ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,413 รายการ

         พระแก่นจันทน์          ศิลปะรัตนโกสินทร์ พุทธศตวรรษที่ ๒๔ (ประมาณ ๒๐๐ ปีมาแล้ว)          สมบัติเดิมของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร          ปัจจุบันประดิษฐาน ณ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร          พระพุทธรูปจำหลักจากไม้แก่นจันทน์ ทรงยืนยกพระหัตถ์ทั้งสองข้างแสดงปางห้ามสมุทร พระพักตร์ค่อนข้างกลม สงบนิ่ง มีครอบพระเศียรบุดุนจากโลหะเงิน พระรัศมีเป็นเปลวสูงทำด้วยทองแดงชุบทอง ทรงครองจีวรห่มเฉียง จีวรทาสีชาด เขียนลายทองก้านแย่งพุ่มข้าวบิณฑ์ใบเทศ ฐานไม้ย่อมุมไม้สิบสองจำหลักลายประดับกระจกต่างสี          พระพุทธรูปองค์นี้สันนิษฐานว่าสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ กรมพระราชวังบวรสถานมงคลในรัชกาลที่ ๓ ทรงสร้างขึ้น เนื่องด้วยในพระวิหารวัดไพชยนต์พลเสพย์พระอารามที่ทรงสถาปนาขึ้นมีพระพุทธรูปรูปแบบเดียวกันนี้ด้วยอีกองค์หนึ่ง           พระพุทธรูปสลักจากไม้แก่นจันทน์นั้นสร้างขึ้นตามตำนานพระแก่นจันทน์ ที่ระบุว่าพระเจ้าปเสนทิโกศลทรงสร้างขึ้นบูชาแทนองค์พระพุทธเจ้าขณะเสด็จไปโปรดพระพุทธมารดาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์เมื่อครั้งพุทธกาล ซึ่งตำนานดังกล่าวมีหลักฐานที่บันทึกไว้ชัดเจนราวพุทธศตวรรษที่ ๑๐ ในบันทึกของพระภิกษุจีนฟาเหียน และในบันทึกของพระภิกษุเหี้ยนจัง มีการกล่าวถึงตำนานพระแก่นจันทน์ที่มีเนื้อหาต่างกันตรงชื่อบุคคลและสถานที่ในเนื้อเรื่อง           ในสมัยอยุธยามีการสร้างพระพุทธรูปจากไม้จันทน์ด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ในเอกสาร “คำให้การชาวกรุงเก่า” ระบุว่า ในพระวิหารวัดพระศรีสรรเพชญ์มีการประดิษฐานพระพุทธรูปแก่นจันทน์ และนับถือว่าเป็นหนึ่งในแปดพระพุทธรูปที่ทรงอานุภาพมาก อีกทั้งกล่าวถึงเหตุการณ์ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์ภายหลังจากที่พระองค์ทำศึกที่เมืองเชียงใหม่ได้อัญเชิญพระแก่นจันทน์พร้อมกับพระพุทธสิหิงค์มาประดิษฐานที่อยุธยา ดังความว่า “...ครั้นพระนารายน์มีไชยชนะได้เมืองเชียงใหม่แล้ว จึงให้เชิญพระพุทธสิหิงค์กับพระแก่นจันทน์แดงมาประดิษฐานที่พลับพลา ให้มีการมโหรศพสมโภชเปนอันมาก...”     อ้างอิง กรมศิลปากร. พระพุทธรูปสำคัญในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม, ๒๕๖๖. รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง. รู้เรื่องพระพุทธรูป. พิมพ์ครั้งที่ ๓. นนทบุรี: มิวเซียมเพรส, ๒๕๖๐.



           สำนักศิลปากรที่ ๔ ลพบุรี ขอเชิญผู้สนใจร่วมงานเสวนาทางวิชาการเรื่อง “กรมศิลปากรขอส่งมอบสระมะโนราคืนให้ชาวลพบุรี” ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์ จังหวัดลพบุรี วันพุธที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๖๖ เวลา ๑๗.๐๐ น. ผู้เข้าร่วมฟังการเสวนา จะได้รับชมการแสดงโขน จากสำนักการสังคีต กรมศิลปากร เวลา ๑๙.๐๐ น. ฟรี!!  โดยสามารถลงทะเบียนด้วยการสแกน QR Code หรือทางลิ้ง https://forms.gle/3JYSvWKTQs3EiVFr9 ฟรี!! ตั้งแต่วันนี้ ถึง ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๖ (*รับจำกัดเพียง ๑๐๐ ท่าน) 



          สุภาพสตรี (หม่อมปริม บุนนุค)           ผลงาน : สุภาพสตรี (หม่อมปริม บุนนุค)           ศิลปิน : พิมาน มูลประมุข           เทคนิค : ประติมากรรมสำริด           ขนาด : สูง 74 เซนติเมตร           ปีที่สร้างสรรค์ : พ.ศ.2470 - 2480           ประวัติ : พิมาน มูลประมุข สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนประณีตศิลปกรรม เป็นศิษย์รุ่นแรกของศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ต่อมาเข้ารับราชการในแผนกหัตถศิลป์ กรมศิลปากร ได้รับมอบหมายให้ช่วยงานศาสตราจารย์สิลป์ ในการออกแบบอนุสาวรีย์ที่สำคัญหลายแห่ง พิมานมีความเชี่ยวชาญในการปั้นรูปเหมือนตัวอย่างงานประเภทนี้ได้แก่รูปเหมือนหม่อมปริม บุนนาค เป็นรูปหญิงสาวที่ดูสงบแฝงไว้ด้วยความสุภาพเรียบร้อย (สุธี 2545 : 53) จากผลงานอันเป้นที่ประจักษ์ พิมานจึงได้รับการยกย่องให้เป็นศิลปินแห่งชาติสาขาทัศนศิลป์ (ประติมากรรม) เมื่อปี พ.ศ.2531 (ขนิษฐา และคณะ 2535 : 46)           อ้างอิง : หนังสือนำชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป  (Guide to The National Gallery, Bangkok)   ที่มา: http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/nationalgallery/


            สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ ขอเชิญร่วมฟังเสวนาทางวิชาการ เนื่องในงานใต้ร่มพระบารมี 242 ปี กรุงรัตนโกสินทร์ หัวข้อ “ไม่บันทึก...ก็นึกไม่ออก”  วิทยากรโดย ศ.พิเศษ ธงทอง จันทรางศุ, รศ.ดร.พีรศรี โพวาทอง, นางณิชา จริยเศรษฐการ ผู้อำนวยการสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ และนางสาวนวลพรรณ นาคปรีชา นักจดหมายเหตุชำนาญการ ดำเนินรายการโดย นายนพดล ภู่ชัย ผู้อำนวยการกลุ่มบันทึกเหตุการณ์ ในวันจันทร์ที่ 22 เมษายน 2567 เวลา 13.00 - 16.00 น. ณ ห้องออดิทอเรียม ชั้น 1 หอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนิน เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร              ผู้สนใจสามารถลงทะเบียนเข้าร่วมฟังการเสวนาผ่านการสแกน QR Code หรือกดตามลิงก์ลงทะเบียน https://shorturl.at/itBU6 รับจำนวน 50 ท่าน สามารถลงทะเบียนได้ตั้งแต่บัดนี้ ถึงวันอาทิตย์ที่ 14 เมษายน 2567 หรือจนกว่าที่นั่งเต็ม https://www.facebook.com/share/p/oMpd8R3xxsCp78yX/?mibextid=WC7FNe


รายงานการขุดค้นทางโบราณคดีภายใต้งานก่อสร้างระบบจำหน่ายไฟฟ้าเคเบิลใต้ดินบริเวณถนนจอมพล ช่วง แยกถนนประจักษ์ถึงถนนพลล้าน อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา


ทดสอบทดสอบ



วันเสาร์ที่ ๑๗ สิงหาคม ๒๕๖๗ เวลา ๑๓.๐๐ น. คณะจากโรงเรียนนวมราชานุสรณ์ อำเภอเมืองนครนายก จังหวัดนครนายก จำนวน ๗๗ คน เข้าศึกษาดูงาน ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครนายก พระบรมชนกชลพัฒน์ โดยมีว่าที่ร้อยตรีรุ่งเรือง ชื่นชม พนักงานประจำพิพิธภัณฑ์ เป็นวิทยากรนำชมในครั้งนี้






ก่อร่างสร้างปราสพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิมาย าทพิมายก่อร่างสร้างปราสาทพิมาย


Messenger