ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,482 รายการ


***บรรณานุกรม***  กรมศิลปากร บันทึกเรื่องสัมพันธไมตรีระหว่างประเทศไทยกับนานาประเทศในศตวรรษที่ 17 เล่ม2 กรมศิลปากรจัดพิมพ์ พ.ศ2513 พระนคร  โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว 2513



          ชื่อเรื่อง : ฟิล์มกระจกจดหมายเหตุหนึ่งพันภาพประวัติศาสตร์รัตนโกสินทร์      ผู้เขียน : สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร      สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร      ปีพิมพ์ : ๒๕๖๐      เลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ : ๙๗๘-๖๑๖-๒๘๓-๒๗๓-๔      เลขเรียกหนังสือ : ๙๕๙.๓๐๕๗ ศ๕๒๘ฟ      ประเภทหนังสือ : หนังสือกรมศิลปากร      ห้องบริการ : ห้องหนังสือทั่วไป ๑ สาระสังเขป : ฟิล์มกระจก เป็นเทคนิคการใช้กระจกอาบน้ำยาเป็นตัวรับแสงแล้วนำไปอัดภาพลงบนกระดาษ การถ่ายภาพโดยใช้ฟิล์มกระจกได้เริ่มมีในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พุทธศักราช ๒๓๙๔-๒๔๑๑) ฟิล์มกระจกจัดเป็นเอกสารจดหมายเหตุประเภทโสตทัศนวัสดุที่มีความสำคัญยิ่งซึ่งสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติได้รับฟิล์มกระจก จำนวนกว่า ๔,๐๐๐ แผ่น นับว่าเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติด้านจดหมายเหตุอันเป็นข้อมูลความรู้ปฐมภูมิทางประวัติศาสตร์ของชาติในด้านต่างๆ ที่มีคุณค่าต่อการศึกษาค้นคว้าวิจัยประวัติศาสตร์ความเป็นมาและพัฒนาการความเป็นชาติ "ฟิล์มกระจกจดหมายเหตุ หนึ่งพันภาพประวัติศาสตร์รัตนโกสินทร์" ได้นำภาพประวัติศาสตร์จากฟิล์มกระจกที่ทรงคุณค่าและหายากชุดหอพระสมุดวชิรญาณ้ และชุดส่วนพระองค์สมเด็จฯ กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน รวมจำนวน ๑,๐๒๕ ภาพ มาจัดพิมพ์เป็นสมุดภาพพร้อมคำอธิบาย จัดแบ่งเป็น ๙ หมวด ประกอบด้วย พระบรมฉายาลักษณ์ส่วนพระองค์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสหัวเมือง พระราชพิธี พระบรมมหาราชวัง พระราชวังสวนดุสิต วัดโบราณสถาน บุคคล คนไทยกับสายน้ำ และทั่วไป เช่น ภาพพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในพระราชอิริยาบถส่วนพระองค์ ณ น้ำตกธารเสด็จ ภาพวงตะกร้อหน้าประตูรัตนพิศาลพระบรมหาราชวัง ภาพเรือกระแซงพายอยู่ในคลองรังสิต ภาพทิวทัศน์นอกเกาะลังกาจิว และภาพพระโกศจันทน์ทรงพระบรมศพสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี พระพันปีหลวงประดิษฐานในพระวิมานเหนือพระจิตกาธาน เป็นต้น เพื่อให้สมุดภาพเล่มนี้เป็นองค์ความรู้ทางปัญญาและเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาค้นคว้าวิจัยสำหรับผู้ที่สนใจ รวมทั้งสร้างความรัก ความภาคภูมิใจ และความหวงแหน อนุรักษ์สืบทอดมรดกวัฒนธรรมด้านจดหมายเหตุของชาติไว้ให้คงอยู่อย่างยั่งยืน  


รายงานการเดินทางไปราชการ ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส 1. ชื่อโครงการ การประชุมเรื่องอนุสัญญาว่าด้วยการปกป้องมรดกทางวัฒนธรรมใต้น้ำ (International Meeting on Underwater Cultural Heritage Site Protection 2016) เพื่อสนับสนุนอนุสัญญา ปี 2001 ว่าด้วยการคุ้มครองมรดกทางวัฒนธรรมใต้น้ำ 2. วัตถุประสงค์ วัตถุประสงค์หลักของการประชุมระหว่างประเทศในครั้งนี้ เพื่อดำเนินการสานต่อการประชุมเมื่อปี 2001 ว่าด้วยเรื่องอนุสัญญาการคุ้มครองมรดกทางวัฒนธรรมใต้น้ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องเกี่ยวกับการดูแลรักษาแหล่งมรดกวัฒนธรรมใต้น้ำ และมาตรการป้องกันการค้าโบราณวัตถุที่ได้จากแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมใต้น้ำที่ผิดกฎหมาย 3. กำหนดเวลา การประชุมจัดขึ้นระหว่างวันที่ 22-23 กันยายน พ.ศ.2559 (การเดินทางไปราชการระหว่างวันที่ 20-25 กันยายน พ.ศ.2559) 4. สถานที่                     สำนักงานใหญ่ยูเนสโก กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ห้องประชุม II และ IX อาคาร Fontenoy 5. หน่วยงานผู้จัด องค์การร่วมมือทางการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมระหว่างประเทศ (ยูเนสโก : UNESCO ย่อมาจาก United Nations Educational; Scientific and Cultural Organization) 6. หน่วยงานสนับสนุน สำนักเลขาธิการคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษาวิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ สำนักความสัมพันธ์ต่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ 7. กิจกรรม วันที่ 22 กันยายน พ.ศ.2559 – ห้องประชุม II 10.00 น. กล่าวยินดีต้อนรับโดย Mr. Francesco bandarin ผู้ช่วยผู้อำนวยการทั่วไปยูเนสโก กล่าวยินดีต้อนรับและข้อคิดเห็นโดย H. E. Mr. Ahmad ผู้แทนถาวรยูเนสโกแห่งสาธารณรัฐ อิสลามอิหร่าน, รองประธานที่ประชุมรัฐภาคีอนุสัญญา 2001 10.30 น. สถานการณ์ปัจจุบันของภัยคุกคามต่อมรดกทางวัฒนธรรมใต้น้ำ ผู้ควบคุมการบรรยายโดย Mr. James Delgado, สหรัฐอเมริกา · กฎระเบียบข้อบังคับของอนุสัญญาปี 2001 เกี่ยวกับการคุ้มครองแหล่งมรดกวัฒนธรรมใต้น้ำ    โดย Ms. Ulrike Guerin, ยูเนสโก · ภาพรวมของสถานการณ์ปัจจุบันของการลักลอบงมหาโบราณวัตถุจากแหล่งมรดกวัฒนธรรมใต้น้ำ    ในทวีปยุโรป โดย Mr. Michel L’Hour, ภาควิชาการศึกษาวิจัยทางโบราณคดีใต้น้ำ (DRASSM), ฝรั่งเศส · กรณีศึกษาเกี่ยวกับบทบาทของนักโบราณคดีในกรณีที่มีส่วนสำคัญกับการลักลอบงมหาโบราณวัตถุจาก แหล่งมรดกวัฒนธรรมใต้น้ำ โดย Mr. James Delgado, องค์การบริหารสมุทรศาสตร์และบรรยากาศแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (National Oceanic and Atmospheric Administration : NOAA),สหรัฐอเมริกา · ตัวอย่างสถิติการล่าสมบัติใต้น้ำของประเทศบาฮามาส โดย Mr. Michael Pateman, นักโบราณคดีใต้น้ำ    ประเทศบาฮามาส · การยึดโบราณวัตถุที่ได้จากแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมใต้น้ำ โดย Mr. Jean-Luc Blachon, คณะกรรมการ    กิจการกฎหมายอาญา, กระทรวงยุติธรรม, ฝรั่งเศส           · ถาม - ตอบ 11.40 น.  ปัญหาในทางปฏิบัติของการตรวจสอบแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมใต้น้ำ ผู้ควบคุมการบรรยายโดย Ms Helena Barba Meinecke, President STAB · ความท้าทายที่เราเผชิญในเรื่องเกี่ยวกับการคุ้มครองแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมใต้น้ำจากล่าสมบัติ    โดย Mr. Alexandre Monteiro, มหาวิทยาลัยนิวลิสบอน, โปรตุเกส · เทคนิคการเฝ้าระวังที่ทันสมัย โดย Manuel Angel Sanchez Corbi, หัวหน้าหน่วยปฏิบัติการกลาง    รักษาความปลอดภัย (Unidad Central Operativa, Guardia Civil), สเปน · ความท้าทายและรายละเอียดของเหรียญที่พบจำนวนมาก โดย Mr. Peter Van Alfen,    American Numismatic Society, สหรัฐอเมริกา · การเข้าถึงแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมใต้น้ำในขณะที่การรักษาความปลอดภัย โดยSebastiano Tusa,    Sopra-Intendenza Sicily, อิตาลี · ถาม - ตอบ   13.00 น. - พักรับประทานอาหารกลางวัน   15.00 น. - บริบทที่ยากลำบากในการคุ้มครองมรดกทางวัฒนธรรมใต้น้ำ ผู้ควบคุมการบรรยายโดย Augustus Ajibola, Scientific and Technical Advisory Body (STAB), ไนจีเรีย · ความเชี่ยวชาญของตำรวจอิตาลีในการคุ้มครองมรดกทางวัฒนธรรมใต้น้ำ, Romano Gianpietro,    ตำรวจ, อิตาลี · บริบทที่ยากลำบากในการคุ้มครองมรดกทางวัฒนธรรมใต้น้ำ โดย Mr. Ricardo Duarte,    E. Mondlane University, โมซัมบิก · การติดตามผลของกรณีการขโมยทรัพย์สินที่สำคัญของหน่วยงานระดับชาติ – กรณีศึกษาการปล้น    พระแม่มารีย์ โดย Ms. Elisa de Cabo, Deputy Director for Heritage, สเปน · โอกาสที่ได้จากคณะที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคนิคในการประชุมเมื่อปี 2001    โดย Ms. Helena Barba Meinecke, President STAB, เม็กซิโก · ความรับผิดชอบและศักยภาพของหน่วยนาวิกโยธินติดอาวุธ(NATO) ในการปกป้องมรดกทางวัฒนธรรม    ใต้น้ำ โดยพลเรือตรี Denis Bigot,นาโต · บทบาทของตำรวจสากลและผลกระทบของการค้าโบราณวัตถุจากแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมใต้น้ำ      ระหว่างประเทศ โดย Mr. Corrado Catesi, ตำรวจสากล · Preventive Archaeology : ผลการวิจัยเป็นคำตอบเพื่อการปล้นสะดมของมรดกทางวัฒนธรรมใต้น้ำ    โดย Mr Philippe Pelgas, Chief underwater activities, Inrap, ฝรั่งเศส           · ถาม – ตอบ   วันที่ 23 กันยายน พ.ศ.2559 ห้องประชุม IX - คณะทำงานของผู้เชี่ยวชาญ10:00 น. การปฏิบัติการป้องกันแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมใต้น้ำ (การแต่งตั้ง, การเฝ้าระวัง,            สิ่งของทรัพย์สิน) ผู้ดำเนินรายการโดย Mr. Michel L’Hour, ฝรั่งเศส11:00 น. การบังคับใช้กฎหมาย ผู้ดำเนินรายการโดย Mr. Manuel Angel Sanchez Corbi, สเปน12:00 น. การดำเนินงานของการประชุมในน่านน้ำสากล 2001 ผู้ดำเนินรายการโดย Ms. Ulrike Guerin,             ยูเนสโก13:00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน15:00 น. ความเป็นไปได้ของการยึดโบราณวัตถุที่ได้มาจากการลักลอบงมจากแหล่งมรดกทางวัฒนธรรม            ใต้น้ำและการนำไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ผู้ดำเนินรายการโดย Mr. Marnix Pieters, เบลเยียม16:00 น. แนวทางการซื้อขายโบราณวัตถุจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ ผู้ดำเนินรายการโดย Mr. Caesar Bita,             เคนยา18:00 น. ยอมรับของการเสนอแนะ และปิดการประชุม 8. คณะผู้แทนไทย           1. นายเอิบเปรม วัชรางกูร          ผู้อำนวยการกองโบราณคดีใต้น้ำ           2. นางสาวมาลีภรณ์  คุ้มเกษม     หัวหน้ากลุ่มนิติกร สำนักบริหารกลาง           3. นายอาภากร เกี้ยวมาศ          หัวหน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพาณิชย์นาวี จันทบุรี 9. สรุปสาระของกิจกรรม เป็นการรับทราบถึงกิจกรรมในด้านมรดกทางวัฒนธรรมใต้น้ำ (UCH : Underwater Cultural Heritage) ของประเทศสมาชิก โดยทำความเข้าใจและซักถามข้อสงสัย ทั้งในที่ประชุมและนอกการประชุม สำหรับประเทศไทยไม่พบปัญหาหรือข้อขัดแย้งใดๆที่เกี่ยวเนื่องกับอนุสัญญาคุ้มครองมรดกวัฒนธรรมใต้น้ำ (The 2001 UNESCO – Convention on the Protection of the Underwater Cultural Heritage) และประเทศไทยยังได้ปฏิบัติตามอนุสัญญาอยู่แล้วเป็นการภายในครบถ้วนทุกข้อ โดยยังมิได้ลงนามในอนุสัญญาดังกล่าว 10. ข้อเสนอแนะจากการจัดกิจกรรม                    ให้มีการติดตามผลการดำเนินงานของการประชุมเรื่องอนุสัญญาว่าด้วยการปกป้องมรดกทางวัฒนธรรมใต้น้ำของยูเนสโกต่อไป                                                                                                        นายเอิบเปรม วัชรางกูร                  ผู้อำนวยการกองโบราณคดีใต้น้ำ           


          ป้อมมหากาฬ ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันออก ริมคลองรอบกรุง คูเมืองกรุงรัตนโกสินทร์ เชื่อมต่อกับแนวกำแพงเมืองที่ขนานไปกับถนนมหาไชย สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ เมื่อปีพุทธศักราช ๒๓๒๔ ก่อด้วยอิฐสอปูน ฉาบปูน ฐานป้อมกว้างประมาณ ๓๘ เมตร และมีความสูงจากฐานถึงหลังคาประมาณ ๑๕ เมตร มีลักษณะเป็นทรงแปดเหลี่ยม ซ้อน ๓ ชั้น มีบันทางขึ้นสู่ชั้นที่ ๒ และ ๓ และมีประตูทางขึ้นสู่หอรบ ทางทิศตะวันตก บนสันกำแพงป้อมมีใบบังรูปสี่เหลี่ยม ส่วนบนสันกำแพงเมืองเป็นใบเสมา หลังคาป้อมทรงโค้งค่ำแบบใบบัว เป็นเครื่องไม้มุงกระเบื้องดินเผาเคลือบ            การขุดค้นทางโบราณคดีที่ป้อมมหากาฬ เมื่อเดือนมีนาคม ๒๕๖๓ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะและโครงสร้างของการก่อสร้างป้อมในสมัยโบราณ สำหรับนำมาเป็นข้อมูลในการออกแบบบูรณะโบราณสถาน ซึ่งนับว่าเป็นการขุดค้นทางโบราณคดีที่บริเวณตัวป้อมเป็นครั้งแรก โดยได้มีการขุดค้นทั้งหมด ๓ จุด ได้แก่ ๑) หลุมขุดค้นบริเวณมุมกำแพงป้อมชั้นล่าง ด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ๒) หลุมขุดค้นบริเวณมุมผนังป้อมชั้นที่ ๒ ด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ และ ๓) หลุมขุดค้นบริเวณลานป้อมชั้นที่ ๒ ด้านทิศตะวันออก จากกำแพงป้อมชั้นที่ ๑ จรดผนังป้อมชั้นที่ ๒ ซึ่งได้พบหลักฐานทางโบราณคดีเกี่ยวกับลักษณะการก่อสร้างป้อมและกำแพงเมือง ดังนี้            ฐานป้อมชั้นที่ ๑ เป็นฐานป้อมชั้นล่างสุด ก่อด้วยอิฐสอปูน ผนังป้อมฉาบปูนถึงระดับพื้นใช้งานเดิม ซึ่งอยู่ต่ำกว่าระดับพื้นปัจจุบันประมาณ ๓๐ เซนติเมตร ผนังป้อมใต้ระดับพื้นใช้งานเดิมลงไปเป็นการก่ออิฐเปลือยไม่ฉาบปูน มีความลึกประมาณ ๓ เมตร ฐานป้อมตั้งอยู่บนชั้นอิฐหักบดอัด ซึ่งเกิดจากการขุดดินเลนเดิมออก แล้วถมอัดด้วยอิฐหัก ลึกประมาณ ๑.๒๐ เมตร (อ้างอิงตามหลักฐานการขุดค้นในบริเวณป้อมมหากาฬ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๗) จากนั้นจึงถมด้วยดินเหนียวให้ลาดเอียงไปทางคลองคูเมืองด้านทิศตะวันออกของตัวป้อม           ฐานป้อมชั้นที่ ๒ ก่อด้วยอิฐสอปูน ผนังป้อมฉาบปูนถึงระดับพื้นใช้งานเดิม และใต้ระดับพื้นใช้งานเดิมลงไปไม่ฉาบปูน เช่นเดียวกับผนังป้อมชั้นที่ ๑ พบพื้นใช้งานเดิมเป็นการปูอิฐสลับแนวยาวและแนวขวาง ซ้อน ๓ ชั้น และดาดด้วยปูนขาว ฐานป้อมด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ มีความลึกประมาณ ๓ เมตร ตั้งอยู่บนแนวฐานรากของกำแพงเมือง มีความลึกประมาณ ๔.๒๐ เมตร ซึ่งส่วนที่อยู่เหนือระดับพื้นใช้งานปัจจุบันได้ถูกรื้อไปแล้ว สันนิษฐานว่าเชื่อมต่อกับแนวกำแพงเมืองด้านทิศเหนือและทิศใต้ที่ยังคงปรากฏอยู่ในปัจจุบัน และมีช่องประตูกำแพงบนลานป้อมชั้นที่ ๒ ทั้งทางด้านทิศเหนือและทิศใต้ ใต้พื้นใช้งานเดิมมีการถมอัดด้วยดินเหนียว ลึกลงไปประมาณ ๑.๕๐ เมตร มีชั้นถมอัดด้วยอิฐหักหนาประมาณ ๓๐ เซนติเมตร ถัดลงไปถมอัดด้วยดินเหนียวล้วน           ส่วนมุมป้อมด้านทิศตะวันออก ใต้ระดับพื้นใช้งานเดิมลงไปประมาณ ๓๐ เซนติเมตร พบชั้นปูพื้นด้วยอิฐและดาดปูนเช่นเดียวกัน แต่ชั้นดินถมอัดใต้พื้นใช้งานเดิมบริเวณนี้ เป็นก้อนอิฐหักผสมดินเหนียว จากผนังกำแพงป้อมถึงผนังป้อมชั้นที่ ๒ พบการก่อกำแพงใต้ระดับพื้นใช้งานเดิมลงไป ในแนวตะวันออก-ตะวันตก เพื่อค้ำยันผนังป้อมทั้ง ๒ ด้านไว้ โดยมีการก่ออิฐประสานกันระหว่างผนังป้อมและกำแพงนี้ ซึ่งพบว่ามีการทรุดตัวลงไปทางด้านทิศตะวันตกด้วย ฐานป้อมชั้น ๒ และฐานรากของกำแพงใต้ระดับพื้นใช้งานเดิม ตั้งอยู่บนชั้นดินเหนียวถมอัด มีความลึกที่ต่ำกว่าระดับพื้นใช้งานปัจุบันประมาณ ๔.๒๐ เมตร เช่นเดียวกับผนังและกำแพงป้อมด้านทิศตะวันตก           การขุดค้นป้อมมหากาฬและกำแพงเมือง ทำให้ทราบข้อมูลและหลักฐานทางโบราณคดีเกี่ยวกับภูมิปัญญาในการก่อสร้างป้อมและกำแพงเมืองสมัยโบราณ เป็นการบูรณาการองค์ความรู้ทางด้านวิชาการโบราณคดีและการอนุรักษ์โบราณสถาน เพื่อสืบสาน รักษา มรดกวัฒนธรรมของชาติ และพัฒนาต่อยอดในฐานะทรัพยากรทางวัฒนธรรมอย่างยั่งยืนสืบต่อไป เรียบเรียงข้อมูล : ดร. ภัทรวรรณ พงศ์ศิลป์ นักโบราณคดีชำนาญการ กองโบราณคดี


เลขทะเบียน : นพ.บ.3/2ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  54 หน้า  ; 5 x 55 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 2 (11-19) ผูก 2หัวเรื่อง : แปดหมื่นสี่พันขันธ์--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม



เลขทะเบียน : นพ.บ.49/5ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  52 หน้า ; 4.5 x 54 ซ.ม. : ล่องชาด ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 30 (308-325) ผูก 9หัวเรื่อง :  บาลียมก --เอกสารโบราณ             คัมภีร์ใบลาน             พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม




ชื่อเรื่อง : โบราณคดีลุ่มแม่น้ำปิงตอนบน ผู้แต่ง : กรมศิลปากร ปีที่พิมพ์ : 2534 สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร


1. ตำรายาเกร็ด อักษรขอม-ไทย ภาษาบาลี-ไทย ได้แก่ ยาแก้ลม, ยาทราง, ยาคปะราด, ยาสะผมตามวันต่างๆ, ยาแก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย ฯลฯ 2. ทางด้านโหราศาสตร์ ตำราจับยามสามตา 3. ทางด้านไสยศาสตร์ อักษรขอม-ไทย ภาษาบาลี-ไทย ไก้แก่ ห้ามฝนไม่ให้ตก, แปลงตัวเป็นภูเขา ฯลฯ


ชื่อเรื่อง : ตำนานพระพุทธรูปสำคัญ ชื่อผู้แต่ง : ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา ปีที่พิมพ์ : 2510 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : อรุณการพิมพ์ จำนวนหน้า : 160 หน้า สาระสังเขป : หนังสือเรื่องตำนานพระพุทธรูปสำคัญ พระนิพนธ์ของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ มีเนื้อหาเกี่ยวกับตำนานพระพุทธรูปสำคัญในพระบรมมหาราชวัง พระที่นั่งพุทไธศวรรย์ พระที่นั่งอัมพรสถาน และภายในวัดต่างๆ เช่น พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร (พระแก้วมรกต) พระสัมพุทธพรรณี พระพุทธบุษยรัตน์ พระแก้วมรกตน้อย พระนิรันตราย พระพุทธเพชรญาณ พระพุทธนรสีห์ พระพุทธสิหิงค์ พระพุทธชินสีห์ พระพุทธชินราช พระไสยา พระโต เป็นต้น


ชื่อเรื่อง : น้อยอินทเสนของพระขรรค์เพชร   ผู้แต่ง : มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว , พระบาทสมเด็จ   ปีที่พิมพ์ : ๒๕๑๘   สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพมหานคร   สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย   หมายเหตุ : จัดพิมพ์โดยเสร็จพระกุศลซึ่งสมเด็จเจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดาศิริโสภาพัณณวดีทรงบำเพ็ญคล้ายวันสวรรคต พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ พระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร วันที่ ๒๖ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๑๘ ครบ ๕๐ ปี                  เรื่องน้อยอินทเสน เป็นบทละครพูดชวนหัว ๓ องค์จบ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์ขึ้น โดยใช้พระนามแฝงว่า "พระขรรค์เพชร" การที่ทรงพระราชนิพนธ์เรื่องนี้ขึ้นเพราะได้รับแรงบันดาลใจจาก หนังสือพิมพ์อังกฤษฉบับหนึ่ง จึงทรงเก็บความคิดจากหนังสือฉบับนั้นมาผูกเป็นเค้าโครงเรื่อง น้อยอินทเสน เป็นเรื่องเสียดสีสังคม และเยาะเย้ยผู้หญิงผู้ดีที่เห่อยศ