ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,403 รายการ

ชื่อเรื่อง                                        สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม  (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ.                                           44/6ประเภทวัดุ/มีเดีย                       คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                                     พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                              24 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 56 ซม.หัวเรื่อง                                        พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก               เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา


องค์ความรู้ ส่งเสริมการอ่านผ่านออนไลน์ เรื่อง “วันครู 16 มกราคม” เหตุผลที่วันที่ 16 มกราคมของทุกปีถูกกำหนดให้เป็นวันครู อันเนื่องมาจาก ในปี 2488 ประเทศไทยมีการประกาศพระราชบัญญัติครูขึ้นมาในราชกิจจานุเบกษา จึงมีการกำหนดให้มีวันครูครั้งแรกตั้งแต่ปี พ.ศ.2500 เป็นต้นมา ครู หมายถึง ผู้อบรมสั่งสอน ผู้ถ่ายทอดความรู้ ผู้สร้างสรรค์ภูมิปัญญา และพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อนำไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองของสังคมและประเทศชาติ เป็นผู้ที่มีหน้าที่สอน อบรมเกี่ยวกับวิชาความรู้ การอ่านเขียน (คำว่าครูนั้นมาจากศัพท์ภาษาสันสกฤต คำว่า "คุรุ" และภาษาบาลี คำว่า "ครุ" , "คุรุ") วันครูได้จัดให้มีขึ้น ครั้งแรกเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2500 สืบเนื่องมาจากการประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษาเมื่อปี พ.ศ. 2488 ซึ่งระบุให้มีสภาในกระทรวงศึกษาธิการเรียกว่า "คุรุสภา" เป็นนิติบุคคลให้ครูทุกคนเป็นสมาชิกคุรุสภา โดยมีหน้าที่ในเรื่องของสถาบันวิชาชีพครู ในขณะเดียวกันก็ทำหน้าที่ให้ความเห็นในเรื่องนโยบายการศึกษา และวิชาการศึกษาทั่วไปแก่กระทรวงศึกษาธิการ ควบคุมจรรยาและวินัยของครู จัดสวัสดิการการให้แก่ครูและครอบครัว ได้รับความช่วยเหลือตามสมควร ส่งเสริมความรู้และความสามัคคีของครู ทุกๆปี คุรุสภาจึงจัดให้มีการประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้แทนครูจากทั่วประเทศแถลงผลงานในรอบปีที่ผ่านมา พร้อมทั้งซักถามปัญหาข้อข้องใจต่างๆเกี่ยวกับการดำเนินงานของคุรุสภา โดยมี คณะกรรมการอำนวยการคุรุสภาเป็นผู้ตอบข้อสงสัย สถานที่ในการประชุมสมัยนั้นใช้หอประชุม "สามัคคยาจารย์" หอประชุมของจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ในระยะหลังจึงมาใช้หอประชุมของคุรุสภา ปี พ.ศ. 2499 ในที่ประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีและประธานกรรมการอำนวยการคุรุสภากิตติมศักดิ์ ได้กล่าวปราศัยต่อที่ประชุมครูทั่วประเทศว่า "ที่อยากเสนอในตอนนี้ก็คือว่า เนื่องจากผู้เป็นครูมีบุญคุณเป็นผู้ให้แสงสว่างในชีวิตของเราทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิดว่า"วันครู"ควรมีสักวันหนึ่งสำหรับให้บรรดาลูกศิษย์ทั้งหลายได้ แสดงความเคารพสักการะต่อบรรดาครูผู้มีพระคุณทั้งหลาย เพราะเหตุว่าสำหรับคนทั่วไปถ้าถึงวันตรุษ วันสงกรานต์ เราก็นำอัฐิของผู้มีพระคุณบังเกิดเกล้ามาทำบุญ ทำทาน คนที่สองรองลงไปก็คือครูผู้เสียสละทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิดว่าในโอกาสนี้จะขอฝากที่ประชุมไว้ด้วย ลองปรึกษาหารือกันในหลักการทุกคนคงจะไม่ขัดข้อง" จากแนวความคิดนี้ กอรปกับความคิดเห็นของครูที่แสดงออกทางสื่อมวลชนและอื่นๆที่ล้วนเรียกร้อง ให้มี "วันครู" เพื่อให้เป็นการรำลึกถึงความสำคัญของครูในฐานะที่เป็นผู้เสียสละ ประกอบคุณงามความดีเพื่อประโยชน์ของชาติ และประชาชนเป็นอันมาก ในปีเดียวกันที่ประชุมคุรุสภาสามัญประจำปีจึงได้พิจารณาเรื่องนี้และมีมติ เห็นควรให้มี "วันครู" เพื่อเสนอคณะกรรมการอำนวยการต่อไป โดยได้เสนอในหลักการว่า เพื่อจะได้ประกอบพิธีระลึกถึงคุณบูรพาจารย์ ส่งเสริมสามัคคีธรรมระหว่างครู และเพื่อส่งเสริมความเข้าใจอีนดีระหว่างครูกับประชาชน ในที่สุดคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2499 ให้วันที่ 16 มกราคม ของทุกปีเป็น "วันครู" โดยถือเอาวันที่ประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2488 เป็นวันครู และให้กระทรวงศึกษาธิการสั่งการให้นักเรียนและครูหยุดในวันดัง กล่าวได้ การจัดงานวันครูได้จัดเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2500 ในส่วนกลางใช้สถานที่ของกรีฑาสถานแห่งชาติเป็นที่จัดงาน ได้กำหนดเป็นหลักการให้มีอนุสรณ์งานวันครูไว้ให้แก่อนุชนรุ่นหลังทุกปี อนุสรณ์ที่สำคัญคือ หนังสือประวัติครู หนังสือที่ระลึกวันครู และสิ่งก่อสร้างที่เป็นถาวรวัตถุ คำขวัญวันครูนั้นเป็นของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในฐานะประธานกรรมการอำนวยการคุรุสภา ต่อมาก็เป็นคำขวัญของบุคคลทั่วไปที่ส่งเข้าประกวด และจากนายกรัฐมนตรี ในปี พ.ศ. 2566 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ให้คำขวัญเนื่องในโอกาสวันครู ครั้งที่ 67 ดังนี้ "ครูดี ศิษย์ดี มีอนาคต" อ้างอิง : ประชิด สกุณะพัฒน์, อุดม เชยกีวงศ์. วันสำคัญ. กรุงเทพฯ : ภูมิปัญญา, 2549. บุญเติม แสงดิษฐ์. วันสำคัญ. กรุงเทพฯ : พัชรการพิมพ์. 2541. ผู้เรียบเรียง : นายประพนธ์ รอบรู้ นักวิชาการโสตทัศนศึกษาชำนาญการ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี สำนักศิลปากรที่ 5 ปราจีนบุรี


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 141/6 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 177/1 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


ชื่อเรื่อง : ลำดับราชสกุล เทวกุล รวมทั้งราชสกุลและสกุลอื่นที่เกี่ยวเนื่อง พิมพ์เป็นที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพ พลตรี หม่อมเจ้าปรีดีเทพย์พงษ์ เทวกุล ป.จ.,ป.ช.,ป.ม. ณ เมรุหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส วันพุธ ที่ 28 ตุลาคม พุทธศักราช 2513 ชื่อผู้แต่ง : ปรีดีเทพย์พงษ์ เทวกุลปีที่พิมพ์ : 2513 สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์ตีรณสาร จำนวนหน้า : 224 หน้าสาระสังเขป : หนังสือเล่มนี้จัดพิมพ์เพื่อแจกเป็นที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพพลตรี หม่อมเจ้าปรีดีเทพย์พงษ์ เทวกุล เนื่องด้วยท่านพ่อได้รวบรวมราบพระนามและนามของสมาชิกในราชสกุลเทวกุลมาเป็นเวลา 30 ปีแล้วโดยได้ทรงอาศัยต้นฉบับที่สมเด็จปู่ องค์ต้นราชสกุล ได้ทรงทำไว้ก่อนและต่อมาตั้งแต่ประมาณปี พ.ศ.2479 – 2480 ท่านได้ทรงทำสมุด “บัญชี เทวกุล” ขึ้นเล่มหนึ่ง มีรายพระนามพระโอรสธิดาในสมเด็จปู่ทั้งหมด รายนามพระนัดดา (หลานปู่หลานตา) ของสมเด็จปู่ที่มีอยู่ในขณะนั้น รวมทั้งวันเดือนปีที่ประสูติ ถึงชีพิตักษัย เกิด ตาย ไว้เกือบครบถ้วน


         สำนักการสังคีต กรมศิลปากร ขอเชิญชม รายการ“เหมันต์เบิกบาน สุขสราญสังคีต” โครงการดนตรีสำหรับประชาชน ปีที่ ๖๖ วันอาทิตย์ที่ ๕ มีนาคม ๒๕๖๖ เวลา ๑๗.๓๐ - ๑๙.๓๐ น. พบกับการแสดงวิพิธทัศนาชุด “จากฟ้าสู่ดิน” ประกอบด้วย - การแสดงชุดพระอุมามเหศวร - การแสดงชุดมโนห์ราแต่งตัว - การแสดงชุดอ้อมกอดอีสานบ้านเฮา นำแสดงโดย ศิลปินสำนักการสังคีต / กำกับการแสดงโดย สิริวรรณ อาจมังกร / อำนวยการแสดงโดย ลสิต อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสำนักการสังคีต           บัตรราคา ๒๐ บาท (จำหน่ายบัตรก่อนการแสดง ๑ ชั่วโมง) ณ สังคีตศาลา บริเวณพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม (วันและเวลาราชการ) โทร. ๐ ๒๒๒๔ ๑๓๔๒ และ โทร. ๐๒๒๒๑ ๐๑๗๑


เลขทะเบียน : นพ.บ.377/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 30 หน้า ; 5 x 54.5 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา มีฉลากไม้ชื่อชุด : มัดที่ 142  (7-25) ผูก 1 (2566)หัวเรื่อง : เวสฺสนฺตรชาตก --เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


เลขทะเบียน : นพ.บ.506/3ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 50 หน้า ; 4.5 x 49 ซ.ม. : ล่องชาด-ล่องรัก ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 170  (233-242) ผูก 3 (2566)หัวเรื่อง : สังฮอมธาตุ--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


          นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร เปิดเผยว่า เนื่องในโอกาสครบรอบ 112 ปี แห่งการสถาปนากรมศิลปากร 27 มีนาคม 2566 ได้มอบหมายสำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จัดพิมพ์หนังสือ “พระพุทธรูปสำคัญในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ” รวบรวมพระพุทธรูปสำคัญทุกยุคในประวัติศาสตร์ศิลปะไทยจากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติทั่วประเทศ มาไว้ในหนังสือเล่มเดียว            อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวว่า กรมศิลปากรมีแนวคิดจัดพิมพ์หนังสือเพื่อเผยแพร่งานด้านการอนุรักษ์ ส่งเสริม สร้างสรรค์ สืบทอด และต่อยอดมรดกศิลปวัฒนธรรมของชาติ ตลอดจนตระหนักถึงความสำคัญของศิลปกรรมไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระพุทธรูป ซึ่งสร้างขึ้นเพื่อระลึกถึงองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตามความศรัทธาที่มีต่อพระพุทธศาสนา รวมทั้งยังเป็นหลักฐานสำคัญที่สัมพันธ์กับวิถีชีวิต ความเชื่อ และวัฒนธรรมของไทย จึงมอบหมายให้สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ คัดสรรพระพุทธรูปสำคัญที่จัดแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติทั่วประเทศ จำนวน 112 องค์ ซึ่งเป็นพระพุทธรูปโบราณที่มีพุทธศิลป์งดงามเป็นพิเศษในแต่ละสกุลช่าง มีความโดดเด่น สะท้อนถึงคติความเชื่อทางศาสนาและสุนทรียภาพความงามที่แตกต่างกันไปในแต่ละสมัยและท้องถิ่นภูมิภาคของไทย มีสภาพค่อนข้างสมบูรณ์ มีประวัติความเป็นมาที่แน่ชัด มาจัดพิมพ์หนังสือ “พระพุทธรูปสำคัญในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ” ที่รวบรวมพุทธศิลป์ชิ้นเยี่ยมจากทั่วประเทศ พร้อมภาพสีสวยงาม เพื่อเผยแพร่แก่สาธารณชน ซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่ผู้สนใจงานศิลปกรรม ผู้สนใจศึกษาแบบอย่างพระพุทธรูปแต่ละสมัย สามารถค้นคว้าเพิ่มเติมได้จากหนังสือเล่มนี้    ซึ่งเป็นพื้นฐานอย่างง่ายสำหรับผู้ศึกษาพุทธศิลป์เบื้องต้น อีกทั้งยังประโยชน์ให้เกิดความรัก ความภาคภูมิใจในมรดกศิลปวัฒนธรรม ที่ส่งต่อเป็นสมบัติร่วมกันของคนในชาติ ทำให้เกิดสำนึกในการอนุรักษ์มรดกศิลปวัฒนธรรมอย่างยั่งยืนสืบต่อไปในอนาคต   ทั้งนี้ เนื้อหาภายในหนังสือ ประกอบด้วย คตินิยมในการสร้างรูปแทนพระพุทธเจ้าเพื่อสักการบูชา  ที่สืบทอดจากชมพูทวีป การออกแบบท่าทางหรือการแสดงปางอันมีความหมายทางประติมานวิทยา และเอกลักษณ์รูปแบบพุทธปฏิมาทุกยุคสมัยที่พบในประเทศไทย พร้อมภาพสี่สีตลอดเล่ม ขนาด 300 หน้า จำหน่ายราคาเล่มละ 1,200 บาท ผู้สนใจสามารถสั่งซื้อได้ที่ร้านหนังสือกรมศิลปากร ชั้น 1 อาคารกรมศิลปากร เทเวศร์ เปิดทำการวันจันทร์ – วันศุกร์ (หยุดวันเสาร์ วันอาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์) สอบถามเพิ่มเติม โทรศัพท์ 0 2164 2501 ต่อ 1004 (ในวันและเวลาราชการ) หรือ สั่งซื้อทางออนไลน์ได้ที่ https://bookshop.finearts.go.th และสามารถติดตามข่าวสารหนังสือต่าง ๆ ของกรมศิลปากรได้ที่ Facebook ศูนย์หนังสือกรมศิลปากร


ชื่อเรื่อง                         มหานิปาต(เวสฺสนฺตรชาดก)ชาตกปาลิขุทฺทกนิกาย(คาถาพัน)อย.บ.                            170/2หมวดหมู่                       พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                  66 หน้า กว้าง 4.5 ซม. ยาว 55 ซม.หัวเรื่อง                         มหาเวสสันดรชาดก                                                               บทคัดย่อ/บันทึก          เป็นคัมภีร์ใบลาน ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา



         ปี่ใน          สมัยรัตนโกสินทร์ พุทธศตวรรษที่ ๒๕          เจ้าพระยาบดินทรเดชานุชิต ทำขึ้น เป็นของอยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ มาแต่เดิม          ปัจจุบันจัดแสดง ณ พระที่นั่งทักษิณาภิมุข หมู่พระวิมาน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร          ปี่ในกลึงจากศิลาเมืองโพธิสัตว์ (จังหวัดโพธิสัตว์ ประเทศกัมพูชา) ภายในเจาะกลวงตลอดทั้งเลา ทางหัวเป็นช่องรูเล็ก ทางปลายเป็นช่องรูใหญ่ ตอนกลางเลาป่อง กลึงขวั้นเป็นเกลียว และเจาะรูสำหรับใช้นิ้วไล่เสียงจำนวนหกรู ประกอบด้วยรูทั้งสี่เว้นระยะเล็กน้อยเท่า ๆ กัน และถัดลงมาอีกสองรู รูเล็กทางหัวใส่ลิ้นปี่ทำด้วยใบตาลตัดกลมผูกติดกับท่อลมขนาดเล็ก ทำด้วยโลหะเรียกว่า “กำพวด”          “ปี่ใน” เป็นหนึ่งในกลุ่มของเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่าจำพวก “ปี่” ซึ่งประกอบไปด้วย ปี่นอก ปี่กลาง ปี่ใน มีทั้งที่ทำด้วยไม้ (เช่น ไม้ชิงชัน ไม้พยุง) งาช้าง และศิลา ในอดีตวงดนตรีจะใช้ปี่เพียงเลาเดียวสำหรับการบรรเลง ต่อมาจึงเกิดการปรับปรุงขนาดปี่เพื่อปรับให้มีเสียงใหม่ จึงเกิดการเรียกปี่แบบดั้งเดิมว่า “ปี่นอก” และเรียกปี่ที่ปรับขนาดใหม่ว่า “ปี่ใน” (ส่วนปี่ที่ใช้เป่าประกอบการเล่นหนังใหญ่จะมีเสียงที่อยู่ระหว่างปี่นอกกับปี่ในเรียกว่า “ปี่กลาง”)          ในวรรณคดีเรื่อง “พระอภัยมณี” แต่งโดยพระศรีสุนทรโวหาร (ภู่) หรือที่รู้จักกันในนาม “สุนทรภู่” ในช่วงรัชกาลที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ในตอน พระอภัยมณีกับศรีสุวรรณเรียนวิชา* มีวรรคกล่าวถึงการเรียนวิชาเป่าปี่ไว้ดังความว่า      พื้นความรู้ครูประสิทธิ์ไม่ปิดบัง    จึงสอนสั่งอุปเท่ห์เป็นเล่ห์กล ถ้าแม้นว่าข้าศึกมันโจมจับ   จะรบรับสารพัดให้ขัดสน เอาปี่เป่าเล้าโลมน้ำใจคน  ด้วยเล่ห์กลโลกาห้าประการ คือรูปรสกลิ่นเสียงเคียงสัมผัส  เกิดกำหนัดลุ่มหลงในสงสาร ให้ใจอ่อนนอนหลับดังวายปราณ  จึงคิดอ่านเอาชัยเหมือนใจจง แล้วให้ปี่ที่เพราะเสนาะเสียง  ยินสำเนียงถึงไหนก็ใหลหลง              *พระอภัยมณีและศรีสุวรรณ เป็นโอรสของ ท้าวสุทัศน์เจ้าเมืองรัตนาและนางประทุมเกสร พระโอรสทั้งสองได้กราบลาออกไปร่ำเรียนวิชา ซึ่งพระอภัยมณีผู้เป็นพี่เรียนวิชาเป่าปี่ ส่วนศรีสุวรรณผู้เป็นน้องเรียนวิชากระบี่กระบอง           อ้างอิง กรมศิลปากร. เครื่องมือของใช้จากวรรณกรรมสุนทรภู่. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งกรุ๊พ, ๒๕๓๐ (กรมศิลปากรจัดพิมพ์ประกอบนิทรรศการพิเศษเนื่องในโอกาสฉลอง ๒๐๐ ปี กวีเอกสุนทรภู่ ๑๙ มิถุนายน - ๒ สิงหาคม ๒๕๓๐). . ธนิต อยู่โพธิ์. หนังสือเครื่องดนตรีไทย. กรุงเทพฯ: พิฆเนศ, ๒๕๓๐ (กรมศิลปากรจัดพิมพ์เนื่องในโอกาสฉลองชนมายุ ๘๐ ปี ของ นายธนิต อยู่โพธิ์ อดีตอธิบดีกรมศิลปากร พ.ศ. ๒๔๙๙ – ๒๕๑๑ วันอังคารที่ ๒๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๐).




           พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ ขอเชิญชมนิทรรศการพิเศษ เรื่อง “พระพิฆเนศ มหาเทพไอยรา” ในงานมหัศจรรย์งานช้าง ปี ๒๕๖๖ โดยนิทรรศการบอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับประติมากรรมพระพิฆเนศที่พบในประเทศไทย และพระพิฆเนศประจำวันเกิดทั้ง ๗ วัน พร้อมทั้งเปิดให้สักการะพระพิฆเนศ และเช่าบูชาเหรียญพระพิฆเนศได้ในที่เดียว ระหว่างวันที่ ๑๖ - ๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๖๖


Messenger