ขนมโมทกะ หรือขนมโมทัก (Modak) คำว่า โมทกะ (อ่านว่า โม-ทะ -กะ) มาจากภาษา
สันสกฤต แปลว่า ยินดี พึงพอใจ รื่นเริงบันเทิงใจ เป็นขนมที่องค์สมเด็จพระพิฆเนศวรทรงโปรด
มาก บางที ชาวทมิฬเรียกขนมนี้ว่า ‘Korukkattai’ ในบางภาคของอินเดียเรียกว่าขนม ลฑฺฑู
(Laddhu) ก็มี
ขนมชนิดนี้เป็นลูกกลม ๆ ขนาดมะนาวลูกเล็ก ๆ มีไส้ ภายนอกเป็นแป้งสีขาวห่อไส้แล้วนึ่ง
ให้สุก ไส้ทำด้วยมะพร้าวขูดผัดกับน้ำมันพืช ผสมเนยใส ผงกระวาน น้ำตาลทรายแดง และเกลือ
จะมีรสค่อนข้างหวาน แต่บางที่ก็ทำเป็นลูกมียอดแหลม ๆ คล้ายผลกระเทียม
ส่วนขนมลฑฺฑู (ได้ยินคนอินเดียออกเสียงว่า ‘หล่า-ดู๊’) ก็เป็นอีกเวอร์ชั่นหนึ่งของขนม
โมทกะ ทำจากแป้งถั่ว (แป้งจะนา) ทอดในน้ำมันเนย ใส่น้ำตาลหรือน้ำเชื่อม ทอดจนสุก ทำเป็น
ขนมกลมๆ บางทีทำด้วยแป้งถั่วเหลืองหรือทำด้วยมะพร้าวก็ได้ เอามะพร้าวขูดผสมกับแป้งสาลี
หรือแป้งข้าวเจ้า ใส่น้ำตาลแล้วทอดจนสุก
สำหรับคนไทยมีขนมชนิดหนึ่ง เรียกว่า ขนมต้ม หรือ ขนมต้มขาว มีลักษณะเป็นแป้งลูก
กลมมีไส้เป็นมะพร้าวเคี่ยวกับน้ำตาลปึกอย่างหน้ากระฉีก ขนมต้มขาวมีมะพร้าวขูดเป็นเส้นโรยอยู่
ภายนอก คนไทยนิยมใช้ขนมต้มขาวบูชาพระพิฆเนศหรือพระภูมิแทนขนมโมทกะ ปัจจุบันมีผู้คิด
ทำขนมโมทกะขึ้นในประเทศไทย คนไทยจึงเริ่มรู้จักชื่อขนมโมทกะมากขึ้น
จะสังเกตได้ว่า พระพิฆเนศวรเป็นเทพองค์เดียวที่ถือขนม โดยในยุคต้นๆ รูปเคารพของ
พระองค์มักมีงวงตวัดไปเสวยขนมในพระหัตถ์ด้วย และในทางเทวปรัชญาก็ถือว่าเป็นการแสดงถึง
ความอุดมสมบูรณ์
ศิลปากร, ๒๕๒๒
d=55609
รู้ รัก ภาษาไทย" ออกอากาศทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ ๒๓ สิงหาคม
พ.ศ.๒๕๕๒ เวลา ๗.๐๐-๗.๓๐ น
modak-RO99/
(จำนวนผู้เข้าชม 47910 ครั้ง)