ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,404 รายการ


รายงานการเดินทางไปราชการ ณ ประเทศญี่ปุ่น   ๑.      ชื่อโครงการ           ศึกษาดูงานและตรวจเยี่ยมการผลิตกระเบื้องเซรามิก ตามโครงการเขียนและพิมพ์ภาพจิตรกรรมฝาผนังลงบนกระเบี้องเซรามิกภายในพระวิหาร วัดเครือวัลย์วรวิหาร กรุงเทพมหานคร เรื่อง “พระมหากษัตริย์ไทยกับการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา”เพื่อเฉลิมพระเกียรติและเป็นจารึกประกาศพระเกียรติคุณและแสดงให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันศาสนาและสถาบันพระมหากษัตริย์ไทย   ๒.      วัตถุประสงค์          ๑. ดูงานและตรวจเยี่ยมการผลิตภาพจิตรกรรมลงบนกระเบี้องเซรามิของบริษัทโอซูกะ โอมิ เซรามิก เมืองชิกะรากิ ประเทศญี่ปุ่น                         ๒. ทัศนศึกษาพิพิธภัณฑสถานและโบราณสถานสำคัญในเมืองเกียวโต โอซาก้า และโตเกียว                                ๓.      กำหนดเวลา           วันที่ ๑ – ๗ ตุลาคม ๒๕๕๙   ๔.      สถานที่                เกียวโต โอซาก้าและโตเกียว   ๕.   หน่วยงานผู้จัด         สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์   ๖.   หน่วยงานสนับสนุน    บริษัทโอซูกะ โอมิ เซรามิก จำกัด และบริษัท เซรามิก อิมเมจ จำกัด   ๗.      กิจกรรม               ดูงานและตรวจเยี่ยมการผลิตกระเบื้องเซรามิก ตามโครงการเขียนและพิมพ์ภาพจิตรกรรมฝาผนังลงบนกระเบี้องเซรามิกภายในพระวิหาร วัดเครือวัลย์วรวิหาร ณ โรงงานของบริษัทโอซูกะ โอมิ เซรามิก เมืองชิกะรากิ ประเทศญี่ปุ่น ทัศนศึกษาพิพิธภัณฑ์และโบราณสถานที่สำคัญในเมืองเกียวโต โอซาก้าและโตเกียว   ๘.      คณะผู้แทนไทย        คณะผู้เดินทางรวม ๑๒ คน ประกอบด้วยท่านผู้หญิงบุตรี วีระไวทยะ พระสงฆ์จากวัดเครือวัลย์วรวิหาร ๒ รูป เจ้าหน้าที่จากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ๗ คน และข้าราชการจากกรมศิลปากร ๒ คน   ๙.      สรุปสาระของกิจกรรม                      วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๙      ออกเดินทางจากสนามบินสุวรรณภูมิ ถึงสนามบินคันไซ เมืองโอซาก้า เดินทางต่อไปเมืองเกียวโต เข้าพักที่ Westin Miyako Kyoto Hotel                  วันที่ ๒ ตุลาคม ๒๕๕๙ เดินทางไปบริษัทโอซูกะ โอมิ เซรามิก เมืองชิกะรากิ ตรวจเยี่ยมการผลิตกระเบื้องเซรามิก ตามโครงการเขียนและพิมพ์ภาพจิตรกรรมฝาผนังลงบนกระเบี้องเซรามิกภายในพระวิหาร วัดเครือวัลย์วรวิหาร ช่วงบ่ายเดินทางกลับเมืองเกียวโต ดูตลาดนิชิกิ ตลาดของชาวเกียวโต เย็นเข้าพักที่ Westin Miyako Kyoto Hotel               วันที่ ๓ ตุลาคม ๒๕๕๙               เดินทางไปพิพิธภัณฑ์ศิลปะกลางแจ้ง จัดแสดงผลงานจิตรกรรมจำลองบนแผ่นเซรามิก หลากหลายยุคสมัย พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ออกแบบโดย Todao Ando สถาปนิกที่มีชื่อเสียงและได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลเมืองเกียวโต เดินทางต่อไปยังวัดคิโยมิสึ สร้างบนเนินเขาสูง ใช้ท่อนซุงขนาดใหญ่เป็นโครงสร้างรองรับ               บ่ายเดินทางไปวัดซันจูซันเก็นโด วัดเจ้าแม่กวนอิม ๑,๐๐๐ มือ เคยถูกไฟไหม้ ต่อมาได้รับการบูรณะ วัดนี้มีเจ้าแม่กวนอิมอยู่ ๑,๐๐๑ องค์ และมีอาคารไม้เก่าโบราณยาวถึง ๑๒๐ เมตร เป็นอาคารไม้เก่าที่ยาวที่สุดในญี่ปุ่น เดินทาต่อไปโอซาก้า เข้าพักที่ Nikko Osaka Hotel                  วันที่ ๔ ตุลาคม ๒๕๕๙               เดินทางไปยังเมืองโทคุชิมะ เดินทางไปพิพิธภัณฑ์ศิลปะโอสึกะ สร้างขึ้นในโอกาสครบรอบ ๗๕ ปีของกลุ่มบริษัทยาโอสึกะ เป็นพิพิธภัณฑ์จัดแสดงศิลปะตะวันตกที่จำลองขนาดเท่าของจริงตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงศตวรรษที่ ๒๐ ภาพจิตรกรรมกว่า ๑,๐๐๐ ชิ้น ถูกจำลองบนแผ่นเซรามิก               ออกเดินทางต่อไปชม นารุโตะ เวิร์ลพูล ปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เกิดจากกระแสน้ำจากมหาสมุทรแปซิฟิกและทะเลเซโตไนไคมาพบกัน ทำให้เกิดกระแสน้ำวนขนาดใหญ่ เข้าพัก ณ เรือนรับรอง Shiosai-so                  วันที่ ๕ ตุลาคม ๒๕๕๙               ออกเดินทางไปเมืองโกบี เดินทางต่อด้วยรถไฟความเร็วสูงถึงเมืองโตเกียว เดินทางไปยังพิพิธภัณฑ์เอโดะ โตเกียว แสดงถึงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนญี่ปุ่น สมัยเอโดะ ในช่วงศตวรรษที่ ๑๕           เข้าพักที่ Solaria Nishitetsu Hotel Ginza                  วันที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๕๙               เดินทางไปเมืองคามาคูระ ชึ่งเป็นเมืองหน้าด่านสมัยเอโดะ นมัสการหลวงพ่อไดบุทสึ พระพุทธรูปสำริดขนาดใหญ่ประดิษฐานอยู่กลางแจ้ง เดิมประดิษฐานอยู่ในวิหาร ในปี ค.ศ. ๑๓๖๘ ถูกพายุพัดจนได้รับความเสียหาย และในปี ค.ศ. ๑๔๙๕ ถูกคลื่นยักษ์กลืนหายไปในทะเล แต่องค์พระไม่ชำรุดเสียหาย จนปัจจุบันมีอายุมากกว่า ๘๐๐ ปี               บ่ายเดินทางไปวัดฮาเสะเดระ เป็นที่ประดิษฐานพระโพธิสัตว์กวนอิม ๑๑ พักตร์ และยังมีเทวรูป จิโสะ เป็นรูปเด็กสลักขึ้นจากหิน นับพันรูปเพื่ออุทิศให้กับดวงวิญญาณของเหล่าทารกที่เสียชีวิตจากการทำแท้งให้ไปสู่สรวงสวรรค์ เดินทางกลับ Solaria Nishitetsu Hotel Ginza                  วันที่ ๗ ตุลาคม ๒๕๕๙               เดินทางจากโรงแรมที่พักไปยังสนามบินนาริตะ เดินทางกลับถึงสนามบินสุวรรณภูมิ ประเทศไทย   ๑๐.  ข้อเสนอแนะจากการจัดกิจกรรม การเดินทางไปราชการในครั้งนี้ได้รับประโยชน์อย่างมาก คือ ๑.   ได้มีโอกาสดูการผลิตกระเบื้องเซรามิก ของบริษัทโอซูกะ โอมิ เซรามิก เมืองชิกะรากิ ตามโครงการเขียนและพิมพ์ภาพจิตรกรรมฝาผนังลงบนกระเบื้องเซรามิกภายในพระวิหาร วัดเครือวัลย์วรวิหาร ซึ่งเป็นการประยุกต์นำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ในงานศิลปะ ๒.   ศึกษาการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ลักษณะใหม่ จัดแสดงสิ่งจำลอง เช่น พิพิธภัณฑ์ศิลปะกลางแจ้ง เมืองเกียวโต จัดแสดงผลงานจิตรกรรมจำลองบนแผ่นเซรามิก หลากหลายยุคสมัย พิพิธภัณฑ์ศิลปะโอสึกะ จัดแสดงศิลปะตะวันตกที่จำลองขนาดเท่าของจริงตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงศตวรรษที่ ๒๐ ๓.   ดูงานพิพิธภัณฑ์เอโดะ เมืองโตเกียว เป็นพิพิธภัณฑ์จัดแสดงถึงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนญี่ปุ่น สมัยเอโดะ ในช่วงศตวรรษที่ ๑๕ ซึ่งสามารถนำมาใช้เป็นแนวทางในการจัดพิพิธภัณฑ์ในเมืองไทย ๔.   มีโอกาสได้ทัศนศึกษาสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีของญี่ปุ่น เช่น วัดคิโยมิสึ วัดซันจูซันเก็นโด หลวงพ่อไดบุทสึ และวัดฮาเสะเดระ ๕.   ได้มีโอกาสดูปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เกิดจากกระแสน้ำจากมหาสมุทรแปซิฟิกและทะเลเซโตไนไคมาพบกัน ทำให้เกิดกระแสน้ำวนขนาดใหญ่ (นารุโตะ เวิร์ลพูล)                                                                                                                (นายศิริชัย หวังเจริญตระกูล)                                                              นักวิทยาศาสตร์เชี่ยวชาญ                                                            สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาตื                                                                     กรมศิลปากร                                                           ผู้สรุปผลการเดินทางไปราชการ


สาระสังเขป  :  ชีวประวัติของอำมาตย์เอก พระยาเกษตรรักษา  ตั้งแต่เกิด เข้ารับการศึกษา จนถึงเข้ารับราชการในกระทรวงเกษตร เมื่อวันที่ 1 ม.ค. พ.ศ.2445 ในตำแหน่งเสมียนตรีกรมบัญชี จนถึงตำแหน่งสุดท้ายคือ หัวหน้ากองคลัง สำนักงานปลัด กระทรวงเกษตรจนถึงวันที่ 24 ก.พ. พ.ศ.2486 สมรสกับคุณหญิงแช่ม เกษตรรักษา มีบุตร-ธิดา รวม 8 คน ได้ถึงแก่กรรมด้วยโรคหัวใจวาย เมื่อวันที่ 16 พ.ค.2501 ด้วยอายุ 73 ปี 2 เดือน 22 วันผู้แต่ง  :   เกษตรรักษา, พระยาโรงพิมพ์  :  กรมแผนที่ทหารปีที่พิมพ์  :  2502ภาษา  :  ไทยรูปแบบ  :   PDFเลขทะเบียน  :  น.32บ.2375จบเลขหมู่  :  923.2583               ก782ช


เลขทะเบียน : นพ.บ.5/5ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  50 หน้า  ; 5 x 55 ซ.ม. : รักทึบ-ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา มีฉลากบอกชื่อคัมภีร์ 1 แผ่นชื่อชุด : มัดที่ 3 (20-32) ผูก 5หัวเรื่อง : ศัพท์วินัยกิจ--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม




      ชื่อเรื่อง : วิตามินกับสุขภาพและภาวะเจ็บป่วย       ผู้เขียน : อภิรัตน์ ศุภธนาทรัพย์        สำนักพิมพ์ : สำนักวิชาการ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช      ปีพิมพ์ : ๒๕๖๒      เลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ : ๙๗๘-๖๑๖-๑๖-๑๘๐๗-๐      เลขเรียกหนังสือ : ๖๑๓.๒๘๖ อ๒๖๒ว      ประเภทหนังสือ : หนังสือทั่วไป      ห้องบริการ : ห้องหนังสือทั่วไป ๑ สาระสังเขป : วิตามิน เป็นสารอินทรีย์ (Organic compound) ที่ได้รับจากอาหารตามธรรมชาติ ร่างกายจำเป็นต้องได้รับวิตามินจากอาหารในปริมาณที่เพียงพอกับความต้องการของร่างกายเพื่อป้องกันวิตามิน หากเกิดการขาดวิตามินแต่ละชนิดจะส่งผลให้เกิดอาการที่เฉพาะแตกต่างกันไป จึงนับว่าวิตามินเป็นสารจำเป็นสำหรับชีวิตของคนเราอย่างยิ่ง "วิตามินกับสุขภาพและภาวะเจ็บป่วย" เป็นการนำเสนอความรู้เรื่องวิตามินมีความสำคัญและจำเป็นสำหรับคนทุกเพศ ทุกวัยและทุกภาวะสุขภาพ โดยนำเสนอเนื้อหาที่ครอบคลุมเรื่องของวิตามิน ประกอบด้วย (๑) ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับวิตามิน ได้แก่ การจำแนกวิตามิน ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการใช้วิตามินของร่างกาย การขาดวิตามิน ภาวะได้รับวิตามินเกิน สถานการณ์การขาดวิตามินในประเทศไทย และการค้นพบวิตามิน (๒) วิตามินในอาหารประเภทต่างๆ และปัจจัยที่มีผลต่อปริมาณวิตามินในอาหาร ได้แก่ แหล่งของวิตามินในอาหาร ตัวอย่างปัจจัยที่มีต่อการเปลี่ยนแปลง และปริมาณวิตามินในอาหาร (๓) วิตามินที่ละลายในน้ำต่อสุขภาพและภาวะเจ็บป่วย เช่น วิตามินซีกับสุขภาพและภาวะเจ็บป่วย โรโบฟลาวินกับสุขภาพและภาวะเจ็บป่วย กรดแพนโทเทนิกกับสุขภาพและภาวะเจ็บป่วย โฟเลทกับสุขภาพและภาวะเจ็บป่วย และ ไบโอตินกับสุขภาพและภาวะเจ็บป่วย เป็นต้น (๔) วิตามินที่ละลายในไขมันต่อสุขภาพและภาวะเจ็บป่วย ได้แก่ วิตามินเอ วิตามินดี วิตามินอี และวิตามินเคกับสุขภาพและภาวะเจ็บป่วย (๕) การประเมินภาวะวิตามิน ได้แก่ การประเมินทางโภชนาการ และการประเมินภาวะวิตามิน และ (๖) อันตรกิริยาระหว่างยากับวิตามิน ได้แก่ อันตรกิริยาระหว่างยาและสารอาหาร และอันตรกิริยาระหว่างยาและวิตามิน ซึ่งทั้งหมดถือว่าเป็นองค์ความรู้พื้นฐานที่เหมาะสำหรับนักเรียน นักศึกษาและผู้ที่สนใจด้านอาหาร โภชนาการและวิตมิน เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการส่งเสริมสุขภาพและต่อยอดด้านการศึกษาต่อไป     



 ชื่อผู้แต่ง          -                                    ชื่อเรื่อง           ตำราพิไชยสงคราม                 ครั้งที่พิมพ์       พิมพ์ครั้งที่ ๖    สถานที่พิมพ์    พระนคร         สำนักพิมพ์       โรงพิมพ์พระจันทร์                 ปีที่พิมพ์          ๒๕๑๒           จำนวนหน้า      ๕๔ หน้า         หมายเหตุ        พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นางสนิทนรนารถ                       หนังสือตำราพิไชยสงครามเล่มนี้ บทประพันธ์ของเนื้อเรื่องเป็นร้อยกรอง กล่าวถึงการทำศึกสงคราม แบ่งเป็น ๓ ส่วน คือ ว่าด้วยเหตุแห่งการสงคราม ว่าด้วยอุบายสงคราม ว่าด้วยยุทธศาสตร์และยุทธวิธี นอกจากนนั้นหนังสือเล่มนี้ยังมีในส่วนของตำราดูนิมิต ฤกษ์ยามและทำเลขยันต์


ว่าด้วยตำรายาเกร็ด เช่น ยาแก้กลอน, ยาแก้สารพัดลม, ยาแก้เลือดแห้ง, ยาดองแก้ขัดระดู, แก้โลหิตดีจับหัวใจให้คราง, ปลุกโลหิต ฯลฯ


ผู้แต่ง : กรมศิลปากร ปีที่พิมพ์ : 2532 สถานที่พิมพ์ : ม.ป.ท. สำนักพิมพ์ : ป.สัมพันธ์พาณิชย์




นายขจร มุกมีค่า ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครราชสีมาตรวจเยี่ยมอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้งและปราสาทเมืองต่ำวันอังคารที่ ๑๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๗


          ประเทศไทยมีการติดต่อค้าขายกับพ่อค้ามุสลิมมาตั้งแต่ก่อนการสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี เมื่อ พ.ศ. 1893 หลังจากนั้นในสมัยกรุงธนบุรีพบว่ามีชาวมุสลิมเดินทางเข้ามาค้าขายเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะหลังจากที่ประเทศไทยเปิดการค้าเสรีภายใต้สนธิสัญญาเบาริ่ง ในสมัยรัชกาลที่ 4 ยิ่งทำให้มีพ่อค้าจากอินเดีย มลายูและอาหรับเข้ามาเพิ่มอีกเป็นจำนวนมาก           ในช่วงรัตนโกสินทร์ตอนต้นบริเวณปากคลองสานถือเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยที่สำคัญของชาวมุสลิม แบ่งออกเป็น 2 ย่าน คือ “ย่านตึกแดง” และ “ย่านตึกขาว” มุสลิมที่อยู่ในย่านตึกแดงเป็นพวกชาวอินเดียที่ส่วนมากมาจาก ตำบลแรนเดอร์ เมืองสุรัต ประเทศอินเดีย เป็นชาวมุสลิมที่นับถือนิกายสุหนี่ แต่มุสลิมที่อยู่ในย่านตึกขาวส่วนใหญ่เป็นมุสลิมที่นับถือนิกายชีอะห์ ซึ่งเดินทางมาจากเมืองสุรัต เมืองแคมบ๊าต เมืองอะห์เมดาบ๊าด รัฐคุชราต และจากเมืองซิ๊ดปุร และเมืองโดรายี ทางตะวันตกของอินเดีย ซึ่งชาวมุสลิมที่อยู่ในย่านตึกขาวนี้เรียกตนเองว่า “มุอ์มิน ดาวูดี โบห์รา”           ดาวูดี โบห์รา (Dawoodi Bohra) เป็นกลุ่มสาขาของชาวมุสลิมนิกายชีอะห์ ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในเมืองทางตะวันตกของอินเดีย โดยคำว่า “โบห์รา” เป็นภาษาคุชราต แปลว่า “พ่อค้า” ส่วนคำว่า “ดาวูดี” มาจากการสนับสนุนนายดาวูดบิน ในระหว่างที่มุสลิมมีข้อพิพาทเกี่ยวกับกรณีการเลือกผู้นำ ในปี ค.ศ. 1592 ชาวดาวูดี โบห์รา ถือเป็นกลุ่มที่มีบทบาทสำคัญในการค้าผ้าอินเดียกับราชสำนักสยามในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ดำเนินการค้าขายสินค้าประเภทผ้าแพร ดิ้นเงินดิ้นทอง เพชรพลอย เครื่องเทศ เครื่องหอม โดยจะข้ามจากฝั่งคลองสานเพื่อมาทำการค้าบริเวณท่าราชวงศ์ ทรงวาด และย่านสำเพ็ง           ในปัจจุบันยังมีชาวมุสลิมดาวูดี โบห์รา อาศัยอยู่ใกล้เคียงกับพื้นที่ย่านคลองสานและกระจายออกไปตั้งถิ่นฐานในพื้นที่อื่นๆ ทั่วกรุงเทพมหานคร ซึ่งในทุกๆ วันสำคัญ เหล่ามุอ์มินดาวูดี โบห์ราต่างเดินทางมาร่วมประกอบพิธีกรรมทางศาสนา ณ มัสยิดเซฟี หรือมัสยิดตึกขาว อันเป็นศาสนสถานศูนย์รวมจิตใจของกลุ่ม มัสยิดเซฟีหรือมัสยิดตึกขาวนี้ ตั้งอยู่ที่ซอยสมเด็จเจ้าพระยา 5 แขวงสมเด็จเจ้าพระยา เขตคลองสาน กรุงเทพฯ เป็นมัสยิดที่ก่อสร้างขึ้นตั้งแต่ พ.ศ. 2446 โดยมีลักษณะสถาปัตยกรรมผสมระหว่างยุโรปแบบกอธิค (gothic) ซึ่งรับมาจากอินเดีย และมีการต่อเติมแบบไทยผสมเข้าไปด้วย ปัจจุบันกรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานมัสยิดเซฟี (ตึกขาว) แล้ว ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 135 ตอนพิเศษ 328 ง ลงวันที่ 21 ธันวาคม 2561 ภาพ : การแต่งกายของชาวโบห์รา ภาพ : มุสลิมพ่อค้าดาวูดีโบห์รา กำลังรอรับเสด็จพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในงานเฉลิมฉลองการเสด็จนิวัติพระนครจากการประพาสยุโรปครั้งที่สอง เมื่อปี พ.ศ. 2450 (ภาพจากหอจดหมายเหตุแห่งชาติ)ภาพ : มัสยิดเซฟี (ตึกขาว)..................................................................ผู้เขียน/เรียบเรียงข้อมูล : นางสาวอารียา สีชมพู นักโบราณคดีปฏิบัติการ กลุ่มวิชาการทะเบียนโบราณสถาน กองโบราณคดี 


Messenger