ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,454 รายการ

 เรื่องราว "รามเกียรติ์" ตอน กุมภกรรณทดน้ำ เล่าเรื่องตอน กุมภกรรณ ผู้เป็นน้องชายของทศกัณฐ์ เจ้าเมืองลงกา อาสารบกับกองทัพของพระราม โดยคิดอุบายตัดศึก ด้วยการเนรมิตกายให้ใหญ่โตเท่ากับภูเขา แล้วนอนขวางทางน้ำไม่ให้ไหลไปยังเขาวงกต อันเป็นที่ตั้งของกองทัพพระราม เหล่าไพร่พลของพระรามจะได้อดน้ำตายภายใน ๗ วัน    แต่เมื่อพระรามรู้อุบายของกุมภกรรณจากภิเภกแล้ว จึงมอบให้หนุมานทหารเอก ไปทำลายพิธีทดน้ำของกุมภกรรณนั้น จากนั้นจึงเกิดการต่อสู้กัน จนกุมภกรรณพ่ายแพ้หนีกลับเข้าเมืองลงกาไป  ภาพจิตรกรรมฝาผนัง พระระเบียงคดด้านทิศตะวันออกของพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ภายในพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร #กุมภกรรณทดน้ำ โขนพระราชทานเครดิต : กลุ่มอนุรักษ์จิตรกรรมและประติมากรรม กองโบราณคดี กรมศิลปากร เมืองลงกากุมภกรรณ น้องชายของทศกัณฐ์กุมภกรรณอาสาพี่ชาย ทำพิธีทดน้ำ เพื่อให้ทัพของพระรามขาดแคลนน้ำกุมภกรรณ ทำพิธีทดน้ำที่แหล่งต้นน้ำที่จะไหลไปเขามรกตอันเป็นที่ตั้งของกองทัพพระราม แล้วเนรมิตกายให้ใหญ่โตเท่าภูเขา แล้วนอนขวางทางน้ำ(พร้อมเนรมิตกายไม่ให้ใครเห็นได้) เพื่อไม่ให้น้ำไหลไปถึงที่ตั้งของกองทัพพระรามได้ พลับพลาที่ตั้งทัพของพระราม- สุครีพ กลาบทูลพระรามถึงความแห้งขอดของแม่น้ำ - ภิเภก กราบทูลพระรามว่า เป็นพิธีการทดน้ำของกุมภกรรณ แต่ไม่ทราบว่าอยู่ที่ไหน - หนุมานอาสาไปสืบความ ด้วยการแปลงเป็นเหยี่ยว บินไปยังวังของกุมภกรรณ กุมภกรรณทดน้ำ ทำให้น้ำในแม่น้ำแห่งขอด และหนุมานได้ทำลายพิธีกรรมนั้นสำเร็จ เหยี่ยวแปลงหนุมาน ได้ใจความว่าเหล่าสนมกำนัลเหล่านี้เป็นผู้ที่ต้องจัดหาดอกไม้ไปให้กับกุมภกรรณเหยี่ยวแปลงจึงจับนางสนมกำนัลคนหนึ่งไปฆ่าเสียเหยี่ยวแปลงจึงจับนางสนมกำนัลคนหนึ่งไปฆ่า แล้วแปลงร่างเป็นนางสนมนั้น เพื่อแฝงตัวไปยังที่กุมภกรรณทำพิธีหนุมานแปลงร่างเป็นนางสนมนั้น เพื่อแฝงตัวไปยังที่กุมภกรรณทำพิธี และท้ายที่สุดก็ได้ทำลายพิธีทดน้ำของกุมภกรรณหนุมานทำลายพิธีทดน้ำของกุมภกรรณได้สำเร็จ ห้องที่ ๑๒ "กุมภกรรณอาสาทำพิธีทดน้ำ" -นายเจริญ ช่างทอง -นายกำจัด ประดิษฐ์เขียน เขียน พ.ศ.๒๔๗๔ -นายสังเวียน ชุ่มภาณี เขียนซ่อม พ.ศ.๒๕๑๖  


           สำนักหอสมุดแห่งชาติ ขอเชิญผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรมเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ประจำปี 2567 ครั้งที่ 3 การบรรยายเรื่อง "พระราชโอรสในสมเด็จพระปิยมหาราช กับการศึกษา ณ ทวีปยุโรป" ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ภายใต้โครงการพัฒนาและส่งเสริมหอสมุดแห่งชาติเพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิต ประจำปี 2567 วิทยากรโดย นายไพศาล เปี่ยมเมตตาวัฒน์ นักวิชาการอิสระ ในวันพฤหัสบดีที่ 27 มิถุนายน 2567 เวลา 13.30 - 16.30 น. ณ อาคารดำรงราชานุภาพ 2490 ถนนหน้าพระธาตุ เขตพระนคร กรุงเทพฯ ทั้งนี้ ยังสามารถรับชมการถ่ายทอดสดผ่าน Facebook Live : National Library of Thailand สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. 08 6891 2548, 08 9545 3194




เมื่อวันที่ ๑๐ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๓๕พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จออก ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ นายอาทิตย์ อุไรรัตน์ ประธานสภาผู้แทนราษฎร เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท เพื่อกราบบังคมทูลพระกรุณาขั้นตอนการตั้งนายกรัฐมนตรีรหัสเอกสาร ฉ/ร ๕๓๗๑  




           อุทยานประวัติศาสตร์ พิมาย จังหวัดนครราชสีมา ขอเชิญร่วมงานเทศกาลเที่ยวพิมาย ชมการแสดงแสง สี เสียง ระหว่างวันที่ 6 - 10 พฤศจิกายน 2567 มิติวัฒนธรรม กระตุ้นเศรษฐกิจชาติ เศรษฐกิจวัฒนธรรม จากคุณค่าสู่มูลค่า Soft Power อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา


มหาชาติ.  ประเพณีเทศน์มหาชาติ และเวสสันดรชาดก ในมหานิบาต กัณฑ์ ทศพร และหิมพานต์.  พระนคร : โรงพิมพ์การศาสนา, 2502.



โบราณสถานกู่โนนแท่น           โบราณสถานกู่โนนแท่น ตั้งอยู่ที่บ้านบึงสว่าง ตำบลบ้านเหล่า อำเภอบ้านฝาง จังหวัดขอนแก่น ลักษณะเป็นโบราณสถานสร้างด้วยศิลาแลง สภาพพังทลายเหลือเพียงส่วนฐานในผังสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดกว้าง ๖ เมตร ยาว ๘ เมตร ภายในโบราณสถานพบโบราณวัตถุ ได้แก่ ฐานรองรับประติมากรรมสลักจากหินทราย จำนวน ๒ ฐาน ส่วนบริเวณผิวดินสำรวจพบเศษภาชนะดินเผาเนื้อแกร่ง เคลือบสีน้ำตาล ผลิตจากแหล่งเตาบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ สันนิษฐานว่าโบราณสถานแห่งนี้เป็นศาสนสถานในวัฒนธรรมเขมรโบราณ กำหนดอายุประมาณพุทธศตวรรษที่  ๑๖ - ๑๘  นอกจากนี้จากการสำรวจยังพบหลักฐานการใช้พื้นที่นี้มาก่อนอีกอย่างน้อย ๒ สมัย ได้แก่ สมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย กำหนดอายุประมาณ ๑,๕๐๐ – ๒,๕๐๐ ปีมาแล้ว พบโบราณวัตถุ ได้แก่ กำไลหล่อจากสำริด ชิ้นส่วนกระดูกมนุษย์ และเศษภาชนะดินเผาเนื้อดิน สันนิษฐานว่าสมัยนี้มีการใช้พื้นที่เป็นแหล่งฝังศพ และสมัยวัฒนธรรมทวารวดี กำหนดอายุประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๒ - ๑๖ พบโบราณวัตถุ ได้แก่ ชิ้นส่วนพระพุทธรูปสลักจากหินทราย ศิลปะทวารวดี และใบเสมาสลักจากหินทราย สันนิษฐานว่าสมัยนี้มีการใช้พื้นที่เป็นศาสนสถานในพระพุทธศาสนา           กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนและกำหนดเขตที่ดินโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๘ ตอนพิเศษ ๑๒๗ ง วันที่ ๒๑ ธันวาคม ๒๕๔๔ พื้นที่โบราณสถานประมาณ ๑๐ ไร่  ๑ งาน ๘.๗๒ ตารางวา Ku Non Taen           Ku Non Taen is located at Ban Bueng Sawang, Ban Lao Sub-district, Ban Fang District, Khon Kaen Province. A sandstone structure which most part is in ruins, except for the base, in the size of 6 meters wide and 8 meters long. There are 2 sculpture foundation made from sandstone, situated on the base, and shards of brown glazed stoneware from the Buri Ram kiln sites which spread on the surface nearby. These artifacts suggested that Ku Non Taen was built as a temple or religious building in the period of Khmer culture (13th - 15th century CE).           From archaeological survey, more traces of human activities in earlier periods were found in this site. The first one is the late prehistoric period (2,500 – 1,500 years ago). The evidences, bronze bracelet, human bones, and pottery sherds, were found in this site, and suggested that this site was used as a burial site. Another one is the period of Dvaravati (9th - 13th century CE). The evidences of this period are pieces of Buddha image and Sema, both were carved from sandstone. These artifacts indicated that this site was a religious practice spot.           Ku Non Taen has been registered and published in the Government Gazette, Volume 118, Special Edition 127, on November 21, 2001. The area of ancient monument is 16,434.88 square meters.     


           วันพุธที่ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๖๗ เวลา ๐๙.๑๙ น. นายพลภูมิ วิภัติภูมิประเทศ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงวัฒนธรรม พร้อมด้วยนายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร ผู้บริหารกระทรวงวัฒนธรรม และกรมศิลปากร ร่วมสักการะพระพุทธรูปวังหน้า พระปฏิมาแห่งแผ่นดิน “นบพระปฏิมา ๙ นครามหามงคล ๒๕๖๘” เป็นปฐมฤกษ์ ณ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร             เนื่องในโอกาสขึ้นปีใหม่ พุทธศักราช ๒๕๖๘ กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมศิลปากร ได้จัดกิจกรรมสักการะพระพุทธรูปวังหน้า พระปฏิมาแห่งแผ่นดิน “นบพระปฏิมา ๙ นครามหามงคล ๒๕๖๘” อัญเชิญพระพุทธรูปที่มีพุทธศิลป์อันงดงาม มีประวัติความเป็นมาจากนครโบราณต่าง ๆ ของไทย โดยมีพระพุทธสิหิงค์ พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ประจำพระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า) เป็นประธาน พร้อมด้วยพระพุทธรูปอีก ๙ องค์ ที่จัดแสดงและสงวนรักษา ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร จำนวน ๔ องค์ คลังกลางพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จังหวัดปทุมธานี จำนวน ๓ องค์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี จำนวน ๑ องค์ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา จำนวน ๑ องค์ มาประดิษฐานให้ประชาชนได้สักการบูชา เพื่ออำนวยความสุขสวัสดิ์พิพัฒนมงคลในวาระแห่งการเริ่มต้นศักราชใหม่ ประกอบด้วย             ๑. พระพุทธสิหิงค์ ศิลปะล้านนา ปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๑              ๒. พระพุทธรูปปางมารวิชัย เมืองเชียงใหม่ ศิลปะล้านนา พุทธศตวรรษที่ ๑๙ - ๒๐             ๓. พระพุทธรูปยืนปางแสดงธรรม ๒ พระหัตถ์ เมืองลพบุรี ศิลปะลพบุรี พุทธศตวรรษที่ ๑๘ - ๑๙              ๔. พระพุทธรูปปางมารวิชัย เมืองสรรคบุรี ศิลปะลพบุรี ก่อนอยุธยาแบบอู่ทองรุ่นที่ ๑ พุทธศตวรรษที่ ๑๙              ๕. พระพุทธรูปยืนปางประทานอภัย เมืองสุโขทัย ศิลปะสุโขทัย พุทธศตวรรษที่ ๒๐              ๖. พระพิมพ์ลีลาในซุ้มเรือนแก้ว (พระกำแพงศอก) เมืองสุพรรณบุรี ศิลปะอยุธยา พุทธศตวรรษที่ ๒๐              ๗. พระพุทธรูปปางมารวิชัย พระนครศรีอยุธยา ศิลปะอยุธยาตอนต้น แบบอู่ทองรุ่นที่ ๓ พุทธศตวรรษที่ ๒๐             ๘. พระพุทธรูปปางมารวิชัย เมืองนครศรีธรรมราช ศิลปะอยุธยา สกุลช่างนครศรีธรรมราช พุทธศตวรรษที่ ๒๑ - ๒๒              ๙. พระพุทธรูปยืนปางประทานอภัย ๒ พระหัตถ์ เมืองพิษณุโลก ศิลปะอยุธยาตอนกลาง พุทธศตวรรษที่ ๒๑ - ๒๒             ๑๐. พระชัยเมืองนครราชสีมา เมืองนครราชสีมา ศิลปะอยุธยา พุทธศตวรรษที่ ๒๒ - ๒๓              ขอเชิญพุทธศาสนิกชนสักการะพระพุทธรูปวังหน้า พระปฏิมาแห่งแผ่นดิน “นบพระปฏิมา ๙ นครามหามงคล ๒๕๖๘” ณ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ระหว่างวันที่ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๖๗ ถึงวันที่ ๕ มกราคม ๒๕๖๘ เวลา ๐๙.๐๐ น. - ๑๖.๐๐ น. ทุกวัน ไม่เว้นวันหยุดราชการ ----------------------------------------------------------------------- พระพุทธรูปทั้ง ๑๐ องค์ ประกอบด้วย ๑.  พระพุทธสิหิงค์ ศิลปะ  ล้านนา ปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๑ (๕๐๐ ปีมาแล้ว) ขนาด  สูงพร้อมฐาน  ๑๓๕  เซนติเมตร หน้าตักกว้าง ๖๓ เซนติเมตร   องค์พระสูง  ๗๙ เซนติเมตร   ประวัติ  สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท (วังหน้าพระองค์แรกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์)  ทรงอัญเชิญมาจากเมืองเชียงใหม่เมื่อพุทธศักราช ๒๓๓๘  ประดิษฐาน ณ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร             พระพุทธสิหิงค์ พระพุทธรูปสัมฤทธิ์กะไหล่ทอง ประทับขัดสมาธิราบ พระหัตถ์ทั้งสองวางซ้อนกันบนพระเพลาแสดงปางสมาธิ  เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ประจำพระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า) ตามตำนานพระพุทธสิหิงค์ได้รับการอัญเชิญไปประดิษฐานเป็นสิริยังพระนครหลวงโบราณหลายแห่ง นับแต่สุโขทัย เชียงใหม่ พระนครศรีอยุธยา ตราบเท่าถึงกรุงรัตนโกสินทร์  ๒. พระพุทธรูปปางมารวิชัย เมืองเชียงใหม่ ศิลปะ  ล้านนา พุทธศตวรรษที่ ๑๙-๒๐ (๖๐๐-๗๐๐ ปีมาแล้ว) ขนาด  สูงพร้อมฐาน ๓๑.๒ เซนติเมตร หน้าตักกว้าง ๑๔.๓ เซนติเมตร ประวัติ  ขุดได้ที่จังหวัดเชียงใหม่ ครูบาเจ้าศรีวิชัยถวายสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ (ด้วยวิธีเสี่ยงทาย) พระโอรสและพระธิดาประทานยืม               พระพุทธรูปสัมฤทธิ์ปางมารวิชัย ประทับขัดสมาธิราบ พระวรกายเพรียวบาง และชายสังฆาฏิเป็นแถบเล็กยาวพาดพระอังสาเหนือพระนาภี ใกล้เคียงกับพระพุทธรูปแบบเชียงแสนสิงห์หนึ่งกลุ่มที่ได้รับอิทธิพลจากศิลปะสุโขทัย พระพุทธรูปองค์นี้ มีประวัติระบุว่าชาวกะเหรี่ยงขุดได้จึงนำมาถวายครูบาเจ้าศรีวิชัย ครั้งสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพเสด็จประพาสมณฑลพายัพ พ.ศ. ๒๔๖๔ ครูบาเจ้าศรีวิชัยจึงถวายสมเด็จฯ  กรมพระยาดำรงราชานุภาพ   ๓. พระพุทธรูปยืนปางแสดงธรรม ๒ พระหัตถ์ เมืองลพบุรี   ศิลปะ  ลพบุรี พุทธศตวรรษที่ ๑๘-๑๙ (๗๐๐-๘๐๐ ปีมาแล้ว) ขนาด  สูงพร้อมฐาน ๖๕ เซนติเมตร กว้าง ๒๓ เซนติเมตร ประวัติ  พระยาพินิจสารา ถวายสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ พระโอรสและพระธิดาประทานยืม              พระพุทธรูปยืนทรงเครื่องแสดงปางประทานอภัย ๒ พระหัตถ์ พระองค์นี้จัดอยู่ในกลุ่มพระพุทธรูปศิลปะลพบุรี ที่สืบเนื่องมาจากพระพุทธรูปในศิลปะเขมรโบราณแบบบายน รูปแบบพระพุทธรูปลักษณะดังกล่าวพบมากในพื้นที่ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา โดยเฉพาะที่ “เมืองลพบุรี” ในเวลาต่อมากลุ่มชนชั้นปกครองของเมืองลพบุรีที่ปัจจุบันรู้จักกันในนาม “ราชวงศ์อู่ทอง” ได้รวมอำนาจเข้ากับราชวงศ์สุพรรณภูมิสถาปนากรุงศรีอยุธยาขึ้นเมื่อพุทธศักราช ๑๘๙๓   ๔. พระพุทธรูปปางมารวิชัย เมืองสรรคบุรี ศิลปะ  ลพบุรี ก่อนอยุธยาแบบอู่ทองรุ่นที่ ๑ พุทธศตวรรษที่ ๑๙ (๗๐๐ ปีมาแล้ว) ขนาด  สูงพร้อมฐาน ๒๙.๕ เซนติเมตร หน้าตักกว้าง ๒๓ เซนติเมตร  ประวัติ  ย้ายมาจากห้องกลางกระทรวงมหาดไทย เดิมได้มาจากเมืองสรรค์ (อำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท)               พระพุทธรูปสัมฤทธิ์ปางมารวิชัย  จากพุทธศิลป์แสดงความคาบเกี่ยวกับพระพุทธรูปในช่วงปลายของศิลปะลพบุรี พบมากบริเวณเมืองโบราณก่อนสมัยอยุธยา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตอำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท จนในอดีตขนานนามพระพุทธรูปกลุ่มนี้ว่า “พระเมืองสรรค์” เมื่อภายหลังการสถาปนาอาณาจักรอยุธยา เมืองสรรคบุรีจึงกลายเป็นเมืองสำคัญในฐานะเมืองลูกหลวงและเมืองหน้าด่าน    ๕. พระพุทธรูปยืนปางประทานอภัย เมืองสุโขทัย   ศิลปะ  สุโขทัย พุทธศตวรรษที่ ๒๐ (๖๐๐ ปีมาแล้ว) ขนาด  สูงพร้อมฐาน ๗๗ เซนติเมตร  ประวัติ  สมบัติเดิมของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร               พระพุทธรูปยืนปางประทานอภัย พุทธลักษณะพระพักตร์รูปไข่ มีพระรัศมีเป็นเปลวเพลิง ครองจีวรห่มคลุมเรียบไม่มีริ้วและจีวรแนบพระวรกาย อันเป็นรูปแบบพระพุทธรูปสมัยสุโขทัย บริเวณส่วนฐานด้านหลังของพระพุทธรูปมีจารึกอักษรไทยภาษาไทยสมัยรัตนโกสินทร์ว่า “วัดกะพังทอง เมืองโสกโขไทย” ดังนั้นสันนิษฐานว่าพระพุทธรูปองค์นี้ถูกเคลื่อนย้ายมาจากวัดตระพังทอง ภายในเมืองเก่าสุโขทัย ๖. พระพิมพ์ลีลาในซุ้มเรือนแก้ว (พระกำแพงศอก) เมืองสุพรรณบุรี ศิลปะ  อยุธยา พุทธศตวรรษที่ ๒๐ (๖๐๐ ปีมาแล้ว) ขนาด  กว้าง ๑๑ เซนติเมตร สูง ๓๒ เชนติเมตร ประวัติ  ย้ายมาจากห้องกลางกระทรวงมหาดไทย เดิมได้มาจากจังหวัดสุพรรณบุรี               พระพิมพ์เนื้อชินรูปพระพุทธเจ้าในอิริยาบถลีลาภายในเรือนแก้ว พระพิมพ์แบบนี้พบมากในกรุพระปรางค์วัดพระศรีมหาธาตุ จังหวัดสุพรรณบุรี จึงสันนิษฐานว่าน่าจะได้จากกรุนี้เช่นกัน และนิยมเรียกกันทั่วไปว่า "พระกำแพงศอก" ตามขนาดของพระพิมพ์ที่ค่อนข้างใหญ่ จึงไม่สามารถพกติดตัวได้ มักบูซาที่บ้านเรือน โดยมีความเชื่อถือว่าเป็นพระพิมพ์ที่มีความศักดิ์สิทธิ์ สามารถป้องกันอัคคีภัยได้  ๗. พระพุทธรูปปางมารวิชัย พระนครศรีอยุธยา   ศิลปะ  อยุธยาตอนต้น แบบอู่ทองรุ่นที่ ๓ พุทธศตวรรษที่ ๒๐ (๖๐๐ ปีมาแล้ว) ขนาด  สูงพร้อมฐาน ๕๔.๕ เซนติเมตร  หน้าตักกว้าง ๒๖ เซนติเมตร  ประวัติ  ได้จากกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อวันที่ ๒๑-๒๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๐๑               พระพุทธรูปสัมฤทธิ์ปางมารวิชัย พุทธศิลปะของพระพุทธรูปองค์นี้นักวิชาการเรียกว่า “ศิลปะแบบอู่ทอง” ด้วยเชื่อว่ารูปแบบศิลปะนี้เกิดขึ้นในช่วงของรัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ หรือพระเจ้าอู่ทอง และจำแนกออกเป็น ๓ รุ่น  สำหรับวัดราชบูรณะสถานที่พบพระพุทธรูปองค์นี้นั้น สร้างขึ้นโดยพระบรมราชาธิราชที่ ๒ (เจ้าสามพระยา) จากการขุดค้นภายในกรุพระปรางค์ พบพระพุทธรูปศิลปะต่างๆ จำนวนมาก โดยพระพุทธรูปในกลุ่มศิลปะแบบอู่ทองรุ่นที่ ๓ พบมากที่สุดจำนวนกว่า ๓๕๖ องค์    ๘. พระพุทธรูปปางมารวิชัย เมืองนครศรีธรรมราช ศิลปะ  อยุธยา สกุลช่างนครศรีธรรมราช พุทธศตวรรษที่ ๒๑-๒๒ (๔๐๐-๕๐๐ ปีมาแล้ว) ขนาด  สูงพร้อมฐาน ๕๙ เซนติเมตร หน้าตักกว้าง ๒๗.๕ เซนติเมตร ประวัติ  สมบัติเดิมของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร  นำไปจัดแสดง ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา เมื่อวันที่ ๒๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๒๒              พระพุทธรูปสัมฤทธิ์ปางมารวิชัยสกุลช่างนครศรีธรรมราช เป็นพระพุทธรูปกลุ่มที่ได้รับรูปแบบมาจากพระพุทธรูปขัดสมาธิเพชรสมัยอยุธยาตอนกลาง (พุทธศตวรรษที่ ๒๑-ต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๓) ซึ่งมีแรงบันดาลใจและรูปแบบจากพระพุทธสิหิงค์ หรือพระพุทธรูปขัดสมาธิเพชร ศิลปะล้านนา ตามตำนานระบุว่าเมื่อพระพุทธสิหิงค์เชิญมาจากประเทศศรีลังกาเคยพักประดิษฐานที่นครศรีธรรมราชก่อนอัญเชิญไปเมืองสุโขทัย   ๙. พระพุทธรูปยืนปางประทานอภัย ๒ พระหัตถ์ เมืองพิษณุโลก   ศิลปะ  อยุธยาตอนกลาง พุทธศตวรรษที่ ๒๑-๒๒ (๔๐๐-๕๐๐ ปีมาแล้ว) ขนาด  สูงพร้อมฐาน ๕๐.๕ เซนติเมตร กว้าง ๑๓.๕ เซนติเมตร ประวัติ  ย้ายมาจากห้องกลางกระทรวงมหาดไทย เดิมได้มาจากมณฑลพิษณุโลก             พระพุทธรูปยืนทรงเครื่องน้อย ตามประวัติกล่าวว่าได้มาจากพื้นที่มณฑลพิษณุโลก ซึ่งตั้งขึ้นเมื่อพุทธศักราช ๒๔๓๕ ประกอบด้วยเมืองพิจิตร เมืองพิชัย เมืองสวรรคโลก เมืองสุโขทัย และเมืองพิษณุโลก โดยมีเมืองเอกคือเมืองพิษณุโลก สำหรับเมืองพิษณุโลกเดิมมีนามว่า “สองแคว” เรียกตามสภาพภูมิศาสตร์ที่มีลำน้ำสองสายบรรจบกันบริเวณพื้นที่ทิศเหนือนอกตัวเมืองพิษณุโลก คือแม่น้ำน่าน (แควใหญ่) และแม่น้ำแควน้อย    ๑๐. พระชัยเมืองนครราชสีมา เมืองนครราชสีมา   ศิลปะ  อยุธยา พุทธศตวรรษที่ ๒๒–๒๓ (๓๐๐-๔๐๐ ปีมาแล้ว) ขนาด  สูงพร้อมฐาน ๒๕ เซนติเมตร  หน้าตักกว้าง ๑๕.๔ เซนติเมตร ประวัติ   ย้ายมาจากห้องกลางกระทรวงมหาดไทย เดิมได้มาจากไหนไม่ปรากฏ              พระพุทธรูปปางมารวิชัยบนพระวรกายโดยรอบปรากฎมีจารึกพระคาถาอักษรขอม คติการสร้างพระชัยประจำตัวแม่ทัพยึดถือปฏิบัติมาแต่โบราณ เพื่อคุ้มครองป้องกันภัย นอกจากนี้ยังพบการสร้างพระชัยสำหรับเมืองเพื่อเป็นมิ่งขวัญและสวัสดิมงคล ดังตัวอย่าง พระชัยเมืองนครราชสีมา เมืองหน้าด่านสำคัญที่ป้องกันข้าศึกจากทิศตะวันออกและตะวันออกเฉียงเหนือ


***บรรณานุกรม*** สุนทรภู่ โคลงนิราศสุพรรณ ของ สุนทรภู่ ฉบับสมบูรณ์ พิมพ์เป็น อนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ พันจ่าอากาศโท สุรพล สมบัติ เจริญ ณ เมรุวัดมกุฏกษัตริยาราม วันที่ 16 สิงหาคมพุทธ ศักราช 2512 พระนคร ห้างหุ้นส่วนจำกัดศิวพร 2512





วันที่ ๘ เมษายน ๒๕๕๙ นายอนันต์ ชูโชติ อธิบดีกรมศิลปากร และนายบุญเตือน  ศรีวรพจน์ แถลงข่าวเปิดตัวหนังสือ “นิราศหนองคาย” แต่งโดยนายทิม สุขยางค์ (หลวงพัฒนพงศ์ภักดี) เมื่อพุทธศักราช ๒๔๑๘ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร  ซึ่งกรมศิลปากร โดยสำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์จัดพิมพ์แล้วเสร็จเป็นเล่มแรกของปีนี้ จัดเป็นหนังสือหายากและมีความสำคัญยิ่งสำหรับวงการประวัติศาสตร์และวรรณคดีไทย พร้อมนี้ ในช่วงเย็น อธิบดีกรมศิลปากรได้มอบลายเซ็นเป็นที่ระลึกในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ บูธ X15 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์