ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,415 รายการ

เจนดุริยางค์ (ปิติ วาทยะกร), พระ.  เรื่องการดนตรี.  พระนคร : กรมศิลปากร, 2497.       เป็นเรื่องการดนตรีของพระเจนดุริยางค์ ซึ่งเคยลงพิมพ์ในหนังสือวารสารศิลปากร และในท้ายเล่มเป็นบทละครสลับระบำที่แต่งโดย สาโรช อัศวรักษ์




          ภูเขานับตั้งแต่อดีตเป็นต้นมาบรรดาพื้นที่ส่วนต่าง ๆ บนพื้นโลกนั้น พื้นที่ส่วนที่เป็น ภูเขา นั้นนับเป็นพื้นที่ ที่มักถูกยึดโยงทางความเชื่อและวัฒนธรรมให้เกี่ยวข้องและสัมพันธ์กับอำนาจศักดิ์สิทธิ์ของท้องถิ่นนั้น ๆ โดยถือว่าเป็นอำนาจจากเบื้องบน โดยมีน้ำและแผ่นดินเป็นอำนาจพื้นล่างที่รองลงมา ภูเขาในพื้นที่ต่าง ๆ มักจะถูกกำหนดไว้ให้เป็นพื้นที่สถิตของอำนาจเหนือธรรมชาติ ซึ่งความเชื่อนี้ก็พบโดยทั่วไปในพื้นที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และพื้นที่อื่น ๆ อีก เช่น จีน ทิเบต และอินเดีย            ในจังหวัดชัยนาทนั้นปรากฎภูเขาอยู่หลายลูก เช่น เขาแหลม เขาพลอง เขาขยาย เขาท่าพระ เขาสรรพยา และเขาธรรมามูล เป็นต้น แต่ภูเขาที่ถือว่าเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่ปรากฎในตราประจำจังหวัดชัยนาทมีด้วยกันอยู่ 2 ลูก อันได้แก่ เขาสรรพยา ในอำเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท และ เขาธรรมามูล ในอำเภอเมืองฯ จังหวัดชัยนาท โดยความสำคัญของภูเขา 2 ลูกนี้นั้นถึงขนาดที่มีผลให้ กรมศิลปากร ในสมัยจอมพลป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี นั้น เห็นควรทำตราประจำจังหวัดชัยนาท เป็นรูปธรรมจักรกับภูเขา โดย ธรรมจักร มีความหมายถึง วัดธรรมามูล ส่วนภูเขา มีความหมายถึง เขาธรรมามูล หรือเขาสรรพยาก็ได้ เลยทีเดียว           เมื่อภูเขาถูกยึดโยงเข้ากับความเชื่อที่ว่าเป็นพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ของอำนาจศักดิ์สิทธิ์จากเบื้องบนแล้วนั้น ภูเขาในหลาย ๆ ที่จึงมักถูกชาวบ้านและชาวเมืองนั้น ๆ ใช้เป็นพื้นที่ประดิษฐานสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ชุมชนหรือบ้านเมืองนั้น ๆ นับถือ เฉกเช่น บนเขาธรรมามูล ของเมืองชัยนาท ที่ปรากฎการสร้างวิหารประดิษฐานรูปเคารพบนเขา           เมื่อเดินเท้าขึ้นไปตามบันไดขึ้นเขาที่ทอดตัวตามแนวเชิงเขาอยู่ จำนวน 565 ขั้น ที่เริ่มขั้นแรกอยู่บริเวณด้านหน้าพระอุโบสถวัดธรรมามูลวรวิหาร ก็จะพบลานพื้นที่ราบบนเขาธรรมามูล หลังจากนั้นเดินเท้าไปตามทางราบสลับที่สูงอีกราว 500 เมตร ก็จะพบกับวิหารหลวงพ่อนาค ที่เป็นศาสนสถานบนเขาธรรมามูลแห่งนี้ วิหารแห่งนี้เป็นศาสนสถานที่ค่อนข้างเล็ก เป็นวิหารก่ออิฐถือปูนและฉาบผนังอาคารด้วยปูนตำโบราณที่มีทางเข้าทางเดียวทางด้านหน้า ผนังด้านข้างทั้ง 2 และผนังด้านหลังพระประธาน ทึบไม่มีช่องหน้าต่าง ฐานวิหารปรากฎการทำฐานบัว ภายในวิหารประดิษฐานพระพุทธรูปจำนวน 3 องค์ โดยองค์กลางเป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ ขนาบด้านข้างทั้ง 2 ด้วยพระพุทธรูปนาคปรก ส่วนหลังคาของวิหารดั้งเดิมน่าจะผุพังไป มีการสร้างหลังคากระเบื้องลอนแบบปัจจุบันทดแทนไว้           จากร่องรอยดังกล่าวจึงแสดงให้เห็นถึงความเชื่อความศรัทธาของชาวบ้าน ชาวเมือง ต่อภูเขาจนทำให้เกิดการสร้างศาสนสถานบนเขา เพื่อเชื่อมโยงอำนาจศักดิ์สิทธิ์เบื้องบนกับความศรัทธาของชาวพื้นราบ ให้สอดประสานทางใจอันเป็นที่พึ่งอีกทางของชาวบ้านชาวเมืองชัยนาทนั่นเอง   ----------------------------------------------------- ที่มาของข้อมูล : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชัยนาทมุนี https://www.facebook.com/1944769395803916/posts/pfbid0UKGaPT8RhxaPrJN11eWZswQwVy9QmrZNkSMJn5rihMoZLiAwXwzJ4wgmdwamNxM5l/ ----------------------------------------------------- *เผยแพร่ข้อมูลทางเว็บไซต์ โดยกลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ กรมศิลปากร



ความรู้เกี่ยวกับประเพณีลอยกระทง ตอน 2 เรื่อง “วัตถุประสงค์ของการลอยกระทง”หอสมุดเฉลิมพระเกียรติ ร.9 นครราชสีมา ขอนำเสนอสาระความรู้เกี่ยวกับประเพณีวันลอยกระทง จากหนังสือเรื่อง "ประเพณีลอยกระทง" โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม ในหัวข้อที่ 2 เรื่องวัตถุประสงค์การลอยกระทง


ชื่อเรื่อง                                        สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม  (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ.                                           44/7ประเภทวัดุ/มีเดีย                       คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                                     พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                              38 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 56 ซม.หัวเรื่อง                                        พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก               เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา


องค์ความรู้ ส่งเสริมการอ่านผ่านออนไลน์ เรื่อง “วันเด็กแห่งชาติ” จากคำกล่าวที่ว่า อนาคตของประเทศชาติ จะเป็นอย่างไรต่อไป ส่วนหนึ่งต้องขึ้นอยู่กับ คุณภาพชีวิตของเด็กในประเทศนั้น ๆ ว่าเป็นอย่างไร ดังนั้นเราจึงจำเป็นต้องให้ การพิทักษ์รักษาคุ้มครองทางด้านกฎหมาย ตลอดจนให้ความสำคัญแก่เด็ก ๆ เพราะถือว่า เด็กคิอมนุษย์ที่ยังอ่อนอยู่ทั้งทางร่างกายและจิตใจ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ได้ให้ความหมายของคำว่า "เด็ก" ไว้ คือ "เด็ก" หมายถึง คนที่มีอายุยังน้อย ยังเล็ก อ่อนวัน เช่น เด็กชาย คือ คำนำเรียกเด็กผู้ชายที่มีอายุไม่เกิน 14 ปีบริบูรณ์ และ เด็กหญิง คือ คำนำเรียกเด็กผู้หญิงที่มีอายุไม่เกิน 14 ปี บริบูรณ์ วันเด็กแห่งชาติ ตรงกับวันเสาร์ที่ 2 ของเดือนมกราคมของทุกปี ซึ่งปีนี้ตรงกับวันที่ 14 มกราคม 2566 มีการให้ คำขวัญวันเด็กทุกปี โดยนายกรัฐมนตรีที่ดำรงตำแหน่งในขณะนั้น ในปี 2566 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ให้คำขวัญวันเด็กปี 2566 ไว้ว่า "รู้หน้าที่ มีวินัย ใฝ่ความดี" งานวันเด็กแห่งชาติจัดขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อวันจันทร์แรกของเดือนตุลาคม พ.ศ. 2498 ตามคำเชิญชวนของ นายวี.เอ็ม. กุลกานี ผู้แทนองค์การสหพันธ์เพื่อสวัสดิภาพเด็กระหว่างประเทศแห่งสหประชาชาติ เพื่อให้ประชาชนเห็นความสำคัญและความต้องการของเด็ก และเพื่อกระตุ้นให้เด็กตระหนักถึงบทบาทอันสำคัญของตนในประเทศ โดยปลูกฝังให้เด็กมีส่วนร่วมในสังคม เตรียมพร้อมให้ตนเองเป็นกำลังของชาติ รัฐบาลได้จัดให้มีคณะกรรมการจัดงานวันเด็กแห่งชาติขึ้นมาคณะหนึ่ง ทำหน้าที่ประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐบาล รัฐวิสาหกิจ และเอกชน กำหนดให้มีการฉลองวันเด็กแห่งชาติทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค จุดประสงค์เพื่อให้เด็กทั่วประเทศทั้งในระบบโรงเรียนและนอกระบบโรงเรียน ได้รู้ถึงความสำคัญของตน เกี่ยวกับสิทธิ หน้าที่ ความรับผิดชอบ ระเบียบวินัย ที่มีต่อตนเองและสังคม มีความยึดมั่นในสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข งานวันเด็กแห่งชาติจัดขึ้นทุกปีในวันจันทร์แรกของเดือนตุลาคมจนถึง พ.ศ. 2506 และใน พ.ศ. 2507 ไม่สามารถจัดงานวันเด็กได้ทัน จึงเห็นว่าควรจะเปลี่ยนไปเป็นวันเสาร์ที่สองของเดือนมกราคมเสียทุกสิ่งทุกอย่างได้สะดวกสบายขึ้น และมีความเหมาะสมมากกว่า จากข้อเสนอดังกล่าว คณะรัฐมนตรีในขณะนั้นมีมติเห็นชอบตามที่คณะกรรมการจัดงานวัดเด็กแห่งชาติเสนอมา ลงวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2507 จึงประกาศเปลี่ยนงานฉลองวันเด็กแห่งชาติจากวันจันทร์แรกของเดือนตุลาคม มาเป็นวันเสาร์ที่สองของเดือนมกราคมตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นมา ด้วยเหตุนี้จึงส่งผลให้ปี พ.ศ.2507 ไม่มีงานวันเด็กแห่งชาติด้วยการประกาศเปลี่ยนได้เลยวันมาแล้ว งานวันเด็กแห่งชาติได้เริ่มจัดขึ้นมาใหม่อีกครั้งในปี พ.ศ.2508 และจัดเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน โดยเปลี่ยนเป็นวันเสาร์ที่ 2 ของเดือนมกราคม เนื่องจากเห็นว่าเป็นช่วงหมดฤดูฝนและเป็นวันหยุดราชการ จนถึงทุกวันนี้ สำหรับวัตถุประสงค์ของการจัดงานวันเด็กแห่งชาติ ที่รัฐบาลไทยกำหนดไว้ คือ เพื่อให้ประชาชนได้ตระหนักถึงความสำคัญของเด็ก สนใจในการเลี้ยงดูอบรมสั่งสอนเด็ก และช่วยเหลือสงเคราะห์เด็กเป็นพิเศษ เพื่อให้เด็กและและเยาวชนยึดมั่นในสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข เพื่อให้เด็กรู้จักหน้าที่ของตนและอยู่ในระเบียบวินัยอันดี และเพื่อเผยแพร่ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิของเด็ก สำหรับปี 2566 หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี ร่วมกับวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดจันทบุรี สำนักงานท่องเที่ยวและกีฬา จังหวัดจันทบุรี ร่วมกันจัดงานวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี 2566 โดยได้รับการสนับสนุนจากองค์กรภาครัฐ เอกชน มูลนิธิ ชมรม สโมสร ธนาคาร และห้างร้านต่างๆ บริจาคเงินและสิ่งของต่างๆในการจัดงาน เด็กๆที่มาร่วมงานจะได้รับแจกของขวัญ ของรางวัล อย่างมากมาย จึงขอเชิญเด็กๆและผู้ปกครอง ร่วมกิจกรรมงานวันเด็กแห่งชาติ ที่หอสมุดแห่งชาติฯ จันทบุรี ในวันเสาร์ที่ 14 มกราคม 2566 เวลา 08.00 อ- 12.00 น. อ้างอิง : ประชิด สกุณะพัฒน์, อุดม เชยกีวงศ์. วันสำคัญ. กรุงเทพฯ : ภูมิปัญญา, 2549. บุญเติม แสงดิษฐ์. วันสำคัญ. กรุงเทพฯ : พัชรการพิมพ์. 2541. ผู้เรียบเรียง : นายประพนธ์ รอบรู้ นักวิชาการโสตทัศนศึกษาชำนาญการ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี สำนักศิลปากรที่ 5 ปราจีนบุรี


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 141/7 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 177/1ก เอกสารโบราณ(คัมภีร์ใบลาน)


ชื่อเรื่อง : พระบรมราโชวาท ใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ ร้อยตรีชลยุทธ เอกพจน์ ณ ฌาปนสถานกองทัพบก วัดโสมนัสวิหาร วันที่ 8 พฤษภาคม พุทธศักราช 2514 ชื่อผู้แต่ง : - ปีที่พิมพ์ : 2514 สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯสำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์สามมิตร จำนวนหน้า : 104 หน้า สาระสังเขป : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ ร้อยตรี ชลยุทธ เอกพจน์ ณ ฌาปนสถานกองทัพบก พระบรมราโชวาทในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบรมราโชวาทในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวนี้ ส่วนมากเป็นพระราชดำรัสในที่ประชุมทั้งฝ่ายทหาร พลเรือน พ่อค้า และทูตานุทูต มีปรากฏอยู่ในหนังสือราชกิจจานุเบกษาหลายเล่ม ซึ่งหอพระสมุดวชิรญาณได้รวบรวมพิมพ์ในงานพระศพเจ้านายมาแล้วหลายพระองค์


          พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร ขอเชิญทุกท่านร่วมรับฟังการบรรยายทางวิชาการ โครงการเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน ครั้งที่ ๓/๒๕๖๖ เรื่อง “เครื่องดนตรีในศิลปะอินเดียสมัยโบราณกับเอเชียอาคเนย์" และนำชมโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร โดย ศ. ดร.เชษฐ์ ติงสัญชลี อาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร วันอาทิตย์ที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖ ตั้งแต่เวลา ๑๓.๐๐ น. เป็นต้นไป ณ ห้องประชุมอาคารดำรงราชานุภาพ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร            ผู้สนใจสามารถเข้าร่วมฟังการบรรยายได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย สอบถามรายละเอียดและสำรองที่นั่ง โทร. ๐ ๒๒๒๔ ๑๓๓๓, ๐ ๒๒๒๔ ๑๔๐๒ เปิดทำการวันพุธ - วันอาทิตย์ เวลา ๐๘.๓๐ - ๑๖.๐๐ น.


เลขทะเบียน : นพ.บ.377/2ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 34 หน้า ; 5 x 54.5 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา มีฉลากไม้ชื่อชุด : มัดที่ 142  (7-25) ผูก 2 (2566)หัวเรื่อง : เวสฺสนฺตรชาตก --เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


เลขทะเบียน : นพ.บ.506/4ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 46 หน้า ; 4 x 54 ซ.ม. : ล่องชาด-ล่องรัก ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 170  (233-242) ผูก 4 (2566)หัวเรื่อง : สังฮอมธาตุ--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


          อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ขอเชิญเที่ยวชมอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร (เขตในกำแพงเมือง : วัดพระแก้ว - วัดพระธาตุ) พร้อมระบบไฟส่องสว่างโบราณสถานยามค่ำคืน ตั้งแต่เวลา ๑๖.๓๐ น. - ๒๐.๐๐ น. เพื่อให้ประชาชนได้สัมผัสบรรยากาศการท่องเที่ยวอุทยานประวัติศาสตร์ที่สวยงามในช่วงกลางคืน           อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชรได้รับการยกย่องให้เป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม ในปี พ.ศ.๒๕๓๔ ร่วมกับอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย - ศรีสัชนาลัย ภายใต้ชื่อ “เมืองประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวาร” (Historic Town of Sukhothai and Associated Historic Towns) เนื่องจากหลักฐานที่ปรากฏแสดงให้เห็นถึงเอกลักษณ์ด้านศิลปกรรม สถาปัตยกรรมที่มีความงดงามและเป็นผลงานชิ้นเอกที่ได้รับการสร้างสรรค์จากอัจฉริยภาพด้านศิลปะอย่างแท้จริง รวมทั้งยังเป็นสิ่งที่แสดงถึงความเป็นเอกลักษณ์ที่หาได้ยากยิ่ง หรือเป็นพยานหลักฐานที่แสดงขนบธรรมเนียมประเพณี หรืออารยธรรมซึ่งยังคงหลงเหลือและปรากฏให้เห็น            ขอเชิญชวนผู้สนใจไปชมความสวยงามยามค่ำคืนของอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร เปิดทุกวัน ตั้งแต่เวลา ๑๖.๓๐ น. - ๒๐.๐๐ น. ตั้งแต่บัดนี้จนถึงวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๖ อัตราค่าเข้าชม ชาวไทย ๒๐ บาท ชาวต่างชาติ ๑๐๐ บาท



Messenger