เล่าเรื่องประติมานวิทยา: อัพชะ (Abja)
อัพฺชะ แปลว่า “เกิดในน้ำ หรือ เกิดจากน้ำ” หมายถึง ดอกบัว มีหลายประเภท ได้แก่ ปัทม (padama-ดอกบัวหลวง, บัวก้านแข็ง) อุตปล (utpala-บัวสาย, บัวก้านอ่อน) กมละ (Kamala-ดอกบัวสีแดง) นีลโลตปล (nīilotpala-ดอกบัวสีน้ำเงิน) ปุณฑรีกะ (puṇḍarīka-ดอกบัวสีขาว) เป็นเครื่องหมายแห่งน้ำ บางครั้งดอกบัวเป็นสัญลักษณ์ของดิน ตามคติทางประติมานวิทยาของฮินดูเป็นสัญลักษณ์ของการรู้แจ้ง (enlightenment) และความบริสุทธิ์ (purity) นอกจากนี้ ยังเป็นนามของสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดจากน้ำ คือ สังข์ (the conch) พระจันทร์ (the moon) และธันวันตริ (Dhanvantari-แพทย์แห่งทวยเทพ) ซึ่งเกิดจากการกวนเกษียรสมุทร
ภาพที่ 1. ศิลาสลักรูปดอกบัว ศิลปะเขมรในประเทศไทย จัดแสดงที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิมาย จังหวัดนครราชสีมา
พระพรหมา (Brahmā) ซึ่งเป็นพระสวยัมภู (ผู้เกิดเอง) จากน้ำ ก็ได้นามว่า อัพชะ (Abja) หรือ อัพชชะ (Abjaja) แปลว่า “ผู้เกิดจากดอกบัว” ตามคติในคัมภีร์ปุราณะ (Purāṇa) และมหากาพย์มหาภารตะ (Mahābhārata) ที่กล่าวว่าพระพรหมาปรากฏขึ้นในดอกบัวซึ่งผุดจากพระนาภี (สะดือ) ของพระวิษณุ (Viṣṇu) ผู้บรรทมเหนืออนันตนาคราช (Ananta) ในระหว่างกัลป์ เพื่อสร้างโลก พระพรหมจึงมีนามอีกว่า อัพชโยนิ (Abjayoni) และ อัพชภวะ (abjabhava) หรือ อัพชสัมภวะ (Abjasambhava) หมายถึง “ผู้มีดอกบัวเป็นที่เกิด” ส่วนพระวิษณุได้นามว่า อัพชนาภะ (abjanābha) หมายถึง ผู้มีสะดือเป็นดอกบัว
ภาพที่ 2. แท่งหินสลักเรื่องวิษณุอนันตศายนะ (พระวิษณุบรรทมเหนืออนันตนาคราช) พระพรหมาเกิดจากดอกบัวซึ่งผุดขึ้นจากพระนาภีของพระวิษณุ ศิลปะเขมรในประเทศไทย จัดแสดงที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิมาย จังหวัดนครราชสีมา
อ้างอิงจาก
1. Iconographic Dictionary of the Indian Religions Hinduism-Buddhism-Jainism
2. The illustrated dictionary of Hindu iconography
3. ศาสนาพราหมณ์ในอาณาจักรขอม
4. https://www.wisdomlib.org/definition/abja
เรียบเรียงข้อมูล : นางสาวเด่นดาว ศิลปานนท์ ภัณฑารักษ์เชี่ยวชาญ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
ภาพที่ 1. ศิลาสลักรูปดอกบัว ศิลปะเขมรในประเทศไทย จัดแสดงที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิมาย จังหวัดนครราชสีมา
พระพรหมา (Brahmā) ซึ่งเป็นพระสวยัมภู (ผู้เกิดเอง) จากน้ำ ก็ได้นามว่า อัพชะ (Abja) หรือ อัพชชะ (Abjaja) แปลว่า “ผู้เกิดจากดอกบัว” ตามคติในคัมภีร์ปุราณะ (Purāṇa) และมหากาพย์มหาภารตะ (Mahābhārata) ที่กล่าวว่าพระพรหมาปรากฏขึ้นในดอกบัวซึ่งผุดจากพระนาภี (สะดือ) ของพระวิษณุ (Viṣṇu) ผู้บรรทมเหนืออนันตนาคราช (Ananta) ในระหว่างกัลป์ เพื่อสร้างโลก พระพรหมจึงมีนามอีกว่า อัพชโยนิ (Abjayoni) และ อัพชภวะ (abjabhava) หรือ อัพชสัมภวะ (Abjasambhava) หมายถึง “ผู้มีดอกบัวเป็นที่เกิด” ส่วนพระวิษณุได้นามว่า อัพชนาภะ (abjanābha) หมายถึง ผู้มีสะดือเป็นดอกบัว
ภาพที่ 2. แท่งหินสลักเรื่องวิษณุอนันตศายนะ (พระวิษณุบรรทมเหนืออนันตนาคราช) พระพรหมาเกิดจากดอกบัวซึ่งผุดขึ้นจากพระนาภีของพระวิษณุ ศิลปะเขมรในประเทศไทย จัดแสดงที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิมาย จังหวัดนครราชสีมา
อ้างอิงจาก
1. Iconographic Dictionary of the Indian Religions Hinduism-Buddhism-Jainism
2. The illustrated dictionary of Hindu iconography
3. ศาสนาพราหมณ์ในอาณาจักรขอม
4. https://www.wisdomlib.org/definition/abja
เรียบเรียงข้อมูล : นางสาวเด่นดาว ศิลปานนท์ ภัณฑารักษ์เชี่ยวชาญ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
(จำนวนผู้เข้าชม 1123 ครั้ง)
สงวนลิขสิทธิ์ © 2563 กรมศิลปากร. กระทรวงวัฒนธรรม
-
นโยบายเว็บไซต์ |
มาตรฐาน