ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,506 รายการ

          วัดพระฝาง เป็นวัดสำคัญของเมืองสวางคบุรีที่เชื่อว่าเป็นที่ประดิษฐานพระรากขวัญ (กระดูกไหปลาร้า) ของพระพุทธเจ้า โดยถือเป็นพระธาตุกลางเมืองฝางหรือเมืองสวางคบุรีซึ่งสร้างตามคติโบราณที่นิยมสร้างพระธาตุเป็นศูนย์กลางของเมือง ทำให้วัดแห่งนี้เป็นที่เคารพศรัทธามาตั้งแต่อดีตกาล ทั้งจากผู้คนในหัวเมืองฝ่ายเหนือ ผู้คนในพื้นที่ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา รวมถึงชาวมอญจากพม่าและชาวลาว            จากการขุดค้นทางโบราณคดีพบว่าบริเวณวัดพระฝางมีผู้คนเข้ามาตั้งถิ่นฐานตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์และอยู่อาศัยต่อเนื่องมาจนถึงสมัยสุโขทัย โดยปรากฏชื่อในหลักฐานทางประวัติศาสตร์มากมายในฐานะที่เป็นพระธาตุสำคัญประจำเมืองฝาง เช่น ในศิลาจารึกหลักที่ ๒ จารึกวัดศรีชุมที่กล่าวว่าพระมหาเถรศรีศรัทธาได้เดินทางมากราบไหว้พระธาตุเมืองฝางก่อนจะเดินทางต่อไปอ่าวเมาะตะมะเพื่อลงเรือไปยังลังกา  ความศรัทธาในพระธาตุวัดพระฝางยังคงได้รับการสืบทอดมาอย่างต่อเนื่อง ดังพบว่า            พระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์หลายพระองค์ได้เสด็จฯ มาสักการะพระธาตุที่วัดพระฝางแห่งนี้โดยถือเป็นวัดสำคัญเช่นเดียวกับวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ เมืองพิษณุโลก อาทิ พ.ศ. ๒๒๘๐ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศเสด็จฯ มาสมโภชพระธาตุ พ.ศ. ๒๓๑๓ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชโปรดฯ ให้จัดการสมโภชพระธาตุแห่งนี้อีกครั้งภายหลังจากการปราบปรามชุมนุมเจ้าพระฝางซึ่งใช้วัดพระฝางเป็นศูนย์กลางในการซ่องสุมกำลังพลหลังการเสียกรุงศรีอยุธยาเมื่อ พ.ศ. ๒๓๑๐ และพระราชศรัทธานี้ยังคงสืบเนื่องต่อมาถึงสมัยรัตนโกสินทร์ ดังที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๔) โปรดฯ ให้มีการบูรณะพระธาตุนี้ใหม่ใน พ.ศ. ๒๔๑๐ การเสด็จฯ มาสักการะของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕) เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๔ ซึ่งในการนี้โปรดฯ ให้อัญเชิญ พระฝาง พระประธานในอุโบสถไปประดิษฐาน ณ วัดเบญจมบพิตร กรุงเทพมหานคร จวบจนปัจจุบัน           กล่าวได้ว่าวัดพระฝางเป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองและเป็นหลักฐานสำคัญที่บ่งบอกถึงการมีอยู่ของเมืองสวางคบุรีโดยได้รับการบูรณะมาโดยตลอดจึงยังสามารถตั้งตระหง่านผ่านกาลเวลา เป็นที่นับถือของผู้คนทั้งในจังหวัดอุตรดิตถ์และในประเทศไทยตราบจนทุกวันนี้   ------------------------------------------------   พระธาตุภายในวัดพระฝางสวางคบุรีมุนีนาถ (ที่มา : https://www.hoteluttaradit.com/2017/07/wat-phra-fang-sawangkamuninat.html) พระฝาง ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ ณ วัดเบญจมบพิตร กรุงเทพมหานคร (ที่มา : https://www.silpa-mag.com/culture/article_8965)   ------------------------------------------------ ที่มาของข้อมูล : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สวรรควรนายก ------------------------------------------------   *เผยแพร่ข้อมูลทางเว็บไซต์ โดยกลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ กรมศิลปากร  


แนะนำ E-book หนังสือหายาก เรื่อง ตำนานทหารมหาดเล็ก วรการบัญชา, พันเอก. ตำนานทหารมหาดเล็ก. พระนคร: ประชาช่าง, 2496.     ถูกใจ       แสดงความคิดเห็น     แชร์    


ชื่อเรื่อง                                        สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม  (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ.                                           41/1ประเภทวัดุ/มีเดีย                       คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                                     พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                              48 หน้า : กว้าง 4.5 ซม. ยาว 54 ซม.หัวเรื่อง                                        พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก               เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา


เรื่อง 7 ย่านเก่าในบางกอก ศิริญญา สุจินตวงษ์. 7 ย่านเก่าในบางกอก. กรุงเทพฯ: อมรินทร์, 2554. ห้องหนังสือทั่วไป 1 เลขเรียกหนังสือ 959.311 ศ452จ เรื่องราวเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้วในอดีต บางเรื่องไม่อาจหาหลักฐานที่ชัดเจนมายืนยันได้ จึงต้องศึกษาเรื่องราวเหล่านั้นจากเอกสาร วัตถุ และสถานที่ ที่มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน หากเราต้องการเข้าใจปัจจุบันต้องเริ่มศึกษาจากอดีต อาจเริ่มต้นด้วยวิธีง่ายๆ อย่างเช่นการท่องเที่ยวไปยังสถานที่แห่งประวัติศาสตร์ เพื่อชื่นชมและซึมซับบรรยากาศแห่งอดีตที่ยังเหลืออยู่ 7 ย่านเก่าในบางกอก เล่มนี้ ผู้เขียนพาเราไปพบกับ ร่องรอยอดีตและถิ่นฐานย่านเก่าในกรุงเทพมหานคร จำนวน 7 แห่ง ได้แก่ เจริญกรุง ธนบุรี สามแพร่ง คลองบางลำพู บ้านครัว ตลาดพลู และท่าเตียน ซึ่งล้วนแล้วแต่ปรากฏเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ เป็นบ่อเกิดของวัฒนธรรม ประเพณี ที่ในปัจจุบันยังคงมีเสน่ห์ไม่ได้เลือนหายไปตามกาลเวลา ดังเช่น เรื่องราวของถนนต้นแบบตามมาตรฐานสากลแห่งแรกในสยาม ปรากฏชื่อ “ถนนเจริญกรุง” ที่สร้างโดยใช้อิฐและหินก้อนเล็ก นำความเจริญเข้าสู่บางกอก ห้างร้านและการลงทุนเกิดขึ้นมากมายบนถนนสายนี้ อาทิเช่น ห้างนายเลิศ เป็นซูเปอร์มาเก็ตที่จำหน่ายของสดและสินค้านำเข้าจากต่างประเทศแห่งแรกของบางกอก ชุมชนริมน้ำเจ้าพระยาที่ได้รับการยกย่องเป็นราชธานี นามว่า “ธนบุรี” ที่แห่งนี้มีความหลากหลายทางเชื้อชาติและศาสนา นับว่าเป็นแหล่งของชุมชนคนต่างชาติที่อยู่ร่วมกันมากที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย ทั้งชาวไทย ชาวจีน ชาวมุสลิม และชาวต่างชาติจากโปรตุเกส ย่านสามแพร่ง ชื่อเรียกขานที่ตามฮวงจุ้ยถือว่าไม่เป็นมงคลแต่ชุมชนแห่งนี้ยังคงใช้คำว่า “แพร่ง” ด้วยความภาคภูมิใจในรากเหง้าของตน ทั้งยังเป็นแหล่งรวมร้านอาหารชื่อดังจำนวนมาก รวมไปถึงร้านจำหน่ายเสื้อผ้า อุปกรณ์เดินป่า เครื่องใช้ไฟฟ้า และเครื่องดนตรี รู้จักกันในนาม “ย่านหลังกระทรวง” เนื่องจากตั้งอยู่ด้านหลังกระทรวงกลาโหม คลองบางลำพู เกิดขึ้นกว่าสองร้อยปีล่วงมาแล้วถูกระบุไว้ในประวัติศาสตร์ว่ามีขนาดใหญ่ถึง 10 วา หรือ 20 เมตร สะพานข้ามคลองทอดไปสู่ชุมชนดนตรีไทยสถานที่แห่งการก่อกำเนิดศิลปวัฒนธรรมแห่งแผ่นดินรัตนโกสินทร์และเป็นย่านการแสดงมหรสพชื่อดัง กาลเวลาที่ล่วงเลยไปย่อมนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงความรุ่งเรืองเกิดขึ้น บางสิ่งล่มสลายและดับไป แต่ร่องรอยแห่งอดีตยังคงมีให้เราค้นพบ ศึกษา และคงมนต์เสน่ห์เอาไว้มิเสื่อมคลาย ผู้สนใจสามารถหาอ่านได้ที่หอสมุดแห่งชาติชลบุรี (วันอังคาร – วันเสาร์ เวลา 09.00 - 17.00 น.)


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 139/4เอกสารโบราณ(คัมภีร์ใบลาน)


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 174/2เอกสารโบราณ(คัมภีร์ใบลาน)


ชื่อเรื่อง : จดหมายเหตุพระราชกิจรายวัน ภาค 19 พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นายถม สังข์กังวาล ณ เมรุวัดลำโพง พระนคร วันที่ 12 มกราคม พุทธศักราช 2513 ชื่อผู้แต่ง : จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ, 2396-2453 ปีที่พิมพ์ : 2513สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯสำนักพิมพ์ : สุทธิสารการพิมพ์ จำนวนหน้า : 332 หน้า สาระสังเขป : หนังสือเล่มนี้จัดพิมพ์ขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพนายถม สังข์กังวาล ณ เมรุวัดลำโพง พระนคร วันที่ 12 มกราคม พุทธศักราช 2513 มีเนื้อหาเกี่ยวกับพระราชกิจรายวันของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยตรัสให้อาลักษณ์หรือผู้ใดผู้หนึ่งจดบันทึกไว้ พระราชกิจรายวันวันละเล็กละน้อยนี้เป็นเหตุให้รู้ถึงเรื่องใหญ่ๆ เช่น การออกพระราชบัญญัติ กฎหมาย ราชการแผ่นดิน และรัฐประศาสโนบายทั้งในและนอกประเทศ


ชื่อเรื่อง                    แหล่งศิลปกรรมจังหวัดนนทบุรี ผู้แต่ง                      หน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมศิลปกรรมจังหวัดนนทบุรี. ประเภทวัสดุ/มีเดีย      หนังสือท้องถิ่น ISBN/ISSN                - หมวดหมู่                  ศาสนา เลขหมู่                    294.3135 ห141ห สถานที่พิมพ์              นนทบุรี สำนักพิมพ์                หน่วยอนุรักษ์ฯ ปีที่พิมพ์                   2537 ลักษณะวัสดุ              146 หน้า : ภาพปรพอบ ; 26 ซม. หัวเรื่อง                    วัด -- ไทย – นนทบุรี ภาษา                      ไทย บทคัดย่อ/บันทึก            จัดพิมพ์ขึ้นเพื่อเผยแพร่ข้อมูลในการพัฒนาท้องถิ่นให้สัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมศิลปกรรมอย่างมีระบบ เป็นประโยชน์ในการวางผังเมืองและเป็นประโยชน์แก่การศึกษาค้นคว้า


ชื่อผู้แต่ง         คณะอนุกรรมการเฉพาะกิจยกร่างแบบอย่างการปฎิบัติทางด้านวัฒนธรรมไทย   ชื่อเรื่อง           ประเพณีการบวชแนวประหยัด ครั้งที่พิมพ์       - สถานที่พิมพ์     ม.ป.ท. สำนักพิมพ์       ม.ป.พ. ปีที่พิมพ์          ๒๕๒๕ จำนวนหน้า      ๖๐  หน้า หมายเหตุ        - รายละเอียด                คู่มือการบวชแบบประหยัดเนื้อหาสาระประกอบด้วยภาพสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯทรงผมบวช ภาพอุปสมบทนาคหลวง ภาพการบวชแนวประหยัด ประโยชน์ที่ได้รับจาสกการบวชข้อเสนอแนะและภาคผนวกการอุปสมบทนาคหลวง


เลขทะเบียน : นพ.บ.504/9ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 48 หน้า ; 4 x 56 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 168  (216-223) ผูก 9 (2566)หัวเรื่อง : รามชาตก--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม



          กรมศิลปากร โดยสำนักการสังคีต  ขอเชิญชมโครงการจัดการแสดง "นาฏศิลป์และดนตรี" “เสาร์สนุก” วันเสาร์ที่ 27 พฤษภาคม 2566 เวลา 14.00 น. ณ หอสมุดดนตรีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ภายในบริเวณหอสมุดแห่งชาติ ถนนสามเสน เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร ตัวอย่างรายการเพลง 1. FRANZ SCHUBERT: STÄNDCHEN 2. PUCCINI: O MIO BABBINO CARO 3. NOW SLEEPS THE CRIMSON PETAL 4. ON THE STREET WHERE YOU LIVE (MY FAIR LADY) 5. AND ALL THAT JAZZ (CHICAGO) 6. นักร้องบ้านนอก 7. ยอดรักประจำปี อำนวยเพลงโดย ธนู รักษาราษฎร์ ศิลปินรับเชิญ - ถิรวัฒน์ ศรีสุรางค์ (อิฐ) - ณัฐธิกา เอี่ยมท่าไม้ (เพียส) - ภัทราภา ภูมิภักดิ์ (เอมมี่) - สิริกร เจียรสวัสดิ์โสภณ (มาย) - คมชัด อ่อนสมพงษ์ (กัปตัน) * ชมฟรี * สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม (วันและเวลาราชการ) โทร. 0 2224 1342 และ โทร. 0 2221 0171


         แบบศิลปะ / สมัย สมัยรัตนโกสินทร์            วัสดุ (ชนิด) ไม้จำหลัก งาช้าง หวาย ลงรักปิดทอง           ขนาด กว้าง ๗๙ เซนติเมตร ยาว ๑๘๑ เซนติเมตร สูง ๘๗ เซนติเมตร          ประวัติความเป็นมา เดิมเป็นสมบัติของเจ้าราชภาคินัย และเจ้าหญิงบัวทิพย์ ณ เชียงใหม่ พุทธสถาน เชียงใหม่ มอบให้          ความสำคัญ ลักษณะและสภาพของโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ           พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกที่ได้เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎรในมณฑลฝ่ายเหนือ (พิษณุโลก) และมณฑลพายัพ (แพร่ ลำปาง ลำพูน เชียงราย พะเยา และเชียงใหม่) ในปีพุทธศักราช ๒๔๖๙ การเสด็จพระราชดำเนินครั้งนี้ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ พร้อมสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี โดยรถไฟพระที่นั่งถึงนครเชียงใหม่เมื่อวันที่ ๒๒ มกราคม พ.ศ.๒๔๖๙ และเสด็จฯ กลับกรุงเทพฯ ในเช้าวันที่ ๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๖๙ มีพระราชกรณียกิจและประทับที่นครเชียงใหม่ เป็นเวลา ๑๕ วัน           ในการเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมนครเชียงใหม่เมื่อวันเสาร์ที่ ๒๒ มกราคม พ.ศ.๒๔๖๙ เจ้านายฝ่ายเหนือ ข้าราชการทหาร พลเรือน พ่อค้า คหบดีนครเชียงใหม่ ได้จัดกระบวนแห่รับเสด็จเข้าเมือง โดยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ประทับบนหลังช้างพระที่นั่งองค์ละช้าง  ช้างพระที่นั่งของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นช้างทรงของพลตรีเจ้าแก้วนวรัตน์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์ที่ ๙ ช้างพระที่นั่งนั้นมีปกกระพองห้อยพู่จามรีห้อยข้างซองหาง ผูกกูบทองโถง เครื่องประดับช้างทั้งหมดทำด้วยเงิน ควาญหัวคือนายพันตำรวจเอกเจ้าชัยสงคราม ท้ายช้าง รองอำมาตย์เอก เจ้าประพันธุ์พงศ์   สัปคับ หรือ แหย่งช้าง หลังนี้สร้างด้วยไม้แกะสลัก ลงรักปิดทอง ส่วนฐานเป็นแบบโปร่ง ตรงกลางใต้ช่องที่นั่งทำเป็นแป้นนูน ด้านหน้าสลักเป็นภาพขุนกระบี่ (ลิง) ติดในกรอบริมหยักแกะสลักลายก้านขด ด้านหลังเป็นภาพยักษ์ถือกระบอง พนักโดยรอบเป็นไม้แกะสลักฉลุเป็นลายก้านขดลงรักปิดทอง ประดับด้วยซี่กรงซึ่งทำด้วยงาช้างกลึงอย่างประณีต ส่วนของพื้นที่นั่งทำด้วยหวายเส้นขนาดเล็ก ลงรัก ทาชาด มีพนักพิงด้านหลัง ลักษณะเป็นแผ่นไม้รูปกลีบบัวลงรักทาชาดทางด้านหน้า ส่วนด้านหลังแกะลายกนกก้านขด ลงรักปิดทอง ด้านหน้าของสัปคับมีห่วงเหล็ก ๒ ห่วง สันนิษฐานว่าน่าจะใช้สำหรับเป็นที่ร้อยเชือกสำหรับตรึงสัปคับเข้ากับตัวช้างให้แน่นหนายิ่งขึ้น  


           พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา สำนักศิลปากรที่ ๓ พระนครศรีอยุธยา ขอเชิญร่วมเปิดนิทรรศการพร้อมฟังเรื่องเล่า "กว่าจะมาเป็นการคัดลอกภาพจิตรกรรมกรุวัดราชบูรณะเสมือนจริงลงบนแผ่นกระเบื้องดินเผา" ในวันอังคารที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๖๖ ระหว่างเวลา ๐๙.๐๐ - ๑๑.๐๐ น. ณ อาคารนิทรรศการเครื่องทองอยุธยา พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา ผู้สนใจสามารถสมัครเข้าร่วมเปิดนิทรรศการพร้อมฟังเรื่องเล่าฯ ผ่าน Qr code ที่แนบบนประชาสัมพันธ์ "ฟรี" รับจำนวนจำกัดเพียง ๓๐ ท่าน)            ทั้งนี้ นิทรรศการ "กว่าจะมาเป็นการคัดลอกภาพจิตรกรรมกรุวัดราชบูรณะเสมือนจริงลงบนแผ่นกระเบื้องดินเผา" เปิดให้เข้าชม ระหว่างวันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๖๖ ถึง ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๖๗ ตั้งแต่เวลา ๐๙.๐๐ - ๑๖.๐๐ น. สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา โทร ๐ ๓๕๒๔ ๑๕๘๗


            พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุบลราชธานี ขอเชิญชมนิทรรศการและร่วมฟังการเสวนาทางพระพุทธศาสนา The Buddhist Exhibition “Buddha Carika – in Footsteps of Buddha and Public Lecter “From Ganga to Mekong” History of Holy Relics of Lord Buddha: A Journey from the Past to the Present              ศูนย์ศึกษาอินเดียแห่งมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ร่วมกับ สำนักศิลปากรที่ ๙ อุบลราชธานี และสถานเอกอัครราชทูตอินเดียประจำประเทศไทย ขอเชิญร่วมงานเสวนา "จากมหานทีคงคาสู่ลุ่มน้ำโขง ประวัติพระบรมสารีริกธาตุ การเดินทางจากอดีตสู่ปัจจุบัน" วันพุธที่ ๑๓ มีนาคม ๒๕๖๗ เวลา ๐๙.๓๐ น. ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุบลราชธานี              ภายในงานเสวนาจะมีการกล่าวต้อนรับโดย ดร.ปิยะมาศ ทัพมงคล รองผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาอินเดียแห่งมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี กล่าวเปิดงานโดย นายธนภัทร จิตสุทธิผล ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ ๙ อุบลราชธานี ร่วมเสวนาโดย ๑. Prof.Amarjiva Lochan, University of Delhi ๒. คุณเชาวนี เหล็กกล้า หัวหน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุบลราชธานี ๓. คุณพงษ์พิศิษฏ์ กรมขันธ์ นักโบราณคดีชำนาญการ กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๙ อุบลราชธานี ดำเนินรายการและแปลโดย ดร.อัญชลี แสงทอง (มรภ.อบ.) และ ดร.สิวะกรณ์ กฤษณสุวรรณ (มอบ.) ศูนย์ศึกษาอินเดียแห่งมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี               ทั้งนี้ ขอเชิญชมนิทรรศการ “ตามรอยพระศาสดาและพุทธสถานในอินเดีย” The Buddhist Exhibition “Buddha Carika – in Footsteps of Buddha” ตลอดเดือนมีนาคม ๒๕๖๗ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุบลราชธานี