXQ79Gzqk9NH3uoLkSGCqy2xOU82Ec
พิธีเปิดงาน Thailand Tapioca Expo Korat 2024
โดย นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
สำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา กรมศิลปากร
จัดบูทนิทรรศการ "เมืองโคราช"
ให้เช่าบูชา พระพิฆเนศวรกรมศิลปากร ปี 2547
หนังสือ"แจกฟรี" ให้กับผู้เข้าร่วมงาน
#ThailandTapiocaExpoKorat2024
#เกษตรสุรนารี67
Sustainable Agri-Innovation for BCG
เกษตรสร้างสรรค์ นวัตกรรมก้าวหน้า
สู่การพัฒนาเศรษฐกิจสีเขียวอย่างยั่งยืน
ระหว่างวันที่ 12 - 21 มกราคม 2567
ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี นครราชสีมา
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ราชบุรี ขอเชิญชวนไปชมต้นแก้วเจ้าจอม ที่สวยสง่าให้ร่มเงา อยู่ภายในบริเวณกลางพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ราชบุรี ซึ่งขณะนี้ต้นดอกแก้วได้ออกดอกม่วงสวยสะพรั่ง สร้างความตื่นตาและประทับใจให้นักท่องเที่ยวผู้ไปเยือนได้ชื่นชมความสวยงามแล้ว
ต้นไม้ต้นนี้ คือ ต้นแก้วเจ้าจอม ต้นไม้ที่สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงปลูกไว้เมื่อครั้งเสด็จพระราชดำเนินเป็นประธานในพิธีเปิด พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ราชบุรี เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2534 ปัจจุบันต้นแก้วเจ้าจอมต้นนี้มีอายุกว่า 30 ปีแล้ว
สำหรับนักท่องเที่ยวที่แวะเข้ามาชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ราชบุรี ทางพิพิธภัณฑ์ขอเชิญท่านร่วมถ่ายภาพกับต้นไม้ต้นประวัติศาสตร์ของพิพิธภัณฑ์ได้ในวันพุธ - อาทิตย์ เวลา 09.00 - 16.00 น. (ปิดวันจันทร์ - อังคาร และวันนักขัตฤกษ์) อัตราค่าเข้าชม ชาวไทย 20 บาท ชาวต่างชาติ 100 บาท ทั้งนี้ ผู้สนใจสามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติม องค์ความรู้เรื่อง แก้วเจ้าจอมทรงปลูก ได้ที่นี่ https://www.facebook.com/ratchaburi.national.museum/posts/pfbid0226yqtSoD6zUknwtAUqv2yZeACNYC4vtHmsbHDsZoQ7K3uCgXTYfor1MEyFpCUdBzl
องค์ความรู้ เรื่อง วันสตรีสากล
เรียบเรียง : วารุณี วิริยะชูศรี บรรณารักษ์
ขี่ม้าส่งเมือง
ผลงาน : ขี่ม้าส่งเมือง
ศิลปิน : นายเขียน ยิ้มศิริ
เทคนิค : ประติมากรรมสำริด
ขนาด : สูง 62 เซนติเมตร
ปีที่สร้างสรรค์ : พ.ศ. 2505
ประวัติ : ประติมากรรมแบบอุดมคติที่จับเอาลักษณะความรู้สึกที่อ่อนหวานของเส้นในศิลปะแบบประเพณี ผสานกับรุปทรงที่ตัดทอน ปราศจากโครงสร้างของกล้ามเนื้อและลักษณะพื้นผิวของงานที่เกลี้ยงเกลาทำให้เกิดความผสมกลมกลืนของเส้นและรูปทรง สร้างความรู้สึกให้แลดูอ่อนพริ้ว มีความเคลื่อนไหว (อำนาจ 2524 : 127 - 128)
อ้างอิง : หนังสือนำชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป (Guide to The National Gallery, Bangkok)
แสดงภาพวัตถุหมุน คลิกที่นี่ http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/nationalgallery/360/model/zz11ok/
ที่มา: http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/nationalgallery/
ชื่อผู้แต่ง พระมหาราชครู สมเด็จพระนารายณ์มหาราชและสมเด็จพระมหาสมณเจ้า
กรมพระยาปรมานุชิตชิโนรส
ชื่อเรื่อง สมุทรโฆษคำฉันท์
ครั้งที่พิมพ์ พิมพ์ครั้งที่ ๕
สถานที่พิมพ์ พระนคร
สำนักพิมพ์ องค์การค้าของคุรุสภา
ปีที่พิมพ์ ๒๕๐๕
หมายเหตุ -
สมุทรโฆษคำฉันท์เป็นวรรณกรรมสมัยอยุธยา มีผู้แต่งถึง ๓ ท่าน ๓ สำนวน สำนวนที่หนึ่งของพระมหาราชครู ตั้งแต่หน้า ๑ - ๑๔๒ สำนวนที่สองของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ตั้งแต่หน้า ๑๔๒ - ๑๖๕ สำนวนที่สามของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ตั้งแต่หน้า ๑๖๕ จนจบเรื่อง
รายงานผลการสำรวจโบราณสถานที่ประกาศขึ้นทะเบียนในเขตพื้นที่รับผิดชอบสำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา (พื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์)
พระวัตตจารีศีลสุนทร (ก.ธมฺมวร). ปลูกพระศรีมหาโพธิ์. สุราษฎร์ธานี: โรงพิมพ์รัตนมีศรี, 2494.
ชื่อเรื่อง มหานิปาตวณฺณนา (ทสชาติ) ชาตกฏฐกถา ขุทฺทกนิกายฏฐกถา (เนมิราช)สพ.บ. 443/5หมวดหมู่ พุทธศาสนาภาษา บาลี-ไทยอีสานหัวเรื่อง พุทธศาสนา เวสสันดร ชาดกประเภทวัสดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานลักษณะวัสดุ 34 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 39.5 ซม.บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน เส้นจาร ฉบับลานดิบ ไม่มีไม้ประกับ ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
วันพุธที่ ๑๘ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๖๗ นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร มอบหมายให้นางสาวขนิษฐา โชติกวณิชย์ รองอธิบดีกรมศิลปากร เป็นผู้แทนกรมศิลปากร เข้ารับรางวัลเลิศรัฐ ประจำปี ๒๕๖๗ “รางวัลบริการภาครัฐ ระดับดี” ประเภทนวัตกรรมบริการ ผลงาน Application AR Smart Heritage รูปแบบสันนิษฐานโบราณสถานในพื้นที่มรดกโลก ของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศมรดกศิลปวัฒนธรรม จากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) โดยมีนายชูศักดิ์ ศิรินิล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธี ณ อาคารชาเลนเจอร์ เมืองทองธานี
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (สำนักงาน ก.พ.ร.) ได้จัดพิธีมอบรางวัลเลิศรัฐอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี ให้แก่หน่วยงานที่มุ่งมั่นปฏิบัติราชการจนประสบความสำเร็จมีความเป็นเลิศ ซึ่งผลงาน
Application AR Smart Heritage รูปแบบสันนิษฐานโบราณสถานในพื้นที่มรดกโลก ของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศมรดกศิลปวัฒนธรรม กรมศิลปากร ได้รับรางวัลบริการภาครัฐ ประเภทนวัตกรรมบริการ ที่มีการพัฒนาการให้บริการด้วยการนำนวัตกรรมที่เกิดจากการนำแนวคิด องค์ความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ และเทคโนโลยีดิจิทัล มาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาคุณภาพการให้บริการแก่ประชาชนให้ได้รับบริการที่สะดวก รวดเร็ว และเกิดความพึงพอใจ ถือได้ว่าเป็นการยกระดับคุณภาพการให้บริการที่ประสบผลสำเร็จอย่างดียิ่ง