ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,411 รายการ
ชื่อผู้แต่ง - ชื่อเรื่อง ตำราพิไชยสงคราม ครั้งที่พิมพ์ พิมพ์ครั้งที่ ๖ สถานที่พิมพ์ พระนคร สำนักพิมพ์ โรงพิมพ์พระจันทร์ ปีที่พิมพ์ ๒๕๑๒ จำนวนหน้า ๕๔ หน้า หมายเหตุ พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นางสนิทนรนารถ หนังสือตำราพิไชยสงครามเล่มนี้ บทประพันธ์ของเนื้อเรื่องเป็นร้อยกรอง กล่าวถึงการทำศึกสงคราม แบ่งเป็น ๓ ส่วน คือ ว่าด้วยเหตุแห่งการสงคราม ว่าด้วยอุบายสงคราม ว่าด้วยยุทธศาสตร์และยุทธวิธี นอกจากนนั้นหนังสือเล่มนี้ยังมีในส่วนของตำราดูนิมิต ฤกษ์ยามและทำเลขยันต์
ว่าด้วยตำรายาเกร็ด เช่น ยาแก้กลอน, ยาแก้สารพัดลม, ยาแก้เลือดแห้ง, ยาดองแก้ขัดระดู, แก้โลหิตดีจับหัวใจให้คราง, ปลุกโลหิต ฯลฯ
ผู้แต่ง : กรมศิลปากร
ปีที่พิมพ์ : 2532
สถานที่พิมพ์ : ม.ป.ท.
สำนักพิมพ์ : ป.สัมพันธ์พาณิชย์
นายขจร มุกมีค่า ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครราชสีมาตรวจเยี่ยมอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้งและปราสาทเมืองต่ำวันอังคารที่ ๑๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๗
ประเทศไทยมีการติดต่อค้าขายกับพ่อค้ามุสลิมมาตั้งแต่ก่อนการสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี เมื่อ พ.ศ. 1893 หลังจากนั้นในสมัยกรุงธนบุรีพบว่ามีชาวมุสลิมเดินทางเข้ามาค้าขายเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะหลังจากที่ประเทศไทยเปิดการค้าเสรีภายใต้สนธิสัญญาเบาริ่ง ในสมัยรัชกาลที่ 4 ยิ่งทำให้มีพ่อค้าจากอินเดีย มลายูและอาหรับเข้ามาเพิ่มอีกเป็นจำนวนมาก ในช่วงรัตนโกสินทร์ตอนต้นบริเวณปากคลองสานถือเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยที่สำคัญของชาวมุสลิม แบ่งออกเป็น 2 ย่าน คือ “ย่านตึกแดง” และ “ย่านตึกขาว” มุสลิมที่อยู่ในย่านตึกแดงเป็นพวกชาวอินเดียที่ส่วนมากมาจาก ตำบลแรนเดอร์ เมืองสุรัต ประเทศอินเดีย เป็นชาวมุสลิมที่นับถือนิกายสุหนี่ แต่มุสลิมที่อยู่ในย่านตึกขาวส่วนใหญ่เป็นมุสลิมที่นับถือนิกายชีอะห์ ซึ่งเดินทางมาจากเมืองสุรัต เมืองแคมบ๊าต เมืองอะห์เมดาบ๊าด รัฐคุชราต และจากเมืองซิ๊ดปุร และเมืองโดรายี ทางตะวันตกของอินเดีย ซึ่งชาวมุสลิมที่อยู่ในย่านตึกขาวนี้เรียกตนเองว่า “มุอ์มิน ดาวูดี โบห์รา” ดาวูดี โบห์รา (Dawoodi Bohra) เป็นกลุ่มสาขาของชาวมุสลิมนิกายชีอะห์ ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในเมืองทางตะวันตกของอินเดีย โดยคำว่า “โบห์รา” เป็นภาษาคุชราต แปลว่า “พ่อค้า” ส่วนคำว่า “ดาวูดี” มาจากการสนับสนุนนายดาวูดบิน ในระหว่างที่มุสลิมมีข้อพิพาทเกี่ยวกับกรณีการเลือกผู้นำ ในปี ค.ศ. 1592 ชาวดาวูดี โบห์รา ถือเป็นกลุ่มที่มีบทบาทสำคัญในการค้าผ้าอินเดียกับราชสำนักสยามในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ดำเนินการค้าขายสินค้าประเภทผ้าแพร ดิ้นเงินดิ้นทอง เพชรพลอย เครื่องเทศ เครื่องหอม โดยจะข้ามจากฝั่งคลองสานเพื่อมาทำการค้าบริเวณท่าราชวงศ์ ทรงวาด และย่านสำเพ็ง ในปัจจุบันยังมีชาวมุสลิมดาวูดี โบห์รา อาศัยอยู่ใกล้เคียงกับพื้นที่ย่านคลองสานและกระจายออกไปตั้งถิ่นฐานในพื้นที่อื่นๆ ทั่วกรุงเทพมหานคร ซึ่งในทุกๆ วันสำคัญ เหล่ามุอ์มินดาวูดี โบห์ราต่างเดินทางมาร่วมประกอบพิธีกรรมทางศาสนา ณ มัสยิดเซฟี หรือมัสยิดตึกขาว อันเป็นศาสนสถานศูนย์รวมจิตใจของกลุ่ม มัสยิดเซฟีหรือมัสยิดตึกขาวนี้ ตั้งอยู่ที่ซอยสมเด็จเจ้าพระยา 5 แขวงสมเด็จเจ้าพระยา เขตคลองสาน กรุงเทพฯ เป็นมัสยิดที่ก่อสร้างขึ้นตั้งแต่ พ.ศ. 2446 โดยมีลักษณะสถาปัตยกรรมผสมระหว่างยุโรปแบบกอธิค (gothic) ซึ่งรับมาจากอินเดีย และมีการต่อเติมแบบไทยผสมเข้าไปด้วย ปัจจุบันกรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานมัสยิดเซฟี (ตึกขาว) แล้ว ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 135 ตอนพิเศษ 328 ง ลงวันที่ 21 ธันวาคม 2561 ภาพ : การแต่งกายของชาวโบห์รา ภาพ : มุสลิมพ่อค้าดาวูดีโบห์รา กำลังรอรับเสด็จพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในงานเฉลิมฉลองการเสด็จนิวัติพระนครจากการประพาสยุโรปครั้งที่สอง เมื่อปี พ.ศ. 2450 (ภาพจากหอจดหมายเหตุแห่งชาติ)ภาพ : มัสยิดเซฟี (ตึกขาว)..................................................................ผู้เขียน/เรียบเรียงข้อมูล : นางสาวอารียา สีชมพู นักโบราณคดีปฏิบัติการ กลุ่มวิชาการทะเบียนโบราณสถาน กองโบราณคดี
การเดินทางไปเที่ยวยังถ้ำพระยานครปัจจุบันนี้ มี ๒ เส้นทางหลักคือ เดินเท้าข้ามสันเขาจากหาดบางปูมายังหาดแหลมศาลาซึ่งเป็นที่ตั้งของถ้ำพระยานคร หรือโดยทางเรือโดยนั่งเรือโดยสารจากหาดบางปูมายังหาดแหลมศาลาและเดินเท้าเพื่อขึ้นเขาไปยังถ้ำประยานคร บริเวณพื้นราบเชิงเขาของทางเดินขึ้นสู่ถ้ำ ด้านขวามือ จะมีบ่อน้ำอยู่ ๑ บ่อ มีการสร้างศาลาคลุมบ่อน้ำไว้ เรียกว่า “บ่อพระยานคร” มีลักษณะเป็นบ่อน้ำกรุด้วยอิฐฉาบปูน ทรงกลม เส้นผ่าศูนย์กลางขอบบ่อด้านในประมาณ ๑.๓๘ เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางขอบบ่อด้านนอกประมาณ ๑.๘๔ เมตร ลึกประมาณ ๔ เมตร ไม่ทราบประวัติการก่อสร้างที่ชัดเจนว่าสร้างขึ้นสมัยใด สันนิษฐานน่าจะสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๑ เจ้าพระยานครผู้ครองเมืองนครศรีธรรมราช ได้พักหลบพายุที่ชายหาดแห่งนี้เป็นเวลานาน จึงได้สร้างบ่อน้ำเพื่อใช้ดื่ม* และในเอกสารจดหมายเหตุกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๓ จ.ศ. ๑๒๐๐ ชื่อ รายงานระยะทาง จ.ศ.๑๒๐๐ (พ.ศ.๒๓๘๑) จดหมายเหตุลมเมื่อออกมาแต่กรุง... (ระยะทางยกกองทัพไปตีเมืองไทรย) หน้า ๘-๑๑ ได้กล่าวถึงเส้นทางเดินเรือจากช่องแสมสารไปยังเขาสามร้อยยอด และมีการแวะพักเติมน้ำจืดตรงบริเวณเขาสัตกูด ซึ่งน่าจะหมายถึงบ่อน้ำนี้เช่นกัน โดยมีรายละเอียดดังนี้ “...๘ ครั้นรุ่งขึ้น ณ วันเสาร์ เดือน ๕ ขึ้น ๘ ค่ำ พอสว่างเห็นช่องแสมสารพอเป็นเงาๆ ลมสลาตันพัดกล้าไปจนบ่ายโมงหนึ่งแล้ว ..เปลี่ยนเป็นลมสำเภาพัดอ่อนๆมาจนบ่ายสามโมง น้ำขึ้นลมสำเภาพัดกล้าหนักๆ มาจนเพลาบ่ายสี่โมงเศษ เห็นเขาสามร้อยยอด ครั้นเพลาบ่ายหกโมงเศษ เรือมาถึงฝั่งทางตะวันตกตรงเขากะโหลก ทอดนอนอยู่ที่นั่นคืนหนึ่ง ลมสลาตันพัดกล้าหนักอยู่จนสว่าง ครั้นรุ่งขึ้น ณ วันจันทร์ เดือน ๕ ขึ้น ๑๐ ค่ำ เพลาเช้าออกเกา** ลมสลาตันอีกร้อยหนึ่งจึงเข้ายังสัตกูดได้ พอได้ตักน้ำในวันนั้น... ในหนังสือชีวิวัฒน์ นิพนธ์ของสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมหลวงภาณุพันธุวงศ์วรเดช ใน พ.ศ.๒๔๒๗ เมื่อครั้งเสด็จประพาสในแหลมมลายูฝั่งตะวันออก ในส่วนหัวเมืองตะวันตก ได้มีการกล่าวถึงเขาสามร้อยยอด และบ่อน้ำนี้ ว่า "เรือสุริยมณฑลทอดสมอน้ำลึก ๑๐ ศอก ไกลจากฝั่งประมาณ ๖๐ เส้น ในเกาะตะกูดตรงหน้าอ่าวศาลาบ่อน้ำ ปากทางที่จะขึ้นถ้ำสามร้อยยอด ดูไปจากเรือมีเขาหลายชั้นแลเห็นศาลาแต่ไกล ศาลานั้นตั้งอยู่ไกลจากทะเลประมาณ ๒๐ เส้น ศาลานั้นขื่อกว้าง ๑๐ ศอก ๓ ห้อง ห้องกลางนั้นมีบ่อน้ำๆ จืดสนิท ...” ส่วนในสมุดราชบุรี ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๖๘ กล่าวถึงบ่อน้ำนี้ไว้ว่า "ที่ชายทเลหน้าเขาถ้ำนี้มีบ่อน้ำ ๑ บ่อ กลม ขุดกว้างประมาณ ๔ ศอก ลึก ๖ ศอก ก่ออิฐเป็นขอบโดยรอบแต่ท้องบ่อขึ้นมา และศาลา ๑ หลัง มุงกระเบื้องไทยครอบบ่อน้ำนั้นพื้นศาลาก็โบกปูนเต็มไปถึงขอบบ่อ น้ำในบ่อจืดพอใช้ได้ บ่อนี้เรียกว่าบ่อพระยานครประมาณว่าทำมาได้สัก ๗๐ ปีแล้ว สันนิษฐานว่าจะเปนเจ้าพระยานคร "น้อยกลาง" เปนผู้สร้างเพราะในสมัยนั้นการไปมาระหว่างกรุงเทพพระมหานคร กับเมืองนครศรีธรรมราชใช้เรือแจวเรือพายเลียบไปตามฝั่งแวะหยุดพักเปนระยะ ที่น่าเขาสามร้อยยอดนี้น่าจะเปนที่พักแรมทางแห่งหนึ่ง และเปนเขาที่มีถ้ำงดงามน่าดู ท่านคงจะเห็นถ้ำนั้นมีผู้คนไปเที่ยวมาก จึงได้สร้างบ่อน้ำไว้ให้เปนสาธารณทาน ด้วยเหตุนี้ถ้ำนั้นจึงมีนามว่าถ้ำบ่อพระยานคร อีกชื่อ ๑ คือหมายความว่า ถ้ำที่มีบ่อน้ำพระยานครสร้าง" ภาพ : บ่อพระยานคร ภาพ : สภาพปัจจุบันบ่อพระยานคร*ทะเบียนโบราณสถานในเขตหน่วยศิลปากรที่ ๒ กองโบราณคดี กรมศิลปากร,๒๕๓๘ หน้า ๑๐๐**เกา หมายถึง อาการที่สมอเรือครูดไปตามพื้นท้องน้ำ ไม่ยึดอยู่กับที่-------------------------------เรียบเรียงข้อมูล : นางสาวกรรณิการ์ เปรมใจ นักโบราณคดีชำนาญการ กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๑ ราชบุรี -------------------------------ที่มาของข้อมูล : กรมศิลปากร. ทะเบียนโบราณสถานในเขตหน่วยศิลปากรที่ ๒. กรุงเทพฯ: กองโบราณคดี กรมศิลปากร, ๒๕๓๘. พยุง วงษ์น้อย และคณะ. พระที่นั่งคูหาคฤหาสน์. รายงานการสำรวจทางโบราณคดี กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๑ ราชบุรี, ๒๕๔๑ สมุดราชบุรี สยามรัฐพิพิธภัณฑ์ พ.ศ.๒๔๖๘. โรงพิมพ์หนังสือพิมพ์ไทย:พระนคร(กรุงทพฯ),๒๔๖๘. สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมหลวงภาณุพันธุวงศ์วรเดช. “เขาสามร้อยยอดแขวงเมืองปราณ” ใน ชีวิวัฒน์ เรื่องเที่ยวต่าง ๆ ภาค ๗. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, ๒๕๕๑. (จัดพิมพ์เผยแพร่ในงานเฉลิมพระเกียรติ จอมพล สมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงษาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมหลวงภาณุพันธุวงศ์วรเดช ครบ ๑๕๐ ปีประสูติ). สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ. จดหมายเหตุลม เรื่องระยะทางยกกองทัพไปตีเมืองไทรย เลขที่ ๒๒/๑, ๒๒/๒ (จดหมายเหตุกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๓ จ.ศ. ๑๒๐๐)
ผู้แต่ง : รื่น จันทรมณี (เปรียญ)
ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1
สถานที่พิมพ์ : พระนคร
สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์ศรีหงส์
ปีที่พิมพ์ : 2478
หมายเหตุ : -
เป็นการบรรยายการเดินทางของผู้ที่มีอาชีพเป็นหมอ ต้องจากภรรยาสุดที่รัก เพื่อเดินทางไปทำการรักษา ให้แก่ประชาชนในท้องถิ่นภาคใต้ ด้วยความยากลำบากและอันตราย ได้พบปะกับผู้คนมากมาย หลากหลายอาชีพ และมีเหตุการณ์ตื่นเต้น ต่าง ๆ หลายเหตุการณ์
ชื่อเรื่อง สมัยก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทยผู้แต่ง ชิน อยู่ดีประเภทวัสดุ/มีเดีย หนังสือหายากหมวดหมู่ ประวัติศาสตร์เลขหมู่ 959.3 ช561สปสถานที่พิมพ์ พระนครสำนักพิมพ์ การพิมพ์พระนครปีที่พิมพ์ 2513ลักษณะวัสดุ 270 หน้า หัวเรื่อง สมัยก่อนประวัติศาสตร์ภาษา ไทยบทคัดย่อ/บันทึก พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นายปรีชา เมธาคุณวุฒิ พศ.2513 เนื้อหาเกี่ยวกับยุคสมัยต่างๆในช่วงก่อนประวัติศาสตร์
ชื่อเรื่อง ตำราโหราศาสตร์ (โหราศาสตร์)สพ.บ. 218/1ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 38 หน้า กว้าง 5 ซ.ม. ยาว 30 ซ.ม. หัวเรื่อง พุทธศาสนา ธรรมเทศนา
บทคัดย่อ/บันทึก
เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน เส้นจาร ฉบับลานดิบ ภาษาบาลี-ไทยอีสาน ได้รับบริจาคมาจากวัดทุ่งอุทุมพร ต.บางปลาม้า อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
หุ่นจำลองเรื่องรามเกียรติ์ประกอบงานพระเมรุ
ศิลปะรัตนโกสินทร์ พุทธศักราช ๒๔๒๓
ไม้ รักกระแหนะ ปิดทองคำเปลวเขียนสี
สมบัติเดิมของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
หุ่นจำลองเรื่องรามเกียรติ์ ตอนพระลักษมณ์ถูกศรพรหมาสตร์ของอินทรชิตและหนุมานหักคอช้างเอราวัณ เครื่องตกแต่งพระเมรุสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์และสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรรณาภรณ์เพ็ชรรัตน์ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ ท้องสนามหลวง เมื่อพุทธศักราช ๒๔๒๓
เลขทะเบียน : นพ.บ.123/19ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 66 หน้า ; 4.6 x 57.5 ซ.ม. : ล่องชาด ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 70 (232-242) ผูก 19 (2564)หัวเรื่อง : มงฺคลตฺถทีปปี (มงคลทีปนีอรรถกถา)--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม