ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,549 รายการ




          อลักษมี (Alakṣmī) เป็นเทวีแห่งความโชคร้าย ที่รวมของสิ่งอัปมงคล โรคร้าย ความยากจน การทะเลาะเบาะแว้ง พระนางจึงได้รับการบูชา เพื่อป้องกันเหตุร้ายเหล่านั้น เป็นที่รู้จักในนาม ชเยษฐา (Jyeṣṭhā) แปลว่า “ผู้เกิดก่อน” จัดเป็นพี่สาวของลักษมี (Lakṣmī) เทวีแห่งความมั่งคั่งและความงาม           อลักษมี เป็นตัวแทนของทุกสิ่งที่เป็นด้านตรงกันข้ามกับลักษมี พระนางอยู่ร่วมกับลักษมีเสมอ เช่น หากลักษมีเป็นฝน พระนางคือ น้ำท่วมและความแห้งแล้ง หากลักษมีเป็นธัญพืช พระนางคือแกลบ หากลักษมีเป็นชัยชนะ พระนางคือ ความพ่ายแพ้ ที่มาพร้อมกับชัยชนะ หากลักษมีเป็นบุตร พระนางคือ ความเจ็บปวด ความสกปรก ที่มาพร้อมกับการคลอดบุตร พระนางยังถูกระบุว่าเป็นองค์เดียวกับ ธูมมาวตี (Dhūmavatī) เทวีม่ายผู้อับโชค ในกลุ่มมหาวิทยา (Mahāvidyā) เทวีในลัทธิตันตระ และนิรฤติ (Nirṛti) เทวีแห่งความโชคร้าย พระนางอาศัยอยู่ที่ใดก็ตามที่สกปรก โสโครก แหล่งอาชญากรรม ความยากจน ฯลฯ ลักษณะของอลักษมี เปลือยเปล่า ลำตัวแห้งเหี่ยว แก้มตอบ จมูกยาว อกยาน ริมฝีปากหนา ตาพอง ถือไม้กวาดอยู่ในมือ ขี่ลา (gardabha, ครรภ) มีอีกาประดับอยู่บนธง (กากะธวัช, kākadhvaja) เครื่องบูชาประกอบด้วยพริกและมะนาว -------------------------------------------------------ผู้เรียบเรียง : เด่นดาว ศิลปานนท์ ภัณฑารักษ์เชี่ยวชาญ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ------------------------------------------------------อ้างอิงจาก 1. Margaret Stutley, The illustrated dictionary of Hindu iconography (London : Routledae & Kegan Paul, 1985), 5. 2. https://www.wisdomlib.org/definition/alakshmi 3. https://en.wikipedia.org/wiki/Jyestha_(goddess)


ตึกเดชะปัตตนยานุกูล (ตึกขาว) ก่อร่างสร้างตึก           ตึกเดชะปัตตนยานุกูลหรือตึกขาวสร้างขึ้นเมื่อพ.ศ. ๒๔๖๕ โดยมหาเสวกโทพระยาเดชานุชิต  สยามิศร์ภักดีพิริยะพาหะ (หนา บุนนาค) สมุหเทศาภิบาลสำเร็จราชการมณฑลปัตตานี และคุณหญิงเดชานุชิต(แหม่ม) ได้ชักชวนบรรดาข้าราชการ พ่อค้า และราษฎร บริจาคเงินรวมเข้ากับเงินบำรุงการศึกษารวมเป็นเงิน ๑๒๕,๐๐๐ บาท เพื่อสร้างอาคารเรียนถาวรหลังแรกของโรงเรียนสตรีปัตตานีที่เริ่มเปิดสอนมาตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๕๖  กำเนิดชื่อ “ตึกเดชะปัตตนยานุกูล”           เมื่อการก่อสร้างใกล้แล้วเสร็จ มหาอำมาตย์ตรีพระยาเดชานุชิต สมุหเทศาภิบาลสำเร็จราชการมณฑลปัตตานี  มีหนังสือถึงเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา) เสนาบดีกระทรวงธรรมการ แจ้งการสร้าง ตึก ๒ ชั้นขนาดกว้าง ๑๐ เมตร ยาว ๑๔ เมตร แบ่งเป็นห้องเรียน ๘ ห้อง โดยมีกำหนดเปิดและทำบุญฉลองราวต้นเดือนตุลาคม ๒๔๖๕ ขอให้กระทรวงตั้งนามตึกนี้ด้วย และเสนาบดีให้ใช้ชื่อว่า "เดชะปัตตนยานุกูล" โดยมีที่มาจากคำว่า เดชา + ปัตนะ + อนุกูล แต่ชาวเมืองเรียกอาคารหลังนี้ว่า "ตึกขาว" ตามลักษณะของอาคารซึ่งมีผนังสีขาวทั้งหลัง และในครั้งนั้นได้เปลี่ยนชื่อโรงเรียนเป็น โรงเรียนสตรีปัตตานีเดชะปัตตนยานุกูล ตึกขาวกับการศึกษา           ตึกเดชะปัตตนยานุกูลได้ใช้เป็นอาคารเรียนของนักเรียนโรงเรียนสตรีปัตตานีเดชะปัตตนยานุกูล ตั้งแต่พ.ศ.๒๔๕๖ – ๒๔๘๖ หลังจากนั้นเมื่อมีการย้ายที่ตั้งของโรงเรียนสตรีปัตตานีเดชะปัตตนยานุกูล ไปยังที่ตั้งในปัจจุบันแล้ว ตึกหลังนี้ได้ใช้เป็นที่ตั้งของหน่วยยุวชนทหาร ที่ทำการศึกษานิเทศก์จังหวัดปัตตานี และสำนักงานสามัญศึกษาจังหวัดปัตตานี ตามลำดับ การขุดค้นทางโบราณคดี           กรมศิลปากรได้ดำเนินการขุดค้นทางโบราณคดีที่ตึกขาวในพ.ศ.๒๕๖๐ ผลการขุดค้นพบว่า อาคารหลังนี้ เป็นอาคารแบบตะวันตกก่ออิฐถือปูน ๒ ชั้น ขนาดกว้าง ๑๐.๒๐ เมตร ยาว ๑๔.๗๐ เมตร ระดับพื้นดินใช้งานเดิมตึกขาวอยู่ลึกลงไปในดินอีกราว ๙๐ เซนติเมตร และลึกลงไปเป็นชั้นถมอัดด้วยดินเหนียวและเศษอิฐหักซึ่งเป็นกิจกรรมการถมและบดอัดพื้นที่เมื่อครั้งก่อสร้างตึกขาว           ในพ.ศ.๒๔๖๕ ชั้นดินนี้หนาประมาณ ๔๐ เซนติเมตร ในส่วนของอาคารนั้นบริเวณประตูทางเข้าซึ่งหันไปทางทิศทางทิศตะวันออกเฉียงใต้   มีบันไดปูนประกอบชุดพนักบันได ๑ ชุด โดยหน้าบันไดกว้าง ๒.๕๐ เมตรสอบเข้า ช่องประตูกว้าง ๑.๘๕ เมตร มีขั้นบันได ๔ ขั้น ลูกบันไดกว้างขั้นละ ๓๐ เซนติเมตร เป็นทางขึ้นอาคาร นอกจากนี้ยังพบการเจาะช่องระบายอากาศบนผนังส่วนล่างรอบอาคารจำนวนทั้งสิ้น ๑๗ ช่อง ประกอบด้วยช่องด้านหน้าและด้านข้างฝั่งละ ๔ ช่อง ส่วนด้านหลังพบจำนวน ๕ ช่อง โดยสันนิษฐานว่าอาจจะมีอีก ๑ ช่องแต่ถูกปิดไปโดยบันไดที่สร้างขึ้นภายหลังแล้ว ทั้งนี้ตำแหน่งช่องระบายอากาศเหล่านี้จะอยู่ตรงกับช่องหน้าต่างทุกช่อง           นอกจากนี้ยังพบร่องรอยการตอกเสาเข็มไม้ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๑๐ เซนติเมตร แล้ววางอิฐเป็นฐานรากอาคาร ก่อขึ้นไปเป็นผนังก่อนที่จะวางโครงสร้างไม้ที่สานเป็นพื้น เสา และโครงสร้างหลังคาด้านบน การบูรณะตึกขาว           เมื่อสำนักงานสามัญศึกษาจังหวัดปัตตานี ย้ายไปยังที่ตั้งใหม่ ตึกขาวไม่มีหน่วยงานใดเข้ามาใช้พื้นที่อีก ทำให้ตึกขาวอยู่ในสภาพชำรุดทรุดโทรม ทั้งนี้ในปีงบประมาณ ๒๕๖๐ กรมศิลปากรได้รับอนุมัติงบประมาณ เพื่อดำเนินการบูรณะตึกขาว การดำเนินการแล้วเสร็จในเดือนสิงหาคม ๒๕๖๐ ขึ้นทะเบียนโบราณสถาน           กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนและกำหนดเขตที่ดินโบราณสถานตึกขาวในราชกิจจานุเบกษาเล่ม ๑๑๖ ตอนพิเศษ ๗ง หน้า ๔ วันที่ ๒๒ มกราคม ๒๕๔๒ พื้นที่โบราณสถานประมาณ ๒ งาน ๖.๖๗ ตารางวา เรียบเรียงโดย   I นายสารัท ชลอสันติสกุล นักโบราณคดีชำนาญการ I กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๑๑ สงขลา


ชื่อผู้แต่ง      สุนทรภู่ ชื่อเรื่อง        พระอภัยมณี ครั้งที่พิมพ์    พิมพ์ครั้งที่ ๒ สถานที่พิมพ์  กรุงเทพฯ   สำนักพิมพ์    โรงพิมพ์รุ่งเรืองรัตน์ ปีที่พิมพ์        ๒๕๑๖ จำนวนหน้า    ๕๙๔ หน้า หมายเหตุ       -                  หนังสือเรื่องพระอภัยมณี ภาคจบบริบูรณ์ ตอนที่ ๖๕-๑๓๒ เล่มนี้ ได้พิมพ์เป็นกลอนสุภาพ ตั้งแต่ตอนที่ ๖๕ ถึงตอนที่ ๑๐๐ มีคำกลอนและสำนวนที่สลับซับซ้อนปะปนกันบ้างก็ตาม แต่ก็มีคำกลอนสุภาพที่ไพเราะเพราะพริ้งอยู่เป็นจำนวนมาก  


          เรือยอกอง เป็นเรือประมงพื้นถิ่นที่ใช้หาปลาทั้งในแม่น้ำลำคลองและในทะเล ทำจากไม้ตะเคียน ขนาดของเรือมีทั้งขนาดเล็ก และขนาดใหญ่ ตัวเรือ ตกแต่งด้วยการทาสีและเขียนลวดลายอย่างสวยงาม เรือยอกองสิแย หมายถึงเรือยอกองแบบสยาม ซึ่งจะมีลักษณะเด่น คือ บริเวณหัวเรือจะมีการทำจมูกเรือ ลักษณะเป็นงวงขนาดเล็ก และส่วนสันตรงส่วนหัวและท้ายเรือจะเป็นเส้นโค้ง           เรือยอกองมาเลย์มีชื่อเรียกในท้องถิ่นว่าเรือ “ดอฆอ” มีลักษณะที่ต่างจากเรือยอกองสิแย คือส่วนหัวเรือจะมีลักษณะคล้ายหน้าหนู และส่วนสันตรงส่วนหัวและท้ายเรือจะตัดเฉียง           การแข่งขันเรือยอกอง ในพ.ศ.๒๕๒๓ เรือยอกองได้ถูกนำไปแข่งขันหน้าพระที่นั่งในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (ร.๙) เสด็จพระราชดำเนินแปรพระราชฐานประทับแรม ณ พระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์ จังหวัดนราธิวาส โดยเรือที่ชนะจะได้รับรางวัลถ้วยพระราชทานเช่นเดียวกับการแข่งขันเรือกอและ และนับแต่นั้นการการแข่งขันเรือยอกองหน้าพระที่นั่ง ก็ได้ถูกจัดขึ้นพร้อมกับการแข่งเรือกอและและเรือคชสีห์สืบเนื่องมาจนปัจจุบัน----------------------------------------------------- เรียบเรียงข้อมูล : นายสารัท ชลอสันติสกุล นักโบราณคดีชำนาญการ สำนักศิลปากรที่ ๑๑ สงขลา----------------------------------------------------- *ขอขอบคุณข้อมูลจาก นายอาหะมัด สาและ อู่ต่อเรือบ้านทอนนาอีม ตำบลโคกเคียน อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส


ชื่อผู้แต่ง            สุวรรณ ชื่อเรื่อง             บทละคร เรื่อง พระมะเหลเถไถ - อุณรุทร้อยเรื่อง ระเด่นลันได ครั้งที่พิมพ์         พิมพ์ครั้งที่สี่ สถานที่พิมพ์       กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์         เสริมวิทย์บรรณาคาร ปีที่พิมพ์            ๒๕๑๖ จำนวนหน้า        ๒๔๒ หน้า หมายเหตุ           -                        บทละครเรื่องพระมเหลเถไถ คุณสุวรรร แต่ง เปนภาษาบ้างและไม่เปนภาษาบ้างปะปนกัน ตั้งแต่ต้นจนปลาย ส่วนบทละครอุณรุทร้อยเรื่องนั้น คุณสุวรรณเกณฑ์ให้ตัวบทละครต่างๆมารวมกันในเรื่องเดียว มีส่วนดีทางสำนวนกลอน กับแสดงความรู้เรื่องละครต่างๆ  


เลขทะเบียน : นพ.บ.129/13ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  50 หน้า ; 4.8 x 50 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา  ชื่อชุด : มัดที่ 75 (275-287) ผูก 13 (2564)หัวเรื่อง : ธฺมมปทวณฺณนา ธฺมฺมปทฎฺฐกถา ขุทฺกนิกายฎฺฐกถา (ธมฺมบท)--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


กฏหมายลักษณะพิจารณาคดีความ ชบ.ส. ๑๖ เจ้าอาวาสวัดต้นสน ต.บางปลาสร้อย เขต ๑ อ.เมือง จ.ฃลบุรี มอบให้หอสมุด ๒๐ ก.ค. ๒๕๓๕ เอกสารโบราณ (สมุดไทย)


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน) เลขที่ ชบ.บ.19/1-5 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


ชื่อผู้แต่ง            วิเทศกรณีย์ ชื่อเรื่อง             อัจฉริยบุรุษและอัจฉริยสตรี ครั้งที่พิมพ์               -  สถานที่พิมพ์      พระนคร  สำนักพิมพ์        พี.เอ.เอ็น ปีที่พิมพ์           ๒๕๐๘ จำนวนหน้า       ๗๙๒  หน้า  หนังสือสารคดี อัจฉริยบุรุษและอัจฉริยสตรี เป็นหนังสือที่เขียนประวัติบุคคลสำคัญ ผลงาน และเกียรติคุณของแต่ละท่านให้ละเอียดที่สุด ทั้งเป็นการให้ความรู้อย่างกว้างขวาง ในประวัติศาสตร์ การเมือง เศรษฐกิจ ปรัชญาและจิตวิทยา นอกจากจะได้อ่านประวัติของบุคคลสำคัญแล้ว ท่านยังได้ปรัชญาแห่งการดำเนินชีวิตของเขาด้วย


อาคารเก่าริมฝั่งโขงเมืองนครพนม (ตอนที่ ๓) ในครั้งนี้ขอนำเสนออาคาร“โรงเรียนสุนทรวิจิตร”ตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขง ถนนสุนทรวิจิตร ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๐ แต่เดิมชื่อโรงเรียนบำรุงสตรี รับเฉพาะนักเรียนสตรีเท่านั้น ต่อมาเมื่อ พ.ศ.๒๔๗๗ จึงเปลี่ยนเป็นโรงเรียนสหศึกษาและเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น "โรงเรียนบำรุงวิทยา" จนกระทั่ง พ.ศ. ๒๔๘๙ ได้เปลี่ยนชื่อเป็น "โรงเรียนถนนสุนทรวิจิตร (บำรุงวิทยา) " ต่อมาได้ตัดคำว่าถนนออกเหลือเพียง “โรงเรียนสุนทรวิจิตร” จนถึงปัจจุบัน โดยทำการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาลจนถึงระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ อาคารโรงเรียนสุนทรวิจิตร เป็นสถาปัตยกรรมแบบโคโลเนียล มีลักษณะเป็นอาคารชั้นเดียวแบบแถวยาวมีมุขทั้งด้านหน้าและด้านหลัง คล้ายเครื่องหมายบวก ระเบียงประดับด้วยซุ้มวงโค้ง บันไดทางขึ้นอยู่ด้านข้างของมุขที่ยื่นออกมา และด้านข้างของปีกทั้งสองข้างของตัวอาคาร พนักระเบียงเจาะเป็นรูปวงรี แบบที่นิยมในฝีมือช่างญวน มีการประดับเส้นคิ้วเหนือช่องหน้าต่าง และการเรียงสันอิฐ ล้วนเป็นรูปแบบที่พบเห็นได้โดยทั่วไปในแถบบริเวณลุ่มแม่น้ำโขง โดยส่วนมากอาคารเรียนที่มีรูปแบบของส่วนกลาง (ส่วนกลางกรุงเทพมหานคร) มักจะมีรูปแบบอาคาร ๒ ชั้นเสมอ ทั้งนี้ ยังรวมถึงอาคารสถานที่ราชการก็ล้วนเป็นอาคาร ๒ ชั้น ดังนั้น สิ่งก่อสร้างอาคารเรียนซึ่งปรากฏเป็นอาคารแบบชั้นเดียวในเขตจังหวัดนครพนม จึงเป็นรูปแบบที่ได้รับมาจากทางประเทศเวียดนามหรือทาง สปป.ลาวมากกว่า อาคารหลังนี้นอกจากจะใช้เป็นสถานศึกษาของนักเรียนแล้ว ยังเป็นอีกหนึ่งสถานที่ที่บอกเล่าเรื่องราวของเมืองนครพนมได้เป็นอย่างดีทีเดียว ข้อมูล : นางสาวเมริกา สงวนวงษ์ อ้างอิง : - คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ.๒๕๔๒.วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดนครพนม.กรุงเทพฯ:คุรุสภาลาดพร้าว. - ชวลิต อธิปัตยกุล.สิมญวน ในอีสาน.อุดรธานี:เต้า-โล้,๒๕๕๘. - โรงเรียนสุนทรวิจิตร( https://data.bopp-obec.info)