ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,410 รายการ

     บทความเผยแพร่เนื่องในวันพืชมงคล ๑๑ พฤษภาคม ๒๕๖๓ : โบราณสถานพลับพลาแรกนาขวัญ (ศาลาแดง)   “ประเทศของเราเป็นประเทศกสิกรรม ทั้งข้าวก็เป็นอาหารหลักของประชาชนพลเมือง การอยู่ดีกินดีของอาณาประชาราษฎร์ และความสมบูรณ์มั่งคั่งของประเทศ ยังต้องอาศัยอยู่กับการเพาะปลูกเป็นส่วนใหญ่”      พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร  ในพิธีเปิดเขื่อนเจ้าพระยา วันที่ ๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๐๐        ประเทศไทย เป็นประเทศกสิกรรม จึงตระหนักดีถึงความสำคัญของการเพาะปลูกพืชผลทางการเกษตรต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเพาะปลูก “ข้าว” ซึ่งเป็นรากฐานความมั่นคงของประเทศมาทุกยุคทุกสมัย พระมหากษัตริย์ในฐานะเกษตรบดีจึงต้องมีพระราชภารกิจในการบำรุงขวัญและกำลังใจแก่ชาวนาผู้ปลูกข้าวเลี้ยงผู้คนทั้งประเทศความจริงปรากฏเด่นชัดผ่าน “พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ” อันเป็นพระราชพิธีที่มีความสำคัญยิ่งต่อการเพาะปลูกข้าวของคนไทยมาแต่โบราณกาล เพื่อเป็นมิ่งมงคลและสร้างขวัญกำลังใจแก่ชาวนาผู้ปลูกข้าว      คนไทยถือว่า “พิธีแรกนาขวัญ” นี้ เป็นพิธีที่เป็นมงคลอย่างยิ่ง โดยจะมีชาวนาจากทั่วสารทิศเดินทางมาเป็นส่วนหนึ่งของพิธีจนเนืองแน่นทุกปี และทุกคนต่างก็มุ่งหวังจะได้เมล็ดข้าวมงคลซึ่งเป็นข้าวพันธุ์ดีที่ผ่านการคัดพันธุ์มาแล้ว กลับไปเป็นมิ่งขวัญแก่ผืนนาของตน เมื่อพิธีการเสร็จสิ้นก็ถือว่านิมิตรหมายอันดีแห่งการเพาะปลูกได้เริ่มต้นขึ้นแล้ว ชาวนาที่ร่วมพิธีต่างก็กรูเข้าไปยังผืนนาศักดิ์สิทธิ์ กอบเอาดินและเมล็ดข้าวด้วยใบหน้าที่เปี่ยมรอยยิ้ม ก่อนแยกย้ายกันกลับไปเริ่มต้นการหว่านไถในที่นาของตน      โบราณสถานที่สำคัญ ซึ่งเกี่ยวเนื่องกับ “พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ” ที่ยังมีอยู่ คือพลับพลาแรกนาขวัญ (ศาลาแดง) ตั้งอยู่ที่วัดบัวขวัญ หมู่ ๓ ตำบลลาดหลุมแก้ว อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี  สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ เพื่อใช้เป็นพลับพลาที่ประทับในการประกอบพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ซึ่งเป็นพระราชพิธีส่วนพระองค์ ที่บริเวณทุ่งพญาไท ก่อนจะยกเลิกไปเมื่อสิ้นรัชกาล ต่อมา พลตรีพระอุดมโยธาธิยุทธ์ (สด รัตนวดี) ได้ขอพระราชทานย้ายมาปลูกไว้ที่วัดบัวขวัญ เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. ๒๔๗๖        พลับพลาที่ประทับหลังนี้ ลักษณะเป็นอาคารโถง หลังคาทรงจั่ว สร้างด้วยไม้สัก และทาด้วยสีแดง จึงเรียกกันว่า "ศาลาแดง” แผนผังของอาคารเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดกว้าง ๖ เมตร ยาว ๑๕.๒๐ เมตร ลักษณะเป็นอาคารเครื่องไม้ชั้นเดียวยกพื้นสูง มีผนังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาด ๖x๑๕.๒๐ เมตร หลังคาทรงจั่วซ้อนลด ๒ ชั้น มุงด้วยแป้นเกร็ด (กระเบื้องไม้) ออกปีกนกคลุมโดยรอบ ฝ้าเพดานเป็นกระดานแผ่นเรียบตีทับแนว พื้นปูด้วยไม้ เรือนประธานมีขนาด ๔ ห้อง ยกพื้นสูงและแบ่งกั้น ๑ ห้อง รอบ ๆ เรือนประธานทำเป็นพื้นระเบียงทั้ง ๔ ด้าน พร้อมราวระเบียงกั้นกันตก มีบันไดขึ้น ๒ ข้างที่ด้านสกัด อาคารส่วนใหญ่ทาสีน้ำมันสีแดง      พลับพลาแรกนาขวัญ (วัดบัวขวัญ) ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน ทะเบียน ๐๐๐๐๒๓๒ ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๖ ตอนพิเศษ ๑๗ ง หน้า ๑๒        ข้อมูลจาก : - โบราณสถานสำคัญของจังหวัดปทุมธานี กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๒ สุพรรณบุรี กรมศิลปากร (มิถุนายน ๒๕๖๒ สงวนลิขสิทธิ์) - หนังสือวัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดปทุมธานี  นางสาวภัทรา เชาว์ปรัชญากุล ภัณฑารักษ์ชำนาญการ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชาวนาไทย สุพรรณบุรี สำนักศิลปากรที่ ๒ สุพรรณบุรี เรียบเรียงข้อมูลและถ่ายภาพ


สังข์ศิลปชัย ชบ.ส. ๓๖ เจ้าอาวาสวัดบุญญฤทธยาราม ต.บ้านบึง อ.บ้านบึง จ.ชลบุรี มอบให้หอสมุด ๒๒ ก.ค. ๒๕๓๕เอกสารโบราณ (สมุดไทย)


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน) เลขที่ ชบ.บ.22/1-5 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)



กระทรวงศึกษาธิการ กรมวิชาการ.  หนังสืออ่านประกอบสังคมศึกษาเที่ยวรอบโลก ตอน เที่ยวยุโรปสาธารณรัฐฝรั่งเศส สาธารณรัฐออสเตรเลีย         ประโยคมัธยมศึกษาตอนปลาย.  พิมพ์ ครั้งที่ ๑.  กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภา, ๒๕๐๖.  ๔๔ หน้า.      ฝรั่งเศสตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของทวีปยุโรปเมืองหลวงคือกรุงปารีส มีน้ำเซนไหลผ่านกรุงปารีส เป็นเมืองอุตสาหกรรมที่ผลติตู้เย็น เครื่องจักรที่ใช้ในการอุตสาหกรรม รถแทรกเตอร์ รถยนต์ มีชื่อเสียงในการทำรถไฟใต้ดิน สร้างท่าเรือและการสร้างเครื่องบิน การเกษตรกรรมจะมีการทำนา ทำสวน เลี้ยงสัตว์ ป่าไม้ ไร่องุ่น  เป็นผู้นำด้านการแต่งกาย มีพระราชวังที่สวยงามกลายเป็นพิพิธภัณฑ์มากมายหลายแห่งที่ใหญ่คือพระราชวังูฟว์  มีหอเฟเฟลซึ่งเป็นสัญญลักษณ์ของนครปารีส ตั้งตามชื่อวิศกรที่ก่อสร้าง คือ กูสตาฟ เอฟเฟล อยู่ใกล้แม่น้ำเซน มีประตูชัย สร้างขึ้นเป็นอนุสรณ์ในการชนะสงคราม  การคมนาคมสะดวกมีทั้งรถแทกซี่ รถยนต์ประจำทาง รถไฟใต้ดิน พระราชวังแวร์ซายตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของกรุงปารีสมีสวนดอกไม้นานาชนิดสวยงามมาก ศาสนาประจำชาติคือศาสนาคริตส์นิกายดรมันคาทอลิก อาหารมื้อเช้าคือกาแฟกับครัวซอง      ออสเตรีย ตั้งอยู่ในภาคกลางของทวีปยุโรป มีภูเขาเขาแอลป์เป็นภูเขาสำคัญมียอดหิมะขาวทั้งปี แม่น้ำดานูบไหลผ่านต้นน้ำอยู่ที่แบลคฟอเรสท์ในเยอรมันภาคใต้ ซึ่งมีเพลงที่โด่งดังเกี่ยวกับแม่น้ำดานูบคือ บลูดานูบ  การปกครองแบบสาธารณรัฐประชาธิปไตยมีปรธานาธิบดีเป็นประมุขแบ่งการปกครองออกเป็น ๙ เขต ภาษาที่ใช้คือภาษาเยอรมัน มีอุตสาหกรรม  เพาะปลูก ค้าขาย การทำเหมืองแร่ การเลี้ยงสัตว์ กรุงเวียนนาเป็นนครแห่งการดนตรี สิ่งที่คนออสเตรียภูมิใจหนักหนา คือ การแสดงอุปรากร ณ โรงละครแห่งชาติ มีพระราวังใหญ่ ที่งดงาม เข่น พระราชวังฮอพเบอร์ก เวียนนาเป็นศูนย์กลางการค้าของประเทศแหล่งรวมเครื่องประดับเครื่องแต่งกายของสตรีตามสมัยนิยม


วันนี้ (วันพุธที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๖๔) เวลา ๐๙.๓๐ น. นายประทีป เพ็งตะโก อธิบดีกรมศิลปากร พร้อมด้วย นายอรุณศักดิ์ กิ่งมณี รองอธิบดีกรมศิลปากร นายเจษฎา ชีวะวิชวาลกุล ผู้อำนวยการสำนักสถาปัตยกรรม และคณะกรรมการ ร่วมประชุมคณะกรรมการและตรวจงานในโครงการพัฒนาที่ราชพัสดุแปลงที่ตั้งโรงภาษีร้อยชักสาม บริเวณกลุ่มอาคารศุลกสถาน ถนนเจริญกรุง กรุงเทพมหานคร


เปิดประวัติ !! พรีเซนเตอร์แห่งเรือนพระยาสุนทรานุรักษ์ที่กำลังมาแรงในขณะนี้ !! เชื่อว่าหลายท่านเคยผ่านตาภาพหญิงสาว 4 คน ที่ทางพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา ได้นำมาใช้ในการออกแบบป้ายประชาสัมพันธ์หรือข้อมูลต่าง ๆ และอาจมีความสงสัยว่า แม่จ๊ะแม่จ๋า ทั้ง 4 นาง มาจากไหน มีความเป็นมาอย่างไร วันนี้จึงขอนำเสนอองค์ความรู้พิเศษเพื่อเปิดเผยที่มาของสาวงามทั้ง 4  …………………………………………………………… “แม่ไม่ได้มาแต่เมืองทิพย์ แม่มาแต่เมืองทิ้ง (พระ)”   ภาพที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา นำมาใช้ประชาสัมพันธ์ เป็นภาพจำลองมาจากจิตรกรรมฝาผนังภายในวิหารพระพุทธไสยาสน์ หรือวิหารพ่อเฒ่านอน วัดจะทิ้งพระ อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา ทิ้งพระ เป็นการเรียกแบบย่อในภาษาถิ่นใต้ หมายถึงเมืองสทิงพระ เมืองที่มีความเป็นมายาวนานนับพันปี ปรากฏหลักฐานทางโบราณคดีแสดงถึงการตั้งถิ่นฐาน และการพัฒนาเป็นชุมชนต่อเนื่องกันมาหลายช่วงสมัย มีการรับอิทธิพลทางศาสนา วัฒนธรรมจากโลกภายนอกในระยะแรกเริ่มประวัติศาสตร์ และมีการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศมาเป็นเวลาช้านาน จนกระทั่งเจริญขึ้นเป็นเมืองที่มีอำนาจเป็นศูนย์กลางการปกครองท้องถิ่นในช่วงพุทธศตวรรษที่ 15-18 โดยมีศูนย์กลางการปกครองเมืองอยู่ในบริเวณตำบลจะทิ้งพระ ปรากฏหลักฐานทางโบราณคดีที่สำคัญในบริเวณนี้ ได้แก่ พระพุทธรูปปางสมาธิ อายุประมาณพุทธศตวรรษที่ 12 ศิวลึงค์และฐานโยนี อายุประมาณพุทธศตวรรษที่ 13-14 เป็นต้น ปัจจุบันมีโบราณสถานที่ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียน เช่น วัดราชประดิษฐ์ (วัดพะโคะ) วัดดีหลวง เขาคูหา วัดสนามไชย และวัดจะทิ้งพระ ซึ่งมีจิตรกรรมฝาผนังที่โดดเด่นด้าน อันเป็นต้นกำเนิดของภาพหญิงสาวชาวบ้านกำลังปรับแต่งผ้าคาดอกเพื่อเตรียมตัวไปทำบุญ  วัดจะทิ้งพระ ตั้งอยู่ในเขตตำบลจะทิ้งพระ อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา มีภูมิประเทศเป็นเนินทรายและอยู่ใกล้แหล่งน้ำ นับเป็นพื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์ เป็นวัดคู่เมืองสทิงพระมาแต่โบราณ ตามตำนานนางเลือดขาวกล่าวว่าเจ้าพระยากรุงทอง เจ้าเมืองสทิงพาราณสีเป็นผู้สร้างวัดขึ้นประมาณ พ.ศ. 1542 ต่อมาถูกโจรสลัดมลายูทำลายไป กระทั่งในสมัยสมเด็จพระเอกาทศรถ (พ.ศ. 2148-2153) จึงได้มีการบูรณปฏิสังขรณ์ขึ้นมาอีกครั้ง ตามหลักฐานเอกสารกัลปนาหัวเมืองพัทลุงสมัยอยุธยาระบุว่า วัดจะทิ้งพระในสมัยนี้แยกออกเป็น 2 วัด คือ วัดสทิงพระ กับวัดพระมหาเจดีย์องค์ใหญ่ หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าวัดเจ้าพี่วัดเจ้าน้อง ขึ้นกับวัดเขียนบางแก้ว คณะป่าแก้วหัวเมืองพัทลุง ภายหลังในราวกลางพุทธศตวรรษที่ 25 จึงได้รื้อกำแพงกั้นกลางระหว่างวัดออกรวมเป็นวัดเดียว  สิ่งก่อสร้างสำคัญภายในวัดจะทิ้งพระ ประกอบด้วย 1.เจดีย์พระมหาธาตุ เป็นเจดีย์ทรงระฆังคว่ำ รูปแบบเดียวกับเจดีย์พระบรมธาตุเมืองนครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นอิทธิพลที่รับมาจากลังกา 2. เจดีย์บริวาร ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของเจดีย์ประธาน ฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส องค์ระฆังเป็นทรงลังกา 3. วิหารพระพุทธไสยาสน์ หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า “วิหารพ่อเฒ่านอน” ภายในประดิษฐานพระนอนขนาดใหญ่ และเขียนภาพจิตรกรรมฝีมือช่างท้องถิ่นภาคใต้ 4. หอระฆัง ฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ประดับลวดลายปูนปั้น รูปหน้าหนังตะลุง ที่แสดงศิลปะพื้นบ้านอย่างแท้จริง  วิหารพระพุทธไสยาสน์ หรือวิหารพ่อเฒ่านอน เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน สันนิษฐานว่าเดิมสร้างขึ้นในสมัยอยุธยา ต่อมาภายหลังมีการบูรณะขึ้นใหม่ในสมัยรัชกาลที่ 5  ภายในมีพระพุทธรูปปางไสยาสน์ 1 องค์ เป็นที่เคารพนับถือของชาวบ้าน มีการเรียกขานกันว่า “พ่อเฒ่านอน” ที่ฝาผนังเขียนภาพจิตรกรรมเล่าเรื่องพุทธประวัติ โดยรายงานการสำรวจจิตรกรรมฝาผนังวัดจะทิ้งพระ เมื่อปี 2523 ระบุว่า ผู้เขียนภาพมี 3 คน คือ พระครูวิจารณ์ศีลคุณ (ชู) อดีตเจ้าอาวาส นายเคลื่อน และลูกมือนายช่างใบ้ ได้เขียนขึ้นเมื่อประมาณ 100 ปีมาแล้ว แต่ปัจจุบันได้ลบเลือนไปเกือบหมด คงเหลือให้เห็นเพียงด้านทิศตะวันออก ทั้งนี้ รายงานการสำรวจฯ ยังระบุว่าตำแหน่งภาพเขียนเริ่มจากด้านพระเศียรจรดพระบาท และบริเวณด้านหลังพระประธาน ส่งผลให้ภาพจิตรกรรมนี้มีลักษณะเป็นฉากหลังพระ ประกอบด้วยพุทธประวัติตอนต่าง ๆ ดังต่อไปนี้  จิตรกรรมฝาผนังด้านทิศตะวันออก บริเวณด้านเศียรของพระประธานเขียนภาพพุทธประวัติ ตอนเสด็จโปรดพุทธมารดา และเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เบื้องล่างแสดงภาพพระภิกษุสงฆ์รับบิณฑบาตรจากพุทธศาสนิกชนที่พากันมาร่วมทำบุญตักบาตร ถวายดอกบัว เรียกการตักบาตรนี้ว่า “ตักบาตรเทโว” ซึ่งภาพหญิงสาวชาวบ้านกำลังปรับแต่งผ้าคาดอกเพื่อเตรียมตัวไปทำบุญถูกสอดแทรกอยู่ในบริเวณนี้ ส่วนด้านล่างสุดเป็นฉากนรกภูมิ ซึ่งรายละเอียดของภาพจิตรกรรมในด้านนี้เผยให้เห็นโลกทั้ง 3 อันได้แก่ สวรรค์ โลก และนรก ดังคำกล่าวในพุทธประวัติว่าวันที่พระพุทธองค์เสด็จลงจากดาวดึงส์นั้น พระองค์ทรงแสดงปาฏิหาริย์ด้วยการเปิดโลกทั้ง 3 คือ เทวโลก มนุษยโลก และยมโลก จิตรกรรมฝาผนังด้านทิศใต้ แสดงภาพพุทธประวัติตอนเสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ รับข้าวมธุปายาส และธิดามารยั่วยวน ขณะที่จิตรกรรมฝาผนังด้านทิศตะวันตก แสดงภาพพุทธประวัติตอนมารวิชัย   จิตรกรรมฝาผนังภายในวิหารพระพุทธไสยาสน์มีลักษณะการเขียนภาพบนพื้นสีเหลืองอ่อน เขียนด้วยสีขาว เทา ฟ้า และเขียว ซึ่งการใช้สีดังกล่าวสันนิษฐานว่าเป็นวัตถุประสงค์ของช่างที่ต้องการให้ภาพเขียนมีความสว่างสดใส ขณะเดียวกันอาจช่วยให้ภายในวิหารมีความสว่างมากขึ้นได้ โดยหนึ่งในลักษณะโดดเด่นของจิตรกรรมฝาผนังแห่งนี้คือการสอดแทรกภาพที่สะท้อนวัฒนธรรมและสังคมในสมัยนั้น อาทิ การแต่งกายของชาวบ้าน ผู้ชายไม่นิยมสวมเสื้อ มีทั้งนุ่งผ้าลอยชายหรือโสร่ง และนุ่งโจงกระเบนปะปนกัน ส่วนผู้หญิงนุ่งผ้าในลักษณะเดียวกัน ห่มผ้าแถบพาดไปด้านหลัง ชายสองข้างพาดไขว้ปิดหน้าอก และภาพหญิงสาวชาวบ้านกำลังปรับแต่งผ้าคาดอก ซึ่งสะท้อนวัฒนธรรมการแต่งกายที่ทั้งหญิงและชายในสมัยก่อนนิยมเปลือยอก แต่หากต้องเข้าศาสนสถานอันเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ก็จะให้ความเคารพด้วยการนุ่งห่มปกปิดหน้าอกอย่างเรียบร้อย ภาพหญิงสาวที่ปรากฏจึงเป็นการตรวจสอบความเรียบร้อยของตนเองก่อนเข้าวัด    …………………………………………………………… เรียบเรียง/ กราฟฟิก: นางสาวธีรนาฎ มีนุ่น ภัณฑารักษ์ปฏิบัติ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา  อ้างอิง:  1. กรมศิลปากร.  รายงานการสำรวจจิตรกรรมฝาผนังจังหวัดสงขลา. กรุงเทพฯ:  กรมศิลปากร,  2523.  2. กรมศิลปากร.  หนังสือนำชมโบราณสถานที่สำคัญในเขตพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้.  สมุทรสาคร: บางกอกอินเฮ้าส์,  2557. 3. วรรณิภา ณ สงขลา. “จิตรกรรมฝาผนังวัดจะทิ้งพระ” สารานุกรมวัฒนธรรมภาคใต้ เล่ม 4 (2542): 1617-1620. 4. ศรีสมร ศรีเบญจพลางกูร.  ประวัติศาสตร์เมืองสงขลา. สงขลา : ภาควิชาประวัติศาสตร์ สถาบันราชภัฏสงขลา, 2539 5. สกรรจ์ จันทรัตน์ และสงบ ส่งเมือง.  การเริ่มต้นและพัฒนาการทางประวัติศาสตร์โบราณคดีเมืองเก่าสงขลา.  กรุงเทพฯ : กองโบราณคดี กรมศิลปากร,  2534.  6. สงบ ส่งเมือง.  “จะทิ้งพระ, วัด”  สารานุกรมวัฒนธรรมภาคใต้ เล่ม 3 (2542): 1475-1479. 7. สุวรรณี ดวงตา.  “ภาษากายจากจิตรกรรมฝาผนังสกุลช่างสงขลาที่วัดโพธิ์ปฐมาวาส อำเภอเมืองสงขลา วัดจะทิ้งพระ อำเภอสทิงพระ และวัดคูเต่า อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา” ศิลปะนิพนธ์ปริญญาศิลปบัณฑิต ภาควิชาทฤษฎีศิลป์ คณะประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร,  2551.  8. สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ. โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา. กรุงเทพฯ: รุ่งศิลป์การพิมพ์, 2549.เปิดประวัติ !! พรีเซนเตอร์แห่งเรือนพระยาสุนทรานุรักษ์ที่กำลังมาแรงในขณะนี้ !! เชื่อว่าหลายท่านเคยผ่านตาภาพหญิงสาว 4 คน ที่ทางพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา ได้นำมาใช้ในการออกแบบป้ายประชาสัมพันธ์หรือข้อมูลต่าง ๆ และอาจมีความสงสัยว่า แม่จ๊ะแม่จ๋า ทั้ง 4 นาง มาจากไหน มีความเป็นมาอย่างไร วันนี้จึงขอนำเสนอองค์ความรู้พิเศษเพื่อเปิดเผยที่มาของสาวงามทั้ง 4  …………………………………………………………… “แม่ไม่ได้มาแต่เมืองทิพย์ แม่มาแต่เมืองทิ้ง (พระ)”   ภาพที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา นำมาใช้ประชาสัมพันธ์ เป็นภาพจำลองมาจากจิตรกรรมฝาผนังภายในวิหารพระพุทธไสยาสน์ หรือวิหารพ่อเฒ่านอน วัดจะทิ้งพระ อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา ทิ้งพระ เป็นการเรียกแบบย่อในภาษาถิ่นใต้ หมายถึงเมืองสทิงพระ เมืองที่มีความเป็นมายาวนานนับพันปี ปรากฏหลักฐานทางโบราณคดีแสดงถึงการตั้งถิ่นฐาน และการพัฒนาเป็นชุมชนต่อเนื่องกันมาหลายช่วงสมัย มีการรับอิทธิพลทางศาสนา วัฒนธรรมจากโลกภายนอกในระยะแรกเริ่มประวัติศาสตร์ และมีการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศมาเป็นเวลาช้านาน จนกระทั่งเจริญขึ้นเป็นเมืองที่มีอำนาจเป็นศูนย์กลางการปกครองท้องถิ่นในช่วงพุทธศตวรรษที่ 15-18 โดยมีศูนย์กลางการปกครองเมืองอยู่ในบริเวณตำบลจะทิ้งพระ ปรากฏหลักฐานทางโบราณคดีที่สำคัญในบริเวณนี้ ได้แก่ พระพุทธรูปปางสมาธิ อายุประมาณพุทธศตวรรษที่ 12 ศิวลึงค์และฐานโยนี อายุประมาณพุทธศตวรรษที่ 13-14 เป็นต้น ปัจจุบันมีโบราณสถานที่ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียน เช่น วัดราชประดิษฐ์ (วัดพะโคะ) วัดดีหลวง เขาคูหา วัดสนามไชย และวัดจะทิ้งพระ ซึ่งมีจิตรกรรมฝาผนังที่โดดเด่นด้าน อันเป็นต้นกำเนิดของภาพหญิงสาวชาวบ้านกำลังปรับแต่งผ้าคาดอกเพื่อเตรียมตัวไปทำบุญ  วัดจะทิ้งพระ ตั้งอยู่ในเขตตำบลจะทิ้งพระ อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา มีภูมิประเทศเป็นเนินทรายและอยู่ใกล้แหล่งน้ำ นับเป็นพื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์ เป็นวัดคู่เมืองสทิงพระมาแต่โบราณ ตามตำนานนางเลือดขาวกล่าวว่าเจ้าพระยากรุงทอง เจ้าเมืองสทิงพาราณสีเป็นผู้สร้างวัดขึ้นประมาณ พ.ศ. 1542 ต่อมาถูกโจรสลัดมลายูทำลายไป กระทั่งในสมัยสมเด็จพระเอกาทศรถ (พ.ศ. 2148-2153) จึงได้มีการบูรณปฏิสังขรณ์ขึ้นมาอีกครั้ง ตามหลักฐานเอกสารกัลปนาหัวเมืองพัทลุงสมัยอยุธยาระบุว่า วัดจะทิ้งพระในสมัยนี้แยกออกเป็น 2 วัด คือ วัดสทิงพระ กับวัดพระมหาเจดีย์องค์ใหญ่ หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าวัดเจ้าพี่วัดเจ้าน้อง ขึ้นกับวัดเขียนบางแก้ว คณะป่าแก้วหัวเมืองพัทลุง ภายหลังในราวกลางพุทธศตวรรษที่ 25 จึงได้รื้อกำแพงกั้นกลางระหว่างวัดออกรวมเป็นวัดเดียว  สิ่งก่อสร้างสำคัญภายในวัดจะทิ้งพระ ประกอบด้วย 1.เจดีย์พระมหาธาตุ เป็นเจดีย์ทรงระฆังคว่ำ รูปแบบเดียวกับเจดีย์พระบรมธาตุเมืองนครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นอิทธิพลที่รับมาจากลังกา 2. เจดีย์บริวาร ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของเจดีย์ประธาน ฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส องค์ระฆังเป็นทรงลังกา 3. วิหารพระพุทธไสยาสน์ หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า “วิหารพ่อเฒ่านอน” ภายในประดิษฐานพระนอนขนาดใหญ่ และเขียนภาพจิตรกรรมฝีมือช่างท้องถิ่นภาคใต้ 4. หอระฆัง ฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ประดับลวดลายปูนปั้น รูปหน้าหนังตะลุง ที่แสดงศิลปะพื้นบ้านอย่างแท้จริง  วิหารพระพุทธไสยาสน์ หรือวิหารพ่อเฒ่านอน เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน สันนิษฐานว่าเดิมสร้างขึ้นในสมัยอยุธยา ต่อมาภายหลังมีการบูรณะขึ้นใหม่ในสมัยรัชกาลที่ 5  ภายในมีพระพุทธรูปปางไสยาสน์ 1 องค์ เป็นที่เคารพนับถือของชาวบ้าน มีการเรียกขานกันว่า “พ่อเฒ่านอน” ที่ฝาผนังเขียนภาพจิตรกรรมเล่าเรื่องพุทธประวัติ โดยรายงานการสำรวจจิตรกรรมฝาผนังวัดจะทิ้งพระ เมื่อปี 2523 ระบุว่า ผู้เขียนภาพมี 3 คน คือ พระครูวิจารณ์ศีลคุณ (ชู) อดีตเจ้าอาวาส นายเคลื่อน และลูกมือนายช่างใบ้ ได้เขียนขึ้นเมื่อประมาณ 100 ปีมาแล้ว แต่ปัจจุบันได้ลบเลือนไปเกือบหมด คงเหลือให้เห็นเพียงด้านทิศตะวันออก ทั้งนี้ รายงานการสำรวจฯ ยังระบุว่าตำแหน่งภาพเขียนเริ่มจากด้านพระเศียรจรดพระบาท และบริเวณด้านหลังพระประธาน ส่งผลให้ภาพจิตรกรรมนี้มีลักษณะเป็นฉากหลังพระ ประกอบด้วยพุทธประวัติตอนต่าง ๆ ดังต่อไปนี้  จิตรกรรมฝาผนังด้านทิศตะวันออก บริเวณด้านเศียรของพระประธานเขียนภาพพุทธประวัติ ตอนเสด็จโปรดพุทธมารดา และเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เบื้องล่างแสดงภาพพระภิกษุสงฆ์รับบิณฑบาตรจากพุทธศาสนิกชนที่พากันมาร่วมทำบุญตักบาตร ถวายดอกบัว เรียกการตักบาตรนี้ว่า “ตักบาตรเทโว” ซึ่งภาพหญิงสาวชาวบ้านกำลังปรับแต่งผ้าคาดอกเพื่อเตรียมตัวไปทำบุญถูกสอดแทรกอยู่ในบริเวณนี้ ส่วนด้านล่างสุดเป็นฉากนรกภูมิ ซึ่งรายละเอียดของภาพจิตรกรรมในด้านนี้เผยให้เห็นโลกทั้ง 3 อันได้แก่ สวรรค์ โลก และนรก ดังคำกล่าวในพุทธประวัติว่าวันที่พระพุทธองค์เสด็จลงจากดาวดึงส์นั้น พระองค์ทรงแสดงปาฏิหาริย์ด้วยการเปิดโลกทั้ง 3 คือ เทวโลก มนุษยโลก และยมโลก จิตรกรรมฝาผนังด้านทิศใต้ แสดงภาพพุทธประวัติตอนเสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ รับข้าวมธุปายาส และธิดามารยั่วยวน ขณะที่จิตรกรรมฝาผนังด้านทิศตะวันตก แสดงภาพพุทธประวัติตอนมารวิชัย   จิตรกรรมฝาผนังภายในวิหารพระพุทธไสยาสน์มีลักษณะการเขียนภาพบนพื้นสีเหลืองอ่อน เขียนด้วยสีขาว เทา ฟ้า และเขียว ซึ่งการใช้สีดังกล่าวสันนิษฐานว่าเป็นวัตถุประสงค์ของช่างที่ต้องการให้ภาพเขียนมีความสว่างสดใส ขณะเดียวกันอาจช่วยให้ภายในวิหารมีความสว่างมากขึ้นได้ โดยหนึ่งในลักษณะโดดเด่นของจิตรกรรมฝาผนังแห่งนี้คือการสอดแทรกภาพที่สะท้อนวัฒนธรรมและสังคมในสมัยนั้น อาทิ การแต่งกายของชาวบ้าน ผู้ชายไม่นิยมสวมเสื้อ มีทั้งนุ่งผ้าลอยชายหรือโสร่ง และนุ่งโจงกระเบนปะปนกัน ส่วนผู้หญิงนุ่งผ้าในลักษณะเดียวกัน ห่มผ้าแถบพาดไปด้านหลัง ชายสองข้างพาดไขว้ปิดหน้าอก และภาพหญิงสาวชาวบ้านกำลังปรับแต่งผ้าคาดอก ซึ่งสะท้อนวัฒนธรรมการแต่งกายที่ทั้งหญิงและชายในสมัยก่อนนิยมเปลือยอก แต่หากต้องเข้าศาสนสถานอันเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ก็จะให้ความเคารพด้วยการนุ่งห่มปกปิดหน้าอกอย่างเรียบร้อย ภาพหญิงสาวที่ปรากฏจึงเป็นการตรวจสอบความเรียบร้อยของตนเองก่อนเข้าวัด    …………………………………………………………… เรียบเรียง/ กราฟฟิก: นางสาวธีรนาฎ มีนุ่น ภัณฑารักษ์ปฏิบัติ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา  อ้างอิง:  1. กรมศิลปากร.  รายงานการสำรวจจิตรกรรมฝาผนังจังหวัดสงขลา. กรุงเทพฯ:  กรมศิลปากร,  2523.  2. กรมศิลปากร.  หนังสือนำชมโบราณสถานที่สำคัญในเขตพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้.  สมุทรสาคร: บางกอกอินเฮ้าส์,  2557. 3. วรรณิภา ณ สงขลา. “จิตรกรรมฝาผนังวัดจะทิ้งพระ” สารานุกรมวัฒนธรรมภาคใต้ เล่ม 4 (2542): 1617-1620. 4. ศรีสมร ศรีเบญจพลางกูร.  ประวัติศาสตร์เมืองสงขลา. สงขลา : ภาควิชาประวัติศาสตร์ สถาบันราชภัฏสงขลา, 2539 5. สกรรจ์ จันทรัตน์ และสงบ ส่งเมือง.  การเริ่มต้นและพัฒนาการทางประวัติศาสตร์โบราณคดีเมืองเก่าสงขลา.  กรุงเทพฯ : กองโบราณคดี กรมศิลปากร,  2534.  6. สงบ ส่งเมือง.  “จะทิ้งพระ, วัด”  สารานุกรมวัฒนธรรมภาคใต้ เล่ม 3 (2542): 1475-1479. 7. สุวรรณี ดวงตา.  “ภาษากายจากจิตรกรรมฝาผนังสกุลช่างสงขลาที่วัดโพธิ์ปฐมาวาส อำเภอเมืองสงขลา วัดจะทิ้งพระ อำเภอสทิงพระ และวัดคูเต่า อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา” ศิลปะนิพนธ์ปริญญาศิลปบัณฑิต ภาควิชาทฤษฎีศิลป์ คณะประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร,  2551.  8. สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ. โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา. กรุงเทพฯ: รุ่งศิลป์การพิมพ์, 2549.






๑ ธันวาคม วันดำรงราชานุภาพ เป็นวันคล้ายวันสิ้นพระชนม์ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ พระบิดาแห่งประวัติศาสตร์ไทย


ชื่อเรื่อง                     โบราณวัตถุสมัยทวารวดีแห่งใหม่ = Some Recently Discovered Sites of Dvaravati Period และ รายงานการขุดค้นโบราณวัตถุสถาน ณ บ้านโคกไม้เดน อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสรรค์ผู้แต่ง                       ธนิต อยู่โพธิ์ประเภทวัสดุ/มีเดีย       หนังสือหายากหมวดหมู่                   ประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์เลขหมู่                      915.9303 ธ153บสถานที่พิมพ์               พระนคร  สำนักพิมพ์                 ศิวพรปีที่พิมพ์                    2508ลักษณะวัสดุ               64 หน้าหัวเรื่อง                     ทวารวดี—ประวัติศาสตร์                              ไทย—โบราณวัตถุ                              ไทย--โบราณสถาน                   ภาษา                       ไทยบทคัดย่อ/บันทึกรายงานการขุดค้นโบราณวัตถุสถาน ณ บ้านโคกไม้เดน อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสรรค์ อธิบายถึงโบราณวัตถุที่ขุดค้นได้ และสถานที่ขุดค้น


ชื่อเรื่อง                     ตำนานเสภาครั้งที่พิมพ์                  2ผู้แต่ง                       ดำรงราชานุภาพ,สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา, 2405-2486.  ประเภทวัสดุ/มีเดีย       หนังสือหายากหมวดหมู่                   วรรณดีไทยเลขหมู่                      895.911209 ด495ตสถานที่พิมพ์               พระนคร  สำนักพิมพ์                 โรงพิมพ์ไทยปีที่พิมพ์                    2468ลักษณะวัสดุ               80 หน้าหัวเรื่อง                     เสภา – ประวัติวิจารณ์                             ภาษา                       ไทยบทคัดย่อ/บันทึกตำนานเสภา พระนิพนธ์ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ, นำเรื่องราวชีวิตความเป็นอยู่ ขนบธรรมเนียมประเพณีในด้านต่างๆ มาแต่งเป็นบทเสภา อันเป็นพระนิพนธ์ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์นั้น และเสภา เรื่องขุนช้างขุนแผน ตอนแต่งงานพระไวย ซึ่งเป็นตอนหนึ่งที่หลวงวิจารย์สาลีชอบเป็นพิเศษ กรมศิลปากรมีความยินดีอนุญาติให้จัดพิมพ์ได้ตามความประสงค์


เลขทะเบียน : นพ.บ.176/4ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  30 หน้า ; 4.5 x 57.5 ซ.ม. : ลานดิบ ; ไม้ประกับธรรมดาชื่อชุด : มัดที่ 99 (67-73) ผูก 4 (2565)หัวเรื่อง : สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม(พระอภิธรรมสังคิณี - พระปัฎฐาน)--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


ปฐมสมฺโพธิ (ปถมสมฺโพธิ)  ชบ.บ.89/1-15  เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


Messenger