ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,403 รายการ
มูลนิธิสุทธิรัตน์ อยู่วิทยา ร่วมกับกรมศิลปากร ชวนอาสามาร่วมกันเรียนรู้ประวัติศาสตร์ มรดกแห่งวัฒนธรรมอันล้ำค่า ผ่านโครงการ Goal Together ในกิจกรรมเรียนรู้ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมไทย ณ อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ วันที่ 16-17 มีนาคม 2567
เมืองโบราณศรีเทพ ได้ถูกประกาศเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม ซึ่งเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมของไทยแห่งที่ 4 ต่อจากเมืองประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวาร, นครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา และแหล่งโบราณคดีบ้านเชียง และยังเป็นมรดกโลกแหล่งที่ 7 ของประเทศไทย โดยยูเนสโก เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2566 ที่ผ่านมา
การมาร่วมศึกษาประวัติศาสตร์ในครั้งนี้ จะทำให้เราเข้าใจเรื่องราวในประวัติศาสตร์ ซึ่งเป็นแหล่งอารยธรรมสำคัญแห่งหนึ่งของไทย และเป็นสมบัติทางวัฒนธรรมไทยที่ประเมินค่าไม่ได้ เพื่อนำความรู้ที่ได้ ส่งต่อเรื่องราวความสำคัญที่ยิ่งใหญ่ให้แก่ผู้อื่น เพื่อไม่ให้หน้าประวัติศาสตร์ถูกลืมเลือนไปตามกาลเวลา เพื่อสร้างประสบการณ์และแรงบันดาลใจให้คนรุ่นใหม่ได้เห็นถึงความสำคัญของโบราณสถานอันทรงคุณค่าแห่งนี้
มาร่วมเรียนรู้และส่งต่อคุณค่าความสำคัญ เรื่องราววิถีชีวิตของชุมชน สังคม วัฒนธรรมอันมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ ที่ควรค่าแก่การศึกษา และส่งต่อการอนุรักษ์ไว้ให้คนรุ่นหลังอ่านรายละเอียดกิจกรรมและสมัครเข้าร่วมกิจกรรม ตั้งแต่วันนี้-28 กุมภาพันธ์ 2567 (รับจำนวน 45 คน) คลิกลงทะเบียนได้ที่นี่ https://forms.gle/ksTvhKy7wh1nZC6v5 (ประกาศผลทาง www.suthiratfoundation.or.th **วันที่ 2 มีนาคม 2567**)
รูปปั้นแบบร่างพระบรมราชานุสาวรีย์ รัชกาลที่ 1
ผลงาน : แบบร่างประติมากรรมพระบรมราชาอนุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
ศิลปิน : ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี (คอร์ราโด เฟโรจี)
เทคนิค : ปูนปลาสเตอร์
ปีที่สร้างสรรค์ : พ.ศ. 2474
ขนาด : สูง 30 เซนติเมตร
ประวัติ : รูปปั้นแบบร่างพระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
การออกแบบอนุสาวรีย์ เป็นผลงานที่โดดเด่นของศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี จัดเป็นศิลปะแบบวิชาการ (Academic art) รูปแบบของพระบรมรูป มีลักษณะที่เหมือนจริง แต่ดูน่าเกรงขาม หากพิจารณาในประเด็นของบริบททางสังคม การสร้างอนุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เป็นเสมือนการเน้นพระราชอำนาจของสถาบันพระมหากษัตริย์ของไทย ที่กำลังอ่อนแอและถูกท้าทาย กับทั้งเป็นศิลปะวิชาการชิ้นสุดท้ายที่ถูกกำหนดจากทางการ โดยพระมหากษัตริย์ ก่อนที่รัฐไทยสมัยใหมจะรับช่วงการอุปถัมถ์ศิลปะแบบทางการนี้ต่อไป ดังจะเห็นได้จากการที่รัฐบาลได้ตั้งคณะกรรมการพิจารณาอนุมัติการสร้างอนุสาวรีย์หลายแห่งทั่วประเทศ (สุธี 2545 : 38)
อ้างอิง : หนังสือนำชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป (Guide to The National Gallery, Bangkok)
แสดงภาพวัตถุหมุน คลิกที่นี่ http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/nationalgallery/360/model/zz10ok/
ที่มา: http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/nationalgallery/
รายงานผลการสำรวจโบราณสถานที่ประกาศขึ้นทะเบียนในเขตพื้นที่รับผิดชอบสำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา (พื้นที่จังหวัดมหาสารคาม)
ระบำศรีเทพ เป็นระบำสร้างสรรค์ขึ้นใหม่ จากแนวความคิดและประดิษฐ์ท่ารำ
ของนางสาววันทนีย์ ม่วงบุญ ผู้ชำนาญการศิลปะการแสดง ร่วมกับนางสิริวรรณ อาจมังกร ผู้อำนวยการกลุ่มนาฏศิลป์
และนางสาวพิมพ์รัตน์ นะวะศิริ นาฏศิลปินอาวุโส สำนักการสังคีต กรมศิลปากร
ซึ่งได้จินตนาการจากลักษณะทางสถาปัตยกรรม โบราณวัตถุ รวมทั้งประติมากรรมปูนปั้น
อันปรากฏหลงเหลือประดับอยู่ที่ฐานโบราณสถาน อันสืบเนื่อง ในวัฒนธรรมทวารวดี
โดยให้สอดคล้องกันกับท่วงทำนองจังหวะเพลงที่นายไชยยะ ทางมีศรี ผู้ชำนาญการด้านดุริยางค์ไทย ประพันธ์ขึ้น
แล้วให้ชื่อว่า เพลงคู่ทวารวดี ซึ่งบรรเลงโดย ดุริยางคศิลปิน ทั้งยังให้สัมพันธ์กับเครื่องแต่งกายที่ประดิษฐ์ขึ้นใหม่
โดยงานพัสตราภรณ์และเครื่องโรง กลุ่มนาฏศิลป์ และได้มีการจัดแสดงครั้งแรก ณ พระที่นั่งอิศราวินิจฉัย เนื่องในงานแถลงข่าวเมืองโบราณศรีเทพขึ้นเป็นมรดกโลก
ทั้งนี้ อยู่ในความควบคุมของ นายลสิต อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสำนักการสังคีต
ชื่อเรื่อง ตำนานธาตุพนม (ธาตุพนม)สพ.บ. 447/1กหมวดหมู่ พุทธศาสนาภาษา บาลี-ไทยอีสานหัวเรื่อง พุทธศาสนา ตำนาน ประวัติประเภทวัสดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานลักษณะวัสดุ 30 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 38 ซม.บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน เส้นจาร ฉบับลานดิบ ไม่มีไม้ประกับ ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
สมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทย จ.กรุงเทพฯ (เวลา 09.00-11.45 น.) จำนวน 80 คน
ชื่อเรื่อง พระราชนิพนธ์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เรื่องบ่วงมารผู้แต่ง พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวประเภทวัสดุ/มีเดีย หนังสือหายากหมวดหมู่ วรรณคดีภาษาอื่นๆเลขหมู่ 895สถานที่พิมพ์ พระนครสำนักพิมพ์ โรงพิมพ์พระจันทร์ปีที่พิมพ์ 2491ลักษณะวัสดุ 214 หน้า หัวเรื่อง บทพระราชนิพนธ์ภาษา ไทยบทคัดย่อ/บันทึกที่ระลึกงานฌาปนกิจศพ นายโชติ ล่ำซำ
โบราณสถานกำแพงเมืองนครศรีธรรมราช
ตั้งอยู่บนถนนราชดำเนิน ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช กำแพงเมืองในปัจจุบันเป็นกำแพงที่สร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชแห่งกรุงศรีอยุธยา เมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๒๒๙ โดยโปรดเกล้าฯ ให้มองซิเออร์ เดอ ลามาร์ (Monsieur de Lamare) วิศวกรชาวฝรั่งเศส จัดทำแผนที่ร่างแบบแปลนแผนผังป้อมและกำแพงเมือง ซึ่งสันนิษฐานว่าอาจเป็นการปรับปรุงจากกำแพงเมืองเดิมที่เคยมีอยู่ก่อนหน้านี้แล้ว
กำแพงเมืองมีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ลักษณะเป็นกำแพงก่ออิฐถือปูนตั้งอยู่บนสันเชิงเทินดิน ส่วนยอดกำแพงก่ออิฐเป็นรูปใบเสมา มีป้อมตรงกลางปากประตูเมือง (ติดกับสะพานนครน้อย) กำแพงก่อล้อมรอบเมืองที่มีลักษณะแคบยาว มีคูเมือง ๑ ชั้น ขนาดความกว้างของเมืองตามแนวแกนทิศตะวันออก – ตะวันตก ประมาณ ๕๐๐ เมตร ความยาวตามแนวแกนทิศเหนือ – ใต้ ประมาณ ๒,๒๓๙ เมตร หน้าเมืองอยู่ทางด้านทิศเหนือ
ทั้งนี้เนื่องจากอิทธิพลทางด้านภูมิศาสตร์ ที่ตั้งอยู่บนที่ราบสันทรายขนาบด้วยที่ราบลุ่ม แนวกำแพงเมืองด้านทิศตะวันออกและตะวันตกคงถูกปรับเปลี่ยนจนกลายเป็นถนนแล้วตั้งแต่ในช่วงปลายสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์) เหลือเพียงกำแพงด้านทิศเหนือฟากตะวันออก ความยาวประมาณ 100 เมตร ที่ยังมีสภาพสมบูรณ์ คูเมืองด้านทิศเหนือ (คลองหน้าเมือง) ยังมีสภาพค่อนข้างดี ส่วนกำแพงเมืองด้านทิศใต้กลายเป็นที่ราบ คูเมืองด้านทิศใต้ คือ คลองป่าเหล้าเป็นลำน้ำตามธรรมชาติ
กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานกำแพงเมือง ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๕๓
หน้า ๑๕๓๐ วันที่ ๒๗ กันยายน ๒๔๗๙ และดำเนินการขุดค้น ขุดแต่ง และบูรณะกำแพงเมือง ระหว่างพ.ศ. 2532–2535 พ.ศ. 2547–2548 และ พ.ศ. 2552–2554
The City Wall of Nakhon Si Thammarat
The City Wall is located on Ratchadamnoen Road, Nai Mueang Sub-district, Mueang Nakhon Si Thammarat District, Nakhon Si Thammarat Province. The current city wall was built during the reign of King Narai the Great of Ayutthaya in 1686. He ordered a French engineer, Monsieur de La Mare to design plans for the fort and the city wall which can assume that the city wall had existed.
The City Wall has a rectangular plan, built with bricks and lime. The top of the brick wall or the battlement decorated with merlon. There is a fort in the middle of the city gate, next to Nakhon Noi Bridge. The width of the city along the east-west direction is approximately 500 metres and the length along the north-south direction is approximately 2,239 metres. The front of the city is in the north. The shape of the city is long and narrow, surrounded by a moat.
The City Wall is located on the beach ridge, between lowlands. The eastern and western walls had become road since the end of King Vajiravudh (Rama VI) reign, leaving only the northern wall on the east side approximately 100 metres that is intact. The moat on the north, which is known as Na Mueang canal, is relatively well preserved. The southern city wall became plain. The southern moat is called Pa Lao canal.
The Fine Arts Department announced the registration of The City Wall of NakhonSi Thammarat as a national in the Royal Gazette, Volume 53, page 1530, dated 27th September 1936. Moreover, the Fine Arts Department was excavated and restored the City Wall of Nakhon Si Thammarat during 1989 - 1992, 2004 - 2005 and 2009 - 2011.
ชื่อเรื่อง : เจ้าศรีจงกล ณ เชียงใหม่ ผู้แต่ง : เจ้าศรีจงกล ณ เชียงใหม่ ปีที่พิมพ์ : 2552 สถานที่พิมพ์ : ม.ป.ท. สำนักพิมพ์ : ม.ป.พ. เจ้าศรีจงกล เกิดที่จังหวัดเชียงใหม่ มีพี่น้องร่วมบิดา-มารดาเดียวกัน 9 คน ชีวิตในวัยเยาว์ของท่านเติบโตในคุ้มเจ้าพ่อบุรีรัตน์ และเจ้าแม่เรณุวรรณ ณ เชียงใหม่ มีฝีมือในการเย็บปักถักร้อย เป็นคนพูดจาไพเราะนุ่มนวล ปฏิบัติต่อผู้อื่นด้วยความสุภาพ อ่อนโยน ใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย จนกระทั่งอายุ 76 ปี เกิดเส้นโลหิตในสมองแตกต้องเข้าโรงพยาบาลรักษาไปตามอาการจนวาระสุดท้ายรวมสิริอายุได้ 79 ปี 11 เดือน