ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,399 รายการ


สำนักงาน ก.พ.ร. ได้พัฒนาเกณฑ์การประเมินสถานะของหน่วยงานภาครัฐในการเป็นระบบราชการ 4.0 (PMQA 4.0) ขึ้น เพื่อเป็นกรอบในการพัฒนาองค์การสู่การเป็นระบบราชการ 4.0 และนำไปส่งเสริม เพื่อการยกระดับหน่วยงานภาครัฐสู่การเป็นระบบราชการ 4.0 และเพื่อเป็นการเชิดชูเกียรติและแรงจูงใจให้กับหน่วยงานที่มุ่งมั่นพัฒนาสู่การเป็นระบบราชการ 4.0


สำนักงาน ก.พ.ร. ในฐานะหน่วยงานที่มีภารกิจหลักในการขับเคลื่อนการพัฒนาระบบราชการให้เป็นระบบราชการที่ยึดหลักธรรมภิบาล เพื่อประโยชน์สุขของประชาชน (Good Governance for BetterLife) ได้จัดให้มีการมอบ “รางวัลคุณภาพการให้บริการประชาชน” ขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อ 29 มกราคม 2547เพื่อเชิดชูเกียรติและเป็นขวัญกำลังใจให้แก่เจ้าหน้าที่ และหน่วยงานที่ดำเนินการปรับปรุงการให้บริการโดยการลดขั้นตอนและระยะเวลาการปฏิบัติราชการได้ตามมาตรฐานที่กำหนด ต่อมาในปี พ.ศ. 2555 รางวัลคุณภาพการให้บริการประชาชน ได้เปลี่ยนชื่อเป็น “รางวัลบริการภาครัฐแห่งชาติ” และในปี พ.ศ. 2560คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) ในการประชุมครั้งที่ 3/2560 เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2560 ได้มีมติเห็นชอบให้มี “รางวัลเลิศรัฐ” (Public Sector Excellence Awards : PSEA) และให้ปรับรางวัลต่าง ๆ ของสำนักงาน ก.พ.ร. เป็นสาขาภายใต้รางวัลเลิศรัฐ โดยรางวัลบริการภาครัฐแห่งชาติ ปรับเป็น “รางวัลเลิศรัฐสาขาบริการภาครัฐ” ต่อเนื่องมาในปี พ.ศ. 2562 คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ มีมติให้ปรับปรุงประเภทรางวัลที่มอบให้แก่ส่วนราชการ เพื่อให้รางวัลเลิศรัฐเป็นรางวัลที่แสดงถึงความเป็นเลิศในแต่ละสาขาประกอบด้วย (1) รางวัลเลิศรัฐ เป็นรางวัลสูงสุดที่มอบให้กับหน่วยงานที่มีคุณสมบัติตรงตามเงื่อนไขการพิจารณาประกอบด้วย รางวัลเลิศรัฐยอดเยี่ยม มอบให้กับหน่วยงานที่ได้รับรางวัลระดับดีเด่น ครบทั้ง 3 สาขา ในปีเดียวกัน และรางวัลเลิศรัฐสาขา (Best of the Best) มอบให้กับหน่วยงานที่มีผลงานโดดเด่นในสาขานั้นๆ โดยเรียกชื่อว่า “รางวัลเลิศรัฐ สาขา….” และ (2) รางวัลรายสาขา ได้แก่ รางวัลบริการภาครัฐรางวัลการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม และรางวัลคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐรางวัลบริการภาครัฐ จึงเป็นรางวัลที่แสดงให้เห็นว่าผลการทำงานของหน่วยงานของรัฐเป็นที่ยอมรับ และเป็นสิ่งยืนยันความสำเร็จในการพัฒนาคุณภาพการให้บริการว่าสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพสามารถเป็นต้นแบบที่ดีให้แก่หน่วยงานอื่น ๆ ใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาระบบการให้บริการและระบบการบริหารของหน่วยงานให้ดียิ่งขึ้นต่อไป


***บรรณานุกรม*** หนังสือหายาก พระธรรมโกศาจารย์ (ชอบ อนุจารีเถระ).  ตำนานสวดมนต์  สร้างขึ้นเป็นอนุสรณ์ในงานฉลองตราพระอุปัชฌายะ พระครูอุดมวิชากร วัดกำแพง อ.เมือง จ.ชลบุรี.  พระนคร : โรงพิมพ์อาศรมอักษร, ๒๕๐๒.



รายงานการเดินทางไปราชการ ณ ประเทศ สาธารณรัฐประชาชน จีน ๑.      ชื่อโครงการ 7th International Exposition of Museum and Relevant Produce And Technologies ๒.      วัตถุประสงค์ ๒.๑ เพื่อนำนิทรรศการไปร่วมจัดแสดง ๒.๒ เข้าร่วมประชุมของสภาการพิพิธภัณฑ์ระหว่างชาติภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค ICOM ASPAC ๓.      กำหนดเวลา วันที่ ๑๓-๒๐ กันยายน ๒๕๕๙ ๔.      สถานที่ เมืองเฉิงตู สาธารณรัฐประชาชนจีน ๕.      หน่วยงานผู้จัด Chinese Museum Association, ICOM China ๖.      หน่วยงานสนับสนุน ICOM ๗.      กิจกรรม ๗.๑ Exhibition ๗.๒ Meeting ๘.      คณะผู้แทนไทย นางสาวนิชนันท์ กลางวิชัย ภัณฑารักษ์ปฏิบัติการ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ  กรมศิลปากร ๙.      สรุปสาระของกิจกรรม ๙.๑ . Round Table เรื่อง การทบทวนวาระการประชุมที่จัดขึ้นที่กรุงปารีส ฝรั่งเศส เมื่อวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ โดยมีสาระสำคัญดังต่อไปนี้ ๑. Introduction    ๑.๑ การปกป้องและการเผยแพร่ความหลากหลายทางวัฒนธรรมและทางธรรมชาติ Protection and promotion of cultural and natural diversity. ๑.๒  บทบาทของพิพิธภัณฑสถานในฐานะพื้นที่ทางวัฒนธรรมสำหรับการแลกเปลี่ยน การสนทนา การเรียนรู้ การถกเถียง และ การอบรม Museums as space for cultural transmission, intercultural dialogue, learning, discussion and training. ๑.๓ สมาชิกต่างตระหนักถึงความสำคัญของการปกป้องและเผยแพร่พิพิธภัณฑสถานและการสะสมวัตถุ ด้วยการมีส่วนร่วมในการพัฒนาที่ยั่งยืนผ่านการสงวนรักษาและการปกป้องมรดก การปกป้องและเผยแพร่วัฒนธรรมที่หลากหลาย การแลกเปลี่ยนความรู้ทางวิชาการ การพัฒนานโยบายทางการศึกษา ความร่วมมือด้านสังคมและการเรียนรู้ตลอดชีวิต และ การพัฒนาอุตสาหกรรมเชิงสร้างสรรค์และเศรษฐกิจการท่องเที่ยว Member states aware to the importance of the protection and promotion of museums and collections so that they are partners in sustainable development through the preservation and protection of heritage, the protection and promotion of cultural diversity, the transmission of scientific knowledge, the development of education policy, lifelong learning and social cohesion, and the development of the creative industries and the tourist economy. ๒. คำนิยาม และ ความหลากหลายของพิพิธภัณฑสถาน (Definition and diversity of museum) ๒.๑ นิยามของพิพิธภัณฑสถาน คือ สถาบันที่มีความมั่นคง ไม่แสวงหากำไร เปิดตัวสู่สาธารณชน เพื่อบริการและพัฒนาแก่สังคม ผ่านงานศึกษาวิจัย การสื่อสาร และ การจัดนิทรรศการมรดกที่จับตั้งได้และจับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อการศึกษา การเรียนและความเพลิดเพลิน (The term museum is  defined as “a non-profit, permanent institution in the service of society and its development, open to the public, which acquires, researches, communicates and exhibits the tangible and intangible heritage of humanity and it environment for the purpose of education, study and enjoyment) ๒.๒ นิยามของการสะสมวัตถุ หมายถึง การรวบรวมทรัพย์สินทางธรรมชาติ และวัฒนธรรม จับต้องได้และจับต้องไม่ได้ ในอดีตและปัจจุบัน The term collection is defined as “an assemblage of natural and cultural properties, tangible and intangible, past and present” ๒.๓ นิยามของคำว่า มรดก หมายถึง คุณค่าและการแสดงออก ทั้งที่จับต้องได้และจับต้องไม่ได้ที่มนุษย์เลือกสรรเพื่อการบ่งบอกถึงความมีตัวตน การเป็นเจ้าของ ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงอัตลักษณ์ ความเชื่อ ความรู้และประเพณี สภาพแวดล้อมในการดำรงชีวิต นำไปสู่การปกป้องและปรับปรุงให้ดีขึ้นในรุ่นปัจจุบัน ส่งทอดต่อไปให้แก่รุ่นในอนาคต The term heritage is defined as a set of  tangible and intangible values, and expression that people select and identify, independently of ownership, as a reflection and expression of their identities, beliefs, knowledge and tradition, and living environment, deserving of protection and enhancement by contemporary generations and transmission to future generation. ๓. หน้าที่หลักของพิพิธภัณฑสถาน คือ การสงวนรักษา การศึกษาวิจัย การสื่อสารและ การให้การศึกษา Primary function of museums is preservation, research, communication and education. ๔. บทความสำหรับบทบาทพิพิธภัณฑสถานต่อสังคม (Issue for museum in society) -  Globalization: Member states should promote the safeguarding of the diversity and identity that characterize museums and collections without diminishing the museums’ role in the globalized world. - Museum relations with the economy and quality of life: Member states should recognize that museums can be economic actors in society and contribute to income-generating activities. Moreover, they participate in the tourism economy and with productive projects contributing to the quality of life of the communities and regions in which they are located. - Social role: museums should be places that are open to all and committed to physical and cultural access to all, including disadvantaged groups. They can constitute space for reflection and debate on historical, social, cultural and scientific issue. Museum should also foster respect for human rights and gender equality. Member states should encourage museums to fulfill all of these roles. - Museums and information and communication technologies (ICTs): Member states should support museums to share and related knowledge and ensure that museums have the means to have access to these technologies when they are judged necessary to improve their primary function.   นอกจากนี้การประชุมยังได้มีการเน้นย้ำถึงว่า อะไรคือสิ่งที่สำคัญที่สุดในการทำงานด้านพิพิธภัณฑ์ ซึ่งในโลกปัจจุบัน การพัฒนาพิพิธภัณฑ์ควรเป็นแนวทางที่เน้นการพัฒนาอย่างยั่งยืน รวมไปถึงการสร้างพิพิธภัณฑ์ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิต และเน้นถึงความร่วมมือระหว่างประเทศต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านการจัดประชุม การแลกเปลี่ยนความรู้ หรือการพัฒนาทักษะต่างๆ ให้กับประเทศในกลุ่มสมาชิก และยังมีการนำเสนอการดำเนินงานของประเทศสมาชิกจากประเทศต่างๆ  เช่น ประเทศจีนที่หันมาเน้นด้านการอนุรักษ์โบราณวัตถุ และตรวจสอบแหล่งที่มาของวัตถุ เพื่อจะได้นำกลับสู่แหล่งที่มาได้อย่างถูกต้อง ประเทศบราซิลที่เน้นการสร้างร่วมมือและแลกเปลี่ยนความรู้กับพิพิธภัณฑ์ต่างๆในประเทศ รวมไปถึงการร่วมมือกับมหาวิทยาลัย ประเทศเกาหลีใต้ ที่เน้นการสร้างคน การสร้างทักษะ และการใช้ Media ต่างๆ ในงานพิพิธภัณฑ์ ประเทศเนปาลที่เน้นเรื่องของ Museum in conflict prevention ประเทศอเมริกาที่กล่าวถึงกิจกรรมต่างๆที่จะเกิดขึ้นในช่วง ๒๐๑๖-๒๐๒๐ ประเทศอียิปต์ที่เน้นย้ำถึงการทำตามกฎของยูเนสโก และประเทศอิตาลีที่ให้ความสำคัญกับการส่งต่อความรู้จากพิพิธภัณฑ์ไปสู่เด็กๆ เน้น School Museum ที่ให้ความรู้กับครูและเด็กตั้งแต่ระดับอนุบาลจนถึงระดับมหาวิทยาลัยและให้ความสำคัญกับโบราณสถาน การประชุมครั้งนี้ ได้สรุปถึงสาระสำคัญไว้ว่า การให้ความสำคัญกับ Human Right จะเป็นการช่วยคนให้ก้าวข้ามกำแพงวัฒนธรรมและสร้างพื้นที่ทางวัฒนธรรมใหม่ร่วมกัน ซึ่งการที่ศึกษาผู้คน ก็คือการศึกษาวัฒนธรรมนั่นเอง และทำไมถึงต้องเน้นย้ำและให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์และรักษามรดกทางวัฒนธรรม เพราะสิ่งนี้คือการส่งต่อให้คนรุ่นต่อๆ ไป ๙.๒ นิทรรศการ  “Museums and Relevant Products and Technologies Exposition” เป็นนิทรรศการที่เน้นเกี่ยวกับเทคโนโลยี และนวัตกรรมใหม่ๆ มารองรับงานด้านพิพิธภัณฑ์ โดยมีตัวแทนจากพิพิธภัณฑ์ต่างๆในประเทศจีน และบริษัทเอกชน มาร่วมจัดแสดงและนำเสนอผลงาน โดยวัตถุประสงค์หลักของนิทรรศการ คือ การนำเทคโนโลยี โดยเฉพาะอินเทอร์เน็ต มารวมกับงานด้านวัฒนธรรม ในประเด็นต่างๆ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่องานด้านพิพิธภัณฑ์และโบราณคดี ๑๐.             ข้อเสนอแนะจากการจัดกิจกรรม ๑๐.๑ กรมศิลปากรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับงานด้านพิพิธภัณฑ์ ควรมีแผนงานสำหรับการเข้าร่วมกิจกรรมในลักษณะดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง เพื่อเปิดรับมุมมองและนวัตกรรมใหม่ๆ สำหรับนำมาพัฒนางานที่เกี่ยวข้องกับพิพิธภัณฑ์ของไทย ๑๐.๒ ควรมีการสนับสนุนและส่งเสริมด้านการพัฒนาบุคลากร  ทั้งนี้ในส่วนของ ICOMS มีทุนสำหรับการพัฒนาบุคลากรของสภาการพิพิธภัณฑ์ระหว่างชาติ โดยมีเงื่อนไขว่าจะต้องเป็นสมาชิกของ ICOMS ในการสมัครดังกล่าว ซึ่งการอบรมจะมีขึ้นปีละ ๒ ครั้ง ในช่วงเดือนเมษายนและพฤศจิกายน          ๑๐.๓ มีการแลกเปลี่ยนความรู้และข้อคิดเห็น ซึ่งจากการเข้าร่วมงานดังกล่าว ประเทศปากีสถาน มีโครงการจะจัดงานสัมมนา ที่มีหัวข้อเรื่องเกี่ยวกับ South East Asia จึงอยากเชิญตัวแทนจากไทยเข้าร่วมงานดังกล่าว และพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ของจีน จะจัดงานประชุมระดับนานาชาติ จึงอยากเชิญตัวแทนจากไทยที่เกี่ยวข้องกับสายงานด้านพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์เข้าร่วมงานดังกล่าวเช่นกัน ติดต่อคุณ LIU XUAN Administrative Office Associate Professor หน่วยงาน China Research Institute For Science Popularization E-mail: liuxuan@cast.org.cn




เลขทะเบียน : นพ.บ.5/4ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  52 หน้า  ; 5 x 55 ซ.ม. : รักทึบ-ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา มีฉลากบอกชื่อคัมภีร์ 1 แผ่นชื่อชุด : มัดที่ 3 (20-32) ผูก 4หัวเรื่อง : ศัพท์วินัยกิจ--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม



เมื่อวันที่ ๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๐ นายจารึก วิไลแก้ว ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา ร่วมงานและรับมอบเกียรติบัตรผู้สนับสนุนการจัดงานอนุรักษ์มรดกไทย เทิดไท้องค์วิศิษฏศิลปิน จังหวัดนครราชสีมา โดยมี นายกฤษศญพงศ์ ศิริ ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานในพิธีเปิดโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี และสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่านที่ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจนานัปการในการอนุรักษ์มรดกของชาติ ระหว่างวันที่ ๒-๓ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๐ ณ ลานอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา




 ชื่อผู้แต่ง         พระสุวรรณรัศมี(พระยาสีหราชฤทธิไกร ทองคำ สีหอุไร)               ชื่อเรื่อง           โคลงในนิทานเทียบสุภาษิตครั้งที่พิมพ์       พิมพ์ครั้งที่ ๒สถานที่พิมพ์    พระนครสำนักพิมพ์       ร.พ.รุ่งเรืองธรรมปีที่พิมพ์          ๒๕๐๖จำนวนหน้า      ๒๕ หน้าหมายเหตุ        พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ รองอำมาตย์โทบุญขันธ์ ศิริมิลินทร์                       หนังสือโคลงในนิทานเทียบสุภาษิต เล่มนี้ เขียนเป็นบทร้อยกรอง แบ่งพิมพ์ได้ทั้งหมดเป็น ๕ ภาค ต่อมามีผู้อ่านชอบและขอเลือกพิมพ์เป็นบางบท แต่ในหนังสือเล่มนี้มิได้นำนิทานมาตีพิมพ์ด้วย พิมพ์เฉพาะโคลงนำเรื่อง  มีทั้งหมด ๘๔ บท


ว่าด้วยตำรายาเกร็ด เช่น แก้พันระดึก, ยาแก้สารพัดโรค, ยาดองแก้เลือด, ยาแก้มะเร็ง, ยาชะแผล, ยาแก้เสลด, ยาอายุวัฒนะ ฯลฯ


ผู้แต่ง : กรมศิลปากร ปีที่พิมพ์ : 2515 สถานที่พิมพ์ : ม.ป.ท. สำนักพิมพ์ : ม.ป.พ.


Messenger