ชาวมุสลิมดาวูดี โบห์รา (Dawoodi Bohra) กับพื้นที่ย่านตึกขาว เขตคลองสาน
ประเทศไทยมีการติดต่อค้าขายกับพ่อค้ามุสลิมมาตั้งแต่ก่อนการสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี เมื่อ พ.ศ. 1893 หลังจากนั้นในสมัยกรุงธนบุรีพบว่ามีชาวมุสลิมเดินทางเข้ามาค้าขายเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะหลังจากที่ประเทศไทยเปิดการค้าเสรีภายใต้สนธิสัญญาเบาริ่ง ในสมัยรัชกาลที่ 4 ยิ่งทำให้มีพ่อค้าจากอินเดีย มลายูและอาหรับเข้ามาเพิ่มอีกเป็นจำนวนมาก
ในช่วงรัตนโกสินทร์ตอนต้นบริเวณปากคลองสานถือเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยที่สำคัญของชาวมุสลิม แบ่งออกเป็น 2 ย่าน คือ “ย่านตึกแดง” และ “ย่านตึกขาว” มุสลิมที่อยู่ในย่านตึกแดงเป็นพวกชาวอินเดียที่ส่วนมากมาจาก ตำบลแรนเดอร์ เมืองสุรัต ประเทศอินเดีย เป็นชาวมุสลิมที่นับถือนิกายสุหนี่ แต่มุสลิมที่อยู่ในย่านตึกขาวส่วนใหญ่เป็นมุสลิมที่นับถือนิกายชีอะห์ ซึ่งเดินทางมาจากเมืองสุรัต เมืองแคมบ๊าต เมืองอะห์เมดาบ๊าด รัฐคุชราต และจากเมืองซิ๊ดปุร และเมืองโดรายี ทางตะวันตกของอินเดีย ซึ่งชาวมุสลิมที่อยู่ในย่านตึกขาวนี้เรียกตนเองว่า “มุอ์มิน ดาวูดี โบห์รา”
ดาวูดี โบห์รา (Dawoodi Bohra) เป็นกลุ่มสาขาของชาวมุสลิมนิกายชีอะห์ ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในเมืองทางตะวันตกของอินเดีย โดยคำว่า “โบห์รา” เป็นภาษาคุชราต แปลว่า “พ่อค้า” ส่วนคำว่า “ดาวูดี” มาจากการสนับสนุนนายดาวูดบิน ในระหว่างที่มุสลิมมีข้อพิพาทเกี่ยวกับกรณีการเลือกผู้นำ ในปี ค.ศ. 1592 ชาวดาวูดี โบห์รา ถือเป็นกลุ่มที่มีบทบาทสำคัญในการค้าผ้าอินเดียกับราชสำนักสยามในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ดำเนินการค้าขายสินค้าประเภทผ้าแพร ดิ้นเงินดิ้นทอง เพชรพลอย เครื่องเทศ เครื่องหอม โดยจะข้ามจากฝั่งคลองสานเพื่อมาทำการค้าบริเวณท่าราชวงศ์ ทรงวาด และย่านสำเพ็ง
ในปัจจุบันยังมีชาวมุสลิมดาวูดี โบห์รา อาศัยอยู่ใกล้เคียงกับพื้นที่ย่านคลองสานและกระจายออกไปตั้งถิ่นฐานในพื้นที่อื่นๆ ทั่วกรุงเทพมหานคร ซึ่งในทุกๆ วันสำคัญ เหล่ามุอ์มินดาวูดี โบห์ราต่างเดินทางมาร่วมประกอบพิธีกรรมทางศาสนา ณ มัสยิดเซฟี หรือมัสยิดตึกขาว อันเป็นศาสนสถานศูนย์รวมจิตใจของกลุ่ม มัสยิดเซฟีหรือมัสยิดตึกขาวนี้ ตั้งอยู่ที่ซอยสมเด็จเจ้าพระยา 5 แขวงสมเด็จเจ้าพระยา เขตคลองสาน กรุงเทพฯ เป็นมัสยิดที่ก่อสร้างขึ้นตั้งแต่ พ.ศ. 2446 โดยมีลักษณะสถาปัตยกรรมผสมระหว่างยุโรปแบบกอธิค (gothic) ซึ่งรับมาจากอินเดีย และมีการต่อเติมแบบไทยผสมเข้าไปด้วย ปัจจุบันกรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานมัสยิดเซฟี (ตึกขาว) แล้ว ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 135 ตอนพิเศษ 328 ง ลงวันที่ 21 ธันวาคม 2561
ภาพ : การแต่งกายของชาวโบห์รา
ภาพ : มุสลิมพ่อค้าดาวูดีโบห์รา กำลังรอรับเสด็จพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในงานเฉลิมฉลองการเสด็จนิวัติพระนครจากการประพาสยุโรปครั้งที่สอง เมื่อปี พ.ศ. 2450 (ภาพจากหอจดหมายเหตุแห่งชาติ)
ภาพ : มัสยิดเซฟี (ตึกขาว)
..................................................................
ผู้เขียน/เรียบเรียงข้อมูล : นางสาวอารียา สีชมพู นักโบราณคดีปฏิบัติการ กลุ่มวิชาการทะเบียนโบราณสถาน กองโบราณคดี
ในช่วงรัตนโกสินทร์ตอนต้นบริเวณปากคลองสานถือเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยที่สำคัญของชาวมุสลิม แบ่งออกเป็น 2 ย่าน คือ “ย่านตึกแดง” และ “ย่านตึกขาว” มุสลิมที่อยู่ในย่านตึกแดงเป็นพวกชาวอินเดียที่ส่วนมากมาจาก ตำบลแรนเดอร์ เมืองสุรัต ประเทศอินเดีย เป็นชาวมุสลิมที่นับถือนิกายสุหนี่ แต่มุสลิมที่อยู่ในย่านตึกขาวส่วนใหญ่เป็นมุสลิมที่นับถือนิกายชีอะห์ ซึ่งเดินทางมาจากเมืองสุรัต เมืองแคมบ๊าต เมืองอะห์เมดาบ๊าด รัฐคุชราต และจากเมืองซิ๊ดปุร และเมืองโดรายี ทางตะวันตกของอินเดีย ซึ่งชาวมุสลิมที่อยู่ในย่านตึกขาวนี้เรียกตนเองว่า “มุอ์มิน ดาวูดี โบห์รา”
ดาวูดี โบห์รา (Dawoodi Bohra) เป็นกลุ่มสาขาของชาวมุสลิมนิกายชีอะห์ ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในเมืองทางตะวันตกของอินเดีย โดยคำว่า “โบห์รา” เป็นภาษาคุชราต แปลว่า “พ่อค้า” ส่วนคำว่า “ดาวูดี” มาจากการสนับสนุนนายดาวูดบิน ในระหว่างที่มุสลิมมีข้อพิพาทเกี่ยวกับกรณีการเลือกผู้นำ ในปี ค.ศ. 1592 ชาวดาวูดี โบห์รา ถือเป็นกลุ่มที่มีบทบาทสำคัญในการค้าผ้าอินเดียกับราชสำนักสยามในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ดำเนินการค้าขายสินค้าประเภทผ้าแพร ดิ้นเงินดิ้นทอง เพชรพลอย เครื่องเทศ เครื่องหอม โดยจะข้ามจากฝั่งคลองสานเพื่อมาทำการค้าบริเวณท่าราชวงศ์ ทรงวาด และย่านสำเพ็ง
ในปัจจุบันยังมีชาวมุสลิมดาวูดี โบห์รา อาศัยอยู่ใกล้เคียงกับพื้นที่ย่านคลองสานและกระจายออกไปตั้งถิ่นฐานในพื้นที่อื่นๆ ทั่วกรุงเทพมหานคร ซึ่งในทุกๆ วันสำคัญ เหล่ามุอ์มินดาวูดี โบห์ราต่างเดินทางมาร่วมประกอบพิธีกรรมทางศาสนา ณ มัสยิดเซฟี หรือมัสยิดตึกขาว อันเป็นศาสนสถานศูนย์รวมจิตใจของกลุ่ม มัสยิดเซฟีหรือมัสยิดตึกขาวนี้ ตั้งอยู่ที่ซอยสมเด็จเจ้าพระยา 5 แขวงสมเด็จเจ้าพระยา เขตคลองสาน กรุงเทพฯ เป็นมัสยิดที่ก่อสร้างขึ้นตั้งแต่ พ.ศ. 2446 โดยมีลักษณะสถาปัตยกรรมผสมระหว่างยุโรปแบบกอธิค (gothic) ซึ่งรับมาจากอินเดีย และมีการต่อเติมแบบไทยผสมเข้าไปด้วย ปัจจุบันกรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานมัสยิดเซฟี (ตึกขาว) แล้ว ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 135 ตอนพิเศษ 328 ง ลงวันที่ 21 ธันวาคม 2561
ภาพ : การแต่งกายของชาวโบห์รา
ภาพ : มุสลิมพ่อค้าดาวูดีโบห์รา กำลังรอรับเสด็จพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในงานเฉลิมฉลองการเสด็จนิวัติพระนครจากการประพาสยุโรปครั้งที่สอง เมื่อปี พ.ศ. 2450 (ภาพจากหอจดหมายเหตุแห่งชาติ)
ภาพ : มัสยิดเซฟี (ตึกขาว)
..................................................................
ผู้เขียน/เรียบเรียงข้อมูล : นางสาวอารียา สีชมพู นักโบราณคดีปฏิบัติการ กลุ่มวิชาการทะเบียนโบราณสถาน กองโบราณคดี
(จำนวนผู้เข้าชม 5485 ครั้ง)
สงวนลิขสิทธิ์ © 2563 กรมศิลปากร. กระทรวงวัฒนธรรม
-
นโยบายเว็บไซต์ |
มาตรฐาน