ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,511 รายการ

เลขทะเบียน : นพ.บ.218/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  50 หน้า ; 5 x 59 ซ.ม. : ชาดทึบ-ล่องชาด-ล่องรัก-ลานดิบ ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 111 (159-169) ผูก 1 (2565)หัวเรื่อง : พระธรรม 3 ไตร --เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


เลขทะเบียน : นพ.บ.357/6ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 70 หน้า ; 4.5 x 53.5 ซ.ม. : ล่องชาด ; ไม้ประกับธรรมดาชื่อชุด : มัดที่ 138  (402-410) ผูก 6 (2565)หัวเรื่อง : สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (วิภังคปริจเฉท อภิธรรมปัฏฐาน)--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม



ชื่อผู้แต่ง          ก่องแกว วีระประจักษ์ และวิรัตน์ อุนนาทรวรางกูร ชื่อเรื่อง            คัมภีร์ใบลานฉบับหลวงในสมัยรัตนโกสินทร์ ครั้งที่พิมพ์        - สถานที่พิมพ์     กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์       โรงพิมพ์อมรินทร์การพิมพ์ ปีที่พิมพ์           ๒๕๒๗ จำนวนหน้า       ๔๖ หน้า หมายเหตุ         กองหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร จัดพิมพ์เนื่องในโอกาสฉลองครบรอบ ๗๐๐ ปีลายสือไทย พ.ศ. ๒๕๒๗                         คัมภีร์ใบลานฉบับหลวง เป็นหนังสือที่รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของคัมภีร์ใบลาน การสร้างคัมภีร์ใบลานฉบับหลวงในสมัยรัตนโกสินทร์ และลักษณะของคัมภีร์ใบลานที่สร้างในสมัยรัตนโกสินทร์ เพื่อให้สาธารณชนได้ศึกษาถึงเอกลักษณ์ และคุณค่าของใบลานแต่ละฉบับ


ชื่อเรื่อง : สัญญาบางฉบับระหว่างประเทศไทยกับต่างประเทศ ชื่อผู้แต่ง : - ปีที่พิมพ์ : 2498 สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์ : วัดประยูรวงศาวาส จำนวนหน้า : 134 หน้า สาระสังเขป : เป็นหนังสืออนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ มหาอำมาตย์ตรี พระยาประภากรวงศ์ (ว่อง บุนนาค) ป.ม., ท.จ. ณ เมรุวัดประยูรวงศาวาส ธนบุรี ในวันที่ 29 มีนาคม 2498 และในหนังสือเล่มนี้ได้จัดพิมพ์เรื่องสัญญาบางฉบับระหว่างประเทศไทยกับต่างประเทศไว้ด้วย






      50Royalinmemory ๕ เมษายน ๒๓๙๙ (๑๖๖ ปีก่อน) - วันประสูติพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทองกองก้อนใหญ่ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม [พระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น ๔ พระองค์เจ้าชั้นเอก]       พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๔) กับเจ้าจอมมารดาสังวาล พระสนมโท (สกุลเดิม ณ ราชสีมา) (พระนามเดิม : พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าทองกองก้อนใหญ่) ดำรงพระอิสริยยศ “พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม” เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๒ มีพระโอรส-ธิดา ๒๖ พระองค์ สิ้นพระชนม์วันที่ ๒๕ มกราคม ๒๔๖๗ พระชันษา ๖๙ ปี ทรงเป็นต้นราชสกุล ทองใหญ่ ณ อยุธยา (ดูเพิ่มเติมใน กรมศิลปากร, ราชสกุลวงศ์, พิมพ์ครั้งที่ ๑๔, (กรุงเทพฯ: สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, ๒๕๕๔), ๕๘.)        Cigarette Cards ชุดเจ้านายไทย (๑ สำรับ ประกอบด้วย พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ พระฉายาสาทิสลักษณ์ และรูปเขียนคล้ายพระรูปพระบรมวงศานุวงศ์บนแผ่นกระดาษ จำนวน ๕๐ รูป) ลำดับที่ ๓๑ โดยบริษัท ยาสูบซำมุ้ย จำกัด (SUMMUYE & CO) ผลิตราวปี พ.ศ. ๒๔๗๗ (หมายเลขทะเบียน ๒/๒๕๑๖/๑) มีประวัติระบุว่า คุณหลวงฉมาชำนิเขต มอบให้เมื่อวันที่ ๙ มกราคม ๒๕๑๖             (เผยแพร่โดย ศรัญ กลิ่นสุคนธ์ ภัณฑารักษ์ / เทคนิคภาพ อริย์ธัช นกงาม ภัณฑารักษ์ปฏิบัติการ กลุ่มทะเบียน คลังพิพิธภัณฑ์และสารสนเทศ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร)


         หนังสือ “ทรัพยศาสตร์” เขียนโดยมหาอํามาตย์เอก พระยาสุริยานุวัตร นักเศรษฐศาสตร์คนแรกของประเทศไทย ตำราเศรษฐศาตร์สมัยใหม่เล่มแรกของประเทศ ซึ่งหนังสือดังกล่าวเป็นการนำเสนอแนวความคิดทางเศรษฐศาสตร์ของ พระยาสุริยานุวัตร (เกิด บุนนาค พ.ศ. 2405 - 2479) ซึ่งเป็นบุตรของพระยามนตรีสุริยวงศ์ (ชุ่ม บุนนาค) สมุหกลาโหมฝ่ายเหนือกับหม่อมศิลา เมื่อแรกรับราชการมีตำแหน่งเป็นมหาดเล็กวิเศษ (เวรฤทธิ์) ภายหลังได้เลื่อนขั้นตำแหน่งตามโอกาส เป็นอัครราชทูตประจำประเทศฝรั่งเศส อิตาลี สเปน และรัสเซีย  เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๐ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสยุโรปเป็นครั้งแรกพระยาสุริยานุวัตรได้มารับเสด็จที่เมืองเวนิสประเทศอิตาลี จากพระราชหัตถเลขาที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานแก่พระยาสุริยานุวัตร เห็นได้ว่าในขณะนั้นเป็นผู้ใกล้ชิดที่ไว้วางพระราชหฤทัยของพระองค์ และทรงมอบหมายให้เป็นผู้ดูแลการศึกษาของพระราชโอรสที่กำลังศึกษาอยู่ในยุโรป  พ.ศ. 2449 พระยาสุริยานุวัตรได้รับแต่งตั้งเป็นเสนาบดีกระกระทรวงการคลัง ดำรงตำแหน่งระหว่าง พ.ศ. 2449 - 2450  ทั้งนี้บ้านสุริยานุวัตร เป็นบ้านที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานเพื่อตอบแทนคุณความดี ในการปฏิบัติราชการด้วยความสามารถ ความเพียร และซื่อสัตย์สุจริตมาโดยตลอดของ "พระยาสุริยานุวัตร” ออกแบบก่อสร้างโดยนายมารีโอ ตามัญโญ สถาปนิกชาวอิตาเลียน ก่อสร้างขึ้นในราวปี 2448 ที่ออกแบบก่อสร้างพระที่นั่งอนันตสมาคม ทั้งนี้อาคารดังกล่าวเป็นที่ทำงานถาวรหลังแรกของสำนักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์) หน่วยงานด้านการวางแผนพัฒนาด้านเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ            หนังสือทรัพยศาสตร์ เป็นการนําเสนอแนวความคิดทางเศรษฐศาสตร์ที่เขียนโดยคนไทย ในปี พ.ศ. 2454 ประกอบด้วยหนังสือ ๓ เล่ม ได้แก่ ทรัพยศาสตร์ ชั้นต้น หรือ เล่ม 1 และ เล่ม 2  ส่วนเล่ม 3 ใช้ชื่อหนังสือ เศรษฐกิจ-การเมือง หรือเศรษฐวิทยา จัดพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.2477 หนังสือดังกล่าวสะท้อนภาพโครงสร้างและปัญหาความเหลื่อมล้ำในสังคมไทย ผู้เขียนมุ่งหวังจะเห็นประเทศไทยพัฒนาไปสู่ความมั่นคั่ง เข้มแข็ง เป็นอิสระ เป็นตัวของตัวเองและมีความเป็นธรรมในสังคม พร้อมทั้งนำเสนอแนวความคิดที่ก้าวหน้าจนแทบไม่มีใครในยุคนั้นตามทัน            ความสำคัญของหนังสือทรัพยศาสตร์อยู่ที่การวิเคราะห์เศรษฐกิจไทยภายใต้ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ชี้สภาพความยากจนของชาวนาไทยและอธิบายถึงความยากจนอันเกิดจากการถูกขูดรีด การเอารัดเอาเปรียบของระบบนายทุน ทั้งนี้เป็นผลจากที่ดินและทุน นับว่าเป็นหนังสือเศรษฐกิจการเมืองไทยเล่มแรกที่วิเคราะห์และวิจารณ์ระบบศักดินา เสริมด้วยเรื่องนายทุนของประเทศไทยพร้อมกับวิจารณ์ระบบที่เป็นมา พระยาสุริยานุวัตรเสนอให้เปลี่ยนโครงสร้างระบบกรรมสิทธิ์ของไทยใหม่ กระจายกรรมสิทธิ์ในเรื่องของการผลิตก่อน และสมาชิกนำปัจจัยมารวมกันในขบวนการผลิตในรูปแบบสหกรณ์ โดยยึดหลักการช่วยเหลือซึ่งกันและกันแทนการแข่งขันและการขูดรีด           เมื่อพิจารณาความรู้จาก “ทรัพยศาสตร์” จะทำให้ผู้อ่านเห็นถึงโครงสร้างกรรมสิทธิ์ และการผลิตของเศรษฐกิจไทยในอดีต สภาพความยากจนของชาวนาไทย ซึ่งหนังสือดังกล่าวได้เปิดเผยความจริงของชีวิตภายใต้ระบบศักดินา การมีระบบชนชั้น ซึ่งถือได้ว่าการอ่านทรัพยศาสตร์คือการรับรู้ปัญหาของเศรษฐกิจไทยเมื่อครั้ง 63 ปีที่ผ่านมา ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบแล้วไม่ต่างกับปัญหาเศรษฐกิจไทยในปัจจุบัน   ------------------------------------------------------ บรรณานุกรม สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.  ทรัพยศาสตร์ ชั้นต้น เล่ม 1 - ๒.  กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ 21 เซ็นจูรี,  2565. สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.  เศรษฐกิจ-การเมือง หรือ เศรษฐวิทยา เล่ม 3.  กรุงเทพฯ:  โรงพิมพ์ 21 เซ็นจูรี,  2565. “บ้านสุริยานุวัตร” จากบ้านของนักเศรษฐศาสตร์ไทยคนแรก สู่อาคารสำนักงานของสภาพัฒน์.  [ออนไลน์].  สืบค้นเมื่อ ๑๖ พฤษภาคม 2565, จาก: ttps://www.nesdc.go.th/ewt_news.php?nid=7028&filename=index  ------------------------------------------------------- เรียบเรียงข้อมูลโดย : อรวรรณ เพ็งฉิม บรรณารักษ์ชำนาญการ สำนักหอสมุดแห่งชาติ  




       ชามเบญจรงค์ลายเทพนมและครุฑ       สมัยรัตนโกสินทร์ พุทธศตวรรษที่ ๒๔       สมบัติเดิมของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร      ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ ณ พระที่นั่งวสันตพิมาน (ชั้นล่าง) หมู่พระวิมาน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร       ชามเบญจรงค์ ก้นลึก ด้านนอกชามเขียนลายเทพพนมและครุฑคั่นด้วยลายก้านขดบนพื้นสีแดง ลายเทพนมลักษณะเป็นเทวดาครึ่งองค์ แสดงการทรงเครื่อง สวมมงกุฎยอดแหลม มีกรรเจียกจร กรองศอ สร้อยสังวาลและทองกร ท่อนล่างเป็นช่อดอกไม้ ส่วนครุฑทำท่าสยายปีก สวมเครื่องประดับ ปากชามผายเขียนลายดอกไม้สีชมพูบนพื้นสีเขียว ขอบปากชามเลี่ยมทองเหลือง ตัวชามสอบลง ขอบก้นชามเลี่ยมทองเหลืองเช่นกัน        คำว่า “เบญจรงค์” เป็นคำภาษาสันสกฤตสองคำคือ คำว่า “เบญจ” (ห้า) และคำว่า “รงค์” (สี) จึงหมายถึงสิ่งที่มี ๕ สี สันนิษฐานว่าเบญจรงค์เป็นคำที่ใช้เรียกเครื่องภาชนะดินเผาในวัฒนธรรมจีนที่ตกแต่งบนผิวภาชนะด้วยห้าสี ได้แก่ สีแดง สีเหลือง สีดำ สีขาว และสีเขียว ซึ่งมีชื่อเรียกภาชนะประเภทนี้ว่า “อู่ไฉ่” (Wucai)* อย่างไรก็ตามเครื่องเบญจรงค์ไม่จำเป็นต้องมี ๕ สีเสมอไป เนื่องจากภาชนะบางชิ้นปรากฏสีบนภาชนะมากกว่า ๕ สี และมีสีที่เพิ่มเติมขึ้นมา เช่น สีชมพู สีฟ้า เป็นต้น สะท้อนถึงความสามารถของช่างที่ตกแต่งได้หลายสีด้วยเทคนิคการเขียนสีผสมเคลือบ (Enamel)        โดยเครื่องเบญจรงค์น่าจะเป็นของใช้ในราชสำนักมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา และได้รับความนิยมในหมู่ราชสำนักสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ ปรากฏในคำอธิบายเรื่อง “พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร รัชกาลที่ ๒” ฉบับสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ความตอนหนึ่งกล่าวว่า       “...ของซึ่งเกิดขึ้นในรัชกาลที่ ๒ มีอิกอย่าง ๑ คือ เครื่องถ้วยชามเบญจรงค์ แลลายน้ำทอง เครื่องเบญจรงค์ครั้งกรุงเก่าที่ไทยให้อย่างลายให้ทำ มีแต่ลายเทพพนมนรสิงห์ พื้นนอกสีดำ ข้างในสีเขียว ครั้งรัชกาลที่ ๑ ได้เริ่มให้อย่างไปทำลายแลสีแปลกออกไปบ้าง แต่ของที่ดีเช่นถ้วยชามลายน้ำทอง ผูกลวดลายเปนดอกกุหลาบแลดอกไม้อื่น ๆ แลโถชามเบญจรงค์เปลี่ยนเปนสีต่าง ๆ เปนรูปต่าง ๆ คือ ราชสีห์และครุธ เปนต้น มามีขึ้นในรัชกาลที่ ๒ ซึ่งนับว่าเปนของอย่างเอกที่พบอยู่ในเวลานี้ แต่จะเริ่มทำเมื่อปีไรไม่พบจดหมายเหตุ จึงไม่ได้ลงไว้ตามศักราช เครื่องลายน้ำทองแลเบญจรงค์ที่ทำต่อมา ลวดลายแลฝีมือทำสู้ครั้งรัชกาลที่ ๒ ไม่ได้...”       แม้กระทั่งวรรณคดีในสมัยรัชกาลที่ ๒ ยังกล่าวถึง “เครื่องเบญจรงค์” ด้วยเช่นกัน ดังตัวอย่างในโคลงนิราศนรินทร์ โดยนายนรินทร์ธิเบศร์ (อิน) สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงสันนิษฐานว่าแต่งขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๒ โดยมหาดเล็กของกรมพระราชวังบวรสถานมงคล ในคราวที่ยกทัพไปรับศึกพม่าที่เมืองชุมพร เนื้อเรื่องตอนนี้กล่าวถึงระหว่างทางที่นายนรินทร์ธิเบศร์ (อิน) กำลังเดินทางจากบ้านแหลมไปยังเมืองเพชรบุรี ได้พรรณาถึงนางเป็นที่รัก ดังความว่า   ๏ พิศพานจานแจ่มเจ้า เบญจรงค์ รัตน์เอย โหยบ่เห็นอนงค์ นั่งน้อม นพนิตแน่งนางผจง จัดมอบ มาฤๅ จากรักจากรสพร้อม ไพร่ใช้ชายเคียง ฯ         แหล่งผลิตเครื่องเบญจรงค์ในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์นั้น พบว่าน่าจะมาจากแหล่งเตาในประเทศจีน บริเวณพื้นที่จีนตอนใต้ ได้แก่ เมืองจิ่งเต๋อเจิ้น มณฑลเจียงซี เมืองเฉวียนโจว เมืองจางโจม มณฑลฝูเจี้ยน เมืองเฉาโจว (แต้จิ๋ว) เมืองกว่างโจว และเมืองฝอซาน (ฝัวซาน) มณฑลกว่างตง (กวางตุ้ง) โดยทางไทยน่าจะให้ช่างเขียนลายต้นแบบ อาทิ รูปสัตว์หิมพานต์ เทวดา เทพนม ลายกนก ส่งไปให้ช่างจีนทำ ซึ่งวิธีการดังกล่าวเป็นวิธีการเดียวกับการสั่งซื้อ “ผ้าลายอย่าง” จากอินเดีย ที่บนผืนผ้าปรากฏลวดลายอย่างไทย   *เครื่องภาชนะดินเผาแบบอู่ไฉ่ (Wucai) เป็นที่นิยมในรัชสมัยจักรพรรดิว่านลี่ (Wan-li Emperor) แห่งราชวงศ์หมิง (Ming Dynasty) ประมาณ พ.ศ. ๒๑๑๖-๒๑๖๓ และน่าจะเป็นต้นแบบของการทำเครื่องเบญจรงค์ส่งออกมาที่ไทยนับตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนปลายและรัตนโกสินทร์ตอนต้น     อ้างอิง กรมศิลปากร. ประณีตศิลป์สยาม ณ หมู่พระวิมาน พระราชวังบวรสถานมงคล. กรุงเทพฯ: รุ่งศิลป์การพิมพ์, ๒๕๖๕. ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา. พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๒. พิมพ์ครั้งที่ ๖. พระนคร: บุญส่งการพิมพ์, ๒๕๑๑ (พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพพลเรือเอก หลวงอาจณรงค์(อิง ช่วงสุวนิช) ป.ช. , ป.ม. ณ เมรุหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส วันที่ ๒๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๑๑). ดอว์น เอฟ, รูนีย์. เครื่องถ้วยเบญจรงค์และลายน้ำทอง. กรุงเทพฯ: ริเวอร์บุคส์, ๒๕๖๐. นรินทร์ธิเบศร์ (อิน). นิราศนรินทร์. นนทบุรี: ศรีปัญญา, ๒๕๖๓.




          พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สวรรควรนายก ขอเชิญชมนิทรรศการพิเศษเนื่องในวันคล้ายวันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ๕ ธันวาคม ๒๕๖๕ เรื่อง “พระบิดาแห่งการอนุรักษ์มรดกไทย” เพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณด้านการอนุรักษ์มรดกศิลปวัฒนธรรมของชาติที่มีต่อปวงชนชาวไทย           ผู้สนใจสามารถเข้าชมได้ทุกวันพุธ – วันอาทิตย์ เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๖.๐๐ น. ตลอดเดือนธันวาคม ๒๕๖๕ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สวรรควรนายก จังหวัดสุโขทัย สอบถามเพิ่มเติมที่ โทร. ๐ ๕๕๖๔ ๑๕๗๑, ๐ ๕๕๖๔ ๓๑๖๖ ต่อ ๑๐