ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,523 รายการ
โบราณสถานวัดผดุงสุข (วัดถิ่นดุง)
โบราณสถานวัดผดุงสุข (วัดถิ่นดุง) ตั้งอยู่ที่บ้านถิ่นดุง ตำบลวัดหลวง อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย แต่เดิมมีชื่อวัดว่า “วัดถิ่นดุง” ตามชื่อหมู่บ้าน เมื่อพ.ศ. ๒๔๘๖ ได้เปลี่ยนชื่อวัดเป็น “วัดผดุงสุข” และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๒๖ ภายในบริเวณวัดผดุงสุข มีโบราณสถานสำคัญ ได้แก่ สิม (อุโบสถ) ตั้งอยู่ทางด้านตะวันตกของวัด มีลักษณะเป็นสิม (อุโบสถ) แบบสถาปัตยกรรมอีสาน ก่อด้วยอิฐถือปูน อยู่ในผังสี่เหลี่ยมผืนผ้า และเจดีย์ (ธาตุ) ตั้งอยู่ทางด้านตะวันออกของสิม (อุโบสถ) จำนวน ๒ องค์ ก่อด้วยอิฐ องค์ที่หนึ่งเหลือเพียงส่วนฐาน ไม่สามารถระบุรูปแบบได้ ส่วนองค์ที่สองเป็นเจดีย์ศิลปกรรมแบบล้านช้าง ฐานเป็นผังสี่เหลี่ยม ส่วนเรือนธาตุทรงบัวเหลี่ยม
นอกจากนี้ ภายในวัดยังพบศิลาจารึกสำคัญ มีลักษณะเป็นจารึกบนแผ่นใบเสมาหินทรายแบนยอดแหลม อักษรไทยน้อย จำนวน ๒ หลัก ได้แก่ ศิลาจารึกผดุงสุข ๑ (นค.๑๐) ระบุจุลศักราช ๙๑๓ (พ.ศ.๒๐๙๔) กล่าวถึงการพระราชทานที่ดินให้แก่วัดศรีสุวรรณของพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช และศิลาจารึกผดุงสุข ๒ (นค.๑๑) (ศิลาจารึกวัดถิ่นดุง) ด้านที่ ๑ ระบุจุลศักราช ๙๓๒ (พ.ศ.๒๑๑๓) กล่าวถึง พระยาปากเจ้า (เจ้าเมืองปากห้วยหลวง) และเจ้านายอื่นๆ ได้อุทิศที่ดินแก่มหาป่าเจ้า ด้านที่ ๒ กล่าวถึงชื่อพระสุมังคลไอยโกโพธิสัตว์ และกล่าวถึงการกัลปนาหรืออุทิศที่ดินและอาณาเขตที่ดินให้แก่ศาสนา
กรมศิลปากรประกาศกำหนดจำนวนโบราณสถานสำหรับชาติ “วัดตีนดุง อำเภอโพนพิสัย ตำบลวัดหลวง” ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๕๓ วันที่ ๒๗ กันยายน ๒๔๗๙ และประกาศขึ้นทะเบียนโบราณวัตถุในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๑๐๘ ตอนที่ ๗๐ วันที่ ๑๙ เมษายน ๒๕๓๔ จำนวน ๒ รายการ ได้แก่ ศิลาจารึกวัดผดุงสุข ๑ และ ศิลาจารึกวัดผดุงสุข ๒
Wat Ph-dung Suk (Wat Thin Dung)
Wat Ph-dung Suk (original name: Wat Thin Dung) is located at Ban Thin Dung, Wat Luang Sub-district, Phon Phisai District, Nong Khai Province. It was permitted to establish the land in February 24, 1983. The complex consists of Ubosot, a square shape brick-stucco built in northeastern style, stated at the west. At the left side of Ubosot there are two brick-made stupas, which the first one only left with the base, unable to describe it design. The other was built in the visual of Lan Xang art, a square layout-based top with square-shaped lotuses body.
Two of Sema, a flat-shaped boundary stone, engraved with Tai Noi inscriptions were found within the temple. The first slab mentions the name of King Setthathirath given the land authority to Wat Sri Suwan in 1551. The second stone had inscriptions on both flat sides. The front side referred to Phra Ya Pak Chao (ruler of Pak Huai Luang), along with other nobles, donated the land to Maha Pa Chao. Other sentence on the back had the name “Sen Soulintha” who donated the land as religious property.
The Fine Arts Department has announced “Wat Thin Dung, Amphoe Phon Phisai, Tambon Wat Luang” in the Government Gazette, Volume 53, on September 27, 1936. It is later has been registered and published in the Government Gazette, Volume 108, Part 70, on April 19, 1991. The area of ancient monument is 7036 square meters.
นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวว่า เนื่องในโอกาสขึ้นปีใหม่ พุทธศักราช 2568กระทรวงวัฒนธรรม ได้จัดกิจกรรมของขวัญปีใหม่ให้กับประชาชน โดยกรมศิลปากร ร่วมจัดกิจกรรม ดังนี้
1. เปิดให้บริการและงดเก็บค่าเข้าชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุทยานประวัติศาสตร์ และโบราณสถานที่อยู่ในความดูแลของกรมศิลปากร (ยกเว้นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ศิลป พีระศรี อนุสรณ์ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชาวนาไทย) ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ รวม 3 วัน ระหว่างวันที่ 30 ธันวาคม 2567 ถึงวันที่ 1 มกราคม 2568 โดยพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติทั่วประเทศอัญเชิญพระพุทธรูปสำคัญออกให้พุทธศาสนิกชนสักการะเพื่อความเป็นสิริมงคลในเทศกาลปีใหม่ อีกด้วย
2. กิจกรรมสักการะ นบพระปฏิมา 9 นครามหามงคล 2568 สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร อัญเชิญพระพุทธรูปกอปรด้วยพุทธศิลป์อันงดงาม มีประวัติความเป็นมาจากนครโบราณต่าง ๆ ของไทย โดยมีพระพุทธสิหิงค์ พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ประจำพระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า) เป็นพระประธาน พร้อมด้วยพระพุทธรูปอีก 9 องค์ ได้แก่ พระพุทธรูปปางมารวิชัย เมืองเชียงใหม่ พระพุทธรูปยืนปางแสดงธรรม 2 พระหัตถ์ เมืองลพบุรี พระพุทธรูปปางมารวิชัย เมืองสรรคบุรี จ.ชัยนาท พระพุทธรูปยืนปางประทานอภัย เมืองสุโขทัย พระพิมพ์ลีลาในซุ้มเรือนแก้ว (พระกำแพงศอก) เมืองสุพรรณบุรี พระพุทธรูปปางมารวิชัย พระนครศรีอยุธยา พระพุทธรูปปางมารวิชัย เมืองนครศรีธรรมราช พระพุทธรูปยืนปางประทานอภัย 2 พระหัตถ์ เมืองพิษณุโลก และพระชัยเมืองนครราชสีมา นำมาประดิษฐานให้พุทธศาสนิกชนได้สักการบูชาเพื่อความเป็นสิริมงคลในวาระแห่งการเริ่มต้นศักราชใหม่ ณ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ระหว่างวันที่ 25 ธันวาคม 2567 ถึงวันที่ 5 มกราคม 2568 เวลา 09.00 – 16.00 น.
3. ชมพิพิธภัณฑ์ยามค่ำและท่องเที่ยวโบราณสถานยามราตรี เปิดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธี ให้เข้าชมความงดงามของเรือพระราชพิธี มรดกวัฒนธรรมอันทรงคุณค่าแห่งสายน้ำ ตั้งแต่เวลา 09.00 น. – 20.00 น. ระหว่างวันที่ 27 - 29 ธันวาคม 2567 พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จันทรเกษม จัดกิจกรรม Night at The Palace ย้อนเวลา ชมวัง 4 ศตวรรษ พระราชวังจันทรเกษม เปิดให้เข้าชมวันศุกร์ - อาทิตย์ เวลา16.30 - 21.00 น. (เฉพาะภายนอกอาคาร) และอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา เปิดให้เข้าชมวัดพระราม วัดมหาธาตุ วัดราชบูรณะ และวัดไชยวัฒนาราม จนถึงเวลา 21.00 น. ในวันศุกร์ – อาทิตย์ ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2568
4. เชิญชวนมอบหนังสือเป็นของขวัญปีใหม่ “ให้หนังสือเท่ากับให้ปัญญา” นำหนังสือที่จัดพิมพ์โดยหน่วยงานในสังกัดกรมศิลปากร ลดราคาสูงสุด 20% ตั้งแต่บัดนี้ถึง 15 มกราคม 2568 พร้อมกันนี้ได้จัดพิมพ์สมุดบันทึก “เรือพระราชพิธี ศรีแห่งนครา” ให้เลือกสรรเป็นของขวัญปีใหม่ สามารถเลือกซื้อได้ที่ร้านหนังสือกรมศิลปากร ชั้น 1 อาคารเทเวศร์ หรือสั่งซื้อหนังสือทางออนไลน์ได้ที่ https://bookshop.finearts.go.th
5. กิจกรรม Night Library อ่านกันยามค่ำ ณ สำนักหอสมุดแห่งชาติ วันที่ 1 มกราคม - 31 มีนาคม 2568 หอสมุดแห่งชาติ เปิดให้บริการ อาคาร 1 ชั้น 1, 2 และอาคาร Smart Library วันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 19.30 น. วันเสาร์ – อาทิตย์ เวลา 09.00 – 17.00 น.
เมื่อวันที่ ๒ เมษายน ๒๕๕๙ เวลา ๗.๐๐ น. นายสหภูมิ ภูมิธฤติรัฐ รองอธิบดีกรมศิลปากร ผู้ทรงคุณวุฒิกรมศิลปากร ผู้บริหาร ข้าราชการ และประชาชน ร่วมทำบุญเนื่องในวันคล้ายวันพระราชสมภพในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราขกุมารี หลังจากนั้น เวลา ๙.๐๐ น. รองอธิบดีกรมศิลปากร เป็นประธานเปิดนิทรรศการเนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย พุทธศักราช ๒๕๕๙ และเปิดการสัมมนา เรื่อง "จารึกภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง" ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิมาย จ.นครราชสีมา
ผู้เข้มแข็งเท่านั้นที่จะได้ครองอำนาจ! ๕ ยุวกษัตริย์กรุงศรีอยุธยา ถูกผู้ใหญ่ฆ่าเรียบ!! โดย โรม บุนนาค
เมื่อพระเจ้าอู่ทองย้ายราชธานีจากเมืองอโยธยา ข้ามฟากแม่น้ำมาสถาปนากรุงศรีอยุธยาขึ้นในปี พ.ศ.๑๘๙๓ โปรดเกล้าฯให้ขุนหลวงพงั่ว ซึ่งเป็นพี่มเหสี เป็น สมเด็จพระบรมราชาธิราช ไปครองเมืองสุพรรณบุรี และให้ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอพระราเมศวร ไปครองเมืองลพบุรี
พระเจ้าอู่ทองครองราชย์อยู่ ๒๐ ปีสวรรคต พระราเมศวร จึงเสด็จจากเมืองลพบุรี มาครองราชย์แทน
พระราเมศวรครองราชย์อยู่เกือบปี สมเด็จพระบรมราชาธิราช ผู้เป็นพระเชษฐาของพระมารดา ก็เสด็จมาจากเมืองสุพรรณบุรี สมเด็จพระราเมศวรออกไปต้อนรับแล้วอัญเชิญเข้าพระนคร ถวายราชสมบัติให้ จากนั้นก็กลับไปครองเมืองลพบุรีตามเดิม
สมเด็จพระบรมราชาธิราชครองราชย์อยู่ ๑๓ ปีสวรรคต เจ้าทองจันทร์ หรือ ทองลัน ราชโอรสวัย ๑๕ พรรษาขึ้นครองราชย์แทน ซึ่งนับเป็นยุวกษัตริย์พระองค์แรกของกรุงศรีอยุธยา แต่ครองราชย์อยู่ได้เพียง ๗ วันเท่านั้น พงศาวดารบันทึกไว้ว่า
“สมเด็จพระราเมศวรเสด็จลงมาแต่เมืองลพบุรี เข้าในพระราชวังได้ กุมเอาเจ้าทองจันทร์ได้ ให้พิฆาตเสียวัดโคกพระยา แล้วพระองค์ได้เสวยราชสมบัติ”
พงศาวดารไม่ได้บันทึกรายละเอียดของเหตุการณ์ช่วงนี้ไว้ นอกจากสันนิษฐานได้ว่า ผู้ที่จะครองราชย์ได้ก็คือผู้ที่เข้มแข็งที่สุดในเวลานั้น และผู้ที่อ่อนแอกว่าก็จะต้องถูกกำจัดไปให้สิ้นปัญหา ไม่ปล่อยให้บ่มตัวจนกลับมาเป็นผู้เข้มแข็งขึ้นอีก
ยุวกษัตริย์องค์ต่อไปที่ต้องตกเป็นเหยื่อของการช่วงชิงอำนาจ ก็คือ พระรัษฎาธิราช ผู้มีพระชนม์เพียง ๕ พรรษา
สมเด็จพระรัษฎาธิราชเป็นราชโอรสของสมเด็จพระบรมราชาหน่อพุทธางกูร ซึ่งครองราชย์อยู่ ๔ ปีเศษก็สวรรคตด้วยโรคไข้ทรพิษ และไม่ได้ทรงแต่งตั้งรัชทายาทไว้ บรรดาขุนนางข้าราชการจึงอัญเชิญสมเด็จพระรัษฎาธิราชกุมาร ซึ่งมีพระชนมายุเพียง ๕ พรรษาขึ้นครองราชย์
เมื่อครองราชย์อยู่เพียง ๕ เดือนเศษ พระไชยราชา สมเด็จอาซึ่งเป็นพระอนุชาของสมเด็จพระบรมราชาหน่อพุทธางกูรอันเกิดจากพระสนม และถูกส่งไปครองเมืองพิษณุโลก ก็ยกกองทัพมากรุงศรีอยุธยา จับสมเด็จพระรัษฎาธิราชไปประหารชีวิต ทั้งๆที่ตอนนั้นสมเด็จพระรัษฎาธิราชก็คงรู้เรื่องราวพอๆกับเด็ก ๕ ขวบ ยังไม่อาจเป็นพิษเป็นภัยกับใครได้ทั้งสิ้น แต่ก็ไม่รู้ว่าเมื่อโตขึ้นมาแล้วจะมีฤทธิ์เดชอย่างใด หรืออาจจะถูกใครจับเชิดมาทวงราชบัลลังก์คืน จึงต้องกำจัดไม่ให้เป็นเสี้ยนหนามต่อไป
ยุวกษัตริย์องค์ที่ ๓ ของกรุงศรีอยุธยาก็คือ พระยอดฟ้า ซึ่งก็ไม่แคล้วที่จะต้องประสบชะตากรรมเช่นเดียวกับยุวกษัตริย์ ๒ พระองค์แรก พงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับพระราชหัตถเลขา กล่าวไว้ว่า
“....ฝ่ายสมณพราหมณ์จารย์มุขมนตรี กวีราช นักปราชญ์ บัณฑิต โหราราชครูสโมสรพร้อมกันประชุมเชิญพระยอดฟ้าพระชนม์ได้ ๑๑ พรรษา เสด็จผ่านพิภพถวัลย์ราชประเพณีสืบศรีสุริยวงศ์อยุธยาต่อไป แล้วนางพระยาแม่อยู่หัวศรีสุดาจันทร์ผู้เป็นสมเด็จพระชนนี ช่วยทำนุบำรุงประคองราชการแผ่นดิน....”
ความจริงแล้ว พระยอดฟ้าขึ้นครองราชย์ก็แต่ในนาม อำนาจทั้งหมดอยู่ในกำมือของเจ้าแม่อยู่หัวศรีสุดาจันทร์ นางจึงเป็นผู้มีอำนาจสูงสุดในแผ่นดิน แต่การกำจัดพระยอดฟ้าก็เป็นความจำเป็น ด้วยเหตุที่นางได้ลอบลักสมัครสังวาสกับขุนวรวงศา และเรื่องกำลังอื้อฉาวขึ้นเรื่อยๆ แม้นางได้พยายามกำจัดข้าราชการที่เป็นปฏิปักษ์แล้วก็ตาม แต่ก็ยังคงมีข้าราชการที่ไม่ยอมจงรักภักดีอีก ทั้งพระยอดฟ้าก็โตขึ้นทุกวัน อาจไปสมคบกับข้าราชการเหล่านั้น
พงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขาได้บันทึกไว้อีกว่า
“....ขณะนั้นนางพระยาแม่อยู่หัวศรีสุดาจันทร์มีครรภ์ด้วยขุนวรวงศาธิราช จึงมีพระเสาวนีย์ตรัสปรึกษาด้วยหมู่มุขมนตรีทั้งปวงว่า พระยอดฟ้าโอรสเรายังเยาว์นัก สาละวนแต่จะเล่น จะว่าราชการแผ่นดินนั้น เห็นเหลือสติปัญญานัก อนึ่งหัวเมืองฝ่ายเหนือเล่าก็ยังมิปกติ จะไว้ใจแต่ราชการมิได้ เราคิดจะให้ขุนวรวงศาธิราชว่าราชการแผ่นดิน กว่าราชบุตรเราจะจำเริญวัยขึ้น จะเห็นเป็นประการใด ท้าวพระยามุขมนตรีรู้พระอัชฌาสัยก็ทูลว่า ซึ่งตรัสโปรดมานี้ก็ควรอยู่....”
จากนั้นนางจึงมีเสาวนีย์ตรัสสั่งให้เอาราชยาน เครื่องสูงแตรสังข์กับขัตติยวงศ์ ออกไปรับขุนวรวงศาเข้ามาในพระราชวัง แล้วตั้งพระราชพิธีราชาภิเษก ยกขุนวรวงศาขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดินแทนพระยอดฟ้า
จากนั้นชะตากรรมของยุวกษัตริย์อีกองค์ก็มาถึง เมื่อพระราชพงศาวดารบันทึกไว้ว่า
“ครั้นศักราช ๘๙๑ ปีฉลู เอกศก (พ.ศ.๒๐๗๒) ณ วันอาทิตย์ ขึ้น ๕ ค่ำ เดือน ๘ ขุนวรวงศาธิราชเจ้าแผ่นดิน คิดกันกับแม่อยู่หัวศรีสุดาจันทร์ให้เอาพระยอดฟ้าไปประหารชีวิตเสีย ณ วัดโคกพระยา แต่พระศรีศิลป์น้องชายพระชนม์ได้เจ็ดพรรษานั้นเลี้ยงไว้ สมเด็จพระยอดฟ้าอยู่ในราชสมบัติปีกับสองเดือน”
ขุนวรวงศาครองราชย์อยู่ได้เพียง ๔๒ วัน กรรมก็ตามทัน เหล่าขุนนางที่จงรักภักดีต่อแผ่นดิน ได้ร่วมกันวางแผนสังหารพร้อมทั้งเจ้าแม่อยู่หัวศรีสุดาจันทร์และบุตรที่เกิดจากขุนวรวงศา
หลังสิ้นแผ่นดินสมเด็จพระยอดฟ้าแล้ว กรุงศรีอยุธยาก็ว่างเว้นยุวกษัตริย์เกือบ ๑๐๐ ปี จนในปี ๒๑๗๑ จึงมียุวกษัตริย์องค์ที่ ๔ คือ สมเด็จพระเชษฐาธิราช ขึ้นครองราชย์เมื่อพระชนมายุ ๑๔ พรรษา ในวัยเดียวกับพระเจ้าทองลัน ส่วนยุวกษัตริย์องค์ที่ ๕ ก็คือ สมเด็จพระอาทิตย์วงศ์ ซึ่งถูกยกขึ้นเป็นกษัตริย์ขณะพระชนม์เพียง ๙ พรรษา ก็ไม่พ้นชะตากรรมยุวกษัตริย์อีกเช่นกัน ซึ่งผู้ที่กำจัดยุวกษัตริย์ ๒ รายหลังนี้ก็คือ สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง โอรสลับของสมเด็จพระเอกาทศรถที่เกิดจากผู้หญิงชาวบ้านเกาะบางปะอิน ซึ่งไม่มีสิทธิ์ในราชบัลลังก์ แต่ก็เพราะความเด็ดขาดเข้มแข็งจึงไต่เต้าขึ้นสู่ราชบัลลังก์ได้ และครองราชย์อย่างยาวนานถึง ๒๕ ปี โดยปราศจากศัตรูทั้งภายนอกภายใน แม้พม่าข้าศึกก็ยังไม่กล้ามาระราน
การครองราชย์ ก็คือการครองอำนาจในการเป็นผู้นำประเทศ สมควรที่จะเป็นผู้เข้มแข็งที่สุด ในยุคกรุงศรีอยุธยาที่ประชาชนเป็นเพียงข้าแผ่นดิน ไม่มีสิทธิ์ไม่มีเสียงและไม่มีพลังทางการเมือง จึงไม่อาจคุ้มครองความชอบธรรมใดๆได้ ยุวกษัตริย์ผู้ยังอ่อนแอจึงไม่เหลือรอดแม้แต่พระองค์เดียว
ขนมโมทกะ หรือขนมโมทัก (Modak) คำว่า โมทกะ (อ่านว่า โม-ทะ -กะ) มาจากภาษาสันสกฤต แปลว่า ยินดี พึงพอใจ รื่นเริงบันเทิงใจ เป็นขนมที่องค์สมเด็จพระพิฆเนศวรทรงโปรดมาก บางที ชาวทมิฬเรียกขนมนี้ว่า ‘Korukkattai’ ในบางภาคของอินเดียเรียกว่าขนม ลฑฺฑู(Laddhu) ก็มี
ขนมชนิดนี้เป็นลูกกลม ๆ ขนาดมะนาวลูกเล็ก ๆ มีไส้ ภายนอกเป็นแป้งสีขาวห่อไส้แล้วนึ่งให้สุก ไส้ทำด้วยมะพร้าวขูดผัดกับน้ำมันพืช ผสมเนยใส ผงกระวาน น้ำตาลทรายแดง และเกลือจะมีรสค่อนข้างหวาน แต่บางที่ก็ทำเป็นลูกมียอดแหลม ๆ คล้ายผลกระเทียม
ส่วนขนมลฑฺฑู (ได้ยินคนอินเดียออกเสียงว่า ‘หล่า-ดู๊’) ก็เป็นอีกเวอร์ชั่นหนึ่งของขนม โมทกะ ทำจากแป้งถั่ว (แป้งจะนา) ทอดในน้ำมันเนย ใส่น้ำตาลหรือน้ำเชื่อม ทอดจนสุก ทำเป็นขนมกลมๆ บางทีทำด้วยแป้งถั่วเหลืองหรือทำด้วยมะพร้าวก็ได้ เอามะพร้าวขูดผสมกับแป้งสาลีหรือแป้งข้าวเจ้า ใส่น้ำตาลแล้วทอดจนสุก
สำหรับคนไทยมีขนมชนิดหนึ่ง เรียกว่า ขนมต้ม หรือ ขนมต้มขาว มีลักษณะเป็นแป้งลูกกลมมีไส้เป็นมะพร้าวเคี่ยวกับน้ำตาลปึกอย่างหน้ากระฉีก ขนมต้มขาวมีมะพร้าวขูดเป็นเส้นโรยอยู่ภายนอก คนไทยนิยมใช้ขนมต้มขาวบูชาพระพิฆเนศหรือพระภูมิแทนขนมโมทกะ ปัจจุบันมีผู้คิดทำขนมโมทกะขึ้นในประเทศไทย คนไทยจึงเริ่มรู้จักชื่อขนมโมทกะมากขึ้น จะสังเกตได้ว่า พระพิฆเนศวรเป็นเทพองค์เดียวที่ถือขนม โดยในยุคต้นๆ รูปเคารพของพระองค์มักมีงวงตวัดไปเสวยขนมในพระหัตถ์ด้วย และในทางเทวปรัชญาก็ถือว่าเป็นการแสดงถึงความอุดมสมบูรณ์
ข้อมูลและภาพประกอบจาก
ผาสุข อินทราวุธ. รูปเคารพในศาสนาฮินดู. กรุงเทพฯ: ภาควิชาโบราณคดี คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัย ศิลปากร, ๒๕๒๒
http://www.weloveshopping.com/template/a05/show_article.php?shopid=2919&qi d=55609
http://board.palungjit.com
http://www.royin.go.th/th/knowledge/detail.php?ID=3152 อ้างอิงจาก บทวิทยุรายการ " รู้ รัก ภาษาไทย" ออกอากาศทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ ๒๓ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๒ เวลา ๗.๐๐-๗.๓๐ น
http://chefinyou.com/2010/09/vella-kozhukattai/
http://www.exoticindiaart.com/product/sculptures/lord-ganesha-enjoying-his-favorite-sweet- modak-RO99/
http://festivals.iloveindia.com/ganesh-chaturti/modak.html
http://www.kairalishop.com/index.php?main_page=product_info&cPath=85&products_id=388
http://www.christies.com/LotFinder/lot_details.aspx?intObjectID=5416825
http://www.thecityreview.com/w07cas.html
***บรรณานุกรม***
หนังสือหายาก
อบรมผู้บังคับกองศูนย์การฝึกชัยยะเชียงใหม่ รุ่นที่ 3. เชียงใหม่ : โรงพิมพ์กลางเวียง, ๒๕๐๘.