ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,482 รายการ
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์ จัดกิจกรรม 100 ปี พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์ ขอเชิญชมนิทรรศการ Homecoming โบราณวัตถุคืนถิ่น "ประวัติศาสตร์" "ศรัทธา" "ศิลปะ" โบราณวัตถุชิ้นเยี่ยมที่เคยไปอวดโฉมในพระนคร บัดนี้ได้กลับ "คืนถิ่น" สู่เมืองลพบุรี พร้อมบอกเล่าเรื่องราวให้กับทุกท่านแล้ว พบกับนิทรรศการพิเศษที่จัดแสดงโบราณวัตถุชิ้นสำคัญของเมืองลพบุรีที่เคยไปอวดโฉมอยู่ต่างถิ่น ซึ่งได้นำกลับมายังภูมิลำเนาในวาระ 100 ปี ลพบุรีพิพิธภัณฑสถาน จัดแสดงตั้งแต่วันที่ 11 ตุลาคม 2567 - 5 มกราคม 2568 ณ หมู่พระที่นั่งพิมานมงกุฎ พระนารายณ์ราชนิเวศน์
กิจกรรมนี้เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรม 100 ปี พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์ กับ "100 ปี มีอะไร?? 10 สิ่งห้ามพลาดในงาน 100 ปี ลพบุรีพิพิธภัณฑสถาน" กำหนดจัดในวันเสาร์ที่ 12 และวันอาทิตย์ที่ 13 ตุลาคม 1567 เวลา 17.30 - 19.00 น. ประกอบด้วยกิจกรรม "Twilight at the Museum" นำชมพิพิธภัณฑ์ยามเย็น นิทรรศการ Black & White Palace เมื่อครั้ง...วังนี้สี "ขาวดำ" นิทรรศการ Homecoming โบราณวัตถุคืนถิ่น
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์ จังหวัดลพบุรี เปิดให้บริการ วันพุธ - วันอาทิตย์ เวลา 09.00 – 16.00 น. ปิดให้บริการ วันจันทร์ - วันอังคาร อัตราค่าเข้าชม ชาวไทย 30 บาท ชาวต่างชาติ 150 บาท ติดตามข้อมูลข่าวสารรายละเอียดกิจกรรม ได้ที่ Facebook พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์ : King Narai National Museum สอบถามเพิ่มเติม โทร. 0 3641 1458
กองพลทหารราบที่ 3. เกียรติประวัติกองพลทหารราบที่ 3. นครราชสีมา : กองพลทหารราบที่ 3, 2537.
โบราณสถานวัดพระธาตุยาพ่อแก่
โบราณสถานวัดพระธาตุยาพ่อแก่ ตั้งอยู่ที่บ้านเวียงคุกกลาง ตำบลเวียงคุก อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย ไม่ปรากฏประวัติหรือตำนานการสร้างแต่อย่างใด โบราณสถานวัดพระธาตุยาพ่อแก่ เป็นเจดีย์ทรงปราสาทยอดเจดีย์ที่ได้รับอิทธิพลจากศิลปกรรมล้านนา ก่อด้วยอิฐ ประกอบด้วย ชั้นฐานเขียงซ้อนลดหลั่นกันในผังสี่เหลี่ยม ชั้นเรือนธาตุอยู่ในผัง ย่อมุมไม้ยี่สิบประดับด้วยซุ้มจระนำ ซึ่งมีลักษณะเป็นซุ้มโค้งยื่นออกมาจากผนังทั้งสี่ด้าน สันนิษฐานว่ามีการประดิษฐานพระพุทธรูปประทับยืนปูนปั้นภายในซุ้มจระนำ คล้ายคลึงกับวัดเทพพล บ้านเวียงคุก ตำบลเวียงคุก อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย ถัดขึ้นมาเป็นเรือนธาตุชั้นซ้อนในผังย่อมุมไม้ยี่สิบ แต่ไม่ปรากฏการประดับซุ้มจระนำแล้ว ส่วนยอดของเจดีย์หักหาย กำหนดอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๒๒-๒๓ ในสมัยวัฒนธรรมล้านช้าง
เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๗ สำนักศิลปากรที่ ๙ ขอนแก่น ได้ขุดแต่งโบราณสถานวัดพระธาตุยาพ่อแก่ พบร่องรอยการเตรียมฐานรากของอาคารโดยการปรับถมพื้นด้วยเม็ดแลงบดอัดประมาณ ๕๐ เซนติเมตร
กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนและกำหนดเขตที่ดินโบราณสถาน ในราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ ๑๑๘ ตอนพิเศษ ๒๙ ง วันที่ ๒๖ มีนาคม ๒๕๔๔ พื้นที่โบราณสถานประมาณ ๖๖.๙๓ ตารางวา
The Stupa of Wat Phra That Ya Pho Kae
Wat Phra That Ya Pho Kae is located at Ban Wiang Khuk Klang, Wiang Khuk Sub-district, Mueang Nong Khai District, Nong Khai Province. The stupa was built as castle-shaped in Lanna style, using brick materials. It is supported by plain bases which narrow down its size at each higher floor. The indented-corner body contains a niche on each side, which presumed that this spot may use to have the standing Buddha images inside, a trait similar to Wat Thep Phon, Ban Wiang Khuk Klang, Wiang Khuk Sub-district, Mueang Nong Khai District, Nong Khai Province. Above the body is a lotus pedestal, and the top which was gone missing. The stupa can be dated to 17th - 18th century CE, in the period of Lan Xang Kingdom.
The excavation was managed by the 8th Regional Office of The Fine Arts Department, Khon Kaen in 2004. Traces of groundwork by landfilling with crumbling laterites were found.
Wat Phra That Ya Pho Kae has been registered and published in the Government Gazette, Volume 118, Special Edition 29, on March 26, 2001. The area of ancient monument is 267.72 square meters.
กรมศิลปากร ขอเชิญรับชมถ่ายทอด Facebook Live รายการไขความรู้จากครูกรมศิลป์ ตอน “ศิลปกรรมสมัยรัตนโกสินทร์ถ้ำสำ ภาพแทนยุคจีนสร้างเมืองในภาคใต้ของสยาม” วิทยากร นางศิริพร สังข์หิรัญ ผู้อำนวยการกลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครศรีธรรมราช และนางสาวสิริยุพน ทับเป็นไทย นักโบราณคดีปฏิบัติการ สำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครศรีธรรมราช ผู้ดำเนินรายการ นายสิทธิพร บุปผา นักวิชาการเผยแพร่ กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ ในวันพฤหัสบดีที่ ๒๖ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๖๗ เวลา ๑๑.๐๐ น. ผู้สนใจสามารถติดตามชมได้ทาง Facebook Live : กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม และ Facebook Live : กลุ่มเผยแพร่ฯ กรมศิลปากร
รายการ “ไขความรู้จากครูกรมศิลป์” มีรูปแบบเนื้อหาของรายการเกี่ยวกับประวัติความเป็นไทย เกร็ดประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับวันสำคัญ ประเพณี วัฒนธรรม วีถีชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คน ผ่านการบอกเล่า ถ่ายทอดความรู้ แนวความคิด เนื้อหาวิชาการ จากประสบการณ์ของผู้บริหาร นักวิชาการ และผู้เชี่ยวชาญกรมศิลปากร กำหนดถ่ายทอดสดผ่านเฟสบุ๊กไลฟ์ (Facebook Live) ทุกวันพฤหัสบดี เวลา ๑๑.๐๐ น. ตลอดปีงบประมาณ ๒๕๖๘ ระหว่างเดือนตุลาคม ๒๕๖๗ - กันยายน ๒๕๖๘
***บรรณานุกรม***หนังสือหายาก
เสด็จฯดอย จดหมายเหตุรายวันทรงประทับภูพิงคราชนิเวศน์เชียงใหม่ พ.ศ. ๒๕๑๓ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พิมพ์พระราชทานในงานพระราชทานเพลิงศพ ท้าววนิดาพิจาริณี (บาง สนิทวงศ์ ณ อยุธยา)ท.จ.ว. ณ เมรุหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส วันจันทร์ที่ ๓๐ มีนาคม ๒๕๑๓. พระนคร : โรงพิมพ์พระจันทร์, ๒๕๑๓.
ธรรมศาสตร์: Thammasat(Yoong Thong)
เพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่ 36
เพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่ 36 ทรงพระราชนิพนธ์ในพุทธศักราช 2505 ได้ทรงดนตรีทำนองเพลง พระราชนิพนธ์ให้ อาจารย์ นักศึกษา ข้าราชการของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ฟังครั้งแรก ณ เวทีลีลาศสวนอัมพรเมื่อวันที่ 30 มีนาคม พุทธศักราช 2505 ทางมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ขอพระบรมราชานุญาตให้ “นายร้อยแก้ว รักไทย” ประพันธ์คำร้องถวายและได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเพลงที่สมบูรณ์แล้วให้แก่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในโอกาสที่เสด็จพระราชดำเนินไปทรงดนตรีที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พุทธศักราช 2506 และได้ทรงปลูกต้นหางนกยูง ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นที่ระลึกอีก 5 ต้น
Royal Composition Number 36
The thirty-sixth royal musical composition was written in 1962. His Majesty performed the tune for faculty members, students and officials of Thammasat University for the first time at Ambara Dance Hall on 30 March 1962. Thammasat University then asked for royal permission to let Mr. Roikaeo Rakthai, a renowned lyricist to compose the lyrics. His Majesty had the complete song performed for the university on the occasion of his visit to play music at the university for the first time on 9 February 1963. His Majesty also planted five flame - trees in commemoration of his visit and presentation of the university song at Thammasat University.
เมื่อวันที่ ๘ เมษายน ๒๕๕๙ เวลา ๑๐.๐๐ น. นายอนันต์ ชูโชติ อธิบดีกรมศิลปากร เป็นประธานในการแถลงข่าวการประกวดสุนทรพจน์ระดับอุดมศึกษา เนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย พุทธศักราช ๒๕๕๙ หัวข้อ “การรักษามรดกไทย เป็นการรักษาชาติ” โดยมีนางชมัยภร บางคมบาง ประธานคณะกรรมการตัดสินการประกวดสุนทรพจน์ระดับอุดมศึกษาฯ ร่วมแถลงข่าว ณ ห้องประชุมดำรงราชานุภาพ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
ชื่อวัตถุ จานกลม
ทะเบียน ๒๗/๔๓๐/๒๕๓๒
อายุสมัย รัตนโกสินทร์
วัสดุ(ชนิด) เครื่องกระเบื้องเคลือบ
ประวัติที่มา พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลางรับมอบจากนายสุรเชษฐ์ วิมลโสภา บ้านเลขที่ ๑๑/๖ ม.๑ ถ.เทพกระษัตรี ต.เกาะแก้ว อ.เมือง จ.ภูเก็ตเก็บได้จากศาลาพระพุทธรูปของวัดศุกชีอ.เมือง จ.ภูเก็ต
สถานที่เก็บรักษา พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง
“จานกลม หรือ เครื่องถ้วยยุโรป”
จานกลม หรือ เครื่องถ้วยต่างชาติ เป็นจานทรงกลม ด้านในของขอบจานตกแต่งด้วยสีเขียวเป็นลายดอกไม้และใบไม้ ส่วนกลางของจานตกแต่งด้วยสีแดงเป็นรูปคนล่าสัตว์นั่งบนหลังช้าง เป็นรูปชายถือธนูกำลังล่าเสือและมีคนนั่งกางร่มให้อยู่ด้านหนัง ก้นจานมีตัวอักษรภาษาอังกฤษว่า R.C. V.P.& Co.ตัวอักษรอยู่ระหว่างรูปอาวุธคล้ายกริชไขว้กัน และมีคำว่า “BHAMO”
ตัวอักษร R.C. V.P.& Co.ย่อมาจากคำว่า R. CochranVerreville Pottery&Companyจานรูปแบบนี้ผลิตโดยบริษัทของR.Cochranซึ่งก่อตั้งในปี พ.ศ.๒๓๙๙ มีบริษัทตั้งอยู่ ณ เมืองกลาสโกว์ แถบสกอตแลนด์ประเทศอังกฤษ เครื่องถ้วยจากบริษัทแห่งนี้เป็นที่รู้จักในนาม “Britannia Pottery”โดยบริษัทปิดกิจการในปีพ.ศ.๒๔๗๘
สำหรับก้นจานมีตัวอักษรภาษาอังกฤษเขียนว่า “BHAMO” ซึ่งเป็นชื่อที่ใช้เรียกรูปแบบลวดลายของจานใบนี้ “BHAMO” คือ เป็นรูปคนล่าสัตว์ ซึ่งเป็นลวดลายที่ผลิตขึ้นเพื่อส่งมาขายยังประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยเฉพาะ นอกจากนี้ “BHAMO” ยังเป็นชื่อเมืองพะโมซึ่งอยู่ในรัฐกะฉิ่นของประพม่าอีกด้วย
สำหรับจานใบนี้พบในเขตอำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต เป็นหลังฐานที่แสดงให้เห็นว่าชาวภูเก็ตมีความนิยมเครื่องยุโรป ในช่วงสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจออยู่หัว ช่วงรัชกาลที่ ๔ (พ.ศ.๒๓๙๔--๒๔๑๑) ซึ่งคาบเกี่ยวกับช่วงที่มีการก่อตั้งบริษัทที่ผลิตเครื่องถ้วย “Britannia Pottery”โดยก่อตั้งตั้งแต่ปีพ.ศ.๒๓๙๙และปิดกิจการในปีพ.ศ.๒๔๗๘
เอกสารอ้างอิง
-Connie Rogers. “Transfer-Printed Rice Platesfor the South-East Asia Market,”Database Discoveries – Contribution # ๑๗Transferware Collectors Club:,๑-๗.
ภาคอีสานนอกจากจะเป็นแหล่งข้าวชั้นดีของไทยแล้ว ยังเป็นแหล่งสืบสานวัฒนธรรมประเพณีเกี่ยวกับข้าวอันหลากหลาย โดยหนึ่งในนั้น คือ ประเพณี "บุญคูณลาน"หรือการสู่ขวัญข้าวของชาวอีสาน
คำว่า "คูณ"หมายถึง เพิ่ม หรือทำให้มากขึ้น ส่วนคำว่า "ลาน"คือ สถานที่กว้างๆ สำหรับนวดข้าว ซึ่งการนำข้าวที่นวดแล้วกองขึ้นให้สูง เรียกว่า "คูณลาน" สำหรับประเพณีบุญคูณลานจัดขึ้นในเดือนยี่ตามปฏิทินอีสานของทุกปี ทำให้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่างาน "บุญเดือนยี่"ซึ่งการทำบุญคูณลานของแต่ละพื้นที่จะไม่พร้อมกัน ขึ้นอยู่กับการเก็บเกี่ยวข้าวว่าจะเสร็จเมื่อไร วันที่จะขนข้าวขึ้นเล้า (ฉางข้าว) จะเป็นวันทำบุญคูณลานและทำที่นานั่นเลย
แต่ก่อนที่จะทำการนวดข้าวนั้นให้ทำพิธีย้ายแม่ธรณีออกจากลานเสียก่อน และบอกกล่าวแม่โพสพโดยมีเครื่องประกอบพิธี อาทิ ใบคูณ ใบยอ ยาสูบ เขาควายหรือเขาวัว หมาก ไข่ ดอกไม้ ธูปเทียน เป็นต้น จากนั้นเมื่อพร้อมแล้วก็จะบรรจุลงในก่องข้าว (หรือกระติ๊บข้าว) ยกเว้นน้ำและเขาควาย ซึ่งเรียกว่า"ขวัญข้าว"ก่อนเชิญแม่ธรณีออกจากลานและบอกกล่าวแม่โพสพ แล้วจึงนำเครื่องประกอบพิธีบางส่วน ไปวางไว้ที่หน้าลอมข้าว (กองข้าว) เสร็จแล้วเจ้าของนาก็ตั้งอธิษฐาน หลังอธิษฐาน แล้วก็ดึงเอามัดข้าวที่ฐานลอมข้าวออกมานวดก่อน แล้วเอาฟ่อนฟางข้าวที่นวดแล้วห่อหุ้มก่องข้าวมัดให้ติดกัน เอาไม้คันหลาวเสียบฟาง เอาตาแหลวผูกติดมัดข้าวที่เกี่ยวมาจากนาตาแฮกเข้าไปด้วย แล้วนำไปปักไว้ที่ลอมข้าวเป็นอันว่าเสร็จพิธี ต่อไปก็ลงมือนวดข้าวทั้งลอมได้เลย เมื่อนวดเสร็จก็ ทำกองข้าวให้เป็นกองสูงสวยงาม เพื่อจะประกอบพิธีบายศรีสู่ขวัญให้แก่ข้าว โดยเอาต้นกล้วย ต้นอ้อย และตาแหลวไปปักไว้ข้างกองข้าวทั้ง 4 มุม นำตาแหลวและขวัญข้าวไปวางไว้ยอดกองข้าวพันด้วยด้ายสายสิญจน์รอบกองข้าวแล้วโยงมายังพระพุทธรูป ถึง วันงานก็บอกกล่าวญาติพี่น้องให้มาร่วมทำบุญ นิมนต์พระสงฆ์มาเจริญพระพุทธมนต์ เสร็จแล้วก็ถวายภัตตาหารแก่พระสงฆ์ พระสงฆ์อนุโมทนาประพรมน้ำมนต์ นำพระพุทธมนต์ไปรดกองข้าว วัว ควาย เมื่อเสร็จพิธีทางพระสงฆ์แล้วก็จะเป็นการประกอบพิธีบายศรีสู่ขวัญให้แก่ข้าว ซึ่งจะกระทำที่ลานนาหรือที่ลานบ้านก็ตามแต่จะสะดวก
หลังสู่ขวัญข้าวเสร็จก็จะเป็นการขนข้าวขึ้นยุ้ง ก่อนขนขึ้นยุ้งเจ้าของจะต้องไปเก็บเอาใบคูณและใบยอเสียบไว้ที่เสายุ้งข้าว ทุกเสา ซึ่งถือเป็นเคล็ดว่าขอให้ค้ำคูณยอ ๆ ยิ่ง ๆ ขึ้นไป และเชิญขวัญข้าวและแม่โพสพขึ้นไปยังเล้าด้วย
ที่มา : https://www.myfirstbrain.com/main_view.aspx?ID=76513